พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร www.watdevaraj.com (ขนาดไฟล์: 167)

มนุษย์ ที่เกิดขึ้นมาในโลกนี้ได้ เพราะอาศัยเหตุปัจจัยกล่าวคือ ตัณหา ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า ตัณหาย่อมยังบุคคลให้เกิดได้ และนอกจากจะทำบุคคลให้เกิดขึ้นมาแล้ว ยังปกคลุมหุ้มห่อมนุษย์โลก ทำให้วุ่นวาย คิดประกอบกรรมทั้งดีและชั่ว

ตัณหา แปลว่า ความทะยานอยากดิ้นรน ทำบุคคลให้สะดุ้งหวั่นไหว ทำชั่วบ้างทำดีบ้าง คนที่มีทุกข์มากมาย ประสบแต่ความเดือดร้อน ก็เพราะตัณหานี้เอง ซึ่งมีอยู่ 3 ประการ คือ

1.กามตัณหา หมายถึง ความทะยานอยากดิ้นรนค้นหา รูป เสียง เป็นต้น อันเป็นทั้งวัตถุกามและกิเลสกาม

2.ภวตัณหา หมายถึง ความอยากมีอยากเป็น คือ อยากเป็นนั่นเป็นนี่ อยากได้สิ่งนั้นสิ่งนี้อันเป็นเรื่องดีและชั่ว

3.วิภวตัณหา หมายถึง ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น เพราะมองเห็นทุกข์โทษ

บรรดา ตัณหาทั้ง 3 นั้น ภวตัณหา ความอยากมีอยากเป็น นับว่าเป็นตัวสำคัญ ทำให้เกิดกามตัณหาและวิภวตัณหา ก่อกรรมทั้งดีและชั่วไม่มีที่สิ้นสุด คนที่ถูกตัณหาเข้าควบคุมครอบงำแล้ว เปรียบเสมือนคนตาบอด มองไม่เห็นสิ่งที่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นโทษ

ตัณหาความ อยากนี้ ถ้าอยากจะทำดี ทำประโยชน์ ไม่ก่อให้เกิดทุกข์แก่ใคร นับได้ว่าเป็นความทะยานอยากในฝ่ายดี เช่นอยากจะทำตนให้เป็นประโยชน์เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นให้ได้รับความสุข พ้นจากความทุกข์ ก็เป็นที่น่าสรรเสริญ ยกย่องบูชาได้

ทางพระ พุทธศาสนา พระพุทธเจ้าเมื่อครั้งทรงเป็นสุเมธดาบสโพธิสัตว์ ได้พบพระทีปังกรพระพุทธเจ้าแล้ว ก็เลื่อมใสพอใจในความเป็นพระพุทธเจ้า จึงปรารถนาอยากจะเป็นบ้าง ก็ริเริ่มประกอบกรรมดี มีบำเพ็ญทานบารมี เป็นต้น ในที่สุดก็ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า สมความปรารถนาที่ตั้งไว้ อย่างนี้นับว่าเป็นตัณหาเหมือนกัน แต่เป็นตัณหาในทางดี

ถ้า เป็นตัณหา ความทะยานอยากในทางประกอบกรรมทำความชั่ว ก่อทุกข์ให้เกิดทั้งแก่ตนและคนอื่น ก็จัดเป็นตัณหาในทางชั่ว เช่น โลภอยากได้สมบัติสิ่งของผู้อื่นมาเป็นของตนโดยการคดโกงหลอกลวง และการประพฤติผิดในสามีภรรยาผู้อื่น เป็นต้น จัดเป็นตัณหาในทางชั่วที่ร้ายแรง บุคคลจะละหรือบรรเทาให้เบาบางลงได้ ก็ต้องใช้คุณธรรมกล่าวคือ ศีล สมาธิ และปัญญา

บุคคลจะละ ตัณหาหรือบรรเทาตัณหาให้เบาบางจางลงไปได้ ก็ต้องพยายามรักษาศีล ฝึกสมาธิทำจิตใจให้สงบระงับและทำปัญญา ความรอบรู้ให้เข้าใจถูกต้องอย่างแท้จริง

คนที่มีศีลดี มีสมาธิดี และมีปัญญาดี จะไม่ประกอบกรรมทำชั่วโดยเด็ดขาด จะทำแต่ความดี ทำสิ่งที่มีประโยชน์ ไม่ก่อให้เกิดทุกข์โทษทั้งแก่ตนและคนอื่น

ส่วน คนที่มีแต่ความยุ่งเหยิง เดือดร้อน เพราะขาดศีล สมาธิ และปัญญานั่นเอง จึงถูกตัณหาเข้าครอบงำ สร้างแต่บาปกรรมความชั่วไม่สิ้นสุด ผลสุดท้ายก็ได้รับทุกข์โทษทั้งในชาติปัจจุบันนี้และภพต่อไป

คน ที่มีปัญญาดี ควรพยายามบรรเทาตัณหาที่มีอยู่ให้ลดน้อยลง แล้วประกอบแต่คุณงามความดี ก็ย่อมจะทำประโยชน์ให้เกิดแก่ตนและคนอื่นได้ ถ้าแม้ยังมีชีวิตอยู่ ก็มีคนเคารพบูชา

ละจากโลกนี้ไปแล้ว ก็มีคนยกย่องสรรเสริญ

ขอบคุณ http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROaWRXUXdOREkzTURjMU5nPT0=&sectionid=TURNd053PT0=&day=TWpBeE15MHdOeTB5Tnc9PQ== (ขนาดไฟล์: 167)

ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 ก.ค.56

ที่มา: ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 ก.ค.56
วันที่โพสต์: 27/07/2556 เวลา 03:10:56

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร www.watdevaraj.com มนุษย์ ที่เกิดขึ้นมาในโลกนี้ได้ เพราะอาศัยเหตุปัจจัยกล่าวคือ ตัณหา ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า ตัณหาย่อมยังบุคคลให้เกิดได้ และนอกจากจะทำบุคคลให้เกิดขึ้นมาแล้ว ยังปกคลุมหุ้มห่อมนุษย์โลก ทำให้วุ่นวาย คิดประกอบกรรมทั้งดีและชั่ว ตัณหา แปลว่า ความทะยานอยากดิ้นรน ทำบุคคลให้สะดุ้งหวั่นไหว ทำชั่วบ้างทำดีบ้าง คนที่มีทุกข์มากมาย ประสบแต่ความเดือดร้อน ก็เพราะตัณหานี้เอง ซึ่งมีอยู่ 3 ประการ คือ 1.กามตัณหา หมายถึง ความทะยานอยากดิ้นรนค้นหา รูป เสียง เป็นต้น อันเป็นทั้งวัตถุกามและกิเลสกาม 2.ภวตัณหา หมายถึง ความอยากมีอยากเป็น คือ อยากเป็นนั่นเป็นนี่ อยากได้สิ่งนั้นสิ่งนี้อันเป็นเรื่องดีและชั่ว 3.วิภวตัณหา หมายถึง ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น เพราะมองเห็นทุกข์โทษ บรรดา ตัณหาทั้ง 3 นั้น ภวตัณหา ความอยากมีอยากเป็น นับว่าเป็นตัวสำคัญ ทำให้เกิดกามตัณหาและวิภวตัณหา ก่อกรรมทั้งดีและชั่วไม่มีที่สิ้นสุด คนที่ถูกตัณหาเข้าควบคุมครอบงำแล้ว เปรียบเสมือนคนตาบอด มองไม่เห็นสิ่งที่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นโทษ ตัณหาความ อยากนี้ ถ้าอยากจะทำดี ทำประโยชน์ ไม่ก่อให้เกิดทุกข์แก่ใคร นับได้ว่าเป็นความทะยานอยากในฝ่ายดี เช่นอยากจะทำตนให้เป็นประโยชน์เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นให้ได้รับความสุข พ้นจากความทุกข์ ก็เป็นที่น่าสรรเสริญ ยกย่องบูชาได้ ทางพระ พุทธศาสนา พระพุทธเจ้าเมื่อครั้งทรงเป็นสุเมธดาบสโพธิสัตว์ ได้พบพระทีปังกรพระพุทธเจ้าแล้ว ก็เลื่อมใสพอใจในความเป็นพระพุทธเจ้า จึงปรารถนาอยากจะเป็นบ้าง ก็ริเริ่มประกอบกรรมดี มีบำเพ็ญทานบารมี เป็นต้น ในที่สุดก็ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า สมความปรารถนาที่ตั้งไว้ อย่างนี้นับว่าเป็นตัณหาเหมือนกัน แต่เป็นตัณหาในทางดี ถ้า เป็นตัณหา ความทะยานอยากในทางประกอบกรรมทำความชั่ว ก่อทุกข์ให้เกิดทั้งแก่ตนและคนอื่น ก็จัดเป็นตัณหาในทางชั่ว เช่น โลภอยากได้สมบัติสิ่งของผู้อื่นมาเป็นของตนโดยการคดโกงหลอกลวง และการประพฤติผิดในสามีภรรยาผู้อื่น เป็นต้น จัดเป็นตัณหาในทางชั่วที่ร้ายแรง บุคคลจะละหรือบรรเทาให้เบาบางลงได้ ก็ต้องใช้คุณธรรมกล่าวคือ ศีล สมาธิ และปัญญา บุคคลจะละ ตัณหาหรือบรรเทาตัณหาให้เบาบางจางลงไปได้ ก็ต้องพยายามรักษาศีล ฝึกสมาธิทำจิตใจให้สงบระงับและทำปัญญา ความรอบรู้ให้เข้าใจถูกต้องอย่างแท้จริง คนที่มีศีลดี มีสมาธิดี และมีปัญญาดี จะไม่ประกอบกรรมทำชั่วโดยเด็ดขาด จะทำแต่ความดี ทำสิ่งที่มีประโยชน์ ไม่ก่อให้เกิดทุกข์โทษทั้งแก่ตนและคนอื่น ส่วน คนที่มีแต่ความยุ่งเหยิง เดือดร้อน เพราะขาดศีล สมาธิ และปัญญานั่นเอง จึงถูกตัณหาเข้าครอบงำ สร้างแต่บาปกรรมความชั่วไม่สิ้นสุด ผลสุดท้ายก็ได้รับทุกข์โทษทั้งในชาติปัจจุบันนี้และภพต่อไป คน ที่มีปัญญาดี ควรพยายามบรรเทาตัณหาที่มีอยู่ให้ลดน้อยลง แล้วประกอบแต่คุณงามความดี ก็ย่อมจะทำประโยชน์ให้เกิดแก่ตนและคนอื่นได้ ถ้าแม้ยังมีชีวิตอยู่ ก็มีคนเคารพบูชา ละจากโลกนี้ไปแล้ว ก็มีคนยกย่องสรรเสริญ ขอบคุณ … http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROaWRXUXdOREkzTURjMU5nPT0=§ionid=TURNd053PT0=&day=TWpBeE15MHdOeTB5Tnc9PQ== ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 ก.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...