การบวชภิกษุณีเป็นสิทธิมนุษยชนหรือไม่?

แสดงความคิดเห็น

สุรพศ ทวีศักดิ์

นักวิชาการด้านปรัชญาและศาสนา

ภิกษุณี

ประเด็นการบวชภิกษุณีสะท้อน “อำนาจการตีความธรรมวินัย” แบบล้าหลังของคณะสงฆ์ไทย รวมทั้งพระและนักวิชาการพุทธศาสนา ตลอดทั้งทัศนะของชาวพุทธไทยได้ชัดเจนที่สุด

นึกถึงบทความ “พิธีกรรมเลือกตั้ง” (มติชนสุดสัปดาห์,10-16 ก.ค.58) ของนิธิ เอียวศรีวงศ์ที่อธิบายว่า พิธีกรรมต่างๆ ย่อมมีอุดมการณ์บางอย่างกำกับอยู่เบื้องหลัง เช่นอุดมการณ์เบื้องหลังพิธีกรรมเลือกตั้งก็คือ “ความเสมอภาค” (1 คน 1 เสียง) และ “สิทธิในการปกครองตนเอง” ของประชาชน อุดมการณ์ดังกล่าวนี่แหละที่ทำให้การเลือกตั้งมีความหมาย เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในระบบประชาธิปไตย

ทำให้ผมเกิดคำถามว่า ในสังคมพุทธไทย(ที่อ้างกันว่าเป็น “ศูนย์กลางพุทธศาสนาโลก”) ทำไมในกรณีการบวชภิกษุณีถึงให้ความสำคัญสูงสุดกับ “พิธีกรรมการบวช” ที่ต้องตรงตามพระไตรปิฎกเป๊ะร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่บรรดาผู้ที่อ้างธรรมะ อ้างศีลธรรมในการต่อสู้ทางการเมือง กลับไม่ให้ความสำคัญกับ “พิธีกรรมเลือกตั้ง” ไปยอมรับและสนับสนุนอำนาจที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งได้อย่างสนิทใจ

เมื่อมาดูว่าพิธีกรรมการบวชในพุทธศาสนาไทยปัจจุบันสะท้อนความหมายหรืออุดมการณ์อะไรปรากฏว่าการบวชในพุทธศาสนาอย่างไทยนั้นมีหลากหลายมาก เช่นบวชแก้บน บวชแทนคุณ บวชระยะสั้น 7 วัน 15 วัน จำพรรษา 3 เดือน บวชเรียนหนังสือได้ปริญญาตรี โท เอก เพื่อสึกไปทำงาน บวชหนีราชภัย หรือบวชหนีภัยการเมือง ฯลฯ

แต่ความหมายหรืออุดมการณ์เบื้องหลังของการบวชพระตาม “พุทธานุญาต” นั้น คือการบวชเพื่อปฏิบัติให้พ้นทุกข์ โดยต้องผ่านพิธีกรรมที่สะท้อน “ฉันทามติ” ของ “สังฆะ” ในการรับรองคุณสมบัติของผู้บวชและแสดงการยอมรับสมาชิกใหม่เข้าหมู่คณะเพื่อใช้ชีวิตเรียนรู้ร่วมกันอย่างกัลยาณมิตรทว่าความหมายหรืออุดมการณ์ดังกล่าวนี้แทบไม่ปรากฏในพิธีกรรมการบวชปัจจุบันเลย เพราะพิธีกรรมการบวชแบบสวดบาลีแต่แปลความหมายไม่ได้นั้น ไม่ได้สะท้อนความเข้าใจความหมายและอุดมการณ์เบื้องหลังของพิธีกรรมการบวชดังกล่าวแต่อย่างใด (บางคนเข้าใจว่าการ “สวด” ในพิธีบวช คือการ “เสก” ให้คนกลายเป็นพระ)

ถ้าเราตีความว่า การบวชตามพุทธานุญาตเป็น “สิทธิการบวชเพื่อปฏิบัติให้พ้นทุกข์” ตามธรรมวินัยที่พุทธะให้มา ก็เท่ากับว่าคณะสงฆ์ไทยปัจจุบันได้ขยายสิทธิจากพุทธานุญาตออกไปมาก ดังมีการบวชได้หลากหลายจุดประสงค์ที่คล้อยตามวัฒนธรรมความเชื่อของสังคมไทย โดยเฉพาะการบวชเรียนเพื่อเลื่อนสถานะทางสังคม ก็เป็นสิทธิทางการศึกษาและโอกาสการมีงานทำอย่างหนึ่งที่ได้จากการบวช นี่ยังไม่นับการบวชหนีภัยการเมือง หรือใช้สถานะของนักบวชเล่นการเมืองที่เป็น “อภิสิทธิ์”ของชายไทย

เมื่อเป็นเช่นนี้สิทธิการบวชในพุทธศาสนาไทย จึงเป็น “สิทธิทางวัฒนธรรม” ซึ่งถือเป็น “สิทธิเชิงบวก” (positive rights) ตามหลักสิทธิมนุษยชน และพระไทยก็ได้สิทธิต่างๆ ตามกฎหมายอีกมาก เช่นสิทธิทางการศึกษา การมีตำแหน่งทางวิชาการเป็น ผศ.,รศ.,ศ.มีเงินเดือน เงินประจำตำแหน่งจากภาษีประชาชน สึกไปก็มีงานทำที่ดี อยู่เป็นพระก็มีสมณศักดิ์ มีค่านิตยภัตจากภาษีประชาชน ฯลฯ

ขณะที่การบวชพระเป็นสิทธิทางวัฒนธรรมหรือสิทธิมนุษยชนอย่างหนึ่ง และพระเองก็ยังมีสิทธิพิเศษอื่นๆ อีกมากดังกล่าว แต่เมื่อมีการอ้าง “สิทธิมนุษยชน” เพื่อเรียกร้องการบวชภิกษุณี คณะสงฆ์ไทย พระและนักวิชาการพุทธไทยจำนวนมากต่างประสานเสียงว่า “ไม่เกี่ยวกัน” การบวชเป็นเรื่องของพุทธานุญาตตาม “ธรรมวินัย” เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน

ที่น่าตกใจมากคือ ในการแลกเปลี่ยนกันทางเฟซบุ๊คของ อ.สมภาร พรมทา ปรากฏว่าพระภาสกร ภาวิไล ได้อ้างพระไตรปิฎกเกี่ยวกับเรื่อง “อัญญสัตถุทเทส” (การถือ ศาสดาอื่น คือ ถือถูกอยู่แล้ว กลับไพล่ทิ้งไปถือผิด) แล้วก็มีข้อความสรุปท้ายว่า

ฉะนั้น บุคคลผู้แอบอ้าง เอาลัทธินอกศาสนา เช่น "สิทธิสตรี" หรือ "สิทธิมนุษยชน" ให้มามีอำนาจ มีบทบาท เหนือพระธรรมวินัย เหนือพระรัตนตรัย จึงชื่อว่า บุคคลนั้น เป็น "อัญญสัตถุทเทส" ถือศาสดาอื่น อันมีโทษหนักหนา เสมอด้วยอนันตริยกรรม คือ ฆ่าพ่อ ฆ่าแม่ ฆ่าพระอรหันต์ ทำร้ายพระพุทธเจ้า จนถึง ห้อพระโลหิต และทำสงฆ์ ให้แตกแยก

เมื่อไปดูเหตุผลที่พุทธะอนุญาตให้สตรีบวชภิกษุณี จะเห็นว่าเหตุผลข้อหนึ่งคือ “ถ้าสตรีบวชก็สามารถบรรลุธรรมได้เฉกเช่นบุรุษ” แปลว่าพุทธะยืนยันความเสมอภาคในความเป็นมนุษย์ แต่เมื่อจะอนุญาตให้บวชภิกษุณีพุทธะกลับกำหนดเงื่อนไขให้ปฏิบัติตาม “ครุธรรม” ที่ถือว่าภิกษุณีมีสถานะทางสังคมต่ำกว่าพระภิกษุ (เช่นภิกษุณีแม้จะบวชมานาน 100 พรรษา ก็ยังต้องทำความเคารพพระภิกษุที่บวชแม้วันเดียว) ซึ่งเป็นการยอมรับบริบทวัฒนธรรมของสังคมอินเดียเวลานั้น ที่ถือว่าชายมีสถานะทางสังคมสูงกว่าหญิง

ถ้าตีความแบบพระภาสกร ก็แปลว่าพุทธะรับเอา “ลัทธินอกศาสนา” แต่ไม่ใช่เลย การยอมรับบริบทวัฒนธรรมทางสังคมนั้นๆ ไม่ว่าวัฒนธรรมทางสังคมอินเดียโบราณ หรือสิทธิสตรี สิทธิมนุษยชนในบริบทสังคมประชาธิปไตยสมัยใหม่ ไม่ได้มีความหมายเป็นการรับเอาลัทธินอกศาสนามาเหนือธรรมวินัย เหนือพระรัตนตรัยและมีโทษร้ายแรงอย่างที่ว่าเลยครับ แต่มันเป็นข้อเท็จจริงในการบัญญัติวินัยของพุทธะ และเป็นข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์พุทธศาสนาที่มีการปรับตัวให้เข้ากันได้กับบริบทความเปลี่ยนแปลงทางสังคมแต่ละยุคสมัยเสมอมา

ปัญหาคือทั้งๆ ที่พุทธะยืนยันความเสมอภาคในความเป็นมนุษย์ของสตรีและบุรุษ และรับเอาเงื่อนไขทางวัฒนธรรมมาเป็นส่วนหนึ่งของการอนุญาตบวชภิกษุณี ทำไมพระสงฆ์ในปัจจุบันจึงปฏิเสธสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นเงื่อนไขทางสังคมวัฒนธรรมที่เป็นอารยะกว่าเงื่อนไขวัฒนธรรมโบราณและยังเป็นเงื่อนไขที่รับรองความเสมอภาคของมนุษย์ที่พุทธะก็ได้ยืนยันแล้วด้วย

และหากการบวชพระไทยที่ได้สิทธิทางการศึกษาและอื่นๆอีกมาก ซึ่งเป็นสิทธิเชิงบวกที่เป็นสิทธิมนุษยชนอย่างหนึ่ง ทำไมการบวชภิกษุณีจึงเป็นสิทธิมนุษยชนบ้างไม่ได้ ข้ออ้างเรื่องการบวชภิกษุณีต้องทำให้ถูกต้องตามธรรมวินัยในพระไตรปิฎกร้อยเปอร์เซ็นต์ (บวชจากมหายานในไต้หวัน จากเถรวาทศรีลังกาก็ไม่ยอมรับ ไม่ถือเป็นภิกษุณี?) แล้วการบวชพระไทยในปัจจุบันถือว่าถูกต้องทั้งทางพิธีกรรมและจุดหมายของการบวชตามธรรมวินัยร้อยเปอร์เซ็นต์อย่างไรหรือ

ที่แย่กว่านั้นจะด้วยความไม่เข้าใจ หรือด้วยความไม่เคารพเสรีภาพทางศาสนาและสิทธิมนุษยชนหรืออย่างไรไม่ทราบ จึงทำให้สำนักพุทธฯ (พศ.) มหาเถรสมาคม และนักวิชาการพุทธศาสนาไปเรียกร้องให้ใช้อำนาจรัฐไม่อนุญาตให้พระต่างชาติมาทำพิธีบวชภิกษุณีในไทย ทั้งๆ ที่พระต่างชาติและภิกษุณีเหล่านั้นไม่ได้ขึ้นต่ออำนาจปกครองของคณะสงฆ์ไทย

ความจริงมีงานวิชาการของนักวิชาการพุทธไทยและเทศจำนวนไม่น้อย ที่ตีความพุทธศาสนาสนับสนุนสิทธิมนุษยชน และในความเป็นจริงพระสงฆ์ไทยในฐานะพลเมืองโลก ย่อมได้รับความคุ้มครองโดยหลักสิทธิมนุษยชนด้วย จึงเป็นเรื่องตลกร้ายมากที่ประเด็นเรื่องภิกษุณีอ้างสิทธิมนุษยชนไม่ได้ หากคณะสงฆ์และชาวพุทธโดยรวมไม่ยอมเปลี่ยนทรรศนะให้ก้าวหน้า พุทธศาสนาไทยก็จะกลายเป็นอำนาจครอบงำกดขี่ และถูกท้าทาย ต่อต้านด้วยหลักการที่อารยะกว่ามากขึ้นเรื่อยๆ การปกป้องพุทธศาสนาด้วยทรรศนะล้าหลังคือการบั่นทอนพุทธศาสนาเสียเอง

ขอบคุณ... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1437745222

ที่มา: มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 ก.ค.58
วันที่โพสต์: 29/07/2558 เวลา 11:23:00 ดูภาพสไลด์โชว์ การบวชภิกษุณีเป็นสิทธิมนุษยชนหรือไม่?

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

สุรพศ ทวีศักดิ์ นักวิชาการด้านปรัชญาและศาสนา ภิกษุณี ประเด็นการบวชภิกษุณีสะท้อน “อำนาจการตีความธรรมวินัย” แบบล้าหลังของคณะสงฆ์ไทย รวมทั้งพระและนักวิชาการพุทธศาสนา ตลอดทั้งทัศนะของชาวพุทธไทยได้ชัดเจนที่สุด นึกถึงบทความ “พิธีกรรมเลือกตั้ง” (มติชนสุดสัปดาห์,10-16 ก.ค.58) ของนิธิ เอียวศรีวงศ์ที่อธิบายว่า พิธีกรรมต่างๆ ย่อมมีอุดมการณ์บางอย่างกำกับอยู่เบื้องหลัง เช่นอุดมการณ์เบื้องหลังพิธีกรรมเลือกตั้งก็คือ “ความเสมอภาค” (1 คน 1 เสียง) และ “สิทธิในการปกครองตนเอง” ของประชาชน อุดมการณ์ดังกล่าวนี่แหละที่ทำให้การเลือกตั้งมีความหมาย เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในระบบประชาธิปไตย ทำให้ผมเกิดคำถามว่า ในสังคมพุทธไทย(ที่อ้างกันว่าเป็น “ศูนย์กลางพุทธศาสนาโลก”) ทำไมในกรณีการบวชภิกษุณีถึงให้ความสำคัญสูงสุดกับ “พิธีกรรมการบวช” ที่ต้องตรงตามพระไตรปิฎกเป๊ะร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่บรรดาผู้ที่อ้างธรรมะ อ้างศีลธรรมในการต่อสู้ทางการเมือง กลับไม่ให้ความสำคัญกับ “พิธีกรรมเลือกตั้ง” ไปยอมรับและสนับสนุนอำนาจที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งได้อย่างสนิทใจ เมื่อมาดูว่าพิธีกรรมการบวชในพุทธศาสนาไทยปัจจุบันสะท้อนความหมายหรืออุดมการณ์อะไรปรากฏว่าการบวชในพุทธศาสนาอย่างไทยนั้นมีหลากหลายมาก เช่นบวชแก้บน บวชแทนคุณ บวชระยะสั้น 7 วัน 15 วัน จำพรรษา 3 เดือน บวชเรียนหนังสือได้ปริญญาตรี โท เอก เพื่อสึกไปทำงาน บวชหนีราชภัย หรือบวชหนีภัยการเมือง ฯลฯ แต่ความหมายหรืออุดมการณ์เบื้องหลังของการบวชพระตาม “พุทธานุญาต” นั้น คือการบวชเพื่อปฏิบัติให้พ้นทุกข์ โดยต้องผ่านพิธีกรรมที่สะท้อน “ฉันทามติ” ของ “สังฆะ” ในการรับรองคุณสมบัติของผู้บวชและแสดงการยอมรับสมาชิกใหม่เข้าหมู่คณะเพื่อใช้ชีวิตเรียนรู้ร่วมกันอย่างกัลยาณมิตรทว่าความหมายหรืออุดมการณ์ดังกล่าวนี้แทบไม่ปรากฏในพิธีกรรมการบวชปัจจุบันเลย เพราะพิธีกรรมการบวชแบบสวดบาลีแต่แปลความหมายไม่ได้นั้น ไม่ได้สะท้อนความเข้าใจความหมายและอุดมการณ์เบื้องหลังของพิธีกรรมการบวชดังกล่าวแต่อย่างใด (บางคนเข้าใจว่าการ “สวด” ในพิธีบวช คือการ “เสก” ให้คนกลายเป็นพระ) ถ้าเราตีความว่า การบวชตามพุทธานุญาตเป็น “สิทธิการบวชเพื่อปฏิบัติให้พ้นทุกข์” ตามธรรมวินัยที่พุทธะให้มา ก็เท่ากับว่าคณะสงฆ์ไทยปัจจุบันได้ขยายสิทธิจากพุทธานุญาตออกไปมาก ดังมีการบวชได้หลากหลายจุดประสงค์ที่คล้อยตามวัฒนธรรมความเชื่อของสังคมไทย โดยเฉพาะการบวชเรียนเพื่อเลื่อนสถานะทางสังคม ก็เป็นสิทธิทางการศึกษาและโอกาสการมีงานทำอย่างหนึ่งที่ได้จากการบวช นี่ยังไม่นับการบวชหนีภัยการเมือง หรือใช้สถานะของนักบวชเล่นการเมืองที่เป็น “อภิสิทธิ์”ของชายไทย เมื่อเป็นเช่นนี้สิทธิการบวชในพุทธศาสนาไทย จึงเป็น “สิทธิทางวัฒนธรรม” ซึ่งถือเป็น “สิทธิเชิงบวก” (positive rights) ตามหลักสิทธิมนุษยชน และพระไทยก็ได้สิทธิต่างๆ ตามกฎหมายอีกมาก เช่นสิทธิทางการศึกษา การมีตำแหน่งทางวิชาการเป็น ผศ.,รศ.,ศ.มีเงินเดือน เงินประจำตำแหน่งจากภาษีประชาชน สึกไปก็มีงานทำที่ดี อยู่เป็นพระก็มีสมณศักดิ์ มีค่านิตยภัตจากภาษีประชาชน ฯลฯ ขณะที่การบวชพระเป็นสิทธิทางวัฒนธรรมหรือสิทธิมนุษยชนอย่างหนึ่ง และพระเองก็ยังมีสิทธิพิเศษอื่นๆ อีกมากดังกล่าว แต่เมื่อมีการอ้าง “สิทธิมนุษยชน” เพื่อเรียกร้องการบวชภิกษุณี คณะสงฆ์ไทย พระและนักวิชาการพุทธไทยจำนวนมากต่างประสานเสียงว่า “ไม่เกี่ยวกัน” การบวชเป็นเรื่องของพุทธานุญาตตาม “ธรรมวินัย” เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน ที่น่าตกใจมากคือ ในการแลกเปลี่ยนกันทางเฟซบุ๊คของ อ.สมภาร พรมทา ปรากฏว่าพระภาสกร ภาวิไล ได้อ้างพระไตรปิฎกเกี่ยวกับเรื่อง “อัญญสัตถุทเทส” (การถือ ศาสดาอื่น คือ ถือถูกอยู่แล้ว กลับไพล่ทิ้งไปถือผิด) แล้วก็มีข้อความสรุปท้ายว่า ฉะนั้น บุคคลผู้แอบอ้าง เอาลัทธินอกศาสนา เช่น "สิทธิสตรี" หรือ "สิทธิมนุษยชน" ให้มามีอำนาจ มีบทบาท เหนือพระธรรมวินัย เหนือพระรัตนตรัย จึงชื่อว่า บุคคลนั้น เป็น "อัญญสัตถุทเทส" ถือศาสดาอื่น อันมีโทษหนักหนา เสมอด้วยอนันตริยกรรม คือ ฆ่าพ่อ ฆ่าแม่ ฆ่าพระอรหันต์ ทำร้ายพระพุทธเจ้า จนถึง ห้อพระโลหิต และทำสงฆ์ ให้แตกแยก เมื่อไปดูเหตุผลที่พุทธะอนุญาตให้สตรีบวชภิกษุณี จะเห็นว่าเหตุผลข้อหนึ่งคือ “ถ้าสตรีบวชก็สามารถบรรลุธรรมได้เฉกเช่นบุรุษ” แปลว่าพุทธะยืนยันความเสมอภาคในความเป็นมนุษย์ แต่เมื่อจะอนุญาตให้บวชภิกษุณีพุทธะกลับกำหนดเงื่อนไขให้ปฏิบัติตาม “ครุธรรม” ที่ถือว่าภิกษุณีมีสถานะทางสังคมต่ำกว่าพระภิกษุ (เช่นภิกษุณีแม้จะบวชมานาน 100 พรรษา ก็ยังต้องทำความเคารพพระภิกษุที่บวชแม้วันเดียว) ซึ่งเป็นการยอมรับบริบทวัฒนธรรมของสังคมอินเดียเวลานั้น ที่ถือว่าชายมีสถานะทางสังคมสูงกว่าหญิง ถ้าตีความแบบพระภาสกร ก็แปลว่าพุทธะรับเอา “ลัทธินอกศาสนา” แต่ไม่ใช่เลย การยอมรับบริบทวัฒนธรรมทางสังคมนั้นๆ ไม่ว่าวัฒนธรรมทางสังคมอินเดียโบราณ หรือสิทธิสตรี สิทธิมนุษยชนในบริบทสังคมประชาธิปไตยสมัยใหม่ ไม่ได้มีความหมายเป็นการรับเอาลัทธินอกศาสนามาเหนือธรรมวินัย เหนือพระรัตนตรัยและมีโทษร้ายแรงอย่างที่ว่าเลยครับ แต่มันเป็นข้อเท็จจริงในการบัญญัติวินัยของพุทธะ และเป็นข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์พุทธศาสนาที่มีการปรับตัวให้เข้ากันได้กับบริบทความเปลี่ยนแปลงทางสังคมแต่ละยุคสมัยเสมอมา ปัญหาคือทั้งๆ ที่พุทธะยืนยันความเสมอภาคในความเป็นมนุษย์ของสตรีและบุรุษ และรับเอาเงื่อนไขทางวัฒนธรรมมาเป็นส่วนหนึ่งของการอนุญาตบวชภิกษุณี ทำไมพระสงฆ์ในปัจจุบันจึงปฏิเสธสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นเงื่อนไขทางสังคมวัฒนธรรมที่เป็นอารยะกว่าเงื่อนไขวัฒนธรรมโบราณและยังเป็นเงื่อนไขที่รับรองความเสมอภาคของมนุษย์ที่พุทธะก็ได้ยืนยันแล้วด้วย และหากการบวชพระไทยที่ได้สิทธิทางการศึกษาและอื่นๆอีกมาก ซึ่งเป็นสิทธิเชิงบวกที่เป็นสิทธิมนุษยชนอย่างหนึ่ง ทำไมการบวชภิกษุณีจึงเป็นสิทธิมนุษยชนบ้างไม่ได้ ข้ออ้างเรื่องการบวชภิกษุณีต้องทำให้ถูกต้องตามธรรมวินัยในพระไตรปิฎกร้อยเปอร์เซ็นต์ (บวชจากมหายานในไต้หวัน จากเถรวาทศรีลังกาก็ไม่ยอมรับ ไม่ถือเป็นภิกษุณี?) แล้วการบวชพระไทยในปัจจุบันถือว่าถูกต้องทั้งทางพิธีกรรมและจุดหมายของการบวชตามธรรมวินัยร้อยเปอร์เซ็นต์อย่างไรหรือ ที่แย่กว่านั้นจะด้วยความไม่เข้าใจ หรือด้วยความไม่เคารพเสรีภาพทางศาสนาและสิทธิมนุษยชนหรืออย่างไรไม่ทราบ จึงทำให้สำนักพุทธฯ (พศ.) มหาเถรสมาคม และนักวิชาการพุทธศาสนาไปเรียกร้องให้ใช้อำนาจรัฐไม่อนุญาตให้พระต่างชาติมาทำพิธีบวชภิกษุณีในไทย ทั้งๆ ที่พระต่างชาติและภิกษุณีเหล่านั้นไม่ได้ขึ้นต่ออำนาจปกครองของคณะสงฆ์ไทย ความจริงมีงานวิชาการของนักวิชาการพุทธไทยและเทศจำนวนไม่น้อย ที่ตีความพุทธศาสนาสนับสนุนสิทธิมนุษยชน และในความเป็นจริงพระสงฆ์ไทยในฐานะพลเมืองโลก ย่อมได้รับความคุ้มครองโดยหลักสิทธิมนุษยชนด้วย จึงเป็นเรื่องตลกร้ายมากที่ประเด็นเรื่องภิกษุณีอ้างสิทธิมนุษยชนไม่ได้ หากคณะสงฆ์และชาวพุทธโดยรวมไม่ยอมเปลี่ยนทรรศนะให้ก้าวหน้า พุทธศาสนาไทยก็จะกลายเป็นอำนาจครอบงำกดขี่ และถูกท้าทาย ต่อต้านด้วยหลักการที่อารยะกว่ามากขึ้นเรื่อยๆ การปกป้องพุทธศาสนาด้วยทรรศนะล้าหลังคือการบั่นทอนพุทธศาสนาเสียเอง ขอบคุณ... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1437745222

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...