หยุดการเมืองก่อนเศรษฐกิจพัง

แสดงความคิดเห็น

นอกจากจะมีการพิจารณางบประมาณประจำปี 2557 แล้ว วันที่ 29 พ.ค.56 กนง.ก็จะมีการประชุม ซึ่งมีการคาดการณ์กันล่วงหน้าว่าการขึ้นดอกเบี้ยคือประเด็นสำคัญเพื่อแก้ไข ปัญหาค่าเงินบาทที่แข็งค่าจนส่งผลต่อการส่งออกของไทย

ที่ผ่านมาจะ เห็นได้ว่ามีแรงผลักดันจากกระทรวงการคลัง จากสภาพัฒน์ จากสภาอุตสาหกรรม และภาคเอกชนที่เกี่ยวกับการส่งออก ต่างเรียกร้องให้แบงก์ชาติลดดอกเบี้ยเพื่อป้องกันการไหลเข้าของเงินนอก แต่ยังไม่มีการขานรับ

แบงก์ชาติระบุว่ามีหลายมาตรการที่จะแก้ไขปัญหา ค่าเงินบาทแข็งและไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการลดดอกเบี้ย เพราะตัวเลขในปัจจุบันเกิดความสมดุลและทำให้เศรษฐกิจไทยมีเสถียรภาพแล้ว

แต่ ล่าสุดปรากฏว่านักวิชาการ ซีอีโอ ภาคเอกชน ชี้เป็นเสียงเดียวกันว่ามีความจำเป็นที่จะต้องลดดอกเบี้ยอย่างน้อยก็ 0.25% แต่บางคนถึงกับระบุว่าน่าจะเป็น 1 บาท เสียด้วยซ้ำ

กอปรกับหลายประเทศไล่เรียงกันลดดอกเบี้ยทั้งนั้น

นั่นเป็นแรงกดดันที่แบงก์ชาติจะต้องตัดสินใจว่าลดหรือไม่ลด ถ้าลดจะลดเท่าใด แต่ถ้าไม่ลดก็ต้องมีเหตุผลที่รับฟังได้

มิฉะนั้น ผู้ว่าการแบงก์ชาติคือ นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล เก้าอี้ร้อนแน่ๆ เพราะมันเหมือนกับเป็นฟางเส้นสุดท้ายแล้ว

หลัง จากที่สภาพัฒน์ประกาศตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจมีตัวเลขที่ลดต่ำลงจากที่ คาดกันไว้ โดยเฉพาะตัวเลขที่ต่างกันมากกับของแบงก์ชาติ จึงถูกแบงก์ชาติตั้งคำถามทำนองว่าทำอย่างเป็นมาตรฐานหรือไม่

ถ้าแปล ไทยเป็นไทยก็คือ สภาพัฒน์สร้างตัวเลขขึ้นเพื่อเอาใจรัฐบาลในการกดดันให้แบงก์ชาติลดดอกเบี้ย หรือไม่ จนกระทั่งสภาพัฒน์ต้องออกมาแถลงย้ำและแจกแจงการดำเนินการ

เพื่อยืนยันว่าเป็นมาตรฐานไม่ได้ทำแบบมั่วๆแน่

หากตัวเลขความเติบโตทางเศรษฐกิจมีตัวเลขที่ส่อให้เห็นว่าไม่เป็นไปตามนั้นเท่ากับเป็นดัชนีชี้วัดได้ว่าเศรษฐกิจไทยกำลัง

ชะลอตัว ไม่ฟู่ฟ่าอย่างที่คิดกัน สาเหตุคงจะมาจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจยุโรปยังไม่มีแนวโน้มที่ดีขึ้น

ญี่ปุ่นเกิดปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำอย่างต่อเนื่อง แม้รัฐบาลชุดปัจจุบันจะพยายามแก้ไขจนพอมองเห็นว่ากำลังมีแนวโน้มที่ดีขึ้นก็ตาม

ขณะ ที่จีน ซึ่งเป็นประเทศยักษ์ใหญ่ลำดับ 2 ของโลก ก็กำลังเกิดปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวที่ชัดเจน ต่างๆเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างแยกไม่ออก

ดัง นั้น รัฐบาลจงใส่ใจให้มากขึ้นกว่าเดิมด้วยการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ใช่ฝันหวาน ว่าดีอย่างนั้นอย่างนี้ เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว

วันนี้ ห้างสรรพสินค้าเค้าบ่นกันอุบว่าผลประกอบการไม่ดี ตัวเลขการค้าขายลดต่ำลงอย่างไม่น่าเชื่อ แม้จะมีลูกค้าเข้าห้างกันจำนวนมาก แต่ยอดการซื้อสินค้าน้อยลง

ประเด็นหนึ่งอาจเพราะสินค้าขึ้นราคาแพง ขึ้น อีกประเด็นหนึ่งและสำคัญก็คือ กำลังซื้อของประชาชนลดต่ำลง แม้ค่าแรงจะเพิ่มเป็น 300 บาท ข้าราชการได้เงินเดือนขั้นต่ำ 15,000 บาท แต่ราคาสินค้าได้แซงหน้าไปหมดแล้ว

“ไข่” นั้นเป็นตัวชี้วัดอย่างหนึ่งที่จะชี้ถึงความสามารถของรัฐบาลว่ามีฝีมือมาก น้อยแค่ไหน ปรากฏว่าราคาไข่ของรัฐบาลชุดนี้แพงสุดคือ 3.50-4 บาท เมื่อข้าวของแพงขึ้น ค่าเรือ ค่ารถ ค่าทางด่วน กำลังจะปรับตัวสูงขึ้นอีก

เหล่า นี้คือสิ่งที่ต้องยอมรับความจริงว่าเศรษฐกิจกำลังชะลอตัว กำลังมีปัญหาที่รัฐบาลจะต้องแก้ไขและเป็นเครื่องชี้ว่า “ประชานิยม” นั้น ไม่ได้กระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ทำให้แย่ลงมากกว่า

นี่คือหน้าที่ของรัฐบาล ไม่ใช่ไปบ้ากับการเมืองอย่างที่เป็นอยู่…โดย“สายล่อฟ้า

ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/column/pol/gladai/347590

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 พ.ค.56
วันที่โพสต์: 29/05/2556 เวลา 04:10:53

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นอกจากจะมีการพิจารณางบประมาณประจำปี 2557 แล้ว วันที่ 29 พ.ค.56 กนง.ก็จะมีการประชุม ซึ่งมีการคาดการณ์กันล่วงหน้าว่าการขึ้นดอกเบี้ยคือประเด็นสำคัญเพื่อแก้ไข ปัญหาค่าเงินบาทที่แข็งค่าจนส่งผลต่อการส่งออกของไทย ที่ผ่านมาจะ เห็นได้ว่ามีแรงผลักดันจากกระทรวงการคลัง จากสภาพัฒน์ จากสภาอุตสาหกรรม และภาคเอกชนที่เกี่ยวกับการส่งออก ต่างเรียกร้องให้แบงก์ชาติลดดอกเบี้ยเพื่อป้องกันการไหลเข้าของเงินนอก แต่ยังไม่มีการขานรับ แบงก์ชาติระบุว่ามีหลายมาตรการที่จะแก้ไขปัญหา ค่าเงินบาทแข็งและไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการลดดอกเบี้ย เพราะตัวเลขในปัจจุบันเกิดความสมดุลและทำให้เศรษฐกิจไทยมีเสถียรภาพแล้ว แต่ ล่าสุดปรากฏว่านักวิชาการ ซีอีโอ ภาคเอกชน ชี้เป็นเสียงเดียวกันว่ามีความจำเป็นที่จะต้องลดดอกเบี้ยอย่างน้อยก็ 0.25% แต่บางคนถึงกับระบุว่าน่าจะเป็น 1 บาท เสียด้วยซ้ำ กอปรกับหลายประเทศไล่เรียงกันลดดอกเบี้ยทั้งนั้น นั่นเป็นแรงกดดันที่แบงก์ชาติจะต้องตัดสินใจว่าลดหรือไม่ลด ถ้าลดจะลดเท่าใด แต่ถ้าไม่ลดก็ต้องมีเหตุผลที่รับฟังได้ มิฉะนั้น ผู้ว่าการแบงก์ชาติคือ นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล เก้าอี้ร้อนแน่ๆ เพราะมันเหมือนกับเป็นฟางเส้นสุดท้ายแล้ว หลัง จากที่สภาพัฒน์ประกาศตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจมีตัวเลขที่ลดต่ำลงจากที่ คาดกันไว้ โดยเฉพาะตัวเลขที่ต่างกันมากกับของแบงก์ชาติ จึงถูกแบงก์ชาติตั้งคำถามทำนองว่าทำอย่างเป็นมาตรฐานหรือไม่ ถ้าแปล ไทยเป็นไทยก็คือ สภาพัฒน์สร้างตัวเลขขึ้นเพื่อเอาใจรัฐบาลในการกดดันให้แบงก์ชาติลดดอกเบี้ย หรือไม่ จนกระทั่งสภาพัฒน์ต้องออกมาแถลงย้ำและแจกแจงการดำเนินการ เพื่อยืนยันว่าเป็นมาตรฐานไม่ได้ทำแบบมั่วๆแน่ หากตัวเลขความเติบโตทางเศรษฐกิจมีตัวเลขที่ส่อให้เห็นว่าไม่เป็นไปตามนั้นเท่ากับเป็นดัชนีชี้วัดได้ว่าเศรษฐกิจไทยกำลัง ชะลอตัว ไม่ฟู่ฟ่าอย่างที่คิดกัน สาเหตุคงจะมาจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจยุโรปยังไม่มีแนวโน้มที่ดีขึ้น ญี่ปุ่นเกิดปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำอย่างต่อเนื่อง แม้รัฐบาลชุดปัจจุบันจะพยายามแก้ไขจนพอมองเห็นว่ากำลังมีแนวโน้มที่ดีขึ้นก็ตาม ขณะ ที่จีน ซึ่งเป็นประเทศยักษ์ใหญ่ลำดับ 2 ของโลก ก็กำลังเกิดปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวที่ชัดเจน ต่างๆเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างแยกไม่ออก ดัง นั้น รัฐบาลจงใส่ใจให้มากขึ้นกว่าเดิมด้วยการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ใช่ฝันหวาน ว่าดีอย่างนั้นอย่างนี้ เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว วันนี้ ห้างสรรพสินค้าเค้าบ่นกันอุบว่าผลประกอบการไม่ดี ตัวเลขการค้าขายลดต่ำลงอย่างไม่น่าเชื่อ แม้จะมีลูกค้าเข้าห้างกันจำนวนมาก แต่ยอดการซื้อสินค้าน้อยลง ประเด็นหนึ่งอาจเพราะสินค้าขึ้นราคาแพง ขึ้น อีกประเด็นหนึ่งและสำคัญก็คือ กำลังซื้อของประชาชนลดต่ำลง แม้ค่าแรงจะเพิ่มเป็น 300 บาท ข้าราชการได้เงินเดือนขั้นต่ำ 15,000 บาท แต่ราคาสินค้าได้แซงหน้าไปหมดแล้ว “ไข่” นั้นเป็นตัวชี้วัดอย่างหนึ่งที่จะชี้ถึงความสามารถของรัฐบาลว่ามีฝีมือมาก น้อยแค่ไหน ปรากฏว่าราคาไข่ของรัฐบาลชุดนี้แพงสุดคือ 3.50-4 บาท เมื่อข้าวของแพงขึ้น ค่าเรือ ค่ารถ ค่าทางด่วน กำลังจะปรับตัวสูงขึ้นอีก เหล่า นี้คือสิ่งที่ต้องยอมรับความจริงว่าเศรษฐกิจกำลังชะลอตัว กำลังมีปัญหาที่รัฐบาลจะต้องแก้ไขและเป็นเครื่องชี้ว่า “ประชานิยม” นั้น ไม่ได้กระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ทำให้แย่ลงมากกว่า นี่คือหน้าที่ของรัฐบาล ไม่ใช่ไปบ้ากับการเมืองอย่างที่เป็นอยู่…โดย“สายล่อฟ้า ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/column/pol/gladai/347590

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง