การเมืองเครือข่ายในหลายรูปแบบ
โดยพิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ ( madpitch@yahoo.com )
ตั้งใจเขียนเรื่องนี้ไว้เป็นที่ระลึกหนึ่งวันหลังครบรอบ 6 ปี เหตุการณ์การทำรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 จะว่าไปแล้ว เหตุการณ์รัฐประหารครั้งนี้มีอาถรรพณ์สำคัญที่บรรดาหมอดูทั้งหลายที่เป็นกองเชียร์รัฐประหารคงจะลืมดู นั่นก็คือ เป็นเหตุการณ์วันเดียวกับการสลายการชุมนุม เมื่อ 19 พฤษภาคม 2553
ดังนั้นเลข 19 เลยกลายเป็นเลขอาถรรพณ์ที่ทำให้การระลึกถึงสองเหตุการณ์นั้นกลายเป็นเรื่องที่ถูกผูกติดเข้าด้วยกันทั้งในแง่เป็นทั้งเหตุผลของกัน และในแง่ที่เป็นเหตุบังเอิญที่กลายเป็นเรื่องเชื่อมต่อซึ่งกันและกัน
ทีนี้กลับมาเรื่องที่เป็นเรื่องหลักบ้าง นั่นก็คือ หนึ่งในผลลัพธ์จากความขัดแย้งในช่วงที่ผ่านมานั้นทำให้ผมมองเห็นปรากฏการณ์ของการเมืองเครือข่ายสี่เครือข่ายใหญ่ๆ
นั่นหมายความว่าเดิมนั้นมองแค่เรื่องนี้เป็นชุดทางความคิดเฉยๆ แต่เอาเข้าจริงชุดทางความคิดดังกล่าวนั้นมีนัยของการเคลื่อนไหวที่เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย มากกว่าการมองว่ากำจัดแกนนำแล้วทุกอย่างจะจบไป
นั่นหมายความว่าเราเริ่มยกระดับให้เห็นว่าแทนที่จะมองถึงตัวแสดงที่มีบทบาทของตนเองอย่างโดดเด่น มาเป็นลักษณะของการรวมตัวกันอย่างหลวมๆ มากกว่าพูดถึงคนใดคนหนึ่ง
การเมืองเครือข่ายนี้ไม่ได้หมายความว่ามีเครือข่ายเดียว แต่เอาเข้าจริงแล้วมีหลายเครือข่าย และแต่ละเครือข่ายนั้นผูกโยงเข้าด้วยกันด้วยเงื่อนไขทั้งผลประโยชน์และความหมายในการใช้ชีวิตบางอย่างร่วมกัน ในแง่นี้เราไม่ได้มองว่าจะมีสีเสื้อหรือไม่มีสีเสื้อ แต่เราดูว่าเครือข่ายแต่ละเครือข่ายนั้นทำงานอย่างไรมากกว่า
เอาเป็นว่าจากเดิมนั้นเราอาจจะมีเครือข่ายอยู่สองเครือข่ายใหญ่ที่ค่อนข้างเหนียวแน่นอยู่ในระดับหนึ่ง นั่นก็คือเครือข่ายทหาร และเครือข่ายประชาสังคม แต่การปรากฏตัวของระบอบทักษิณนั้นได้ก่อให้เกิดเครือข่ายสำคัญอีกสองเครือข่าย นั่นก็คือ เครือข่ายการต้านทักษิณ ที่เชื่อมโยงกับสองเครือข่ายเดิม และเครือข่ายการต้านรัฐประหาร (ที่มีการสนับสนุนทักษิณเป็นส่วนหนึ่งในนั้น แต่ไม่ใช่เรื่องเดียว และบางทีก็ไม่ใช่เรื่องด้วย)
เครือข่ายเหล่านี้ทางหนึ่งนั้นพยายามที่จะสร้างความเหนียวแน่นในกลุ่มของตนเอง และในอีกทางหนึ่งนั้นก็พยายามทั้งครอบงำ และ-หรือ แสวงหาพันธมิตรกันด้วย
นั่นหมายความว่า ถ้าเราไม่สนใจเรื่องการเมืองเครือข่ายให้ดี เราก็จะเชื่อว่า การเมืองเครือข่ายนั้นไม่สำคัญ เพราะความสำคัญก็คือการสถาปนาเครือข่ายหนึ่งเดียวผ่านการเข้ายึดกุมอำนาจรัฐให้ได้
ทั้งที่ในเงื่อนไขของการเมืองในปัจจุบันนั้น การแบ่งอำนาจและประสานประโยชน์กันของเครือข่ายนั้นมีความสำคัญยิ่ง และยิ่งกว่าการเข้าอกเข้าใจเรื่องของสาระที่แต่ละเครือข่ายต้องการด้วยซ้ำ
ถ้ามองย้อนกลับไปเกินหกปี กลับไปตั้งแต่ในยุคป๋านั้น อย่างน้อยความโดดเด่นประการหนึ่งของ(ระบอบ)ป๋านั้นไม่ใช่มีแต่เรื่องของนิรโทษกรรมหรอกครับ แต่ยังรวมที่การที่ป๋าสถาปนาระบอบการประสานประโยชน์ของเครือข่ายนายทุนได้ แทนที่จะไล่บี้นายทุนหรือตกเป็นเบี้ยล่างให้นายทุน ขณะที่ดูในยุคน้า จะพบว่าน้านั้นขาดการเชื่อมประโยชน์กับบางเครือข่าย ด้วยเชื่อในอำนาจการเลือกตั้ง
เช่นเดียวกัน เราก็เคยพบว่าระบอบทักษิณในยุคต้นก็เคยเชื่อมโยงกับเครือข่ายมาก่อน ที่จะเชื่อว่าเครือข่ายนั้นสามารถสร้างได้เองหรือเราพบความมหัศจรรย์ของการทำรัฐประหารที่เปิดพื้นที่ให้เครือข่ายต่างๆ เข้ามามีบทบาทในสภานิติบัญญัติ และใช้ประโยชน์จากเครือข่ายที่รวมตัวกันต้านทักษิณ และเราก็เคยพบพรรคการเมืองแบบที่เคยถูกกล่าวหาว่าปล่อยหมากัดม็อบ สามารถเชื่อมโยงกับเครือข่ายปฏิรูปได้
คำถามในวันนี้จึงไม่ได้อยู่แค่ว่าเสื้อแดงกับพรรคเพื่อไทยเมื่อได้อำนาจรัฐมาแล้ว จะสร้างความสัมพันธ์เครือข่ายของตนเชื่อมโยงกันอย่างไร แต่คงจะต้องหมายถึง การจัดความสัมพันธ์ระดับเครือข่ายที่มากกว่าการประสานสิบทิศมาสู่การสร้างสถาบันหรือทำให้ความสัมพันธ์แบบเครือข่ายกลายเป็นสถาบันมากขึ้นด้วย และเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่ไกลกว่าสีเสื้อ(สีแดง)มากนัก
ยังไม่มีเรตติ้ง
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
โดยพิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ (madpitch@yahoo.com) ตั้งใจเขียนเรื่องนี้ไว้เป็นที่ระลึกหนึ่งวันหลังครบรอบ 6 ปี เหตุการณ์การทำรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 จะว่าไปแล้ว เหตุการณ์รัฐประหารครั้งนี้มีอาถรรพณ์สำคัญที่บรรดาหมอดูทั้งหลายที่เป็นกองเชียร์รัฐประหารคงจะลืมดู นั่นก็คือ เป็นเหตุการณ์วันเดียวกับการสลายการชุมนุม เมื่อ 19 พฤษภาคม 2553 ดังนั้นเลข 19 เลยกลายเป็นเลขอาถรรพณ์ที่ทำให้การระลึกถึงสองเหตุการณ์นั้นกลายเป็นเรื่องที่ถูกผูกติดเข้าด้วยกันทั้งในแง่เป็นทั้งเหตุผลของกัน และในแง่ที่เป็นเหตุบังเอิญที่กลายเป็นเรื่องเชื่อมต่อซึ่งกันและกัน ทีนี้กลับมาเรื่องที่เป็นเรื่องหลักบ้าง นั่นก็คือ หนึ่งในผลลัพธ์จากความขัดแย้งในช่วงที่ผ่านมานั้นทำให้ผมมองเห็นปรากฏการณ์ของการเมืองเครือข่ายสี่เครือข่ายใหญ่ๆ นั่นหมายความว่าเดิมนั้นมองแค่เรื่องนี้เป็นชุดทางความคิดเฉยๆ แต่เอาเข้าจริงชุดทางความคิดดังกล่าวนั้นมีนัยของการเคลื่อนไหวที่เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย มากกว่าการมองว่ากำจัดแกนนำแล้วทุกอย่างจะจบไป นั่นหมายความว่าเราเริ่มยกระดับให้เห็นว่าแทนที่จะมองถึงตัวแสดงที่มีบทบาทของตนเองอย่างโดดเด่น มาเป็นลักษณะของการรวมตัวกันอย่างหลวมๆ มากกว่าพูดถึงคนใดคนหนึ่ง การเมืองเครือข่ายนี้ไม่ได้หมายความว่ามีเครือข่ายเดียว แต่เอาเข้าจริงแล้วมีหลายเครือข่าย และแต่ละเครือข่ายนั้นผูกโยงเข้าด้วยกันด้วยเงื่อนไขทั้งผลประโยชน์และความหมายในการใช้ชีวิตบางอย่างร่วมกัน ในแง่นี้เราไม่ได้มองว่าจะมีสีเสื้อหรือไม่มีสีเสื้อ แต่เราดูว่าเครือข่ายแต่ละเครือข่ายนั้นทำงานอย่างไรมากกว่า เอาเป็นว่าจากเดิมนั้นเราอาจจะมีเครือข่ายอยู่สองเครือข่ายใหญ่ที่ค่อนข้างเหนียวแน่นอยู่ในระดับหนึ่ง นั่นก็คือเครือข่ายทหาร และเครือข่ายประชาสังคม แต่การปรากฏตัวของระบอบทักษิณนั้นได้ก่อให้เกิดเครือข่ายสำคัญอีกสองเครือข่าย นั่นก็คือ เครือข่ายการต้านทักษิณ ที่เชื่อมโยงกับสองเครือข่ายเดิม และเครือข่ายการต้านรัฐประหาร (ที่มีการสนับสนุนทักษิณเป็นส่วนหนึ่งในนั้น แต่ไม่ใช่เรื่องเดียว และบางทีก็ไม่ใช่เรื่องด้วย) เครือข่ายเหล่านี้ทางหนึ่งนั้นพยายามที่จะสร้างความเหนียวแน่นในกลุ่มของตนเอง และในอีกทางหนึ่งนั้นก็พยายามทั้งครอบงำ และ-หรือ แสวงหาพันธมิตรกันด้วย นั่นหมายความว่า ถ้าเราไม่สนใจเรื่องการเมืองเครือข่ายให้ดี เราก็จะเชื่อว่า การเมืองเครือข่ายนั้นไม่สำคัญ เพราะความสำคัญก็คือการสถาปนาเครือข่ายหนึ่งเดียวผ่านการเข้ายึดกุมอำนาจรัฐให้ได้ ทั้งที่ในเงื่อนไขของการเมืองในปัจจุบันนั้น การแบ่งอำนาจและประสานประโยชน์กันของเครือข่ายนั้นมีความสำคัญยิ่ง และยิ่งกว่าการเข้าอกเข้าใจเรื่องของสาระที่แต่ละเครือข่ายต้องการด้วยซ้ำ ถ้ามองย้อนกลับไปเกินหกปี กลับไปตั้งแต่ในยุคป๋านั้น อย่างน้อยความโดดเด่นประการหนึ่งของ(ระบอบ)ป๋านั้นไม่ใช่มีแต่เรื่องของนิรโทษกรรมหรอกครับ แต่ยังรวมที่การที่ป๋าสถาปนาระบอบการประสานประโยชน์ของเครือข่ายนายทุนได้ แทนที่จะไล่บี้นายทุนหรือตกเป็นเบี้ยล่างให้นายทุน ขณะที่ดูในยุคน้า จะพบว่าน้านั้นขาดการเชื่อมประโยชน์กับบางเครือข่าย ด้วยเชื่อในอำนาจการเลือกตั้ง เช่นเดียวกัน เราก็เคยพบว่าระบอบทักษิณในยุคต้นก็เคยเชื่อมโยงกับเครือข่ายมาก่อน ที่จะเชื่อว่าเครือข่ายนั้นสามารถสร้างได้เองหรือเราพบความมหัศจรรย์ของการทำรัฐประหารที่เปิดพื้นที่ให้เครือข่ายต่างๆ เข้ามามีบทบาทในสภานิติบัญญัติ และใช้ประโยชน์จากเครือข่ายที่รวมตัวกันต้านทักษิณ และเราก็เคยพบพรรคการเมืองแบบที่เคยถูกกล่าวหาว่าปล่อยหมากัดม็อบ สามารถเชื่อมโยงกับเครือข่ายปฏิรูปได้ คำถามในวันนี้จึงไม่ได้อยู่แค่ว่าเสื้อแดงกับพรรคเพื่อไทยเมื่อได้อำนาจรัฐมาแล้ว จะสร้างความสัมพันธ์เครือข่ายของตนเชื่อมโยงกันอย่างไร แต่คงจะต้องหมายถึง การจัดความสัมพันธ์ระดับเครือข่ายที่มากกว่าการประสานสิบทิศมาสู่การสร้างสถาบันหรือทำให้ความสัมพันธ์แบบเครือข่ายกลายเป็นสถาบันมากขึ้นด้วย
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)