กลยุทธ์ การเมือง กลยุทธ์"ประชาธิปัตย์" ต่อ"รัฐธรรมนูญ"

แสดงความคิดเห็น

คํายืนยันจาก นายเทพไท เสนพงศ์ ที่ว่าพรรคประชาธิปัตย์จะแปรญัตติร่างพ.ร.บ.รัฐธรรมนูญแก้ไขทั้ง 3 ฉบับทุกมาตรา

เป็นคำยืนยันอันไม่เหนือความคาดหมาย

เพราะว่าแนวทางของพรรคประชาธิปัตย์ คือ ไม่เห็นด้วยกับการเสนอร่างพ.ร.บ.รัฐธรรมนูญแก้ไขทั้ง 3 ฉบับ

ไม่ว่าเรื่องมาตรา 190 ไม่ว่าเรื่องมาตรา 68 เสริมด้วยมาตรา 237

ไม่ว่าเรื่องมาตราอันสัมพันธ์กับที่มาของสมาชิกวุฒิสภา หรือ ส.ว.ที่จะต้องเลือกตั้งทั้งสิ้นจำนวน 200 คน

เมื่อไม่เห็นด้วยเสียแล้วก็ย่อมจะต้อง"เตะถ่วง" รั้งดึง

การเตะถ่วง การรั้งดึง เพื่อให้ร่างพ.ร.บ.รัฐธรรมนูญแก้ไขทั้ง 3 ฉบับให้ล่าช้าทั้งในวาระ 1 วาระ 2 และวาระ 3 จึงมีความจำเป็น

เหมือนที่เห็นในวันที่ 1-3 เมษายนที่ผ่านมา

ถามว่าเหตุใดพรรคประชาธิปัตย์จึงถือเอาสถานการณ์นั่งในตำแหน่ง"ประธาน" ของ นายนิคม ไวยรัช พานิช มีความหมาย มีความสำคัญ

ถึงกับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ออกโรงเอง

เพียงเพราะ นายนิคม ไวยรัชพานิช ในฐานะส.ว.ไปลงชื่อรับรองและเห็นด้วยกับการเสนอร่างพ.ร.บ.รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมอย่างนั้นหรือ

ฟังดูดี

แต่ ในความเป็นจริงไม่มีกฎหมายข้อใดห้ามเอาไว้ในเรื่องนี้ ดังนั้น การอยู่ในสถานะประธานของ นายนิคม ไวยรัชพานิช จึงไม่มีข้อห้ามในทางเป็นจริง แต่พรรคประชาธิปัตย์ก็จำเป็นต้องทำเพื่อบ่อนเซาะเครดิต ทำลายความน่าเชื่อถือ

ความน่าเชื่อถือของการประชุมรัฐสภา

ถาม ว่าเหตุใดพรรคประชาธิปัตย์จึงขยายเรื่องระยะเวลาแปรญัตติจาก 15 วันเป็น 60 วันให้เป็นเรื่องสำคัญถึงขั้นที่ศาลรัฐธรรมนูญจักต้องตีความ

ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องระเบียบข้อบังคับการประชุมรัฐสภา

นี่ ก็เป็นกระสวนเดียวกันกับการเคลื่อนไหวแสดงความรังเกียจต่อการนั่งในฐานะ ประธานของ นายนิคม ไวยรัชพานิช อันปรากฏตั้งแต่วันที่ 1 กระทั่งถึงวันที่ 3 เมษายน

เป็นกลยุทธ์ทางรัฐสภาอันสะท้อนความจัดเจนของพรรคประชาธิปัตย์

เป็น กลยุทธ์เพื่อรั้งดึง เตะถ่วง ทำให้การประชุมรัฐสภามิอาจขับเคลื่อนเดินหน้าไปได้โดยราบรื่นตามความต้องการ ของส.ส.และส.ว. 321 คนที่เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ

เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ เป็นเรื่องที่น่าเห็นใจ

ประเด็นอยู่ที่ว่ากลยุทธ์นี้ของพรรคประชาธิปัตย์ส่งผลสะเทือนทางความคิดต่อสาธารณะอย่างไร

สาธารณะ รู้สึกเห็นใจพรรคประชาธิปัตย์ในฐานะเป็นฝ่ายตั้งรับ สาธารณะรู้สึกหงุดหงิดกับกระบวนการเคลื่อนไหวของพรรคประชาธิปัตย์ว่าต้องการ เตะถ่วง รั้งดึง

2 แนวทางนี้มีผลในทางการเมือง การเลือกตั้ง

ขอบคุณ http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROamIyd3dOVEE1TURRMU5nPT0=&sectionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE15MHdOQzB3T1E9PQ== (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 9 เม.ย.56
วันที่โพสต์: 9/04/2556 เวลา 04:31:39

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

คํายืนยันจาก นายเทพไท เสนพงศ์ ที่ว่าพรรคประชาธิปัตย์จะแปรญัตติร่างพ.ร.บ.รัฐธรรมนูญแก้ไขทั้ง 3 ฉบับทุกมาตรา เป็นคำยืนยันอันไม่เหนือความคาดหมาย เพราะว่าแนวทางของพรรคประชาธิปัตย์ คือ ไม่เห็นด้วยกับการเสนอร่างพ.ร.บ.รัฐธรรมนูญแก้ไขทั้ง 3 ฉบับ ไม่ว่าเรื่องมาตรา 190 ไม่ว่าเรื่องมาตรา 68 เสริมด้วยมาตรา 237 ไม่ว่าเรื่องมาตราอันสัมพันธ์กับที่มาของสมาชิกวุฒิสภา หรือ ส.ว.ที่จะต้องเลือกตั้งทั้งสิ้นจำนวน 200 คน เมื่อไม่เห็นด้วยเสียแล้วก็ย่อมจะต้อง"เตะถ่วง" รั้งดึง การเตะถ่วง การรั้งดึง เพื่อให้ร่างพ.ร.บ.รัฐธรรมนูญแก้ไขทั้ง 3 ฉบับให้ล่าช้าทั้งในวาระ 1 วาระ 2 และวาระ 3 จึงมีความจำเป็น เหมือนที่เห็นในวันที่ 1-3 เมษายนที่ผ่านมา ถามว่าเหตุใดพรรคประชาธิปัตย์จึงถือเอาสถานการณ์นั่งในตำแหน่ง"ประธาน" ของ นายนิคม ไวยรัช พานิช มีความหมาย มีความสำคัญ ถึงกับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ออกโรงเอง เพียงเพราะ นายนิคม ไวยรัชพานิช ในฐานะส.ว.ไปลงชื่อรับรองและเห็นด้วยกับการเสนอร่างพ.ร.บ.รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมอย่างนั้นหรือ ฟังดูดี แต่ ในความเป็นจริงไม่มีกฎหมายข้อใดห้ามเอาไว้ในเรื่องนี้ ดังนั้น การอยู่ในสถานะประธานของ นายนิคม ไวยรัชพานิช จึงไม่มีข้อห้ามในทางเป็นจริง แต่พรรคประชาธิปัตย์ก็จำเป็นต้องทำเพื่อบ่อนเซาะเครดิต ทำลายความน่าเชื่อถือ ความน่าเชื่อถือของการประชุมรัฐสภา ถาม ว่าเหตุใดพรรคประชาธิปัตย์จึงขยายเรื่องระยะเวลาแปรญัตติจาก 15 วันเป็น 60 วันให้เป็นเรื่องสำคัญถึงขั้นที่ศาลรัฐธรรมนูญจักต้องตีความ ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องระเบียบข้อบังคับการประชุมรัฐสภา นี่ ก็เป็นกระสวนเดียวกันกับการเคลื่อนไหวแสดงความรังเกียจต่อการนั่งในฐานะ ประธานของ นายนิคม ไวยรัชพานิช อันปรากฏตั้งแต่วันที่ 1 กระทั่งถึงวันที่ 3 เมษายน เป็นกลยุทธ์ทางรัฐสภาอันสะท้อนความจัดเจนของพรรคประชาธิปัตย์ เป็น กลยุทธ์เพื่อรั้งดึง เตะถ่วง ทำให้การประชุมรัฐสภามิอาจขับเคลื่อนเดินหน้าไปได้โดยราบรื่นตามความต้องการ ของส.ส.และส.ว. 321 คนที่เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ เป็นเรื่องที่น่าเห็นใจ ประเด็นอยู่ที่ว่ากลยุทธ์นี้ของพรรคประชาธิปัตย์ส่งผลสะเทือนทางความคิดต่อสาธารณะอย่างไร สาธารณะ รู้สึกเห็นใจพรรคประชาธิปัตย์ในฐานะเป็นฝ่ายตั้งรับ สาธารณะรู้สึกหงุดหงิดกับกระบวนการเคลื่อนไหวของพรรคประชาธิปัตย์ว่าต้องการ เตะถ่วง รั้งดึง 2 แนวทางนี้มีผลในทางการเมือง การเลือกตั้ง ขอบคุณ http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROamIyd3dOVEE1TURRMU5nPT0=§ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE15MHdOQzB3T1E9PQ==

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง