การเมืองแรง'องค์กร'หาช่องป้องตัวเอง

แสดงความคิดเห็น

การเมืองแรง'องค์กร'ร้อนหาช่องป้องตัวเอง : ขยายปมร้อน โดยโอภาส บุญล้อม สมถวิล เทพสวัสดิ์

ความเคลื่อนไหวทางการเมืองขณะนี้ไม่ต่างกับ "เกมชิงไหวชิงพริบ" ในแง่ของกฎหมายโดยอาศัย "องค์กร" ที่เกี่ยวข้องจับโยงเป็นเกมการเมือง

ดูจากฟากฝั่งของพรรคเพื่อไทยที่ขณะนี้เริ่มจะเคลื่อนไหวเตรียมออกจดหมายเปิด ผนึกค้านอำนาจ "ศาลรัฐธรรมนูญ" ที่รับคำร้องของส.ว.เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา

ต้องถือว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราครั้งนี้หัวเรือใหญ่คือ "พรรคเพื่อไทย" และ "ส.ว.อีกจำนวนหนึ่ง" ที่แยกกันยื่นแก้ไข เพื่อไม่ให้ขัดข้อกฎหมายเรื่องมีส่วนได้ส่วนเสียกับมาตราที่แก้ไข จนถูกโจมตีเป็น "รัฐธรรมนูญฉบับสมยอม"

และเมื่อศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องของส.ว.เกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา 68 จนทำให้ทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทยและส.ว.ออกแถลงการณ์คัดค้านเรื่อง "อำนาจ" ของศาลรัฐธรรมนูญในการรับคำร้องดังกล่าว

ขณะที่มีส.ว.จำนวนหนึ่งถึงขั้นเตรียมยื่นถอดถอน เมื่อไม่พอใจการใช้อำนาจหน้าที่ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

ภาพการเมืองในขณะนี้จึงเกิดภาพ "พรรคเพื่อไทย" ข้องใจการใช้อำนาจของ "ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ"

ส่วน "พรรคประชาธิปัตย์" ก็ข้องใจในการใช้อำนาจของ "กรมสอบสวนคดีพิเศษ" (ดีเอสไอ) ในการทำคดีที่เกี่ยวโยงกับพรรคประชาธิปัตย์โดยมองว่า ดีเอสไอกำลังถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อดิสเครดิตฝ่ายตรงข้าม

ดังนั้น "องค์กร" หรือหน่วยงานที่เกี่ยวกับ "คดีการเมือง" จึงต้องพยายามหาช่องทางกฎหมายเพื่อชี้ให้เห็นถึงการมีอำนาจและหน้าที่ในการ รับทำคดีดังกล่าว

เช่นกรณีของ "พรรคประชาธิปัตย์" ที่เผชิญอยู่กับคดีการบริจาคเงินเข้าพรรคที่เริ่มเข้าสู่ช่วงสำคัญอีกครั้ง หลังจากสภาปิดสมัยประชุมทำให้ส.ส.ไม่มีเอกสิทธิ์คุ้มครอง กรมสอบสวนคดีพิเศษ จึงทยอยเรียกส.ส.ประชาธิปัตย์ทั้งหมด 48 คน เข้ารับทราบข้อหากรณี "เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ" อดีตส.ว.ได้ร้องต่อดีเอสไอให้ตรวจสอบการบริจาคเงินเข้าพรรคประชาธิปัตย์ของ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ที่ใช้วิธีให้ "สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร" หักเงินเดือนส.ส.จากบัญชีเงินเดือน บริจาคเงินให้พรรคแทนการสั่งจ่ายเป็นตั๋วแลกเงินหรือเช็คขีดคร่อมตามที่ พ.ร.บ.พรรคการเมือง 2550 กำหนด ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงปี 2551-2555

โดย "ดีเอสไอ" ได้ทยอยเรียกผู้ถูกกล่าวหาเข้าพบเพื่อแจ้งข้อหาเฉลี่ยวันละ 6 คน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 23 เมษายนที่ผ่านมา สำหรับ "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ดีเอสไอจะเรียกเข้ารับทราบข้อหาเพิ่มเติมในวันที่ 2 พฤษภาคมนี้ หลังจากพบว่า "อภิสิทธิ์" ในช่วงเป็น "นายกรัฐมนตรี" ได้ให้ "สำนักนายกรัฐมนตรี" ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินเดือน ให้หักเงินเดือนจากบัญชีบริจาคเงินให้พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งก่อนหน้านี้ "อภิสิทธิ์" ได้เข้ารับทราบข้อหากับดีเอสไอแล้วในฐานะส.ส.

ส่วนเหตุผลที่ "ดีเอสไอ" ดำเนินคดีกับส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ในเรื่องนี้โดยมองไปถึง "วิธีการการบริจาคเงิน" ให้พรรคการเมืองว่าต้องเคร่งครัดทำตามที่กฎหมายกำหนดจะใช้วิธีอื่นที่แตก ต่างออกไปไม่ได้

ดังนั้นเมื่อ พ.ร.บ.พรรคการเมือง พ.ศ. 2550 มาตรา 57 วรรคสอง ที่กำหนดว่าการบริจาคแก่พรรคการเมืองตั้งแต่ 2 หมื่นบาทขึ้นไป จะต้องบริจาคโดยวิธีการสั่งจ่ายเป็นตั๋วแลกเงิน (แคชเชียร์เช็ค) หรือเช็คขีดคร่อมการบริจาคเงินแก่พรรคก็ต้องทำได้เพียง 2 วิธีนี้เท่านั้น "พ.ต.อ.นิรันดร์ อดุลยาศักดิ์" หัวหน้าพนักงานสอบสวนคดีนี้ บอกว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องเทคนิคเปรียบเสมือนว่า ถ้าเขาบอกว่าออกจากบ้านต้องก้าวเท้าซ้ายก่อนแต่กลับไปก้าวเท้าขวาอย่างนี้ก็ ผิดทันที และการบริจาคเงินให้พรรคการเมืองต้องมีบันทึกการบริจาคเงินและแต่ละคนที่ บริจาคต้องเซ็นรับทราบในบันทึกการบริจาคและต้องมีการออกใบเสร็จให้คนบริจาค เป็นคนคนไป แต่กรณีของส.ส.ประชาธิปัตย์บริจาคเงินให้พรรคไม่มีสิ่งเหล่านี้เลย เพราะใช้วิธีหักเงินเดือน ส.ส.มารวมๆ กันแล้วออกใบเสร็จในนาม ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เป็นยอดเงินรวมทั้งที่ก่อนหน้านี้ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ก็เคยทำตามวิธีการที่กฎหมายกำหนดแต่กลับมาเปลี่ยนในภายหลัง และที่กฎหมายต้องการให้ออกใบเสร็จให้ผู้บริจาคเป็นคนคนไป ก็เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบที่มาที่ไปของเงินบริจาคได้ง่าย

อย่างไรก็ตามในแง่มุมของดีเอสไอไม่ได้มองว่า ส.ส.หรือพรรคประชาธิปัตย์ จะได้ประโยชน์อะไรจากการที่ใช้วิธีหักเงินเดือนส.ส.บริจาคเงินเข้าพรรคแทน ที่จะบริจาคโดยวิธีการสั่งจ่ายเป็นตั๋วแลกเงินหรือเช็คขีดคร่อมตามที่กฎหมาย กำหนดมาเป็นประเด็นหลัก

ขณะที่ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์เคยออกแถลงการณ์ต่อสู้ข้อกล่าวหาโดยแย้งว่า

1.พรรคประชาธิปัตย์มีธรรมเนียมปฏิบัติมานานแล้วว่าส.ส.ของพรรคและผู้มี ตำแหน่งต่างๆ ของพรรคจะยินยอมสละเงินเดือนของตนเองเพื่อบริจาคเป็นเงินบำรุงให้กับพรรคประ ชาธิปัตย์โดยให้สภาผู้แทนราษฎรหักเงินเดือนของตนเองจ่ายเป็นค่าบำรุงพรรค เพื่อที่พรรคจะได้นำไปใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมทางการเมือง

2.การจ่ายเงินค่าบำรุงพรรคของส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ส.ส.ของพรรคได้มอบอำนาจให้สภาผู้แทนราษฎรสั่งจ่ายเป็นเช็คขีดคร่อมให้กับ พรรคประชาธิปัตย์ จึงเป็นการทำถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย และสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ต้องการให้การบริจาคเงินให้แก่พรรคการ เมืองเป็นไปโดยโปร่งใสและตรวจสอบที่มาที่ไปของเงินบริจาคได้

3.การบริจาคเงินบำรุงพรรคการเมืองดังกล่าวได้ทำภายใต้การควบคุมขององค์กรที่ มีหน้าที่กำกับดูแลตลอดมาโดยในช่วงปี พ.ศ.2550-ปัจจุบัน พรรคได้รายงานการจ่ายเงินค่าบำรุงของ ส.ส.พรรคต่อกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)และนายทะเบียนพรรคการเมือง ตามขั้นตอนของกฎหมายพ.ร.บ.พรรคการเมือง 2550 ตามความเป็นจริงและด้วยความโปร่งใสตลอดมา ซึ่งกกต. และนายทะเบียนได้รับทราบ และรับรองความถูกต้องของการจ่ายเงินค่าบำรุงพรรคการเมืองดังกล่าวของ ส.ส.มาโดยตลอด

4.ดีเอสไอไม่มีอำนาจทำคดีนี้เพราะเป็นอำนาจของ กกต.

ส่วน "กรรมการการเลือกตั้ง" (กกต.) โดย "สดศรี สัตยธรรม" ได้ให้ความเห็นว่า การหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีการจ่ายเงินเดือน เพื่อบริจาคเงินให้พรรคการเมืองสามารถทำได้ เพราะว่าการหักเงินเดือนส.ส.จากบัญชีเงินฝากต้องไปผ่านวิธีการทางธนาคาร เพื่อถอนเงินออกมาซึ่งก็จะมีหลักฐานในการถอนเงินหรือหลักฐานทางธนาคารให้ เห็นอยู่แล้ว จึงเป็นไปตาม พ.ร.บ.พรรคการเมืองพ.ศ. 2550

แต่ประเด็นสำคัญที่ "พรรคประชาธิปัตย์" และ "ดีเอสไอ" เห็นต่างกันคือ ในเมื่อเป็นการทำผิดตามพ.ร.บ.พรรคการเมือง ทำไม "ดีเอสไอ" จึงไม่ส่งเรื่องให้ "กกต." ดำเนินการ ขณะที่ "ดีเอสไอ" มองว่าเรื่องนี้ความผิดถือเป็นคดีอาญาไม่ใช่อำนาจของ กกต.

ดังนั้น "ดีเอสไอ" ซึ่งรู้ตัวว่ากำลังตกเป็นเครื่องมือทางการเมือง จึงต้องพยายามหาช่องของข้อกฎหมายเพื่ออ้างถึง "อำนาจ" ในการรับทำคดี ส่วนผลลัพธ์หลังส่งสำนวนให้อัยการส่งฟ้องต่อศาลจะออกมาอย่างไรขึ้นอยู่กับ อนาคต เวลานี้ "ดีเอสไอ" ต้องประคองตัวให้รอดปลอดภัยเอาไว้ก่อน

ขอบคุณ http://www.komchadluek.net/detail/20130424/156796/การเมืองแรงองค์กรหาช่องป้องตัวเอง.html#.UXdJCEqkPZ4 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 23 เม.ย.56
วันที่โพสต์: 24/04/2556 เวลา 03:26:06

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

การเมืองแรง'องค์กร'ร้อนหาช่องป้องตัวเอง : ขยายปมร้อน โดยโอภาส บุญล้อม สมถวิล เทพสวัสดิ์ ความเคลื่อนไหวทางการเมืองขณะนี้ไม่ต่างกับ "เกมชิงไหวชิงพริบ" ในแง่ของกฎหมายโดยอาศัย "องค์กร" ที่เกี่ยวข้องจับโยงเป็นเกมการเมือง ดูจากฟากฝั่งของพรรคเพื่อไทยที่ขณะนี้เริ่มจะเคลื่อนไหวเตรียมออกจดหมายเปิด ผนึกค้านอำนาจ "ศาลรัฐธรรมนูญ" ที่รับคำร้องของส.ว.เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา ต้องถือว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราครั้งนี้หัวเรือใหญ่คือ "พรรคเพื่อไทย" และ "ส.ว.อีกจำนวนหนึ่ง" ที่แยกกันยื่นแก้ไข เพื่อไม่ให้ขัดข้อกฎหมายเรื่องมีส่วนได้ส่วนเสียกับมาตราที่แก้ไข จนถูกโจมตีเป็น "รัฐธรรมนูญฉบับสมยอม" และเมื่อศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องของส.ว.เกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา 68 จนทำให้ทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทยและส.ว.ออกแถลงการณ์คัดค้านเรื่อง "อำนาจ" ของศาลรัฐธรรมนูญในการรับคำร้องดังกล่าว ขณะที่มีส.ว.จำนวนหนึ่งถึงขั้นเตรียมยื่นถอดถอน เมื่อไม่พอใจการใช้อำนาจหน้าที่ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ภาพการเมืองในขณะนี้จึงเกิดภาพ "พรรคเพื่อไทย" ข้องใจการใช้อำนาจของ "ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ" ส่วน "พรรคประชาธิปัตย์" ก็ข้องใจในการใช้อำนาจของ "กรมสอบสวนคดีพิเศษ" (ดีเอสไอ) ในการทำคดีที่เกี่ยวโยงกับพรรคประชาธิปัตย์โดยมองว่า ดีเอสไอกำลังถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อดิสเครดิตฝ่ายตรงข้าม ดังนั้น "องค์กร" หรือหน่วยงานที่เกี่ยวกับ "คดีการเมือง" จึงต้องพยายามหาช่องทางกฎหมายเพื่อชี้ให้เห็นถึงการมีอำนาจและหน้าที่ในการ รับทำคดีดังกล่าว เช่นกรณีของ "พรรคประชาธิปัตย์" ที่เผชิญอยู่กับคดีการบริจาคเงินเข้าพรรคที่เริ่มเข้าสู่ช่วงสำคัญอีกครั้ง หลังจากสภาปิดสมัยประชุมทำให้ส.ส.ไม่มีเอกสิทธิ์คุ้มครอง กรมสอบสวนคดีพิเศษ จึงทยอยเรียกส.ส.ประชาธิปัตย์ทั้งหมด 48 คน เข้ารับทราบข้อหากรณี "เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ" อดีตส.ว.ได้ร้องต่อดีเอสไอให้ตรวจสอบการบริจาคเงินเข้าพรรคประชาธิปัตย์ของ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ที่ใช้วิธีให้ "สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร" หักเงินเดือนส.ส.จากบัญชีเงินเดือน บริจาคเงินให้พรรคแทนการสั่งจ่ายเป็นตั๋วแลกเงินหรือเช็คขีดคร่อมตามที่ พ.ร.บ.พรรคการเมือง 2550 กำหนด ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงปี 2551-2555 โดย "ดีเอสไอ" ได้ทยอยเรียกผู้ถูกกล่าวหาเข้าพบเพื่อแจ้งข้อหาเฉลี่ยวันละ 6 คน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 23 เมษายนที่ผ่านมา สำหรับ "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ดีเอสไอจะเรียกเข้ารับทราบข้อหาเพิ่มเติมในวันที่ 2 พฤษภาคมนี้ หลังจากพบว่า "อภิสิทธิ์" ในช่วงเป็น "นายกรัฐมนตรี" ได้ให้ "สำนักนายกรัฐมนตรี" ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินเดือน ให้หักเงินเดือนจากบัญชีบริจาคเงินให้พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งก่อนหน้านี้ "อภิสิทธิ์" ได้เข้ารับทราบข้อหากับดีเอสไอแล้วในฐานะส.ส. ส่วนเหตุผลที่ "ดีเอสไอ" ดำเนินคดีกับส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ในเรื่องนี้โดยมองไปถึง "วิธีการการบริจาคเงิน" ให้พรรคการเมืองว่าต้องเคร่งครัดทำตามที่กฎหมายกำหนดจะใช้วิธีอื่นที่แตก ต่างออกไปไม่ได้ ดังนั้นเมื่อ พ.ร.บ.พรรคการเมือง พ.ศ. 2550 มาตรา 57 วรรคสอง ที่กำหนดว่าการบริจาคแก่พรรคการเมืองตั้งแต่ 2 หมื่นบาทขึ้นไป จะต้องบริจาคโดยวิธีการสั่งจ่ายเป็นตั๋วแลกเงิน (แคชเชียร์เช็ค) หรือเช็คขีดคร่อมการบริจาคเงินแก่พรรคก็ต้องทำได้เพียง 2 วิธีนี้เท่านั้น "พ.ต.อ.นิรันดร์ อดุลยาศักดิ์" หัวหน้าพนักงานสอบสวนคดีนี้ บอกว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องเทคนิคเปรียบเสมือนว่า ถ้าเขาบอกว่าออกจากบ้านต้องก้าวเท้าซ้ายก่อนแต่กลับไปก้าวเท้าขวาอย่างนี้ก็ ผิดทันที และการบริจาคเงินให้พรรคการเมืองต้องมีบันทึกการบริจาคเงินและแต่ละคนที่ บริจาคต้องเซ็นรับทราบในบันทึกการบริจาคและต้องมีการออกใบเสร็จให้คนบริจาค เป็นคนคนไป แต่กรณีของส.ส.ประชาธิปัตย์บริจาคเงินให้พรรคไม่มีสิ่งเหล่านี้เลย เพราะใช้วิธีหักเงินเดือน ส.ส.มารวมๆ กันแล้วออกใบเสร็จในนาม ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เป็นยอดเงินรวมทั้งที่ก่อนหน้านี้ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ก็เคยทำตามวิธีการที่กฎหมายกำหนดแต่กลับมาเปลี่ยนในภายหลัง และที่กฎหมายต้องการให้ออกใบเสร็จให้ผู้บริจาคเป็นคนคนไป ก็เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบที่มาที่ไปของเงินบริจาคได้ง่าย อย่างไรก็ตามในแง่มุมของดีเอสไอไม่ได้มองว่า ส.ส.หรือพรรคประชาธิปัตย์ จะได้ประโยชน์อะไรจากการที่ใช้วิธีหักเงินเดือนส.ส.บริจาคเงินเข้าพรรคแทน ที่จะบริจาคโดยวิธีการสั่งจ่ายเป็นตั๋วแลกเงินหรือเช็คขีดคร่อมตามที่กฎหมาย กำหนดมาเป็นประเด็นหลัก ขณะที่ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์เคยออกแถลงการณ์ต่อสู้ข้อกล่าวหาโดยแย้งว่า 1.พรรคประชาธิปัตย์มีธรรมเนียมปฏิบัติมานานแล้วว่าส.ส.ของพรรคและผู้มี ตำแหน่งต่างๆ ของพรรคจะยินยอมสละเงินเดือนของตนเองเพื่อบริจาคเป็นเงินบำรุงให้กับพรรคประ ชาธิปัตย์โดยให้สภาผู้แทนราษฎรหักเงินเดือนของตนเองจ่ายเป็นค่าบำรุงพรรค เพื่อที่พรรคจะได้นำไปใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมทางการเมือง 2.การจ่ายเงินค่าบำรุงพรรคของส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ส.ส.ของพรรคได้มอบอำนาจให้สภาผู้แทนราษฎรสั่งจ่ายเป็นเช็คขีดคร่อมให้กับ พรรคประชาธิปัตย์ จึงเป็นการทำถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย และสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ต้องการให้การบริจาคเงินให้แก่พรรคการ เมืองเป็นไปโดยโปร่งใสและตรวจสอบที่มาที่ไปของเงินบริจาคได้ 3.การบริจาคเงินบำรุงพรรคการเมืองดังกล่าวได้ทำภายใต้การควบคุมขององค์กรที่ มีหน้าที่กำกับดูแลตลอดมาโดยในช่วงปี พ.ศ.2550-ปัจจุบัน พรรคได้รายงานการจ่ายเงินค่าบำรุงของ ส.ส.พรรคต่อกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)และนายทะเบียนพรรคการเมือง ตามขั้นตอนของกฎหมายพ.ร.บ.พรรคการเมือง 2550 ตามความเป็นจริงและด้วยความโปร่งใสตลอดมา ซึ่งกกต. และนายทะเบียนได้รับทราบ และรับรองความถูกต้องของการจ่ายเงินค่าบำรุงพรรคการเมืองดังกล่าวของ ส.ส.มาโดยตลอด 4.ดีเอสไอไม่มีอำนาจทำคดีนี้เพราะเป็นอำนาจของ กกต. ส่วน "กรรมการการเลือกตั้ง" (กกต.) โดย "สดศรี สัตยธรรม" ได้ให้ความเห็นว่า การหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่มีการจ่ายเงินเดือน เพื่อบริจาคเงินให้พรรคการเมืองสามารถทำได้ เพราะว่าการหักเงินเดือนส.ส.จากบัญชีเงินฝากต้องไปผ่านวิธีการทางธนาคาร เพื่อถอนเงินออกมาซึ่งก็จะมีหลักฐานในการถอนเงินหรือหลักฐานทางธนาคารให้ เห็นอยู่แล้ว จึงเป็นไปตาม พ.ร.บ.พรรคการเมืองพ.ศ. 2550 แต่ประเด็นสำคัญที่ "พรรคประชาธิปัตย์" และ "ดีเอสไอ" เห็นต่างกันคือ ในเมื่อเป็นการทำผิดตามพ.ร.บ.พรรคการเมือง ทำไม "ดีเอสไอ" จึงไม่ส่งเรื่องให้ "กกต." ดำเนินการ ขณะที่ "ดีเอสไอ" มองว่าเรื่องนี้ความผิดถือเป็นคดีอาญาไม่ใช่อำนาจของ กกต. ดังนั้น "ดีเอสไอ" ซึ่งรู้ตัวว่ากำลังตกเป็นเครื่องมือทางการเมือง จึงต้องพยายามหาช่องของข้อกฎหมายเพื่ออ้างถึง "อำนาจ" ในการรับทำคดี ส่วนผลลัพธ์หลังส่งสำนวนให้อัยการส่งฟ้องต่อศาลจะออกมาอย่างไรขึ้นอยู่กับ อนาคต เวลานี้ "ดีเอสไอ" ต้องประคองตัวให้รอดปลอดภัยเอาไว้ก่อน ขอบคุณ http://www.komchadluek.net/detail/20130424/156796/การเมืองแรงองค์กรหาช่องป้องตัวเอง.html#.UXdJCEqkPZ4

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง