การเดินทางของจิต

แสดงความคิดเห็น

อาวกาศ

ธรรมะยู-เทิร์น : การเดินทางของจิต : บายไลน์...อิทธิโชโต

รมณียานิ อรญฺญานิ

ป่าทั้งหลายอันไม่เป็นที่ยินดีของมหาชน

ยตฺถ น รมติ ชโน

ย่อมเป็นที่น่ารื่นรมย์

วีตราคา รเมสฺสนฺติ

สมณะผู้มีราคะไปปราศแล้ว จักยินดีในป่าเหล่านั้น

น เต กามคเวสิโน

เพราะเธอทั้งหลาย หาเป็นผู้แสวงหากามไม่

พระพุทธเจ้าจึงทรงให้ความสำคัญต่อการไปสู่ป่าของบรรพชิตเพื่อบำเพ็ญภาวนามาก ดังคำตรัสที่ว่า "ภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ โน่นเรือนว่าง พวกเธอจงเพียรเผากิเลส อย่าได้ประมาท จะได้ไม่เป็นผู้ที่ต้องร้อนใจในภายหลัง นี้เป็นคำสอนของเรา"

ดังนั้น การตามหาผู้รู้ในใจเราให้พบ เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเดินมรรค หรือ การปฏิบัติบนหนทางอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการนี้เอง หากเราปฏิบัติอยู่บนทางนี้ อันเป็นทางเอกทางเดียว ก็ไม่ต้องร้อนใจในภายหลังจริงๆ

การพบผู้รู้ในจิตใจเรา ทำให้เห็นการทำงานของความคิดว่า มันไม่ใช่ตัวเรา เราก็ไม่ถูกความคิดบงการ ทำให้มีกำลังจิตในการเพียรเผากิเลสมากขึ้น เพราะเราพบเห็นจิตแล้ว เป็นจิตที่เป็นคนละส่วนกันกับกาย และเป็นคนละส่วนกับความคิด เป็นจิตที่มีสติเข้มแข็งในการต่อสู้กับกิเลสต่อไป

เนื่องจากกิเลสมันเหนือชั้นกว่าเรามากมายนัก ไม่เช่นนั้นพระพุทธเจ้าคงไม่ตั้งธุดงควัตร ๑๓ สำหรับภิกษุไว้เพื่อเป็นอุบายวิธีกำจัดขัดเกลากิเลส ทำให้เกิดความมักน้อยสันโดษยิ่งขึ้น ไม่สะสม เพื่อให้เบาสบายไปมาได้สะดวกด้วยไม่มีภาระมาก เหมือนนกที่มีเพียงปีกก็บินไปฉะนั้น มิใช่เพื่อสะสมหรือเพื่อลาภสักการะและชื่อเสียง ถ้าทำเพื่อลาภ เพื่อชื่อเสียง ต้องอาบัติทุกกฎ

ฉะนั้น หากยังไม่พบผู้รู้ อย่าท้อ ถ้ายังบริกรรมอยู่ ถือว่ายังสู้อยู่ ยังมีความเพียรอยู่ วันหนึ่งจะต้องพบผู้รู้เป็นแน่ ขอเพียงเราอย่าทิ้งคำบริกรรมก็แล้วกัน และเมื่อพบผู้รู้ คำบริกรรมจะหายไปเอง

คำบริกรรมช่วยเราเวลาที่มีความคิดฟุ้งเยอะๆ ด้วย ขณะบริกรรมแรกๆ ตอนที่จิตยังไม่สงบ ความคิดยังคงรบกวนเยอะ เมื่อมีความคิดมาวิธีการดูมันก็คือ เมื่อเห็นก็ให้มันผ่านไป อย่าไปรั้งมันไว้ รู้เฉยๆ แล้วให้จิตกลับมาเกาะกับพุทโธ พอจิตเกาะพุทโธหนักแน่นได้ดีแล้ว จนจิตสงบ ก็จะพบผู้รู้เอง ตัวคนคนนั้นจะรู้เอง เมื่อรู้แล้ว ความศรัทธาจะปรากฏแก่จิต เราจะรู้เลยว่า ศาสนาของพระพุทธเจ้าเป็นแบบนี้เอง จิตพระพุทธเจ้าเป็นแบบนี้เอง ความรู้จริงๆ เป็นอย่างนี้เอง ไม่ต้องมีคนบอกเลย มันจะรู้ขึ้นมาโดยอัตโนมัติ

การปฏิบัติธรรมเป็นเรื่องเฉพาะตน ใครยังไม่สนใจก็ไม่ต้องไปชักชวน หรือไปว่าเขา วันหนึ่งเมื่อเขาสนใจ เขาจะเดินไปด้วยตัวของเขาเอง เพราะธรรมะนี้เป็นเรื่องที่ต้องปฏิบัติเอง สร้างขึ้นเอง แม้ว่าเราไปเข้าคอร์สมามากต่อมาก สุดท้ายก็ต้องปฏิบัติด้วยตนเอง การปฏิบัติจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ผู้เห็นภัยในภพนี้ ในชาตินี้ก็ให้พิจารณาดู เมื่อเห็นว่ามีประโยชน์กับตนแล้วก็จะน้อมใจมาศึกษาปฏิบัติ แล้วก็จะเข้าใจธรรมะ เห็นคุณค่าของพระธรรม

ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20150417/204828.html

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 เม.ย.58
วันที่โพสต์: 29/04/2558 เวลา 11:43:06 ดูภาพสไลด์โชว์ การเดินทางของจิต

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

อาวกาศ ธรรมะยู-เทิร์น : การเดินทางของจิต : บายไลน์...อิทธิโชโต รมณียานิ อรญฺญานิ ป่าทั้งหลายอันไม่เป็นที่ยินดีของมหาชน ยตฺถ น รมติ ชโน ย่อมเป็นที่น่ารื่นรมย์ วีตราคา รเมสฺสนฺติ สมณะผู้มีราคะไปปราศแล้ว จักยินดีในป่าเหล่านั้น น เต กามคเวสิโน เพราะเธอทั้งหลาย หาเป็นผู้แสวงหากามไม่ พระพุทธเจ้าจึงทรงให้ความสำคัญต่อการไปสู่ป่าของบรรพชิตเพื่อบำเพ็ญภาวนามาก ดังคำตรัสที่ว่า "ภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ โน่นเรือนว่าง พวกเธอจงเพียรเผากิเลส อย่าได้ประมาท จะได้ไม่เป็นผู้ที่ต้องร้อนใจในภายหลัง นี้เป็นคำสอนของเรา" ดังนั้น การตามหาผู้รู้ในใจเราให้พบ เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเดินมรรค หรือ การปฏิบัติบนหนทางอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการนี้เอง หากเราปฏิบัติอยู่บนทางนี้ อันเป็นทางเอกทางเดียว ก็ไม่ต้องร้อนใจในภายหลังจริงๆ การพบผู้รู้ในจิตใจเรา ทำให้เห็นการทำงานของความคิดว่า มันไม่ใช่ตัวเรา เราก็ไม่ถูกความคิดบงการ ทำให้มีกำลังจิตในการเพียรเผากิเลสมากขึ้น เพราะเราพบเห็นจิตแล้ว เป็นจิตที่เป็นคนละส่วนกันกับกาย และเป็นคนละส่วนกับความคิด เป็นจิตที่มีสติเข้มแข็งในการต่อสู้กับกิเลสต่อไป เนื่องจากกิเลสมันเหนือชั้นกว่าเรามากมายนัก ไม่เช่นนั้นพระพุทธเจ้าคงไม่ตั้งธุดงควัตร ๑๓ สำหรับภิกษุไว้เพื่อเป็นอุบายวิธีกำจัดขัดเกลากิเลส ทำให้เกิดความมักน้อยสันโดษยิ่งขึ้น ไม่สะสม เพื่อให้เบาสบายไปมาได้สะดวกด้วยไม่มีภาระมาก เหมือนนกที่มีเพียงปีกก็บินไปฉะนั้น มิใช่เพื่อสะสมหรือเพื่อลาภสักการะและชื่อเสียง ถ้าทำเพื่อลาภ เพื่อชื่อเสียง ต้องอาบัติทุกกฎ ฉะนั้น หากยังไม่พบผู้รู้ อย่าท้อ ถ้ายังบริกรรมอยู่ ถือว่ายังสู้อยู่ ยังมีความเพียรอยู่ วันหนึ่งจะต้องพบผู้รู้เป็นแน่ ขอเพียงเราอย่าทิ้งคำบริกรรมก็แล้วกัน และเมื่อพบผู้รู้ คำบริกรรมจะหายไปเอง คำบริกรรมช่วยเราเวลาที่มีความคิดฟุ้งเยอะๆ ด้วย ขณะบริกรรมแรกๆ ตอนที่จิตยังไม่สงบ ความคิดยังคงรบกวนเยอะ เมื่อมีความคิดมาวิธีการดูมันก็คือ เมื่อเห็นก็ให้มันผ่านไป อย่าไปรั้งมันไว้ รู้เฉยๆ แล้วให้จิตกลับมาเกาะกับพุทโธ พอจิตเกาะพุทโธหนักแน่นได้ดีแล้ว จนจิตสงบ ก็จะพบผู้รู้เอง ตัวคนคนนั้นจะรู้เอง เมื่อรู้แล้ว ความศรัทธาจะปรากฏแก่จิต เราจะรู้เลยว่า ศาสนาของพระพุทธเจ้าเป็นแบบนี้เอง จิตพระพุทธเจ้าเป็นแบบนี้เอง ความรู้จริงๆ เป็นอย่างนี้เอง ไม่ต้องมีคนบอกเลย มันจะรู้ขึ้นมาโดยอัตโนมัติ การปฏิบัติธรรมเป็นเรื่องเฉพาะตน ใครยังไม่สนใจก็ไม่ต้องไปชักชวน หรือไปว่าเขา วันหนึ่งเมื่อเขาสนใจ เขาจะเดินไปด้วยตัวของเขาเอง เพราะธรรมะนี้เป็นเรื่องที่ต้องปฏิบัติเอง สร้างขึ้นเอง แม้ว่าเราไปเข้าคอร์สมามากต่อมาก สุดท้ายก็ต้องปฏิบัติด้วยตนเอง การปฏิบัติจึงเป็นสิ่งสำคัญ ผู้เห็นภัยในภพนี้ ในชาตินี้ก็ให้พิจารณาดู เมื่อเห็นว่ามีประโยชน์กับตนแล้วก็จะน้อมใจมาศึกษาปฏิบัติ แล้วก็จะเข้าใจธรรมะ เห็นคุณค่าของพระธรรม

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...