วิปัสสนาเห็นแจ้ง(๒)วิปัสสแนะวิปัสสนึกและวิปัสสนา

แสดงความคิดเห็น

กลุ่มแม่ชีกำลังนั่งวิปัสสนา

วิปัสสนาเห็นแจ้ง(๒)วิปัสสแนะวิปัสสนึกและวิปัสสนา : จุดประทีปธรรม โดยพระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตต์

"วาโยธาตุ ธาตุลมเป็นไฉน วาโยธาตุภายในก็มี วาโยธาตุภายนอกก็มี วาโยธาตุภายในได้แก่สิ่งที่พัดผันไป กำหนดได้ มีอยู่ในตน อาศัยตน คือ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในลำไส้ ลมแล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก หรือสิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่พัดผันไป นี้เรียกว่า วาโยธาตุเหมือนกัน วาโยธาตุภายในและภายนอกก็ล้วนเป็นวาโยธาตุทั้งนั้น บุคคลพึงเห็นวาโยธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ใช่นั่น นั่นไม่ใช่อัตตาตัวตน ครั้นเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายวาโยธาตุ และให้จิตคลายกำหนัดจากวาโยธาตุนั้นได้”

ลักษณะจำเพาะของวิปัสสนาคือ "อนัตตลักษณะ : ลักษณะมิใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา" การปฏิบัติใดก็ตาม ถ้าเข้าไม่ถึงอนัตตลักษณะ การปฏิบัตินั้นไม่อาจเป็นวิปัสสนาได้เลย ยิ่งปรากฏเป็น "อัตตลักษณะ : ลักษณะมีตัวตน" ด้วยแล้ว ก็ยังไกลออกจากความเป็นวิปัสสนา

พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนาประหนึ่งเปิดภาชนะที่ปิดอยู่ตรงหน้าชี้บอก ให้พระเจ้าปุกกุสาติเห็นแจ่มแจ้งอนัตตลักษณะเลยทีเดียว พระเจ้าปุกกุสาติเห็นแจ้งอนัตตลักษณะก็จริง ถึงกระนั้นก็มิได้เห็นแจ้งด้วยการชี้บอกของพระพุทธองค์ หากแต่เห็นแจ้งด้วยวิปัสสนาญาณหยั่งรู้ของตนโดยเฉพาะ ซึ่งอาศัยฌานนั้นเองเป็นบาทฐาน การแสดงพระธรรมเทศนาของพระพุทธองค์จึงเท่ากับช่วยยกสมถะขึ้นสู่วิปัสสนา ต่อยอดสมถะด้วยวิปัสสนานั่นเอง

การเห็นแจ้งนั้น มิได้เกิดจากการชี้บอก พิจารณาเลย หากแต่เกิดจากการกำหนดรู้จนเกิดวิปัสสนาญาณ ถ้าสามารถชี้บอกให้เห็นแจ้งได้จริงๆ พระพุทธองค์ก็คงชี้บอกคนทั้งโลกให้บรรลุธรรมกันได้ทั้งหมด โดยไม่ต้องบำเพ็ญเพียรอะไรกันเลย แท้ที่จริงการชี้บอกว่า “นามรูปนี้ไม่เที่ยงนะ เป็นทุกข์นะ มิใช่ตัวมิใช่ตนนะ” รวมถึง “ยืนเป็นรูป กำหนดรู้เป็นนาม เดินเป็นรูป กำหนดรู้เป็นนาม นั่งเป็นรูป กำหนดรู้เป็นนาม นั่งอยู่ ขณะลุกขึ้นยืน รูปที่นั่งก็หายไปดับไป ยืนอยู่ ขณะเดิน รูปที่ยืนก็หายไปดับไป” จัดเป็นวิปัสสแนะ และการพิจารณาว่า “นามรูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา” ก็ยังจัดเป็นวิปัสสนึก ยังไม่ใช่วิปัสสนาเห็นแจ้งอย่างแท้จริง

เพราะคำว่า "พิจารณา" มาจากคำว่า "ปัจจเวกขณะ" ดังพุทธดำรัสว่า

“อิตฺถิยา วา ปุริเสน วา คหฏฺเฐน วา ปพฺพชิเตน วา ... ชราธมฺโมมฺหิ ชรํ อนตีโต...พฺยาธิธมฺโมมฺหิ พฺยาธึ อนตีโต มรณธมฺโมมฺหิ มรณํ อนตีโตติ อภิณฺหํ ปจฺจเวกฺขิตพฺพํ”

“หญิงหรือชาย คฤหัสถ์หรือบรรพชิต ควรพิจารณาอยู่เนืองๆ ว่า เรามีความแก่ชราเป็นธรรมดา ล่วงพ้นความแก่ชราไปไม่ได้ เรามีความเจ็บป่วยไข้เป็นธรรมดา ล่วงพ้นความเจ็บป่วยไข้ไปไม่ได้ เรามีมรณะความตายเป็นธรรมดา ล่วงพ้นมรณะความตายไปไม่ได้”

พระพุทธดำรัสนี้บ่งบอกถึงการคิดพิจารณาอยู่เนืองๆ ซึ่งอยู่ในขั้นจินตะ คือ ใช้ความคิดพิจารณาใคร่ครวญ การคิดพิจารณาว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ล่วงพ้นความแก่ไปไม่ได้อย่างนี้เป็นต้น ถือว่าเป็น "ธรรมะทำใจ" ให้ยอมรับความจริง ทุกๆ วัน เช้า กลางวัน เย็น ก่อนเอนกายลงนอน ควรพิจารณาอยู่เนืองๆ โดยให้คำพูดเหล่านี้มาอยู่ในจิต คิดพูดอยู่ในใจ หากพูดอยู่ในจิต คิดอยู่ในใจอย่างนี้ (ออกเสียงด้วยยิ่งดี) ทุกๆ วัน เมื่อคราวประสบกับความจริงคือ ความแก่ชรา เจ็บป่วยไข้ หรือใกล้จะสิ้นใจ ก็จะยอมรับได้ว่ามันเป็นเรื่องธรรมดา แก่ธรรมดา เจ็บธรรมดา ตายก็ธรรมดา ไม่ทุกข์โทมนัสมากนัก

จากวิปัสสแนะ ก็ให้เข้าสู่สัญญาเป็นวิปัสสนึกไปก่อน จนกว่าจะพบด้วยปัญญาของตนเองจึงเห็นเป็นวิปัสสนา แต่เนื่องเพราะคนเราไม่ให้คำพูดเหล่านี้มาอยู่ในจิตใจเนืองๆ เมื่อถึงคราวแก่ชรามาเยือนรอยตีนกามาปรากฏก็ปกปิดพอกแป้งหนาเตอะ หรือไม่ก็ไปทำศัลยกรรมดึงหน้า เสียเงินทองเจ็บตัวโดยใช่เหตุ จึงมิอาจพ้นจากบ่วงของมารที่ขังเราไว้ในวัฏสงสารไปได้

ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20130524/159224/วิปัสสนาเห็นแจ้ง(๒)วิปัสสแนะวิปัสสนึกและวิปัสสนา.html#.UbANy9hHWzs (ขนาดไฟล์: 167)

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

กลุ่มแม่ชีกำลังนั่งวิปัสสนา วิปัสสนาเห็นแจ้ง(๒)วิปัสสแนะวิปัสสนึกและวิปัสสนา : จุดประทีปธรรม โดยพระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตต์ "วาโยธาตุ ธาตุลมเป็นไฉน วาโยธาตุภายในก็มี วาโยธาตุภายนอกก็มี วาโยธาตุภายในได้แก่สิ่งที่พัดผันไป กำหนดได้ มีอยู่ในตน อาศัยตน คือ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในลำไส้ ลมแล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก หรือสิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่พัดผันไป นี้เรียกว่า วาโยธาตุเหมือนกัน วาโยธาตุภายในและภายนอกก็ล้วนเป็นวาโยธาตุทั้งนั้น บุคคลพึงเห็นวาโยธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ใช่นั่น นั่นไม่ใช่อัตตาตัวตน ครั้นเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายวาโยธาตุ และให้จิตคลายกำหนัดจากวาโยธาตุนั้นได้” ลักษณะจำเพาะของวิปัสสนาคือ "อนัตตลักษณะ : ลักษณะมิใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา" การปฏิบัติใดก็ตาม ถ้าเข้าไม่ถึงอนัตตลักษณะ การปฏิบัตินั้นไม่อาจเป็นวิปัสสนาได้เลย ยิ่งปรากฏเป็น "อัตตลักษณะ : ลักษณะมีตัวตน" ด้วยแล้ว ก็ยังไกลออกจากความเป็นวิปัสสนา พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนาประหนึ่งเปิดภาชนะที่ปิดอยู่ตรงหน้าชี้บอก ให้พระเจ้าปุกกุสาติเห็นแจ่มแจ้งอนัตตลักษณะเลยทีเดียว พระเจ้าปุกกุสาติเห็นแจ้งอนัตตลักษณะก็จริง ถึงกระนั้นก็มิได้เห็นแจ้งด้วยการชี้บอกของพระพุทธองค์ หากแต่เห็นแจ้งด้วยวิปัสสนาญาณหยั่งรู้ของตนโดยเฉพาะ ซึ่งอาศัยฌานนั้นเองเป็นบาทฐาน การแสดงพระธรรมเทศนาของพระพุทธองค์จึงเท่ากับช่วยยกสมถะขึ้นสู่วิปัสสนา ต่อยอดสมถะด้วยวิปัสสนานั่นเอง การเห็นแจ้งนั้น มิได้เกิดจากการชี้บอก พิจารณาเลย หากแต่เกิดจากการกำหนดรู้จนเกิดวิปัสสนาญาณ ถ้าสามารถชี้บอกให้เห็นแจ้งได้จริงๆ พระพุทธองค์ก็คงชี้บอกคนทั้งโลกให้บรรลุธรรมกันได้ทั้งหมด โดยไม่ต้องบำเพ็ญเพียรอะไรกันเลย แท้ที่จริงการชี้บอกว่า “นามรูปนี้ไม่เที่ยงนะ เป็นทุกข์นะ มิใช่ตัวมิใช่ตนนะ” รวมถึง “ยืนเป็นรูป กำหนดรู้เป็นนาม เดินเป็นรูป กำหนดรู้เป็นนาม นั่งเป็นรูป กำหนดรู้เป็นนาม นั่งอยู่ ขณะลุกขึ้นยืน รูปที่นั่งก็หายไปดับไป ยืนอยู่ ขณะเดิน รูปที่ยืนก็หายไปดับไป” จัดเป็นวิปัสสแนะ และการพิจารณาว่า “นามรูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา” ก็ยังจัดเป็นวิปัสสนึก ยังไม่ใช่วิปัสสนาเห็นแจ้งอย่างแท้จริง เพราะคำว่า "พิจารณา" มาจากคำว่า "ปัจจเวกขณะ" ดังพุทธดำรัสว่า “อิตฺถิยา วา ปุริเสน วา คหฏฺเฐน วา ปพฺพชิเตน วา ... ชราธมฺโมมฺหิ ชรํ อนตีโต...พฺยาธิธมฺโมมฺหิ พฺยาธึ อนตีโต มรณธมฺโมมฺหิ มรณํ อนตีโตติ อภิณฺหํ ปจฺจเวกฺขิตพฺพํ” “หญิงหรือชาย คฤหัสถ์หรือบรรพชิต ควรพิจารณาอยู่เนืองๆ ว่า เรามีความแก่ชราเป็นธรรมดา ล่วงพ้นความแก่ชราไปไม่ได้ เรามีความเจ็บป่วยไข้เป็นธรรมดา ล่วงพ้นความเจ็บป่วยไข้ไปไม่ได้ เรามีมรณะความตายเป็นธรรมดา ล่วงพ้นมรณะความตายไปไม่ได้” พระพุทธดำรัสนี้บ่งบอกถึงการคิดพิจารณาอยู่เนืองๆ ซึ่งอยู่ในขั้นจินตะ คือ ใช้ความคิดพิจารณาใคร่ครวญ การคิดพิจารณาว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ล่วงพ้นความแก่ไปไม่ได้อย่างนี้เป็นต้น ถือว่าเป็น "ธรรมะทำใจ" ให้ยอมรับความจริง ทุกๆ วัน เช้า กลางวัน เย็น ก่อนเอนกายลงนอน ควรพิจารณาอยู่เนืองๆ โดยให้คำพูดเหล่านี้มาอยู่ในจิต คิดพูดอยู่ในใจ หากพูดอยู่ในจิต คิดอยู่ในใจอย่างนี้ (ออกเสียงด้วยยิ่งดี) ทุกๆ วัน เมื่อคราวประสบกับความจริงคือ ความแก่ชรา เจ็บป่วยไข้ หรือใกล้จะสิ้นใจ ก็จะยอมรับได้ว่ามันเป็นเรื่องธรรมดา แก่ธรรมดา เจ็บธรรมดา ตายก็ธรรมดา ไม่ทุกข์โทมนัสมากนัก จากวิปัสสแนะ ก็ให้เข้าสู่สัญญาเป็นวิปัสสนึกไปก่อน จนกว่าจะพบด้วยปัญญาของตนเองจึงเห็นเป็นวิปัสสนา แต่เนื่องเพราะคนเราไม่ให้คำพูดเหล่านี้มาอยู่ในจิตใจเนืองๆ เมื่อถึงคราวแก่ชรามาเยือนรอยตีนกามาปรากฏก็ปกปิดพอกแป้งหนาเตอะ หรือไม่ก็ไปทำศัลยกรรมดึงหน้า เสียเงินทองเจ็บตัวโดยใช่เหตุ จึงมิอาจพ้นจากบ่วงของมารที่ขังเราไว้ในวัฏสงสารไปได้ ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20130524/159224/วิปัสสนาเห็นแจ้ง(๒)วิปัสสแนะวิปัสสนึกและวิปัสสนา.html#.UbANy9hHWzs

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...