การเมืองมวลชน (1) โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์

แสดงความคิดเห็น

การเมืองมวลชน คือการเมืองที่ประชาชนทั่วไป ไม่จำกัดเฉพาะชนชั้นสูง, นักธุรกิจ, กระฎุมพี หรือข้าราชการเท่านั้น เข้ามาร่วมต่อรองเชิงนโยบาย จะโดยผ่านการเลือกตั้ง หรือโดยการกดดันโดยวิธีอื่นใดก็ตาม เพื่อให้เป็นผลต่อการวางนโยบาย หรือดำเนินนโยบายสาธารณะ

การเมืองมวล ชนเป็นของใหม่ (ในยุโรปตะวันตกและสหรัฐ เพิ่งปรากฏหลัง 1830 ไปแล้วเท่านั้น) เป็นที่หวาดหวั่นของนักเสรีนิยมที่ได้อำนาจหลังการปฏิวัติอเมริกันและ ฝรั่งเศส ดังเช่นทอคเคอวิลล์ ซึ่งชื่นชมระบอบปกครองของสหรัฐอย่างมาก แสดงความหวาดผวาว่า สักวันที่คนอเมริกันระดับล่างได้เข้ามาร่วมเล่นการเมืองด้วย เมื่อนั้นระบอบปกครองอันมีประสิทธิภาพของอเมริกันก็คงจะพังพินาศลง และการเมืองอเมริกันก็ไม่ได้เป็นการเมืองมวลชนสืบมาจนถึงสมัยประธานาธิบดีแอ นดรูว์ แจ๊กสัน การเมืองอเมริกันจึงเปลี่ยนเป็นการเมืองมวลชน แม้กระนั้นทาสผิวดำก็ยังไม่มีสิทธิเลือกตั้งจนหลังสงครามกลางเมือง

ใน ยุโรป การเมืองมวลชนไม่ได้มาพร้อมกับการปฏิวัติ ประชาธิปไตยŽ นักเสรีนิยมกระฎุมพีซึ่งหวั่นเกรงบทบาททางการเมืองของมวลชนระดับล่าง จึงหันไปสนับสนุนการเมืองคณาธิปไตยของพวกเจ้าและชนชั้นสูง พวกเขาไม่ได้คิดหวังว่าประชาชนระดับล่างซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ ควรจะเข้ามามีบทบาทในการตัดสินใจทางการเมืองร่วมด้วย พวกเขาจะดูแลให้คนส่วนใหญ่ในระดับล่างอยู่ดีมีสุขเอง

วิธีกีดกันคน ส่วนใหญ่ออกไปจากกระบวนการทางการเมืองก็คือ ไม่ให้พวกเขาเข้าถึงสิทธิเลือกตั้ง วิธีกีดกันประชาชนจากสิทธิเลือกตั้งนั้นทำได้หลายอย่าง หากกีดกันโดยตรง ก็มักใช้การครอบครองทรัพย์สิน หรือการศึกษาเป็นเกณฑ์ เช่นเสียภาษีทรัพย์สินจึงได้สิทธิเลือกตั้ง หรือต้องได้รับการศึกษาถึงระดับนั้นระดับนี้จึงจะได้สิทธิเลือกตั้ง

แต่ มีวิธีที่ไม่ตรงไปตรงมา และซับซ้อนกว่าก็คือ ใช้ตัวการเลือกตั้งนั่นแหละเป็นการกีดกัน คนที่จะได้รับเลือกตั้งนั้นโดยทางกฎหมายแล้วคือ ใครก็ได้ที่เป็นพลเมืองของรัฐ แต่โดยความเป็นจริงแล้ว ไม่ใช่อย่างนั้นแน่ ต้องเป็นคนดังพอที่จะเป็นที่รู้จัก มีทุนทรัพย์พอที่จะรณรงค์หาเสียงอย่างได้ผล เป็นต้น สหรัฐใช้วิธีนี้ค่อนข้างมาก ตำแหน่งสาธารณะหลายตำแหน่งในรัฐต่างๆ ของสหรัฐ มักมาจากการเลือกตั้ง ซึ่งก็คือกีดกันมิให้ตาสีตาสาได้ดำรงตำแหน่งสาธารณะเหล่านั้นนั่นเอง

อย่าง ไรก็ตาม วิธีกีดกันที่ฝรั่งเสรีนิยมใช้กันมานั้น ถูกกดดันจนตัองยกเลิกไปในช่วงประมาณกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา เช่นการขยายสิทธิเลือกตั้งแก่พลเมืองทั่วไป (ผู้ชายเป็นอย่างน้อย) ก็ทำได้สำเร็จในประเทศยุโรปตะวันตกตั้งแต่ก่อนสิ้นศตวรรษนั้น การเมืองที่เปลี่ยนไปสู่การเมืองมวลชนทำความหนักอกให้ผู้ปกครองมาก ในบางครั้งการเปลี่ยนผ่านกว่าจะทำได้สำเร็จก็ต้องผ่านการนองเลือดอย่างหนัก เช่นเยอรมนีต้องแพ้สงครามโลกครั้งที่ 1 จนย่อยยับเสียก่อน บางครั้งถึงนองเลือดแล้วก็เปลี่ยนไม่ผ่านเช่น รัสเซียเป็นต้น

มีสอง ประเทศที่ออกจะโชคดีสักหน่อย คืออังกฤษและสหรัฐ ที่พรรคการเมืองซึ่งเป็นคู่แข่งกันอยู่ ต่างหันไปสนับสนุนการเมืองมวลชน ด้วยความหวังว่าตัวจะได้รับคะแนนเสียงจากเสื้อแดง อุ๊บส์...ขอประทานโทษ จากมวลชนระดับล่างซึ่งไม่มีสิทธิเลือกตั้งมาก่อน จึงบีบบังคับให้พรรคการเมืองแข่งกันในการปรับตัวเพื่อเอาชนะในการเมืองมวลชน

การ เปลี่ยนผ่านของสหรัฐและอังกฤษเข้าสู่การเมืองมวลชน จึงเป็นระเบียบและดูจะราบรื่นดีกว่าในอีกหลายประเทศ (จนบางคนไปเชื่อว่า ประชาธิปไตยเป็นการปกครองที่เหมาะกับพวกแองโกล-แซกซันเท่านั้น...ที่จริง ประชาธิปไตยจะราบรื่นหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนผ่านสู่การเมืองมวลชนนี่แหละ ส่วนที่ไม่ราบรื่นนั้นมีเงื่อนไขอื่นๆ ที่เป็นตัวกำหนดอีกมากกว่าชาติพันธุ์แยะ)

และประเด็นที่ผมอยากยกมา ชวนให้คิดก็เรื่องนี้แหละครับ คือการเปลี่ยนผ่านสู่การเมืองมวลชนในประเทศไทย ซึ่งดูท่าจะไม่ราบรื่นเอาเสียเลย ผมอยากจะยกเอาปัจจัยต่างๆ ที่เป็นเหตุให้การเปลี่ยนผ่านไม่ราบรื่น

ก่อนอื่นก็คงต้อง พูดซ้ำกับที่เคยพูดมาแล้วหลายหนว่า เราหลีกหนีการเมืองมวลชนในประเทศไทยไม่พ้นแล้ว ไม่ใช่เพียงตั้งแต่สมัยทักษิณเป็นต้นมานะครับ ผมคิดว่าสัญญาณให้เห็นการเคลื่อนไหวของมวลชนระดับล่าง เพื่อเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจเชิงนโยบายนั้น เกิดขึ้นมาก่อนทักษิณเป็นทศวรรษ ตั้งแต่การต่อต้านโรงไฟฟ้าบ้านกรูด-บ่อนอก, สมัชชาคนจน, กรณีพระประจักษ์, ฯลฯ ทั้งหมดนี้กระทำโดยไม่ผ่านกระบวนการทางการเมืองปกติ (เช่นไม่ผ่านพรรคการเมือง, ไม่ผ่านคณะรัฐประหาร, ไม่ได้ถวายฎีกา ฯลฯ) และแน่นอนไม่ใช่คนส่วนใหญ่ในหมู่ประชาชนระดับล่าง ผมเห็นว่าการเคลื่อนไหวเหล่านี้นำทางมาสู่การเคลื่อนไหวในวงกว้างอย่างที่ เราพบในช่วงก่อนและหลังรัฐประหาร 2549

ผมขอยืนยันว่า เราไม่มีทางจะถอยกลับไปสู่การเมืองที่จำกัดตัวอยู่เฉพาะชนชั้นนำได้อีกแล้ว ก็ขนาดล้อมปราบพวกเขาถึงตายเกือบร้อย เขายังไม่ถอย จะใช้วิธีอะไรอีกเล่าครับ

ปัญหามาอยู่ที่ว่า เหล่าคนที่เคยคุมการเมืองไทยมาก่อน สำนึกหรือยังว่าเราถอยกลับไม่ได้อีกแล้ว และพร้อมจะปรับตัวมาเล่นในการเมืองมวลชน และตรงนี้แหละครับที่ผมเห็นว่าไม่มีฝ่ายใดพร้อมจริงสักฝ่ายเดียว

เหมือน ประเทศอื่นๆ ที่ได้เกิดการเมืองมวลชนไปแล้ว เงื่อนไขที่ทำให้เกิดการเมืองมวลชนคือ เงื่อนไขทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นสำคัญ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระบบการผลิต ทำให้ไม่สามารถจำกัดการเมืองไว้ในราชสำนัก หรือกลุ่มชนชั้นนำหยิบมือเดียวได้อีกต่อไป

ผมขอเริ่มจากชนชั้นนำตาม ประเพณีก่อน จะว่าผู้นำของชนชั้นนำตามประเพณีปรับตัวได้เก่งก็ได้ เพราะในช่วงที่สถานะของพวกเขาถูกมหาอำนาจตะวันตกคุกคาม ผู้นำได้ปรับระบบปกครองไทยให้กลายเป็นระบบการุณยราช (Benevolent Despotism) ซึ่งทำให้เกิดความเป็นเอกภาพในการนำ เพราะระบบการุณยราชมาพร้อมกันกับระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่ความสามารถในการปรับตัวก็จำกัดอยู่เพียงนั้น

ระบบการุณยราชมีความ คิดทางการเมือง (แม้ไม่เหมือนก็) ไม่สู้ต่างจากพวกกระฎุมพีเสรีนิยมนัก นั่นคือ การปกครองที่ดีเกิดขึ้นได้ ต่อเมื่อปล่อยให้คนดีมีคุณธรรมและมีฝีมือ (โดยชาติกำเนิด ในขณะที่พวกกระฎุมพีเสรีนิยมเห็นว่าโดยการศึกษา) ถืออำนาจบริหารบ้านเมือง เพื่อประโยชน์สุขของมหาชน การบริหารบ้านเมืองเป็นวิชาชีพเฉพาะที่ไม่ใช่ทุกคนทำได้ ถ้าปล่อยให้มวลชน ซึ่งเปรียบไปก็เหมือนเพิ่งลงจากต้นไม้เมื่อวานนี้เอง เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารบ้านเมือง สังคมก็จะเละเทะ เช่นเจ๊กซื้อเสียงเข้าไปล้งเล้งในสภาเพื่อหาทางเซ็งลี้ลูกเดียว นักเลงอันธพาลซึ่งมีพวกมาก จะเข้าไปชูคอสลอนในสภาแห่งชาติ

ขนาดปรับ ตัวเพื่อให้รับกระฎุมพีเสรีนิยมเข้าไปเป็นหุ้นส่วนเท่านั้น ชนชั้นนำตามประเพณีของสยามยังทำไม่ได้ ฉะนั้นสาอะไรกับมวลชนคนส่วนใหญ่ ชนชั้นนำตามประเพณีย่อมมองเห็นการเมืองมวลชนเป็นโลกาวินาศอย่างแน่นอน

ผม อยากเตือนด้วยว่า ทั้งหมดนี้ไม่ได้มาจากแรงจูงใจที่จะรักษาอำนาจและผลประโยชน์ของตนอย่างเดียว ความเห็นแก่ตัวอย่างเดียวไม่สามารถอธิบายแรงจูงใจของใครได้จริงสักคน ไม่ต้องพูดถึงทั้ง ชนชั้นŽ หรอกครับ ในความหวั่นวิตกว่าตัวจะสูญเสียบทบาทและความสำคัญในการเมืองมวลชน ผมเชื่อว่ามีชนชั้นนำตามประเพณีจำนวนไม่น้อยที่เชื่ออย่างสนิทใจว่า เขาเท่านั้นที่รู้จักมวลชนดีที่สุด และเขาเท่านั้นที่มองเห็นทางออกของปัญหาที่มวลชนเผชิญอยู่ได้ชัดเจนแจ่มแจ้ง ที่สุด แจ่มแจ้งเสียยิ่งกว่าที่มวลชนจะมองเห็นได้เองเสียอีก

การ เมืองมวลชนของพวกเขาคือ ผู้ปกครองต้องใส่ใจทุกข์สุขของประชาชน โอบอุ้มช่วยเหลือประชาชนอย่างฉลาด (กว่าตัวประชาชนเอง) ไม่ใช่ไปให้สิทธิทางการเมือง หรือเปิดโอกาสทางการเมืองแก่ประชาชน เพราะเขาจะเอาสิทธิและโอกาสนั้นไปใช้ผิดๆ ทำให้ตัวเขาเองเสียหาย

ทำไม ชนชั้นนำตามประเพณีในบางประเทศจึงปรับตัวเข้ากับการเมืองมวลชนได้ และในบางประเทศทำไม่ได้ ผมคิดว่ามีเงื่อนไขสำคัญอยู่สองประการที่จะทำให้ชนชั้นนำตามประเพณีปรับตัว ได้หรือไม่ (อันแรกคือ ทรัพย์และอำนาจ เมื่อกระฎุมพีเสรีนิยมปฏิวัติ กับพรรคการเมืองของกระฎุมพีเสรีนิยมพร้อมจะปรับสู่การเมืองมวลชนหรือไม่)

เงื่อนไข แรกคือ ชนชั้นนำตามประเพณียังรักษาทรัพย์และอำนาจได้มากน้อยเพียงไร เมื่อถูกพวกกระฎุมพีเสรีนิยมปฏิวัติโค่นอำนาจลง ในกรณีไทย นักปฏิวัติกระฎุมพีมีอำนาจน้อยมาก และต้องเลือกหนทางประนีประนอมกับชนชั้นนำตามประเพณีมาแต่ต้น ดังนั้น ชนชั้นนำตามประเพณีจึงสามารถรักษาทรัพย์และอำนาจที่เคยมีอยู่ไว้ได้เป็นส่วน ใหญ่ ยิ่งมาในภายหลังสถานการณ์ทางการเมืองเอื้ออำนวยให้พวกเขารื้อฟื้น และสั่งสมอำนาจได้เพิ่มพูนขึ้นอย่างมาก โครงสร้างของการรักษาทรัพย์และอำนาจผูกพันกับชนชั้นนำกลุ่มอื่นอย่างแน่น แฟ้น จึงยิ่งยากที่จะปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลงได้ง่ายๆ เพราะไม่ว่าผู้นำของชนชั้นนำตามประเพณีจะคิดอย่างไร ก็มีพลังของกลุ่มชนชั้นนำประเภทอื่นที่มักจะขัดขวางความเปลี่ยนแปลงเสมอ

ในที่สุดก็ต้องหันไปเชิดอุดมการณ์ของระบบการุณยราชอย่างไม่มีทางเลือกอื่นเอาเลย

เปรียบ เทียบกับกรณีอังกฤษ ชนชั้นนำกลุ่มต่างๆ ผละจากสถาบันกษัตริย์ไปหาทางเจริญก้าวหน้าตามวิถีทางของตนเองในรัฐสภา (พูดอีกอย่างหนึ่งคือ ร่วมกับกระฎุมพีเสรีนิยม หรือกลายตัวเองเป็นกระฎุมพีเสรีนิยมไปเลย) ชนชั้นนำตามประเพณีของอังกฤษไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากต้องปรับตัวให้อยู่ร่วมกับการเมืองมวลชนที่ค่อยๆ ขยายตัวขึ้นให้ได้

อีก สถาบันหนึ่งที่น่าสนใจคือ พรรคการเมือง กระฎุมพีเสรีนิยมรวมตัวกันเองเป็นพรรคการ เมือง เพื่อแข่งขันกันในระบบการเมือง ที่ให้สิทธิทางการเมืองไว้จำกัดแต่ในหมู่กระฎุมพีด้วยกัน เพราะมวลชนถูกกีดกันออกไปจากสิทธิเลือกตั้ง ประเพณีทางการเมืองหลายอย่างในอังกฤษและสหรัฐเกิดขึ้นตั้งแต่ยังไม่มีการ เมืองมวลชนในสภา กลายเป็นแบบธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติกันในระบอบรัฐสภาสืบมาจนถึงทุกวันนี้ (เช่นจะพูดถึงบุคคลอื่นในสภา จะไม่เอ่ยชื่อ แต่จะเอ่ยถึงตำแหน่งที่เขาดำรงอยู่แทน เช่นท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติจากจังหวัด... เพื่อย้ำว่าไม่ใช่เรื่องส่วนตัว)

แต่ ดังที่กล่าวแล้วว่า ในบางประเทศเช่นสหรัฐและอังกฤษ พรรคการเมืองว่องไวในการปรับตัวอย่างมาก เมื่อการเมืองมวลชนเป็นสิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างน้อยก็เพื่อแข่งเอาชนะคู่แข่งในการเลือกตั้ง กลไกการแข่งขันทางการเมืองมวลชนพัฒนาขึ้นอย่างซับซ้อน นับตั้งแต่การโฆษณาหาเสียง การสร้างเครือข่ายสมาชิกและผู้สนับสนุน ไปจนถึงการหาทุนในการดำเนินการทางการเมือง

ที่สำคัญที่สุดซึ่งผมอยาก จะเน้นก็คือ ไม่มีพรรคการเมืองใดต้องการรื้อฟื้นระบอบเก่ากลับขึ้นมาอีก ถึงจะมีบางพรรคและบางโอกาสที่พรรคการเมืองหันไปอิงอำนาจของชนชั้นนำตาม ประเพณี ก็เพื่อแย่งอำนาจกันในระบอบใหม่

ครั้งหน้า ผมจะพูดถึงชนชั้นและสถาบันอื่นๆ ที่ควรมีส่วนช่วยให้การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่การเมืองมวลชนเป็นไปได้อย่างราบรื่น

ขอบคุณ... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1367841448&grpid=&catid=02&subcatid=0207 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 6 พ.ค.56
วันที่โพสต์: 7/05/2556 เวลา 03:13:30

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

การเมืองมวลชน คือการเมืองที่ประชาชนทั่วไป ไม่จำกัดเฉพาะชนชั้นสูง, นักธุรกิจ, กระฎุมพี หรือข้าราชการเท่านั้น เข้ามาร่วมต่อรองเชิงนโยบาย จะโดยผ่านการเลือกตั้ง หรือโดยการกดดันโดยวิธีอื่นใดก็ตาม เพื่อให้เป็นผลต่อการวางนโยบาย หรือดำเนินนโยบายสาธารณะ การเมืองมวล ชนเป็นของใหม่ (ในยุโรปตะวันตกและสหรัฐ เพิ่งปรากฏหลัง 1830 ไปแล้วเท่านั้น) เป็นที่หวาดหวั่นของนักเสรีนิยมที่ได้อำนาจหลังการปฏิวัติอเมริกันและ ฝรั่งเศส ดังเช่นทอคเคอวิลล์ ซึ่งชื่นชมระบอบปกครองของสหรัฐอย่างมาก แสดงความหวาดผวาว่า สักวันที่คนอเมริกันระดับล่างได้เข้ามาร่วมเล่นการเมืองด้วย เมื่อนั้นระบอบปกครองอันมีประสิทธิภาพของอเมริกันก็คงจะพังพินาศลง และการเมืองอเมริกันก็ไม่ได้เป็นการเมืองมวลชนสืบมาจนถึงสมัยประธานาธิบดีแอ นดรูว์ แจ๊กสัน การเมืองอเมริกันจึงเปลี่ยนเป็นการเมืองมวลชน แม้กระนั้นทาสผิวดำก็ยังไม่มีสิทธิเลือกตั้งจนหลังสงครามกลางเมือง ใน ยุโรป การเมืองมวลชนไม่ได้มาพร้อมกับการปฏิวัติ ประชาธิปไตยŽ นักเสรีนิยมกระฎุมพีซึ่งหวั่นเกรงบทบาททางการเมืองของมวลชนระดับล่าง จึงหันไปสนับสนุนการเมืองคณาธิปไตยของพวกเจ้าและชนชั้นสูง พวกเขาไม่ได้คิดหวังว่าประชาชนระดับล่างซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ ควรจะเข้ามามีบทบาทในการตัดสินใจทางการเมืองร่วมด้วย พวกเขาจะดูแลให้คนส่วนใหญ่ในระดับล่างอยู่ดีมีสุขเอง วิธีกีดกันคน ส่วนใหญ่ออกไปจากกระบวนการทางการเมืองก็คือ ไม่ให้พวกเขาเข้าถึงสิทธิเลือกตั้ง วิธีกีดกันประชาชนจากสิทธิเลือกตั้งนั้นทำได้หลายอย่าง หากกีดกันโดยตรง ก็มักใช้การครอบครองทรัพย์สิน หรือการศึกษาเป็นเกณฑ์ เช่นเสียภาษีทรัพย์สินจึงได้สิทธิเลือกตั้ง หรือต้องได้รับการศึกษาถึงระดับนั้นระดับนี้จึงจะได้สิทธิเลือกตั้ง แต่ มีวิธีที่ไม่ตรงไปตรงมา และซับซ้อนกว่าก็คือ ใช้ตัวการเลือกตั้งนั่นแหละเป็นการกีดกัน คนที่จะได้รับเลือกตั้งนั้นโดยทางกฎหมายแล้วคือ ใครก็ได้ที่เป็นพลเมืองของรัฐ แต่โดยความเป็นจริงแล้ว ไม่ใช่อย่างนั้นแน่ ต้องเป็นคนดังพอที่จะเป็นที่รู้จัก มีทุนทรัพย์พอที่จะรณรงค์หาเสียงอย่างได้ผล เป็นต้น สหรัฐใช้วิธีนี้ค่อนข้างมาก ตำแหน่งสาธารณะหลายตำแหน่งในรัฐต่างๆ ของสหรัฐ มักมาจากการเลือกตั้ง ซึ่งก็คือกีดกันมิให้ตาสีตาสาได้ดำรงตำแหน่งสาธารณะเหล่านั้นนั่นเอง อย่าง ไรก็ตาม วิธีกีดกันที่ฝรั่งเสรีนิยมใช้กันมานั้น ถูกกดดันจนตัองยกเลิกไปในช่วงประมาณกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา เช่นการขยายสิทธิเลือกตั้งแก่พลเมืองทั่วไป (ผู้ชายเป็นอย่างน้อย) ก็ทำได้สำเร็จในประเทศยุโรปตะวันตกตั้งแต่ก่อนสิ้นศตวรรษนั้น การเมืองที่เปลี่ยนไปสู่การเมืองมวลชนทำความหนักอกให้ผู้ปกครองมาก ในบางครั้งการเปลี่ยนผ่านกว่าจะทำได้สำเร็จก็ต้องผ่านการนองเลือดอย่างหนัก เช่นเยอรมนีต้องแพ้สงครามโลกครั้งที่ 1 จนย่อยยับเสียก่อน บางครั้งถึงนองเลือดแล้วก็เปลี่ยนไม่ผ่านเช่น รัสเซียเป็นต้น มีสอง ประเทศที่ออกจะโชคดีสักหน่อย คืออังกฤษและสหรัฐ ที่พรรคการเมืองซึ่งเป็นคู่แข่งกันอยู่ ต่างหันไปสนับสนุนการเมืองมวลชน ด้วยความหวังว่าตัวจะได้รับคะแนนเสียงจากเสื้อแดง อุ๊บส์...ขอประทานโทษ จากมวลชนระดับล่างซึ่งไม่มีสิทธิเลือกตั้งมาก่อน จึงบีบบังคับให้พรรคการเมืองแข่งกันในการปรับตัวเพื่อเอาชนะในการเมืองมวลชน การ เปลี่ยนผ่านของสหรัฐและอังกฤษเข้าสู่การเมืองมวลชน จึงเป็นระเบียบและดูจะราบรื่นดีกว่าในอีกหลายประเทศ (จนบางคนไปเชื่อว่า ประชาธิปไตยเป็นการปกครองที่เหมาะกับพวกแองโกล-แซกซันเท่านั้น...ที่จริง ประชาธิปไตยจะราบรื่นหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนผ่านสู่การเมืองมวลชนนี่แหละ ส่วนที่ไม่ราบรื่นนั้นมีเงื่อนไขอื่นๆ ที่เป็นตัวกำหนดอีกมากกว่าชาติพันธุ์แยะ) และประเด็นที่ผมอยากยกมา ชวนให้คิดก็เรื่องนี้แหละครับ คือการเปลี่ยนผ่านสู่การเมืองมวลชนในประเทศไทย ซึ่งดูท่าจะไม่ราบรื่นเอาเสียเลย ผมอยากจะยกเอาปัจจัยต่างๆ ที่เป็นเหตุให้การเปลี่ยนผ่านไม่ราบรื่น ก่อนอื่นก็คงต้อง พูดซ้ำกับที่เคยพูดมาแล้วหลายหนว่า เราหลีกหนีการเมืองมวลชนในประเทศไทยไม่พ้นแล้ว ไม่ใช่เพียงตั้งแต่สมัยทักษิณเป็นต้นมานะครับ ผมคิดว่าสัญญาณให้เห็นการเคลื่อนไหวของมวลชนระดับล่าง เพื่อเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจเชิงนโยบายนั้น เกิดขึ้นมาก่อนทักษิณเป็นทศวรรษ ตั้งแต่การต่อต้านโรงไฟฟ้าบ้านกรูด-บ่อนอก, สมัชชาคนจน, กรณีพระประจักษ์, ฯลฯ ทั้งหมดนี้กระทำโดยไม่ผ่านกระบวนการทางการเมืองปกติ (เช่นไม่ผ่านพรรคการเมือง, ไม่ผ่านคณะรัฐประหาร, ไม่ได้ถวายฎีกา ฯลฯ) และแน่นอนไม่ใช่คนส่วนใหญ่ในหมู่ประชาชนระดับล่าง ผมเห็นว่าการเคลื่อนไหวเหล่านี้นำทางมาสู่การเคลื่อนไหวในวงกว้างอย่างที่ เราพบในช่วงก่อนและหลังรัฐประหาร 2549 ผมขอยืนยันว่า เราไม่มีทางจะถอยกลับไปสู่การเมืองที่จำกัดตัวอยู่เฉพาะชนชั้นนำได้อีกแล้ว ก็ขนาดล้อมปราบพวกเขาถึงตายเกือบร้อย เขายังไม่ถอย จะใช้วิธีอะไรอีกเล่าครับ ปัญหามาอยู่ที่ว่า เหล่าคนที่เคยคุมการเมืองไทยมาก่อน สำนึกหรือยังว่าเราถอยกลับไม่ได้อีกแล้ว และพร้อมจะปรับตัวมาเล่นในการเมืองมวลชน และตรงนี้แหละครับที่ผมเห็นว่าไม่มีฝ่ายใดพร้อมจริงสักฝ่ายเดียว เหมือน ประเทศอื่นๆ ที่ได้เกิดการเมืองมวลชนไปแล้ว เงื่อนไขที่ทำให้เกิดการเมืองมวลชนคือ เงื่อนไขทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นสำคัญ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระบบการผลิต ทำให้ไม่สามารถจำกัดการเมืองไว้ในราชสำนัก หรือกลุ่มชนชั้นนำหยิบมือเดียวได้อีกต่อไป ผมขอเริ่มจากชนชั้นนำตาม ประเพณีก่อน จะว่าผู้นำของชนชั้นนำตามประเพณีปรับตัวได้เก่งก็ได้ เพราะในช่วงที่สถานะของพวกเขาถูกมหาอำนาจตะวันตกคุกคาม ผู้นำได้ปรับระบบปกครองไทยให้กลายเป็นระบบการุณยราช (Benevolent Despotism) ซึ่งทำให้เกิดความเป็นเอกภาพในการนำ เพราะระบบการุณยราชมาพร้อมกันกับระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่ความสามารถในการปรับตัวก็จำกัดอยู่เพียงนั้น ระบบการุณยราชมีความ คิดทางการเมือง (แม้ไม่เหมือนก็) ไม่สู้ต่างจากพวกกระฎุมพีเสรีนิยมนัก นั่นคือ การปกครองที่ดีเกิดขึ้นได้ ต่อเมื่อปล่อยให้คนดีมีคุณธรรมและมีฝีมือ (โดยชาติกำเนิด ในขณะที่พวกกระฎุมพีเสรีนิยมเห็นว่าโดยการศึกษา) ถืออำนาจบริหารบ้านเมือง เพื่อประโยชน์สุขของมหาชน การบริหารบ้านเมืองเป็นวิชาชีพเฉพาะที่ไม่ใช่ทุกคนทำได้ ถ้าปล่อยให้มวลชน ซึ่งเปรียบไปก็เหมือนเพิ่งลงจากต้นไม้เมื่อวานนี้เอง เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารบ้านเมือง สังคมก็จะเละเทะ เช่นเจ๊กซื้อเสียงเข้าไปล้งเล้งในสภาเพื่อหาทางเซ็งลี้ลูกเดียว นักเลงอันธพาลซึ่งมีพวกมาก จะเข้าไปชูคอสลอนในสภาแห่งชาติ ขนาดปรับ ตัวเพื่อให้รับกระฎุมพีเสรีนิยมเข้าไปเป็นหุ้นส่วนเท่านั้น ชนชั้นนำตามประเพณีของสยามยังทำไม่ได้ ฉะนั้นสาอะไรกับมวลชนคนส่วนใหญ่ ชนชั้นนำตามประเพณีย่อมมองเห็นการเมืองมวลชนเป็นโลกาวินาศอย่างแน่นอน ผม อยากเตือนด้วยว่า ทั้งหมดนี้ไม่ได้มาจากแรงจูงใจที่จะรักษาอำนาจและผลประโยชน์ของตนอย่างเดียว ความเห็นแก่ตัวอย่างเดียวไม่สามารถอธิบายแรงจูงใจของใครได้จริงสักคน ไม่ต้องพูดถึงทั้ง ชนชั้นŽ หรอกครับ ในความหวั่นวิตกว่าตัวจะสูญเสียบทบาทและความสำคัญในการเมืองมวลชน ผมเชื่อว่ามีชนชั้นนำตามประเพณีจำนวนไม่น้อยที่เชื่ออย่างสนิทใจว่า เขาเท่านั้นที่รู้จักมวลชนดีที่สุด และเขาเท่านั้นที่มองเห็นทางออกของปัญหาที่มวลชนเผชิญอยู่ได้ชัดเจนแจ่มแจ้ง ที่สุด แจ่มแจ้งเสียยิ่งกว่าที่มวลชนจะมองเห็นได้เองเสียอีก การ เมืองมวลชนของพวกเขาคือ ผู้ปกครองต้องใส่ใจทุกข์สุขของประชาชน โอบอุ้มช่วยเหลือประชาชนอย่างฉลาด (กว่าตัวประชาชนเอง) ไม่ใช่ไปให้สิทธิทางการเมือง หรือเปิดโอกาสทางการเมืองแก่ประชาชน เพราะเขาจะเอาสิทธิและโอกาสนั้นไปใช้ผิดๆ ทำให้ตัวเขาเองเสียหาย ทำไม ชนชั้นนำตามประเพณีในบางประเทศจึงปรับตัวเข้ากับการเมืองมวลชนได้ และในบางประเทศทำไม่ได้ ผมคิดว่ามีเงื่อนไขสำคัญอยู่สองประการที่จะทำให้ชนชั้นนำตามประเพณีปรับตัว ได้หรือไม่ (อันแรกคือ ทรัพย์และอำนาจ เมื่อกระฎุมพีเสรีนิยมปฏิวัติ กับพรรคการเมืองของกระฎุมพีเสรีนิยมพร้อมจะปรับสู่การเมืองมวลชนหรือไม่) เงื่อนไข แรกคือ ชนชั้นนำตามประเพณียังรักษาทรัพย์และอำนาจได้มากน้อยเพียงไร เมื่อถูกพวกกระฎุมพีเสรีนิยมปฏิวัติโค่นอำนาจลง ในกรณีไทย นักปฏิวัติกระฎุมพีมีอำนาจน้อยมาก

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง