อดีตป.ป.ช.ชี้ 3 อำนาจเดี้ยง การเมืองไร้ถ่วงดุล

แสดงความคิดเห็น

เดลินิวส์ออนไลน์ วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม 2556 เวลา 11:44 น.

ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/politics/187676 (ขนาดไฟล์: 167)

อดีตกรรมการป.ป.ช.ย้ำองค์กรอิสระ ต้องมีบทบาทมากขึ้นทางการเมือง ระบุเกิดปัญหา 3 ขั้วอำนาจไม่ทำงานแทนประชาชน ด้านจาตุรนต์จวกแหลก 4 องค์กรอิสระไม่เป็นกลางทำให้สังคมแตกแยก

เมื่ิอวันที่ 1 มี.ค. ที่โรงแรมพลาซ่าแอทธินี มีการจัดเสวนาในหัวข้อ "15 ปีองค์กรอิสระ บทบาทคู่ขนานของการเสริมสร้างธรรมมาภิบาลและประชาธิปไตย" โดยนายเมธี ครองแก้ว อดีตกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) กล่าวตอนหนึ่งว่า ในปัจจุบันนี้บทบาทหน้าที่ ส.ส.ทำได้แค่ออกกฎหมายเท่านั้นไม่ได้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนประชาชนในท้องถิ่นเพราะมีระบบการเมืองเข้ามาครอบงำ การออกความคิดเห็นก็ต้องผ่านวิปของแต่ละฝ่าย และยังมีปัญหาการประชุมสภาผู้แทนไม่ครบองค์ประชุม ถือเป็นเรื่องที่สังคมกำลังมองเป็นเรื่องที่เคยชิน ด้านฝ่ายรัฐบาลทำหน้าที่บริหาร ยิ่งไปกันใหญ่พอแถลงนโยบายในสภาแล้วจะทำอะไรก็ได้ ไม่เข้าสภาก็ได้

นายเมธี กล่าวต่อว่า เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีองค์กรที่ตรวจสอบเฉพาะด้าน เพราะปัญหาอำนาจนิติบัญญัติ บริหาร เสียสมดุล ทำงานได้ไม่สมบูรณ์แบบ จึงต้องมีองค์กรอิสระขึ้นมาเป็นองค์กรที่ 4 เพื่อถ่วงดุล โดยปัญหาใหญ่คือตุลาการของไทยไม่มีบทบาทมากนัก ตัวอย่างศาลสูงของสหรัฐฯ เวลาตัดสินคดีความสำคัญเขาเปิดช่องทางที่จะอธิบายต่อสังคมให้วิพากวิจารณ์ได้อย่างกว้างขวาง แต่ของเรากลับปิดตัวเอง จึงเป็นที่มาขององค์กรอิสระ ระหว่างที่ตนอยู่ใน ป.ป.ช. ไม่เคยรู้สึกไปวางอำนาจบาตรใหญ่ แต่กังวลที่ทำคดีได้ช้า จากคนภายนอกมองเราว่าพยายามใส่ร้ายคนอื่น ซึ่งความจริงแล้วเราทำตามกฎหมาย ในการทำงานเราชี้มูลข้าราชการ นักการเมือง และมีอยู่ไม่น้อยที่เราถูกฟ้องกลับ จนขณะนี้ตนยังต้องไปขึ้นศาลตลอด

ด้านนายโคทม อารียา ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติศึกษา ม.มหิดล กล่าวว่า ประเด็นสำคัญการเมืองไทยต้องมีการตรวจสอบถ่วงดุล ถ้ามีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ควรศึกษากันอย่างละเอียดก่อนว่าองค์กรใดควรมี พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญรองรับหรือไม่ และแยกออกมามีกฎหมายเฉพาะเพื่อทำให้แก้ง่ายขึ้น ไม่ต้องไปแก้รัฐธรรมนูญทุกครั้งไป ซึ่งตนเตือนว่าการออกแบบรัฐธรรมนูญไว้ก่อนไม่ดี และต้องรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนเพราะที่ใช้องค์กรอิสระมา 15 ปี หลายเรื่ิองบางองค์กรดูดี บางองค์กรก็ไม่ทำอะไร การแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องใช้เวลาอย่างเร่งรีบต้องระวัง

ขณะที่ นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย กล่าวว่า หลังมีรัฐธรรมนูญปี 2540 องค์กรอิสระถูกตั้งข้อสงสัยว่าโดนแทรกแซงได้หรือไม่ หลังจากนั้นมาเป็นรัฐธรรมนูญ 50 โดยมีอำนาจที่ 4 ขึ้นมาชัดเจน โดยให้มาครอบอยู่ข้างบนของ 3 อำนาจ คือ รัฐสภา บริหาร และตุลาการไว้อีกที และทำให้ในตัวองค์กรเดียวมีอำนาจนิติบัญญัติ ตุลาการ และบริหาร คือคณะกรรมการเลือกตั้ง หรือ กกต. เป็นเรื่ิองใหญ่มากของระบอบประชาธิปไตย เท่ากับเป็นองค์กรมีอำนาจเหนือประชาชน เป็นปัญหาในเชิงอำนาจ รวมทั้งตรวจสอบไม่ได้ ทำงานอย่างไร มีประสิทธิภาพ หรือเลือกปฏิบัติหรือไม่ ปล่อยให้เรื่องอื่นค้างไว้ก่อน เอาเรื่องฝ่ายตรงข้ามขึ้นมาเล่นงานหรือไม่ โดยองค์กรอิสระเหล่านี้ทั้ง 4 องค์กร ประกอบด้วย ผู้ตรวจการแผ่นดิน ป.ป.ช. กกต. และคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน มีอำนาจใหญ่มากจนเกินไปสามารถทำแทนอำนาจ 3 ฝ่าย และความเป็นอิสระก็ไม่จริงเพราะมาจากผู้ยึดอำนาจ ทำให้ความเป็นกลางเปลี่ยนแปลงได้ อำนาจขององค์กรอิสระสามารถล้มรัฐบาลได้ และอำนาจบางมาตรามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงครม.ได้ด้วย ทำให้สังคมไทยเกิดความแตกแยกเพราะปัญหาจากองค์กรอิสระเป็นเครื่องแสดงความไม่เป็นประชาธิปไตย และเป็นระบบที่ไม่มีทางสร้างธรรมมาภิบาลทางการเมืองได้

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์
วันที่โพสต์: 2/03/2556 เวลา 03:32:01

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เดลินิวส์ออนไลน์ วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม 2556 เวลา 11:44 น. ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/politics/187676 อดีตกรรมการป.ป.ช.ย้ำองค์กรอิสระ ต้องมีบทบาทมากขึ้นทางการเมือง ระบุเกิดปัญหา 3 ขั้วอำนาจไม่ทำงานแทนประชาชน ด้านจาตุรนต์จวกแหลก 4 องค์กรอิสระไม่เป็นกลางทำให้สังคมแตกแยก เมื่ิอวันที่ 1 มี.ค. ที่โรงแรมพลาซ่าแอทธินี มีการจัดเสวนาในหัวข้อ "15 ปีองค์กรอิสระ บทบาทคู่ขนานของการเสริมสร้างธรรมมาภิบาลและประชาธิปไตย" โดยนายเมธี ครองแก้ว อดีตกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) กล่าวตอนหนึ่งว่า ในปัจจุบันนี้บทบาทหน้าที่ ส.ส.ทำได้แค่ออกกฎหมายเท่านั้นไม่ได้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนประชาชนในท้องถิ่นเพราะมีระบบการเมืองเข้ามาครอบงำ การออกความคิดเห็นก็ต้องผ่านวิปของแต่ละฝ่าย และยังมีปัญหาการประชุมสภาผู้แทนไม่ครบองค์ประชุม ถือเป็นเรื่องที่สังคมกำลังมองเป็นเรื่องที่เคยชิน ด้านฝ่ายรัฐบาลทำหน้าที่บริหาร ยิ่งไปกันใหญ่พอแถลงนโยบายในสภาแล้วจะทำอะไรก็ได้ ไม่เข้าสภาก็ได้ นายเมธี กล่าวต่อว่า เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีองค์กรที่ตรวจสอบเฉพาะด้าน เพราะปัญหาอำนาจนิติบัญญัติ บริหาร เสียสมดุล ทำงานได้ไม่สมบูรณ์แบบ จึงต้องมีองค์กรอิสระขึ้นมาเป็นองค์กรที่ 4 เพื่อถ่วงดุล โดยปัญหาใหญ่คือตุลาการของไทยไม่มีบทบาทมากนัก ตัวอย่างศาลสูงของสหรัฐฯ เวลาตัดสินคดีความสำคัญเขาเปิดช่องทางที่จะอธิบายต่อสังคมให้วิพากวิจารณ์ได้อย่างกว้างขวาง แต่ของเรากลับปิดตัวเอง จึงเป็นที่มาขององค์กรอิสระ ระหว่างที่ตนอยู่ใน ป.ป.ช. ไม่เคยรู้สึกไปวางอำนาจบาตรใหญ่ แต่กังวลที่ทำคดีได้ช้า จากคนภายนอกมองเราว่าพยายามใส่ร้ายคนอื่น ซึ่งความจริงแล้วเราทำตามกฎหมาย ในการทำงานเราชี้มูลข้าราชการ นักการเมือง และมีอยู่ไม่น้อยที่เราถูกฟ้องกลับ จนขณะนี้ตนยังต้องไปขึ้นศาลตลอด ด้านนายโคทม อารียา ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติศึกษา ม.มหิดล กล่าวว่า ประเด็นสำคัญการเมืองไทยต้องมีการตรวจสอบถ่วงดุล ถ้ามีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ควรศึกษากันอย่างละเอียดก่อนว่าองค์กรใดควรมี พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญรองรับหรือไม่ และแยกออกมามีกฎหมายเฉพาะเพื่อทำให้แก้ง่ายขึ้น ไม่ต้องไปแก้รัฐธรรมนูญทุกครั้งไป ซึ่งตนเตือนว่าการออกแบบรัฐธรรมนูญไว้ก่อนไม่ดี และต้องรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนเพราะที่ใช้องค์กรอิสระมา 15 ปี หลายเรื่ิองบางองค์กรดูดี บางองค์กรก็ไม่ทำอะไร การแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องใช้เวลาอย่างเร่งรีบต้องระวัง ขณะที่ นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย กล่าวว่า หลังมีรัฐธรรมนูญปี 2540 องค์กรอิสระถูกตั้งข้อสงสัยว่าโดนแทรกแซงได้หรือไม่ หลังจากนั้นมาเป็นรัฐธรรมนูญ 50 โดยมีอำนาจที่ 4 ขึ้นมาชัดเจน โดยให้มาครอบอยู่ข้างบนของ 3 อำนาจ คือ รัฐสภา บริหาร และตุลาการไว้อีกที และทำให้ในตัวองค์กรเดียวมีอำนาจนิติบัญญัติ ตุลาการ และบริหาร คือคณะกรรมการเลือกตั้ง หรือ กกต. เป็นเรื่ิองใหญ่มากของระบอบประชาธิปไตย เท่ากับเป็นองค์กรมีอำนาจเหนือประชาชน เป็นปัญหาในเชิงอำนาจ รวมทั้งตรวจสอบไม่ได้ ทำงานอย่างไร มีประสิทธิภาพ หรือเลือกปฏิบัติหรือไม่ ปล่อยให้เรื่องอื่นค้างไว้ก่อน เอาเรื่องฝ่ายตรงข้ามขึ้นมาเล่นงานหรือไม่ โดยองค์กรอิสระเหล่านี้ทั้ง 4 องค์กร ประกอบด้วย ผู้ตรวจการแผ่นดิน ป.ป.ช. กกต. และคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน มีอำนาจใหญ่มากจนเกินไปสามารถทำแทนอำนาจ 3 ฝ่าย และความเป็นอิสระก็ไม่จริงเพราะมาจากผู้ยึดอำนาจ ทำให้ความเป็นกลางเปลี่ยนแปลงได้ อำนาจขององค์กรอิสระสามารถล้มรัฐบาลได้ และอำนาจบางมาตรามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงครม.ได้ด้วย ทำให้สังคมไทยเกิดความแตกแยกเพราะปัญหาจากองค์กรอิสระเป็นเครื่องแสดงความไม่เป็นประชาธิปไตย และเป็นระบบที่ไม่มีทางสร้างธรรมมาภิบาลทางการเมืองได้

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง