จังหวะ"การเมืองไทย" เข้าสู่โซน"พิสูจน์ความจริง" รับได้-รับไม่ได้?
มติชนออนไลน์ 23 กันยายน พ.ศ. 2555 เวลา 10:29:40 น.
เหตุผลที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ชี้แจงต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อของบประมาณ 440 ล้านบาท ให้ตำรวจนำไปซื้ออุปกรณ์ควบคุมฝูงชนนั้น เป็นเหตุผลที่นักการเมืองผู้เคยผ่านเหตุการณ์ทางการเมืองคาดคะเนออก
ร.ต.อ.เฉลิมระบุว่า ได้ชี้แจงในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีถึงความจำเป็นในการจัดซื้ออุปกรณ์ควบคุมฝูงชนให้ตำรวจ เช่น แก๊สน้ำตา ระเบิดควัน รถฉีดน้ำและฉีดสี เพราะเมื่อประเมินสถานการณ์ทางการเมืองแล้ว คาดว่าหลังจากการพิจารณาคดีสลายการชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดง สถานการณ์ทางการเมืองอาจจะมีความรุนแรง
เป็นเหตุและผลที่แอบอิงกับเหตุการณ์เกี่ยวกับการพิสูจน์ความจริงในช่วงเหตุการณ์ความรุนแรงในปี 2553
ล่าสุดศาลได้มีคำสั่งในชั้นไต่สวนระบุว่า นายพัน คำกอง คนขับแท็กซี่ที่เสียชีวิตในช่วงเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองในปี 2553 นั้น เป็นการเสียชีวิตจากเจ้าหน้าที่ โดยคำสั่งของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
คดีการเสียชีวิตของ นายพัน คำกอง นี้เป็นคดีแรกที่พนักงานสอบสวนกรมสอบสวนคดีพิเศษ ยื่นต่อพนักงานอัยการฟ้องร้องต่อศาล
ยังมีคดีทำนองนี้อีก 35 คดี ที่สำนวนการสอบสวนมีพยานหลักฐานระบุว่า การเสียชีวิตของเหยื่อในช่วงเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองเมื่อปี 2553 นั้น เป็นฝีมือเจ้าหน้าที่รัฐ
คดีอีก 35 คดี มีสำนวนไปทำนองเดียวกันกับคดี นายพัน คำกอง
คนขับแท็กซี่ ดังนั้น เมื่อศาลได้ชี้ในชั้นไต่สวนว่าการเสียชีวิตมาจากฝีมือของฝ่ายเจ้าหน้าที่ โดยคำสั่งของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ศอฉ.
นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ จึงเห็นว่าในคดีอื่นๆ อีก 35 คดี คงจะมีแนวการวินิจฉัยใกล้เคียงกัน
ผลจากการชี้ว่าใครเป็นผู้กระทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายนี้ ส่งผลให้พนักงานสอบสวนต้องแจ้งข้อหา ฆ่าผู้อื่นถึงแก่ความตาย แก่คนผู้นั้น
เท่ากับว่า การเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเพื่อพิสูจน์ความจริงในครั้งนี้ ผลการไต่สวนครั้งแรกได้กระเถิบเข้าใกล้ความจริงที่ว่าเป็นฝีมือเจ้าหน้าที่
ผลคดีดั่งว่า เป็นเหตุให้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ผู้คร่ำหวอดอยู่ในเวทีการเมืองมานานมองว่า ...สถานการณ์การเมืองอาจจะมีความรุนแรง
เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะ ผลจากการพิสูจน์ความจริงกระทบต่อบุคคล 2 กลุ่มที่มีพลังทางการเมือง
กลุ่มแรก มีพลังทางทหาร สามารถนำกำลังออกมายึดอำนาจอีกกลุ่มหนึ่ง มีพลังทางมวลชน สามารถปลุกปั่นมวลชน สร้างสถานการณ์ขึ้นมาจนทหารต้องออกมายึดอำนาจได้
อย่างไรก็ตาม ขณะที่การพิสูจน์ความจริงในชั้นศาลกำลังดำเนินอย่างไปอย่างต่อเนื่อง ทางการเมืองได้พยายามอธิบายความต่อกลุ่มพลังทางการเมืองกลุ่มแรก
ทั้ง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง และ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ ต่างออกมาประสานเสียง ....งานนี้ทหารไม่ผิด เพราะทหารทำตามคำสั่ง
ผู้บังคับบัญชา
นายธาริตให้สัมภาษณ์ว่า ในกระบวนการสอบสวนต้องถือว่า
เจ้าหน้าที่ทหารที่ใช้อาวุธเป็นเพียงผู้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน ซึ่งกฎหมายอาญา มาตรา 70 ให้ความคุ้มครอง
ทั้งนี้แนวทางของพนักงานสอบสวนจะดำเนินการได้ 2 แนวทางคือ ทำสำนวนคดีตามปกติ แจ้งข้อกล่าวหากับ
เจ้าหน้าที่ทหาร หลังจากนั้นอาจมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง โดยอาศัยกฎหมายตามมาตรา 70 หรืออีกแนวทาง ไม่ต้องแจ้งข้อกล่าวเจ้าหน้าที่ทหาร แต่สอบปากคำในฐานะพยาน
ส่วนผู้บังคับบัญชาที่รับคำสั่งเป็นทอดๆ ซึ่งร่วมถึง ผบ.ทบ.
ในขณะนั้น ถือว่าเป็นเพียงผู้ผ่านคำสั่งจึงไม่ต้องรับผิดทางคดีเช่นกัน
แต่ผู้ออกคำสั่งจะเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงอาจถูกแจ้งข้อกล่าวหาในคดีฆ่าคนตายโดยเจตนา
ดังนั้น จากการ รุกคืบ เพื่อพิสูจน์ความจริงจากความรุนแรงในเหตุการณ์ทางการเมืองเมื่อปี 2553 จึงพุ่งเป้าไปยังฝ่ายการเมืองอย่างชัดเจนที่สุด
และฝ่ายการเมืองที่ดูแลการปฏิบัติงานของ ศอฉ.ในช่วงนั้นก็คือ พรรคประชาธิปัตย์
เท่ากับว่า พรรคประชาธิปัตย์ โดยเฉพาะ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้เซ็นคำสั่งตั้ง ศอฉ. และ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ดูแล ศอฉ. ต้องเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์ความจริง
ดังนั้น ณ วันนี้การเมืองไทยที่มีการพาดพิงถึงกันไปถึงกันมาตั้งแต่ปี 2553 กำลังเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์ตามหลักสากล สู้กันด้วยพยานและหลักฐาน
การพิสูจน์ความจริงตามพยานหลักฐานในชั้นศาลเช่นนี้ ถือเป็นการพิสูจน์ความจริงที่สากลยอมรับ
หลายประเทศมีการพิสูจน์ความจริง และผู้เข้ารับการพิสูจน์ยอมรับความจริง โดยเปิดทางให้ประเทศเดินหน้าไปอย่างสงบ
แต่อีกหลายประเทศ มีการพิสูจน์ความจริง แต่ผู้เข้ารับการพิสูจน์ไม่ยอมรับผล ประเทศจึงเกิดการปั่นป่วนขึ้น
สำหรับ การเมืองไทย ที่ผ่านมา โดยมากไม่ยอมรับผลการพิสูจน์ความจริง และก่อเกิดเหตุร้ายขึ้นในประเทศขึ้น
แต่หากสามารถก้าวกระโดด ยอมรับการพิสุจน์ ไม่ว่าจะผิดหรือถูกแล้วปล่อยให้ประเทศเดินหน้าไปอย่างสงบได้
ย่อมหมายความถึงพัฒนาการของประเทศ
แต่หากการณ์กลับกลายเป็นตรงกันข้าม สถานการณ์การเมืองอาจจะรุนแรงดั่งที่ ร.ต.อ.เฉลิมใช้เป็นเหตุผลอ้างของบประมาณ 440 ล้านบาท ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี
ยังไม่มีเรตติ้ง
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
มติชนออนไลน์ 23 กันยายน พ.ศ. 2555 เวลา 10:29:40 น. เหตุผลที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ชี้แจงต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อของบประมาณ 440 ล้านบาท ให้ตำรวจนำไปซื้ออุปกรณ์ควบคุมฝูงชนนั้น เป็นเหตุผลที่นักการเมืองผู้เคยผ่านเหตุการณ์ทางการเมืองคาดคะเนออก ร.ต.อ.เฉลิมระบุว่า ได้ชี้แจงในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีถึงความจำเป็นในการจัดซื้ออุปกรณ์ควบคุมฝูงชนให้ตำรวจ เช่น แก๊สน้ำตา ระเบิดควัน รถฉีดน้ำและฉีดสี เพราะเมื่อประเมินสถานการณ์ทางการเมืองแล้ว คาดว่าหลังจากการพิจารณาคดีสลายการชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดง สถานการณ์ทางการเมืองอาจจะมีความรุนแรง เป็นเหตุและผลที่แอบอิงกับเหตุการณ์เกี่ยวกับการพิสูจน์ความจริงในช่วงเหตุการณ์ความรุนแรงในปี 2553 ล่าสุดศาลได้มีคำสั่งในชั้นไต่สวนระบุว่า นายพัน คำกอง คนขับแท็กซี่ที่เสียชีวิตในช่วงเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองในปี 2553 นั้น เป็นการเสียชีวิตจากเจ้าหน้าที่ โดยคำสั่งของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน คดีการเสียชีวิตของ นายพัน คำกอง นี้เป็นคดีแรกที่พนักงานสอบสวนกรมสอบสวนคดีพิเศษ ยื่นต่อพนักงานอัยการฟ้องร้องต่อศาล ยังมีคดีทำนองนี้อีก 35 คดี ที่สำนวนการสอบสวนมีพยานหลักฐานระบุว่า การเสียชีวิตของเหยื่อในช่วงเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองเมื่อปี 2553 นั้น เป็นฝีมือเจ้าหน้าที่รัฐ คดีอีก 35 คดี มีสำนวนไปทำนองเดียวกันกับคดี นายพัน คำกอง คนขับแท็กซี่ ดังนั้น เมื่อศาลได้ชี้ในชั้นไต่สวนว่าการเสียชีวิตมาจากฝีมือของฝ่ายเจ้าหน้าที่ โดยคำสั่งของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ศอฉ. นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ จึงเห็นว่าในคดีอื่นๆ อีก 35 คดี คงจะมีแนวการวินิจฉัยใกล้เคียงกัน ผลจากการชี้ว่าใครเป็นผู้กระทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายนี้ ส่งผลให้พนักงานสอบสวนต้องแจ้งข้อหา ฆ่าผู้อื่นถึงแก่ความตาย แก่คนผู้นั้น เท่ากับว่า การเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเพื่อพิสูจน์ความจริงในครั้งนี้ ผลการไต่สวนครั้งแรกได้กระเถิบเข้าใกล้ความจริงที่ว่าเป็นฝีมือเจ้าหน้าที่ ผลคดีดั่งว่า เป็นเหตุให้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ผู้คร่ำหวอดอยู่ในเวทีการเมืองมานานมองว่า ...สถานการณ์การเมืองอาจจะมีความรุนแรง เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะ ผลจากการพิสูจน์ความจริงกระทบต่อบุคคล 2 กลุ่มที่มีพลังทางการเมือง กลุ่มแรก มีพลังทางทหาร สามารถนำกำลังออกมายึดอำนาจอีกกลุ่มหนึ่ง มีพลังทางมวลชน สามารถปลุกปั่นมวลชน สร้างสถานการณ์ขึ้นมาจนทหารต้องออกมายึดอำนาจได้ อย่างไรก็ตาม ขณะที่การพิสูจน์ความจริงในชั้นศาลกำลังดำเนินอย่างไปอย่างต่อเนื่อง ทางการเมืองได้พยายามอธิบายความต่อกลุ่มพลังทางการเมืองกลุ่มแรก ทั้ง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง และ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ ต่างออกมาประสานเสียง ....งานนี้ทหารไม่ผิด เพราะทหารทำตามคำสั่ง ผู้บังคับบัญชา นายธาริตให้สัมภาษณ์ว่า ในกระบวนการสอบสวนต้องถือว่า เจ้าหน้าที่ทหารที่ใช้อาวุธเป็นเพียงผู้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน ซึ่งกฎหมายอาญา มาตรา 70 ให้ความคุ้มครอง ทั้งนี้แนวทางของพนักงานสอบสวนจะดำเนินการได้ 2 แนวทางคือ ทำสำนวนคดีตามปกติ แจ้งข้อกล่าวหากับ เจ้าหน้าที่ทหาร หลังจากนั้นอาจมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง โดยอาศัยกฎหมายตามมาตรา 70 หรืออีกแนวทาง ไม่ต้องแจ้งข้อกล่าวเจ้าหน้าที่ทหาร แต่สอบปากคำในฐานะพยาน ส่วนผู้บังคับบัญชาที่รับคำสั่งเป็นทอดๆ ซึ่งร่วมถึง ผบ.ทบ. ในขณะนั้น ถือว่าเป็นเพียงผู้ผ่านคำสั่งจึงไม่ต้องรับผิดทางคดีเช่นกัน แต่ผู้ออกคำสั่งจะเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงอาจถูกแจ้งข้อกล่าวหาในคดีฆ่าคนตายโดยเจตนา ดังนั้น จากการ รุกคืบ เพื่อพิสูจน์ความจริงจากความรุนแรงในเหตุการณ์ทางการเมืองเมื่อปี 2553 จึงพุ่งเป้าไปยังฝ่ายการเมืองอย่างชัดเจนที่สุด และฝ่ายการเมืองที่ดูแลการปฏิบัติงานของ ศอฉ.ในช่วงนั้นก็คือ พรรคประชาธิปัตย์ เท่ากับว่า พรรคประชาธิปัตย์ โดยเฉพาะ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้เซ็นคำสั่งตั้ง ศอฉ. และ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ดูแล ศอฉ. ต้องเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์ความจริง ดังนั้น ณ วันนี้การเมืองไทยที่มีการพาดพิงถึงกันไปถึงกันมาตั้งแต่ปี 2553 กำลังเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์ตามหลักสากล สู้กันด้วยพยานและหลักฐาน การพิสูจน์ความจริงตามพยานหลักฐานในชั้นศาลเช่นนี้ ถือเป็นการพิสูจน์ความจริงที่สากลยอมรับ หลายประเทศมีการพิสูจน์ความจริง และผู้เข้ารับการพิสูจน์ยอมรับความจริง โดยเปิดทางให้ประเทศเดินหน้าไปอย่างสงบ แต่อีกหลายประเทศ มีการพิสูจน์ความจริง แต่ผู้เข้ารับการพิสูจน์ไม่ยอมรับผล ประเทศจึงเกิดการปั่นป่วนขึ้น สำหรับ การเมืองไทย ที่ผ่านมา โดยมากไม่ยอมรับผลการพิสูจน์ความจริง และก่อเกิดเหตุร้ายขึ้นในประเทศขึ้น แต่หากสามารถก้าวกระโดด ยอมรับการพิสุจน์ ไม่ว่าจะผิดหรือถูกแล้วปล่อยให้ประเทศเดินหน้าไปอย่างสงบได้ ย่อมหมายความถึงพัฒนาการของประเทศ แต่หากการณ์กลับกลายเป็นตรงกันข้าม สถานการณ์การเมืองอาจจะรุนแรงดั่งที่ ร.ต.อ.เฉลิมใช้เป็นเหตุผลอ้างของบประมาณ 440 ล้านบาท
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)