เพื่อไทยย่าง3ขุม 'สุมไฟ' การเมือง ทักษิณ

แสดงความคิดเห็น

จะด้วยเพราะคุมเสียงข้างมากทั้งในสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา จึงไม่แปลกประหลาดใจหากพรรคเพื่อไทยที่มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี และมี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ผู้หลบหนีคดีเป็น “ศูนย์กลาง” ของการบังคับบัญชาจะเลือก “ผลักดัน” ความต้องการทางการเมืองผ่านระบบรัฐสภาโดยใช้ส.ส.ซึ่งเป็น “ตัวแทน” ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนเป็นหัวหอก

ดูรูปการณ์ที่เกิดขึ้นตลอดปลายสมัยประชุมสภาสมัยสามัญนิติบัญญัติที่ปิดสมัย ไปแล้วเมื่อวันที่ 20 เม.ย.ที่ผ่านมาก็อดไม่ได้ที่จะย้อนไปนึกถึงระบบรัฐสภาในสมัยที่รัฐบาลพ. ต.ท.ทักษิณ เรืองอำนาจและมากไปด้วยบารมีทางการเมือง กลไกการทำงานในระบบรัฐสภาก็เป็นแบบนี้ คือมีฝ่ายค้านอย่างพรรคประชาธิปัตย์ไว้ค้านพอเป็นพิธีเท่านั้น เพราะสุดท้ายทุกความต้องการทางการเมืองล้วนผ่านฉลุยด้วย “เสียงข้างมาก” ของรัฐบาลทั้งสิ้น

การประกาศ “นับหนึ่งประเทศไทย” ที่ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ผู้ปวารณาตัวว่าจะพาพ.ต.ท.ทักษิณ “กลับบ้าน” พูดไว้นั้น จึงไม่ใช่ความบังเอิญหากแต่เป็น “ยุทธศาสตร์ใหญ่” ทางการเมืองที่ถูกวางไว้

ในสภาพปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการออกพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 4 มาตรา 3 ร่าง และการพยายาม “กินทีละคำ” อย่างการออกพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ล้วนเหมือนกันคือใช้กลไกเสียงข้างมาก แม้ฝ่ายค้านจะใช้เทคนิคการประชุมอย่างไร ก็เป็นเพียงการประวิงเวลาเท่านั้น ขณะที่ “เป้าหมาย” ของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ชัดเจนขึ้นทุกวันว่าการเข้ามาเป็นรัฐบาลรอบนี้มุ่งหวังที่จะแก้ไข “กติกา” สูงสุดทางการเมืองอย่างรัฐธรรมนูญเป็นสำคัญ

ถ้าไม่ลืมกันไปเสียก่อน ในอดีตที่ผ่านมา พ.ต.ท.ทักษิณ เคยพูดไว้ว่า ’ผู้ใดกำหนดกติกา ผู้นั้นย่อมเป็นฝ่ายชนะ“

ทั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราเพื่อ “ปูทาง” ไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับหรือความพยายามให้มีพ.ร.บ.นิรโทษกรรมหรือ พ.ร.บ.ปรองดอง ล้วนเป็นการกำหนด “กติกาใหม่” ขึ้นมาทั้งสิ้น

มีข้อสงสัยว่าทำไมพรรคเพื่อไทยซึ่งมีโอกาสที่จะเป็นรัฐบาล “ครบเทอม” ได้อย่างสบาย จึงเลือกผลักดันประเด็นทางการเมือง 3 ประเด็นร้อน ซึ่งล้วนแต่เป็น “ระเบิดเวลา” เข้าสู่สภา

ประการแรก พรรคเพื่อไทยและพ.ต.ท.ทักษิณ เชื่อในพลังทางการเมืองเสียงข้างมากที่ตัวเองได้รับมาจากประชาชน ยิ่งในสภาพทางการเมืองที่รัฐบาลภายใต้การนำของน.ส.ยิ่งลักษณ์ยังไม่เสียความ เชื่อมั่นศรัทธายิ่งเป็นจังหวะทางการเมืองที่ต้องยิ่งลงมือทำ

ประการต่อมา ทุก “ปัจจัย” ทางการเมืองล้วนอยู่ในมือ ไม่ว่าจะเป็นอำนาจรัฐ อำนาจทุน มวลชนสนับสนุน

ประการสำคัญ คู่ต่อสู้ทางการเมืองทั้งในสภา ทั้งนอกสภา รวมตัวกันไม่ติด เกิดความอ่อนแอ ไม่เป็นเอกภาพ ขาดการรวมศูนย์ แต่เป็นลักษณะต่างคนต่างค้าน จึงขาดพลังและความร่วมมือจากประชาชน

เพราะทางสุดท้ายหากเกิดอุบัติเหตุทางการเมืองขึ้น พ.ต.ท.ทักษิณ และพรรคเพื่อไทย ก็เลือกที่จะ “ยุบสภา” แล้วกลับมาใหม่เพื่อแก้ไขในเรื่องที่ยัง “ค้างคา” ต่อไปได้อีก

คู่ต่อสู้ทางการเมืองในระบบปกติวันนี้มีเพียงพรรคประชาธิปัตย์เท่านั้น ขณะที่พรรคการเมืองอื่นล้วนเป็นองค์ประกอบทางการเมืองเท่านั้น

วันนี้ต้องยอมรับว่าพรรคประชาธิปัตย์อ่อนแอเกินกว่าจะเป็น “คู่ต่อสู้” ทางการเมืองในระยะเวลาอันสั้นนี้ การโยนความเรื่องการ “ปฏิรูปพรรคประชาธิปัตย์” ที่ นายอลงกรณ์ พลบุตร ส.ส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคภาคกลางเสนอให้สังคมไทยได้ยินได้ฟัง จึงเป็นการปรับตัวเพื่อเตรียมต่อสู้ในสนามการเลือกตั้งซึ่งน่าจะเกิดขึ้นใน ระยะเวลาอันใกล้นี้ ไม่ใช่ 2 ปีกว่าตามเทอมของรัฐบาล

อย่าลืมว่าพรรคประชาธิปัตย์พ่ายแพ้ในสนามการเลือกตั้งใหญ่มาตลอด 20 ปี ใช่แต่ “ชัยชนะ” ทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยเท่านั้นจะทำให้พรรคเพื่อไทยพุ่งไปข้างหน้า ความพ่ายแพ้ทางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์จะยิ่งทำให้พรรคฝ่ายค้าน “ถดถอย” และอ่อนแรงเกินกว่าจะตรวจสอบถ่วงดุล

ขณะที่มวลชนอย่างกลุ่ม พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยหรือกลุ่มการเมืองอื่น ๆ ที่ยืนตรงข้ามกับอุดมการณ์ทางการเมืองของพรรคเพื่อไทย นับวันจะเงียบหายและไร้ซึ่งพลัง ทั้งนี้ทั้งนั้นเพราะการต่อสู้ทางการเมืองที่ผ่านมาซึ่งเป็นไปอย่างดุเดือด ทั้งแกนนำทั้งผู้สนับสนุนล้วนถูกคดีความติดตัวกันเป็นหางว่าว และนับวันจะถูกโดดเดี่ยว

ถึงวันนี้ที่พรรคเพื่อไทย “เลื่อน” การพิจารณาร่างพ.ร.บ. นิรโทษกรรมมาไว้ในลำดับแรกเพื่อรอพิจารณาในการเปิดสภาสมัยสามัญทั่วไปในวัน ที่ 1 ส.ค.หรือในอีก 3 เดือนข้างหน้า เสียงคัดค้านและไม่เอาด้วยกับการลบล้างความผิดจึงน้อยลงและแผ่วเบายิ่ง

จะมี “แนวต้าน” ที่พรรคเพื่อไทยมองว่า น่าจะเป็นแนวรบสำคัญซึ่งพรรคเพื่อไทยเชื่อว่านี่คือ “กับดัก” ที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้วางไว้นั่นคือ องค์กรอิสระทางการเมือง อย่าง ป.ป.ช.และศาลรัฐธรรมนูญ

ทั้งพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ทั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญ “รายมาตรา” หรือแม้แต่การผลักดันร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมหรือพ.ร.บ.ปรองดอง ที่สุดแล้วเมื่อมีความเห็นต่างในข้อกฎหมาย ก็ต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ “วินิจฉัย” ทั้งสิ้น

การไม่ยอมรับอำนาจในการรับเรื่องตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ของศาลรัฐธรรมนูญที่ทั้งส.ส.และส.ว.ที่ลงชื่อเสนอแก้ไขออกแถลงการณ์ร่วมกัน นั้น จึงเป็นเรื่องใหญ่ที่ห้ามมองข้ามเด็ดขาด เพราะนี่กำลังจะเป็นการเผชิญหน้ากันระหว่าง “เสียงข้างมาก” ของฝ่ายนิติบัญญัติกับศาลรัฐธรรมนูญ

ดังนั้นความพยายามทางการเมืองใน 3 ประเด็นร้อนของพรรคเพื่อไทยในครั้งนี้ จึงมีศาลรัฐธรรมนูญเป็น “ปราการด่านสุดท้าย”

พรรคเพื่อไทยเดินหน้าไม่ยอมถอย ศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องไว้พิจารณาแล้วย่อมต้องมีคำวินิจฉัย

ที่เห็นและเป็นอยู่ ณ ขณะนี้ แค่จุดเริ่มต้นของ “ความวุ่นวาย” ทางการเมืองเท่านั้น ไม่เชื่อต้องติดตามกันดู.

ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/politics/198593 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 เม.ย.56
วันที่โพสต์: 21/04/2556 เวลา 02:45:33

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

จะด้วยเพราะคุมเสียงข้างมากทั้งในสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา จึงไม่แปลกประหลาดใจหากพรรคเพื่อไทยที่มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี และมี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ผู้หลบหนีคดีเป็น “ศูนย์กลาง” ของการบังคับบัญชาจะเลือก “ผลักดัน” ความต้องการทางการเมืองผ่านระบบรัฐสภาโดยใช้ส.ส.ซึ่งเป็น “ตัวแทน” ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนเป็นหัวหอก ดูรูปการณ์ที่เกิดขึ้นตลอดปลายสมัยประชุมสภาสมัยสามัญนิติบัญญัติที่ปิดสมัย ไปแล้วเมื่อวันที่ 20 เม.ย.ที่ผ่านมาก็อดไม่ได้ที่จะย้อนไปนึกถึงระบบรัฐสภาในสมัยที่รัฐบาลพ. ต.ท.ทักษิณ เรืองอำนาจและมากไปด้วยบารมีทางการเมือง กลไกการทำงานในระบบรัฐสภาก็เป็นแบบนี้ คือมีฝ่ายค้านอย่างพรรคประชาธิปัตย์ไว้ค้านพอเป็นพิธีเท่านั้น เพราะสุดท้ายทุกความต้องการทางการเมืองล้วนผ่านฉลุยด้วย “เสียงข้างมาก” ของรัฐบาลทั้งสิ้น การประกาศ “นับหนึ่งประเทศไทย” ที่ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ผู้ปวารณาตัวว่าจะพาพ.ต.ท.ทักษิณ “กลับบ้าน” พูดไว้นั้น จึงไม่ใช่ความบังเอิญหากแต่เป็น “ยุทธศาสตร์ใหญ่” ทางการเมืองที่ถูกวางไว้ ในสภาพปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการออกพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 4 มาตรา 3 ร่าง และการพยายาม “กินทีละคำ” อย่างการออกพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ล้วนเหมือนกันคือใช้กลไกเสียงข้างมาก แม้ฝ่ายค้านจะใช้เทคนิคการประชุมอย่างไร ก็เป็นเพียงการประวิงเวลาเท่านั้น ขณะที่ “เป้าหมาย” ของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ชัดเจนขึ้นทุกวันว่าการเข้ามาเป็นรัฐบาลรอบนี้มุ่งหวังที่จะแก้ไข “กติกา” สูงสุดทางการเมืองอย่างรัฐธรรมนูญเป็นสำคัญ ถ้าไม่ลืมกันไปเสียก่อน ในอดีตที่ผ่านมา พ.ต.ท.ทักษิณ เคยพูดไว้ว่า ’ผู้ใดกำหนดกติกา ผู้นั้นย่อมเป็นฝ่ายชนะ“ ทั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราเพื่อ “ปูทาง” ไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับหรือความพยายามให้มีพ.ร.บ.นิรโทษกรรมหรือ พ.ร.บ.ปรองดอง ล้วนเป็นการกำหนด “กติกาใหม่” ขึ้นมาทั้งสิ้น มีข้อสงสัยว่าทำไมพรรคเพื่อไทยซึ่งมีโอกาสที่จะเป็นรัฐบาล “ครบเทอม” ได้อย่างสบาย จึงเลือกผลักดันประเด็นทางการเมือง 3 ประเด็นร้อน ซึ่งล้วนแต่เป็น “ระเบิดเวลา” เข้าสู่สภา ประการแรก พรรคเพื่อไทยและพ.ต.ท.ทักษิณ เชื่อในพลังทางการเมืองเสียงข้างมากที่ตัวเองได้รับมาจากประชาชน ยิ่งในสภาพทางการเมืองที่รัฐบาลภายใต้การนำของน.ส.ยิ่งลักษณ์ยังไม่เสียความ เชื่อมั่นศรัทธายิ่งเป็นจังหวะทางการเมืองที่ต้องยิ่งลงมือทำ ประการต่อมา ทุก “ปัจจัย” ทางการเมืองล้วนอยู่ในมือ ไม่ว่าจะเป็นอำนาจรัฐ อำนาจทุน มวลชนสนับสนุน ประการสำคัญ คู่ต่อสู้ทางการเมืองทั้งในสภา ทั้งนอกสภา รวมตัวกันไม่ติด เกิดความอ่อนแอ ไม่เป็นเอกภาพ ขาดการรวมศูนย์ แต่เป็นลักษณะต่างคนต่างค้าน จึงขาดพลังและความร่วมมือจากประชาชน เพราะทางสุดท้ายหากเกิดอุบัติเหตุทางการเมืองขึ้น พ.ต.ท.ทักษิณ และพรรคเพื่อไทย ก็เลือกที่จะ “ยุบสภา” แล้วกลับมาใหม่เพื่อแก้ไขในเรื่องที่ยัง “ค้างคา” ต่อไปได้อีก คู่ต่อสู้ทางการเมืองในระบบปกติวันนี้มีเพียงพรรคประชาธิปัตย์เท่านั้น ขณะที่พรรคการเมืองอื่นล้วนเป็นองค์ประกอบทางการเมืองเท่านั้น วันนี้ต้องยอมรับว่าพรรคประชาธิปัตย์อ่อนแอเกินกว่าจะเป็น “คู่ต่อสู้” ทางการเมืองในระยะเวลาอันสั้นนี้ การโยนความเรื่องการ “ปฏิรูปพรรคประชาธิปัตย์” ที่ นายอลงกรณ์ พลบุตร ส.ส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคภาคกลางเสนอให้สังคมไทยได้ยินได้ฟัง จึงเป็นการปรับตัวเพื่อเตรียมต่อสู้ในสนามการเลือกตั้งซึ่งน่าจะเกิดขึ้นใน ระยะเวลาอันใกล้นี้ ไม่ใช่ 2 ปีกว่าตามเทอมของรัฐบาล อย่าลืมว่าพรรคประชาธิปัตย์พ่ายแพ้ในสนามการเลือกตั้งใหญ่มาตลอด 20 ปี ใช่แต่ “ชัยชนะ” ทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยเท่านั้นจะทำให้พรรคเพื่อไทยพุ่งไปข้างหน้า ความพ่ายแพ้ทางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์จะยิ่งทำให้พรรคฝ่ายค้าน “ถดถอย” และอ่อนแรงเกินกว่าจะตรวจสอบถ่วงดุล ขณะที่มวลชนอย่างกลุ่ม พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยหรือกลุ่มการเมืองอื่น ๆ ที่ยืนตรงข้ามกับอุดมการณ์ทางการเมืองของพรรคเพื่อไทย นับวันจะเงียบหายและไร้ซึ่งพลัง ทั้งนี้ทั้งนั้นเพราะการต่อสู้ทางการเมืองที่ผ่านมาซึ่งเป็นไปอย่างดุเดือด ทั้งแกนนำทั้งผู้สนับสนุนล้วนถูกคดีความติดตัวกันเป็นหางว่าว และนับวันจะถูกโดดเดี่ยว ถึงวันนี้ที่พรรคเพื่อไทย “เลื่อน” การพิจารณาร่างพ.ร.บ. นิรโทษกรรมมาไว้ในลำดับแรกเพื่อรอพิจารณาในการเปิดสภาสมัยสามัญทั่วไปในวัน ที่ 1 ส.ค.หรือในอีก 3 เดือนข้างหน้า เสียงคัดค้านและไม่เอาด้วยกับการลบล้างความผิดจึงน้อยลงและแผ่วเบายิ่ง จะมี “แนวต้าน” ที่พรรคเพื่อไทยมองว่า น่าจะเป็นแนวรบสำคัญซึ่งพรรคเพื่อไทยเชื่อว่านี่คือ “กับดัก” ที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้วางไว้นั่นคือ องค์กรอิสระทางการเมือง อย่าง ป.ป.ช.และศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ทั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญ “รายมาตรา” หรือแม้แต่การผลักดันร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมหรือพ.ร.บ.ปรองดอง ที่สุดแล้วเมื่อมีความเห็นต่างในข้อกฎหมาย ก็ต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ “วินิจฉัย” ทั้งสิ้น การไม่ยอมรับอำนาจในการรับเรื่องตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ของศาลรัฐธรรมนูญที่ทั้งส.ส.และส.ว.ที่ลงชื่อเสนอแก้ไขออกแถลงการณ์ร่วมกัน นั้น จึงเป็นเรื่องใหญ่ที่ห้ามมองข้ามเด็ดขาด เพราะนี่กำลังจะเป็นการเผชิญหน้ากันระหว่าง “เสียงข้างมาก” ของฝ่ายนิติบัญญัติกับศาลรัฐธรรมนูญ ดังนั้นความพยายามทางการเมืองใน 3 ประเด็นร้อนของพรรคเพื่อไทยในครั้งนี้ จึงมีศาลรัฐธรรมนูญเป็น “ปราการด่านสุดท้าย” พรรคเพื่อไทยเดินหน้าไม่ยอมถอย ศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องไว้พิจารณาแล้วย่อมต้องมีคำวินิจฉัย ที่เห็นและเป็นอยู่ ณ ขณะนี้ แค่จุดเริ่มต้นของ “ความวุ่นวาย” ทางการเมืองเท่านั้น ไม่เชื่อต้องติดตามกันดู. ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/politics/198593

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง