"อำนวย" กางแผนสภา ดัน พ.ร.บ. 2 ล้านล้าน ตอบโจทย์ "ยิ่งลักษณ์" ส่งสัญญาณเกียร์ว่างนิรโทษกรรม

แสดงความคิดเห็น

หลังพ่ายแพ้ศึกนอก - เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. พรรคเพื่อไทยยังต้องหันกลับมาสู้ศึกในเกมนิรโทษกรรม ที่ถูกกลบฝังไว้เพื่อรอให้การเลือกตั้งเสร็จสิ้นจะกลับมาคุกรุ่นในพรรคอีกครั้ง

ไม่นับรวมการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่ยังค้างการพิจารณาอยู่ในวาระ 3 ร่างกฎหมายขับเคลื่อนเศรษฐกิจ อย่างร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งของประเทศ พ.ศ. ...(ร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้านบาท) ที่ต้องเร่งขับเคลื่อน

"อำนวย คลังผา" ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) กางแผนสภาให้ "ประชาชาติธุรกิจ" ดูว่ากฎหมายใด ควรเร่ง-ควรผ่อน เพื่อประคองรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้อยู่ครบวาระที่เหลืออีก 2 ปี

- เหลือเพียง 40 กว่าวันจะปิดสมัยประชุมสภาวางทิศทางการพิจารณากฎหมายอย่างไร

ขณะนี้มีกฎหมาย พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. ...ที่เป็นหัวใจของภาคใต้ และภาคอีสาน พ.ร.บ.ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่จะออกนอกระบบ รวมถึงกฎหมายรัษฎากร กฎหมายเกี่ยวกับท้องถิ่น มีข้อตกลงที่จะต้องประชุมร่วมรัฐสภากับ ส.ว. ที่ค้างวาระการประชุมรอการพิจารณา รวมถึงการแถลงผลงานของรัฐบาล แต่เรื่องการนิรโทษกรรมยังไม่หยิบขึ้นมา

- แล้วการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมจะหยิบขึ้นมาพิจารณาจังหวะไหน

ยังบอกไม่ได้ เพราะติดเรื่องงบประมาณหลายอย่าง

- แนวโน้มยังจะไม่หยิบมาพิจารณาในสมัยประชุมนี้

ดูจังหวะ เราพิจารณาไปเรื่อย ๆ ยังเหลือเวลาอีกเดือนกว่าถึงจะปิดสมัยประชุมสภา

- เรื่องการนิรโทษกรรม มีหลายทางที่จะเข้าสู่การพิจารณาของสภา ในฐานะประธานวิปจะจัดการอย่างไร

เราก็จะเอาร่างของแต่ละส่วนมาพิจารณาร่วมกันว่า สมมุติของนาย ก.จะแก้ประเด็นไหน ของนาย ข.จะแก้ประเด็นไหน

ให้ผสมผสานกันให้ทุกอย่างเกิดประโยชน์สูงสุดของประชาชน

- ในมุมมองประธานวิปรัฐบาล มองว่า พ.ร.บ.นิรโทษกรรมเป็นวาระเร่งด่วนที่จะนำเข้าสู่การพิจารณาหรือไม่

คือ...ถามว่าเร่งด่วนไหม ก็เร่งด่วน เพราะเป็นเรื่องความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ แต่ก็ต้องดูโอกาสในการพิจารณากฎหมายที่มีสำคัญก่อน

- พ.ร.บ.นิรโทษกรรม อาจช่วยเหลือประชาชน แต่อีกด้านหนึ่งทำให้เกิดความขัดแย้ง

หากเราต้องการให้ประเทศเดินหน้า สร้างความรักความสามัคคี ต้องกลับมาทบทวนตรงนี้ หากเราปล่อยไปมันคงไม่เป็นผลดีต่อประเทศชาติ

- พ.ร.บ.ปรองดองฯมีเนื้อหาทับซ้อนกับ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่ ส.ส.เสื้อแดงกำลังยกร่าง เราจำเป็นต้องถอย พ.ร.บ.ปรองดองฯก่อนหรือไม่

เราต้องปรึกษาทุกฝ่าย วาระ 1 ต้องปรึกษาร่วมกัน ตามที่ท่านเจริญ (จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร) วางไว้ พร้อมกับให้ท่านไตรรงค์ (สุวรรณคีรี ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์) ทำหน้าที่ประสานกับพรรคประชาธิปัตย์ หลาย ๆ ส่วนมีตัวแทนมาพูดคุยกัน ผมคิดว่าเป็นโอกาสดีของประเทศไทย

- ขณะนี้มี ส.ส.เสื้อแดงกำลังร่าง พ.ร.บ.นิโทษกรรม จะจัดวาระนี้อย่างไร

ทุกคนมีสิทธิ์ยื่นก็ต้องรับไว้ แต่ในเรื่องของการพิจารณาอีกเรื่องหนึ่ง เพราะ ส.ส.ทุก 20 คนมีเอกสิทธิ์ที่จะเสนอพระราชบัญญัติ แต่จะหยิบขึ้นมาพิจารณาหรือไม่เป็นเรื่องของวิปพิจารณา

- ต้องรอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมาล้อมวงคุยกันก่อนจะเสนอเป็น พ.ร.บ.นิรโทษกรรมเข้าสู่สภา

ตอนนี้กำลังประสานที่คนอยู่ให้มาคุยกันว่าความเห็นแต่ละด้านจะปรับยังไง ถ้าเป็นตัวหนังสือมันแก้ยาก เอาตัวคนมาคุยกันก่อนแล้วค่อยเอามาเป็นตัวหนังสือ

- เงื่อนไขควรจะนิรโทษกรรมให้กับประชาชนก่อน แกนนำไว้ทีหลัง

เดี๋ยวต้องดูเหตุการณ์ก่อน อาจจะนิรโทษกรรมคู่กันไป ต้องอยู่ที่เราเจรจา เพราะการเจรจาอาจไม่เสียทั้งหมด ไม่ได้ทั้งหมด

- เรายอมเสียทุกอย่างไหม

คือ...มันต้องเสียบ้าง แต่จะเสียทั้งหมด หรือได้ทั้งหมดก็ไม่ได้ ทำอย่างไรให้สมประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย

- ส่วนไหนบ้างที่เราเสียไม่ได้

หลักการ ยึดหลักว่าเราต้องสร้างความสุขให้กับประชาชน ผมเคยพูดตลอดว่าประชาชนเลือกผู้แทนราษฎรมาแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนโดยเฉพาะ ไม่ใช่มาสร้างปัญหา ดังนั้น การตัดสินใจจะต้องดีที่สุด เพื่อประโยชน์ของประชาชน

- ฝ่ายค้านเสนอสิ่งที่ยอมได้คือนิรโทษกรรมให้ประชาชน แต่ไม่นิรโทษกรรมให้แกนนำเสื้อแดง คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และคุณสุเทพ เทือกสุบรรณ แล้วสิ่งที่ยอมได้ของฝ่ายรัฐบาลคืออะไร

ตอนนี้เราก็ต้องไปคุยกันก่อน หากคิดก่อนอาจไม่ตรงประเด็นก็ได้ วันนั้นผมอยากให้สื่อไปด้วยจะได้รู้ว่าใครมีนิสัยอย่างไร

อยากจะแก้ปัญหา หรือสร้างปัญหา มันสมควรที่จะเดินหน้าสร้างประเทศไทยได้แล้ว ในอดีตที่ผ่านมาผู้ใหญ่เขาก็ทำลู่ทางนิรโทษกรรมไว้หมดแล้ว ผิดก็แก้ให้ถูก แล้วมันเดินหน้าไปได้ มีความอภัยซึ่งกันและกัน

- แต่การแก้ผิดให้เป็นถูกแม้เป็นการให้อภัย แต่ก็เป็นการกัดกร่อนกระบวนการยุติธรรม

อันนี้ต้องแยกออก การให้อภัยกฎหมายต้องแก้ได้ เพราะตกลงพร้อมใจกันก็จบ หนักเป็นเบา เบาเป็นหาย เหมือนกรณีที่การลงโทษแค่รอลงอาญาก็ถือเป็นการให้อภัย

- นิรโทษกรรมในกลุ่มที่แกนนำ อาจมองในแง่ของรอลงอาญาได้

ครับ ก็ต้องแบบนั้น

- นอกจากนิรโทษกรรม ร่าง พ.ร.บ.ด้านเศรษฐกิจ อย่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้านบาท ต้องรับหลักการ ให้ทันสมัยประชุมนี้ไหม

ยังไม่ได้คุยกับคณะรัฐมนตรี และยังไม่ส่งสัญญาณมา

- ไทม์ไลน์สภาจากนี้จะเน้นพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศ และ เศรษฐกิจเป็นหลัก

เรื่องการค้าระหว่างประเทศเราต้องเร่งทำ ไม่เช่นนั้นไทยเสียโอกาส

- แสดงว่าเราเน้นพิจารณากฎหมายเศรษฐกิจก่อนนิรโทษกรรม

ตรงนี้สำคัญเรื่องปากท้องของประชาชน ความเหลื่อมล้ำทางสังคม ถือเป็นเรื่องใหญ่ โดยเฉพาะการที่นายกรัฐมนตรีมีนโยบายเรื่องเศรษฐกิจ คมนาคม

- พ.ร.บ. 2 ล้านล้านบาท จะเกิดขึ้นหลังจากที่นายกฯแถลงนโยบายต่อสภาแล้ว

ใช่...เพราะจะต้องเร่งเรื่องคมนาคม การขนส่งสินค้า ซึ่งเจาะมีการแถลงนโยบายในเดือนมีนาคมแน่นอน

- ในช่วงครึ่งสมัยประชุมแรก รัฐบาลกับสภาพยายามผลักดันแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ยังไม่สำเร็จ ครึ่งหลังจะสำเร็จไหม

คือต้องคุยกัน ฝ่ายค้านก็มีเหตุผลว่าไม่ให้แก้ทั้งฉบับ แต่ถ้าเป็นรายมาตราเขาเห็นด้วย แต่จะเป็นมาตราไหนต้องคุยกัน

- การแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับดูเหมือนสำเร็จยาก เราจะประสานฝ่ายค้านแก้ไขรายมาตราไหม

ตรงนี้เรายังไม่ได้คุยกัน แต่ในพื้นที่ภาคกลางมีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นายอำเภอ ได้ประชุมประชาคมหมู่บ้านร่วมกับชาวบ้าน โดยถามความเห็นประชาชนพร้อมให้เซ็นชื่อว่าเห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ ส่วนใหญ่ประชาชนอยากให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เป็นอุปสรรค แต่ประชาชนไม่รู้ว่าอุปสรรคอยู่ตรงไหน ก็มาอยู่ที่เราแล้วว่าอุปสรรคคืออะไร แก้ประเด็นไหน

- แก้สิ่งที่เป็นอุปสรรค หมายความว่าแก้รายมาตรา

ประชาชนอยากให้มีการแก้แต่ไม่ได้บอกว่าแก้ทั้งฉบับ หรือแก้รายมาตรา มันก็อยู่ที่การพิจารณาจะตัดสินใจตามที่ประชาชนมีความเห็นหรือไม่ ผมคิดว่าเอกสารที่ส่งมารวบรวมน่าจะเป็นรถสิบล้อ แต่เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับการทำประชามติอย่างเป็นทางการที่มีการตั้งคณะทำงานศึกษาของรัฐบาล

- กระบวนการเหล่านี้ท่านปรึกษากับพรรคหรือยัง

นี่ชาวบ้านเขาทำกันเอง เพราะเขาดูข่าวสารจากสื่อ หนังสือพิมพ์ เขาก็พยายามทำแบบชาวบ้านลักษณะแบบสอบถามกันเอง

- เหตุผลอะไรที่ทำให้ได้เป็นประธานวิป

1.ผมอยู่สภามานานไม่เคยย้ายไปไหนเลย อยู่ตั้งแต่สมัยพรรคไทยรักไทย 2.ไม่เคยไปเรียกร้องตำแหน่งหน้าที่ใด ๆทั้งสิ้น

- การไม่เคยเรียกร้องทำให้เราชวดตำแหน่งรัฐมนตรีไหม

อยู่ที่ผู้ใหญ่เขามอง เราอยู่สบาย ๆ ผมอยู่พรรคความหวังใหม่ ลาออกมาพรรคไทยรักไทยตั้งแต่ยังไม่มี ส.ส. คิดดู

- อะไรของพรรคไทยรักไทยที่ดึงดูดเราให้ออกจากพรรคความหวังใหม่

ผมเห็นนโยบายที่ดูแลประชาชนเราจึงชอบใจ เมื่อเข้ามาอยู่เขาก็ทำได้

- พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชนต่างถูกยุบพรรคทำไมเราจึงไม่หนีไปไหน

การย้ายพรรคเป็นมารยาททางการเมือง เรามีอุดมการณ์ทางนี้แล้วมีคนชวนผมก็ไม่ไป อย่างท่านเนวิน (ชิดชอบ) ก็บอกว่าพี่นวย มี ส.ส. 5 คน ผมให้รัฐมนตรีว่าการเลย ผมยังไม่ไปเลย เราให้เกียรติประชาชนที่เขาเลือกเราเพราะอยู่พรรคนี้ เราต้องอยู่พรรคนี้ จะไปไหนผมต้องถามประชาชนก่อน ผมจะหนีประชาชนไม่ได้

- ติดใจอะไรคุณทักษิณ ชินวัตร

ไม่ว่าคนอื่นจะมองอย่างไร แต่ผมมองว่าเขาทำงานเพื่อประชาชน เช่น นโยบายต่าง ๆ แม้เป็นภาษีของประชาชน แต่คืนให้กับประชาชน ซึ่งในอดีตที่ผ่านมารัฐบาลไม่เคยทำ เช่น ก่อนมีโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค คนจนไปหาไม่ได้ ตายอย่างเดียว แต่ 30 บาททำให้เข้าถึงการบริการของรัฐ

- แต่ตอนนี้ท่านทักษิณกำลังลำบาก

ผมว่าบางอย่างในหลักต้องยึดความถูกต้อง ชอบธรรม อย่างเรื่องที่ดินรัชดาที่เซ็นให้เมียไปซื้อที่ ถามว่าผิดไหม...ผิด แต่ที่ดินก็คืนให้รัฐเขา เงินก็คืนให้แล้ว ยังจะเอาผิดเขาด้วยอีกหรือ เราไม่ได้เข้าข้างใครนะ

เหมือนเราไปซื้อนาฬิกามาเรือนหนึ่ง แต่มันชำรุด เราก็เอานาฬิกาคืนไป ส่วนผมก็ได้เงินคืน แล้วเราจะไปแจ้งความว่าคุณหลอกขายนาฬิกาผมอีก มันถูกไหม ส่วนเรื่องผิดหรือไม่กฎหมายก็ว่าไป

- เราจึงต้องไปเคลียร์ทางด้วยการแก้กฎหมาย

ถูกไง กฎหมายต้องแก้ให้ถูกต้อง อย่างนิรโทษรัฐไม่เสียหาย แต่ความขัดแย้งหายไป ท่านทักษิณเป็นคนไทยคนหนึ่งทำประโยชน์ให้กับบ้านเมืองมากพอสมควร ถามว่าเสียไหม ก็มีเสีย แต่เราต้องมองส่วนดีบ้าง ส่วนเสียบ้าง เหมือนเราไม่ได้ดีทั้งหมด

ขอบคุณ http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1362634719&grpid=09&catid=16&subcatid=1600 (ขนาดไฟล์: 143)

ที่มา: ประชาชาติออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 8 มี.ค.56
วันที่โพสต์: 8/03/2556 เวลา 03:33:37

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

หลังพ่ายแพ้ศึกนอก - เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. พรรคเพื่อไทยยังต้องหันกลับมาสู้ศึกในเกมนิรโทษกรรม ที่ถูกกลบฝังไว้เพื่อรอให้การเลือกตั้งเสร็จสิ้นจะกลับมาคุกรุ่นในพรรคอีกครั้ง ไม่นับรวมการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่ยังค้างการพิจารณาอยู่ในวาระ 3 ร่างกฎหมายขับเคลื่อนเศรษฐกิจ อย่างร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งของประเทศ พ.ศ. ...(ร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้านบาท) ที่ต้องเร่งขับเคลื่อน "อำนวย คลังผา" ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) กางแผนสภาให้ "ประชาชาติธุรกิจ" ดูว่ากฎหมายใด ควรเร่ง-ควรผ่อน เพื่อประคองรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้อยู่ครบวาระที่เหลืออีก 2 ปี - เหลือเพียง 40 กว่าวันจะปิดสมัยประชุมสภาวางทิศทางการพิจารณากฎหมายอย่างไร ขณะนี้มีกฎหมาย พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. ...ที่เป็นหัวใจของภาคใต้ และภาคอีสาน พ.ร.บ.ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่จะออกนอกระบบ รวมถึงกฎหมายรัษฎากร กฎหมายเกี่ยวกับท้องถิ่น มีข้อตกลงที่จะต้องประชุมร่วมรัฐสภากับ ส.ว. ที่ค้างวาระการประชุมรอการพิจารณา รวมถึงการแถลงผลงานของรัฐบาล แต่เรื่องการนิรโทษกรรมยังไม่หยิบขึ้นมา - แล้วการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมจะหยิบขึ้นมาพิจารณาจังหวะไหน ยังบอกไม่ได้ เพราะติดเรื่องงบประมาณหลายอย่าง - แนวโน้มยังจะไม่หยิบมาพิจารณาในสมัยประชุมนี้ ดูจังหวะ เราพิจารณาไปเรื่อย ๆ ยังเหลือเวลาอีกเดือนกว่าถึงจะปิดสมัยประชุมสภา - เรื่องการนิรโทษกรรม มีหลายทางที่จะเข้าสู่การพิจารณาของสภา ในฐานะประธานวิปจะจัดการอย่างไร เราก็จะเอาร่างของแต่ละส่วนมาพิจารณาร่วมกันว่า สมมุติของนาย ก.จะแก้ประเด็นไหน ของนาย ข.จะแก้ประเด็นไหน ให้ผสมผสานกันให้ทุกอย่างเกิดประโยชน์สูงสุดของประชาชน - ในมุมมองประธานวิปรัฐบาล มองว่า พ.ร.บ.นิรโทษกรรมเป็นวาระเร่งด่วนที่จะนำเข้าสู่การพิจารณาหรือไม่ คือ...ถามว่าเร่งด่วนไหม ก็เร่งด่วน เพราะเป็นเรื่องความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ แต่ก็ต้องดูโอกาสในการพิจารณากฎหมายที่มีสำคัญก่อน - พ.ร.บ.นิรโทษกรรม อาจช่วยเหลือประชาชน แต่อีกด้านหนึ่งทำให้เกิดความขัดแย้ง หากเราต้องการให้ประเทศเดินหน้า สร้างความรักความสามัคคี ต้องกลับมาทบทวนตรงนี้ หากเราปล่อยไปมันคงไม่เป็นผลดีต่อประเทศชาติ - พ.ร.บ.ปรองดองฯมีเนื้อหาทับซ้อนกับ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่ ส.ส.เสื้อแดงกำลังยกร่าง เราจำเป็นต้องถอย พ.ร.บ.ปรองดองฯก่อนหรือไม่ เราต้องปรึกษาทุกฝ่าย วาระ 1 ต้องปรึกษาร่วมกัน ตามที่ท่านเจริญ (จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร) วางไว้ พร้อมกับให้ท่านไตรรงค์ (สุวรรณคีรี ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์) ทำหน้าที่ประสานกับพรรคประชาธิปัตย์ หลาย ๆ ส่วนมีตัวแทนมาพูดคุยกัน ผมคิดว่าเป็นโอกาสดีของประเทศไทย - ขณะนี้มี ส.ส.เสื้อแดงกำลังร่าง พ.ร.บ.นิโทษกรรม จะจัดวาระนี้อย่างไร ทุกคนมีสิทธิ์ยื่นก็ต้องรับไว้ แต่ในเรื่องของการพิจารณาอีกเรื่องหนึ่ง เพราะ ส.ส.ทุก 20 คนมีเอกสิทธิ์ที่จะเสนอพระราชบัญญัติ แต่จะหยิบขึ้นมาพิจารณาหรือไม่เป็นเรื่องของวิปพิจารณา - ต้องรอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมาล้อมวงคุยกันก่อนจะเสนอเป็น พ.ร.บ.นิรโทษกรรมเข้าสู่สภา ตอนนี้กำลังประสานที่คนอยู่ให้มาคุยกันว่าความเห็นแต่ละด้านจะปรับยังไง ถ้าเป็นตัวหนังสือมันแก้ยาก เอาตัวคนมาคุยกันก่อนแล้วค่อยเอามาเป็นตัวหนังสือ - เงื่อนไขควรจะนิรโทษกรรมให้กับประชาชนก่อน แกนนำไว้ทีหลัง เดี๋ยวต้องดูเหตุการณ์ก่อน อาจจะนิรโทษกรรมคู่กันไป ต้องอยู่ที่เราเจรจา เพราะการเจรจาอาจไม่เสียทั้งหมด ไม่ได้ทั้งหมด - เรายอมเสียทุกอย่างไหม คือ...มันต้องเสียบ้าง แต่จะเสียทั้งหมด หรือได้ทั้งหมดก็ไม่ได้ ทำอย่างไรให้สมประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย - ส่วนไหนบ้างที่เราเสียไม่ได้ หลักการ ยึดหลักว่าเราต้องสร้างความสุขให้กับประชาชน ผมเคยพูดตลอดว่าประชาชนเลือกผู้แทนราษฎรมาแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนโดยเฉพาะ ไม่ใช่มาสร้างปัญหา ดังนั้น การตัดสินใจจะต้องดีที่สุด เพื่อประโยชน์ของประชาชน - ฝ่ายค้านเสนอสิ่งที่ยอมได้คือนิรโทษกรรมให้ประชาชน แต่ไม่นิรโทษกรรมให้แกนนำเสื้อแดง คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และคุณสุเทพ เทือกสุบรรณ แล้วสิ่งที่ยอมได้ของฝ่ายรัฐบาลคืออะไร ตอนนี้เราก็ต้องไปคุยกันก่อน หากคิดก่อนอาจไม่ตรงประเด็นก็ได้ วันนั้นผมอยากให้สื่อไปด้วยจะได้รู้ว่าใครมีนิสัยอย่างไร อยากจะแก้ปัญหา หรือสร้างปัญหา มันสมควรที่จะเดินหน้าสร้างประเทศไทยได้แล้ว ในอดีตที่ผ่านมาผู้ใหญ่เขาก็ทำลู่ทางนิรโทษกรรมไว้หมดแล้ว ผิดก็แก้ให้ถูก แล้วมันเดินหน้าไปได้ มีความอภัยซึ่งกันและกัน - แต่การแก้ผิดให้เป็นถูกแม้เป็นการให้อภัย แต่ก็เป็นการกัดกร่อนกระบวนการยุติธรรม อันนี้ต้องแยกออก การให้อภัยกฎหมายต้องแก้ได้ เพราะตกลงพร้อมใจกันก็จบ หนักเป็นเบา เบาเป็นหาย เหมือนกรณีที่การลงโทษแค่รอลงอาญาก็ถือเป็นการให้อภัย - นิรโทษกรรมในกลุ่มที่แกนนำ อาจมองในแง่ของรอลงอาญาได้ ครับ ก็ต้องแบบนั้น - นอกจากนิรโทษกรรม ร่าง พ.ร.บ.ด้านเศรษฐกิจ อย่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้านบาท ต้องรับหลักการ ให้ทันสมัยประชุมนี้ไหม ยังไม่ได้คุยกับคณะรัฐมนตรี และยังไม่ส่งสัญญาณมา - ไทม์ไลน์สภาจากนี้จะเน้นพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศ และ เศรษฐกิจเป็นหลัก เรื่องการค้าระหว่างประเทศเราต้องเร่งทำ ไม่เช่นนั้นไทยเสียโอกาส - แสดงว่าเราเน้นพิจารณากฎหมายเศรษฐกิจก่อนนิรโทษกรรม ตรงนี้สำคัญเรื่องปากท้องของประชาชน ความเหลื่อมล้ำทางสังคม ถือเป็นเรื่องใหญ่ โดยเฉพาะการที่นายกรัฐมนตรีมีนโยบายเรื่องเศรษฐกิจ คมนาคม - พ.ร.บ. 2 ล้านล้านบาท จะเกิดขึ้นหลังจากที่นายกฯแถลงนโยบายต่อสภาแล้ว ใช่...เพราะจะต้องเร่งเรื่องคมนาคม การขนส่งสินค้า ซึ่งเจาะมีการแถลงนโยบายในเดือนมีนาคมแน่นอน - ในช่วงครึ่งสมัยประชุมแรก รัฐบาลกับสภาพยายามผลักดันแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ยังไม่สำเร็จ ครึ่งหลังจะสำเร็จไหม คือต้องคุยกัน ฝ่ายค้านก็มีเหตุผลว่าไม่ให้แก้ทั้งฉบับ แต่ถ้าเป็นรายมาตราเขาเห็นด้วย แต่จะเป็นมาตราไหนต้องคุยกัน - การแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับดูเหมือนสำเร็จยาก เราจะประสานฝ่ายค้านแก้ไขรายมาตราไหม ตรงนี้เรายังไม่ได้คุยกัน แต่ในพื้นที่ภาคกลางมีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นายอำเภอ ได้ประชุมประชาคมหมู่บ้านร่วมกับชาวบ้าน โดยถามความเห็นประชาชนพร้อมให้เซ็นชื่อว่าเห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ ส่วนใหญ่ประชาชนอยากให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เป็นอุปสรรค แต่ประชาชนไม่รู้ว่าอุปสรรคอยู่ตรงไหน ก็มาอยู่ที่เราแล้วว่าอุปสรรคคืออะไร แก้ประเด็นไหน - แก้สิ่งที่เป็นอุปสรรค หมายความว่าแก้รายมาตรา ประชาชนอยากให้มีการแก้แต่ไม่ได้บอกว่าแก้ทั้งฉบับ หรือแก้รายมาตรา มันก็อยู่ที่การพิจารณาจะตัดสินใจตามที่ประชาชนมีความเห็นหรือไม่ ผมคิดว่าเอกสารที่ส่งมารวบรวมน่าจะเป็นรถสิบล้อ แต่เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับการทำประชามติอย่างเป็นทางการที่มีการตั้งคณะทำงานศึกษาของรัฐบาล - กระบวนการเหล่านี้ท่านปรึกษากับพรรคหรือยัง นี่ชาวบ้านเขาทำกันเอง เพราะเขาดูข่าวสารจากสื่อ หนังสือพิมพ์ เขาก็พยายามทำแบบชาวบ้านลักษณะแบบสอบถามกันเอง - เหตุผลอะไรที่ทำให้ได้เป็นประธานวิป 1.ผมอยู่สภามานานไม่เคยย้ายไปไหนเลย อยู่ตั้งแต่สมัยพรรคไทยรักไทย 2.ไม่เคยไปเรียกร้องตำแหน่งหน้าที่ใด ๆทั้งสิ้น - การไม่เคยเรียกร้องทำให้เราชวดตำแหน่งรัฐมนตรีไหม อยู่ที่ผู้ใหญ่เขามอง เราอยู่สบาย ๆ ผมอยู่พรรคความหวังใหม่ ลาออกมาพรรคไทยรักไทยตั้งแต่ยังไม่มี ส.ส. คิดดู - อะไรของพรรคไทยรักไทยที่ดึงดูดเราให้ออกจากพรรคความหวังใหม่ ผมเห็นนโยบายที่ดูแลประชาชนเราจึงชอบใจ เมื่อเข้ามาอยู่เขาก็ทำได้ - พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชนต่างถูกยุบพรรคทำไมเราจึงไม่หนีไปไหน การย้ายพรรคเป็นมารยาททางการเมือง เรามีอุดมการณ์ทางนี้แล้วมีคนชวนผมก็ไม่ไป อย่างท่านเนวิน (ชิดชอบ) ก็บอกว่าพี่นวย มี ส.ส. 5 คน ผมให้รัฐมนตรีว่าการเลย ผมยังไม่ไปเลย เราให้เกียรติประชาชนที่เขาเลือกเราเพราะอยู่พรรคนี้ เราต้องอยู่พรรคนี้ จะไปไหนผมต้องถามประชาชนก่อน ผมจะหนีประชาชนไม่ได้ - ติดใจอะไรคุณทักษิณ ชินวัตร ไม่ว่าคนอื่นจะมองอย่างไร แต่ผมมองว่าเขาทำงานเพื่อประชาชน เช่น นโยบายต่าง ๆ แม้เป็นภาษีของประชาชน แต่คืนให้กับประชาชน ซึ่งในอดีตที่ผ่านมารัฐบาลไม่เคยทำ เช่น ก่อนมีโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค คนจนไปหาไม่ได้ ตายอย่างเดียว แต่ 30 บาททำให้เข้าถึงการบริการของรัฐ - แต่ตอนนี้ท่านทักษิณกำลังลำบาก

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง