วาทกรรม การเมือง ว่าด้วย รถไฟฟ้า ‘ขนผัก’ เงาสะท้อน ‘ชนชั้น’

แสดงความคิดเห็น

การเสนอวาทกรรม “รถไฟฟ้าขนผัก” เพื่อต้านร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน คมนาคมขนส่งของประเทศ

ก็เช่นเดียวกับวาทกรรม “เซราะกราว”

เป็นการโยนคำว่าเซราะกราวให้กับ จ.ส.ต.ประสิทธิ์ ไชยศรีษะ จากสุรินทร์ โดย นายบุญยอด สุขถิ่นไทย จากกทม.

เหมือนกับเลียนแบบจาก โน้ส อุดม

แต่รากที่มาของคำว่า “เซราะกราว” ก็อีหรอบเดียวกับคำว่า “บักเสี่ยว” หรือ “บักหนาน” แต่กาลอดีต

เป้าหมายเพื่อดูหมิ่น เหยียดหยาม

เหยียด หยามว่าเป็นคนบ้านนอก ดูหมิ่นว่ามีความรู้น้อย เพียงแต่วาทกรรม “รถไฟฟ้าขนผัก” พุ่งเข้าใส่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พุ่งเข้าใส่พรรคเพื่อไทย

สร้างภาวะ “ความเป็นอื่น” ให้บังเกิดขึ้น

ทั้ง หมดนี้เป็นความรู้สึกของพรรคประชาธิปัตย์อันก่อรูปขึ้นตั้งแต่การเลือกตั้ง ทั่วไปเมื่อเดือนมกราคม 2544 ที่พ่ายแพ้ต่อพรรคไทยรักไทย

นั่นก็คือ ประชาธิปัตย์แพ้ “เพราะเงิน”

ความ รู้สึกอันก่อรูปขึ้นเมื่อเดือนมกราคม 2544 ต่อเนื่องอย่างยาวนานผ่านการเลือกตั้งเดือนกุมภาพันธ์ 2548 ผ่านการเลือกตั้งเดือนธันวาคม 2550 และผ่านการเลือกตั้งเดือนกรกฎาคม 2554 ก็ยังดำรงความเชื่อเหมือนเดิมไม่แปรเปลี่ยน

นั่นก็คือ ประชาธิปัตย์แพ้ “เพราะเงิน”

ความ หมายแฝงอันตามมาอย่างปิดบังอำพรางก็คือ คนที่เลือกพรรคไทยรักไทย คนที่เลือกพรรคพลังประชาชน คนที่เลือกพรรคเพื่อไทย เป็นรากหญ้า การศึกษาน้อย

จึงมาถึง “รถไฟฟ้าขนผัก” ในที่สุด

ท่า ทีของพรรคประชาธิปัตย์ที่มองต่อการนำเสนอโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงของ รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้ดำเนินไปในแบบ “รถไฟฟ้าขนผัก”

จึงไม่ต่างไปจากท่าทีของ “ซ่าหริ่ม” ทั้งหลายเมื่อมอง “คนเสื้อแดง”

เป็นความสัมพันธ์ในทางความคิด เป็นความสัมพันธ์อันปรากฏผ่านกระบวนการทางการเมืองซึ่งแฝงลักษณะดูหมิ่นเหยียดหยาม

วาทกรรมเหล่านี้จึงสะท้อนลักษณะทาง “ชนชั้น”

ที่บรรดาคนเสื้อแดงทั้งหลายรู้สึกในความเป็นไพร่ของตัวเอง ที่บรรดาซ่าหริ่มทั้งหลายตระหนักในความเป็นคนชั้นสูงผู้มากด้วยปัญญาของตัว

สะท้อนลักษณะ “ชนชั้น” อย่างเด่นชัด

ไม่ว่ารถไฟฟ้าจะปรากฏขึ้นในทางเป็นจริงหรือไม่ แต่การปะทะขัดแย้งทางความคิดก็ดำรงอยู่

เพียง แต่ว่าพรรคประชาธิปัตย์เป็นตัวแทนของคนชั้นสูง เพียงแต่ว่าพรรคเพื่อไทยถูกผลักให้ไปอยู่ข้างเดียวกับคนระดับรากหญ้า คนยากคนจน คนมีการศึกษาน้อยต้อยต่ำ

ประเด็นอยู่ที่ว่าฝ่ายใดมีจำนวนมากกว่ากัน เท่านั้น

ขอบคุณ http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNMk5EYzBNVEE1Tmc9PQ==&sectionid= (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: การเมืองออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 1 เม.ย.56
วันที่โพสต์: 1/04/2556 เวลา 02:53:49

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

การเสนอวาทกรรม “รถไฟฟ้าขนผัก” เพื่อต้านร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน คมนาคมขนส่งของประเทศ ก็เช่นเดียวกับวาทกรรม “เซราะกราว” เป็นการโยนคำว่าเซราะกราวให้กับ จ.ส.ต.ประสิทธิ์ ไชยศรีษะ จากสุรินทร์ โดย นายบุญยอด สุขถิ่นไทย จากกทม. เหมือนกับเลียนแบบจาก โน้ส อุดม แต่รากที่มาของคำว่า “เซราะกราว” ก็อีหรอบเดียวกับคำว่า “บักเสี่ยว” หรือ “บักหนาน” แต่กาลอดีต เป้าหมายเพื่อดูหมิ่น เหยียดหยาม เหยียด หยามว่าเป็นคนบ้านนอก ดูหมิ่นว่ามีความรู้น้อย เพียงแต่วาทกรรม “รถไฟฟ้าขนผัก” พุ่งเข้าใส่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พุ่งเข้าใส่พรรคเพื่อไทย สร้างภาวะ “ความเป็นอื่น” ให้บังเกิดขึ้น ทั้ง หมดนี้เป็นความรู้สึกของพรรคประชาธิปัตย์อันก่อรูปขึ้นตั้งแต่การเลือกตั้ง ทั่วไปเมื่อเดือนมกราคม 2544 ที่พ่ายแพ้ต่อพรรคไทยรักไทย นั่นก็คือ ประชาธิปัตย์แพ้ “เพราะเงิน” ความ รู้สึกอันก่อรูปขึ้นเมื่อเดือนมกราคม 2544 ต่อเนื่องอย่างยาวนานผ่านการเลือกตั้งเดือนกุมภาพันธ์ 2548 ผ่านการเลือกตั้งเดือนธันวาคม 2550 และผ่านการเลือกตั้งเดือนกรกฎาคม 2554 ก็ยังดำรงความเชื่อเหมือนเดิมไม่แปรเปลี่ยน นั่นก็คือ ประชาธิปัตย์แพ้ “เพราะเงิน” ความ หมายแฝงอันตามมาอย่างปิดบังอำพรางก็คือ คนที่เลือกพรรคไทยรักไทย คนที่เลือกพรรคพลังประชาชน คนที่เลือกพรรคเพื่อไทย เป็นรากหญ้า การศึกษาน้อย จึงมาถึง “รถไฟฟ้าขนผัก” ในที่สุด ท่า ทีของพรรคประชาธิปัตย์ที่มองต่อการนำเสนอโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงของ รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้ดำเนินไปในแบบ “รถไฟฟ้าขนผัก” จึงไม่ต่างไปจากท่าทีของ “ซ่าหริ่ม” ทั้งหลายเมื่อมอง “คนเสื้อแดง” เป็นความสัมพันธ์ในทางความคิด เป็นความสัมพันธ์อันปรากฏผ่านกระบวนการทางการเมืองซึ่งแฝงลักษณะดูหมิ่นเหยียดหยาม วาทกรรมเหล่านี้จึงสะท้อนลักษณะทาง “ชนชั้น” ที่บรรดาคนเสื้อแดงทั้งหลายรู้สึกในความเป็นไพร่ของตัวเอง ที่บรรดาซ่าหริ่มทั้งหลายตระหนักในความเป็นคนชั้นสูงผู้มากด้วยปัญญาของตัว สะท้อนลักษณะ “ชนชั้น” อย่างเด่นชัด ไม่ว่ารถไฟฟ้าจะปรากฏขึ้นในทางเป็นจริงหรือไม่ แต่การปะทะขัดแย้งทางความคิดก็ดำรงอยู่ เพียง แต่ว่าพรรคประชาธิปัตย์เป็นตัวแทนของคนชั้นสูง เพียงแต่ว่าพรรคเพื่อไทยถูกผลักให้ไปอยู่ข้างเดียวกับคนระดับรากหญ้า คนยากคนจน คนมีการศึกษาน้อยต้อยต่ำ ประเด็นอยู่ที่ว่าฝ่ายใดมีจำนวนมากกว่ากัน เท่านั้น ขอบคุณ http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNMk5EYzBNVEE1Tmc9PQ==§ionid=

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง