วิปัสสนาเห็นแจ้ง(๑)สมถะและวิปัสสนา

แสดงความคิดเห็น

กลุ่มแม่ชีกำลังปฏิบัติธรรม

วิปัสสนาเห็นแจ้ง(๑)สมถะและวิปัสสนา : จุดประทีปธรรม โดยพระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตต์

“พระนิพพานมีเพียงหนึ่ง แต่ทางบรรลุถึงพระนิพพานมีหลายทาง เหมือนสนามหลวงมีเพียงหนึ่ง แต่ทางถึงสนามหลวงมีหลายทาง”

เรายอมรับคำพูดเชิงเปรียบเทียบที่ฟังดูดีนี้เพื่อเปิดใจกว้างต่อกรรมฐานหลาย สายว่าบรรลุพระนิพพานได้แม้นเหมือนกัน แต่คำกล่าวที่ว่า “อย่ายึดติดแต่กรรมฐานสายของตนเลย ทุกสายบรรลุได้เหมือนกันแหละ” ดูเหมือนจะเป็นการเหมารวมสักหน่อย มิได้จำแนกแจกแจงอะไรเลย บางทีก็พูดกันว่า “ฉันใจกว้าง” แต่นั่นอาจหมายถึง “ฉันยังไม่ชัดเจน” ก็ได้ เพราะไม่ชัดเจนฉันจึงใจกว้าง และฉันก็จะพูดถึงคนชัดเจนว่า “ยึดติด”

ความจริง กรรมฐานหลายสายนั้นคือ 'สมถกรรมฐาน' ที่แนะอุบายวิธีต่างๆ เพื่อให้จิตสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ มีอยู่ ๔๐ สาย เรียกว่ากรรมฐาน ๔๐ เช่น กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ อนุสติ ๑๐ จุดมุ่งหมายของสมถกรรมฐานทุกสายคืออุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ โดยเฉพาะอัปปนาสมาธิคือ 'ฌาน' นั้นถือเป็นจุดมุ่งหมายของสมถกรรมฐานโดยเฉพาะ

ถ้ากล่าวตามคำพูดเชิงเปรียบเทียบนั้นว่า “สมถกรรมฐานทุกสายบรรลุอัปปนาสมาธิได้ทั้งหมด” ก็ถือว่ากล่าวถูก และตรงตามความเป็นจริง แต่ถ้ากล่าวว่า “สมถกรรมฐานทุกสายบรรลุพระนิพพานได้ทั้งหมด” ก็ถือว่ากล่าวผิด

การเจริญสมถกรรมฐาน หรือ 'สมถภาวนา' ในทางพระพุทธศาสนานั้น ประสงค์เพื่อให้วิปัสสนามาต่อยอด เรียกว่า 'ยกสมถะขึ้นสู่วิปัสสนา' หรือ 'ทำสมถะเป็นบาทฐานวิปัสสนา' ลำพังเพียงสมถกรรมฐานอย่างเดียวจะบรรลุสมุจเฉทวิมุตติ : หลุดพ้นอย่างเด็ดขาด โดยอริยมรรคประหารกิเลส ซึ่งเป็นพระนิพพานจริงแท้นั้นไม่ได้ ท่านยอมรับอยู่ในขั้นวิขัมภนวิมุตติ หลุดพ้นโดยกดข่มกิเลสไว้ ด้วยกำลังของฌาน เหมือนหินทับหญ้า ฉะนั้น

กล่าวโดยสรุปรวบยอด “สมถะมุ่งสู่อัปปนา วิปัสสนามุ่งสู่นิพพาน”

ดูพระเจ้าปุกกุสาติเป็นตัวอย่าง พระเจ้าปุกกุสาติสำเร็จจตุตถฌานและปัญจมฌาน ทรงแรมรอนเสด็จดำเนินทางไกลเพื่อไปพบพระพุทธเจ้า ระหว่างการเดินทางที่ยาวไกลนั้น ก็ทรงเข้าฌานระงับความเหน็ดเหนื่อยรุ่มร้อน แม้ทรงไว้ซึ่งรูปฌานชั้นสูง แต่พระเจ้าปุกกุสาติก็ไม่สามารถบรรลุอนาคามิผลสำเร็จเป็นอนาคามีบุคคลได้ หากพระพุทธเจ้าไม่เสด็จมาต่อยอดวิปัสสนาให้

การแสดงธรรมโปรดพระเจ้าปุกกุสาติ ณ โรงช่างหม้อ จึงเป็นเรื่องวิปัสสนาโดยเฉพาะ และวิปัสสนาที่ทรงแสดงนั้น ก็ลึกลงละเอียดระดับ Element คือ ธาตุ มุ่งถ่ายถอนอนุสัยกิเลสที่ตกตะกอนนอนเนื่องอยู่ในขันธสันดานออกเลยทีเดียว ดังพระธรรมเทศนาบางตอนว่า

“ปฐวีธาตุธาตุดินเป็นไฉน ปฐวีธาตุภายในก็มี ปฐวีธาตุภายนอกก็มี ปฐวีธาตุภายในได้แก่สิ่งที่แข่นแข็ง กำหนดได้ มีอยู่ในตน อาศัยตน คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือสิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่แข่นแข็ง นี้ก็เรียกว่า ปฐวีธาตุเหมือนกัน ปฐวีธาตุภายในและภายนอกก็ล้วนเป็นปฐวีธาตุทั้งนั้น บุคคลพึงเห็นปฐวีธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ใช่นั่น นั่นไม่ใช่อัตตาตัวตน ครั้นเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้วย่อมเบื่อหน่ายปฐวีธาตุ และให้จิตคลายกำหนัดจากปฐวีธาตุนั้นได้..."

ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20130517/158673/วิปัสสนาเห็นแจ้ง(๑)สมถะและวิปัสสนา.html#.UbAN7NhHWzs (ขนาดไฟล์: 167)

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

กลุ่มแม่ชีกำลังปฏิบัติธรรม วิปัสสนาเห็นแจ้ง(๑)สมถะและวิปัสสนา : จุดประทีปธรรม โดยพระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตต์ “พระนิพพานมีเพียงหนึ่ง แต่ทางบรรลุถึงพระนิพพานมีหลายทาง เหมือนสนามหลวงมีเพียงหนึ่ง แต่ทางถึงสนามหลวงมีหลายทาง” เรายอมรับคำพูดเชิงเปรียบเทียบที่ฟังดูดีนี้เพื่อเปิดใจกว้างต่อกรรมฐานหลาย สายว่าบรรลุพระนิพพานได้แม้นเหมือนกัน แต่คำกล่าวที่ว่า “อย่ายึดติดแต่กรรมฐานสายของตนเลย ทุกสายบรรลุได้เหมือนกันแหละ” ดูเหมือนจะเป็นการเหมารวมสักหน่อย มิได้จำแนกแจกแจงอะไรเลย บางทีก็พูดกันว่า “ฉันใจกว้าง” แต่นั่นอาจหมายถึง “ฉันยังไม่ชัดเจน” ก็ได้ เพราะไม่ชัดเจนฉันจึงใจกว้าง และฉันก็จะพูดถึงคนชัดเจนว่า “ยึดติด” ความจริง กรรมฐานหลายสายนั้นคือ 'สมถกรรมฐาน' ที่แนะอุบายวิธีต่างๆ เพื่อให้จิตสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ มีอยู่ ๔๐ สาย เรียกว่ากรรมฐาน ๔๐ เช่น กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ อนุสติ ๑๐ จุดมุ่งหมายของสมถกรรมฐานทุกสายคืออุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ โดยเฉพาะอัปปนาสมาธิคือ 'ฌาน' นั้นถือเป็นจุดมุ่งหมายของสมถกรรมฐานโดยเฉพาะ ถ้ากล่าวตามคำพูดเชิงเปรียบเทียบนั้นว่า “สมถกรรมฐานทุกสายบรรลุอัปปนาสมาธิได้ทั้งหมด” ก็ถือว่ากล่าวถูก และตรงตามความเป็นจริง แต่ถ้ากล่าวว่า “สมถกรรมฐานทุกสายบรรลุพระนิพพานได้ทั้งหมด” ก็ถือว่ากล่าวผิด การเจริญสมถกรรมฐาน หรือ 'สมถภาวนา' ในทางพระพุทธศาสนานั้น ประสงค์เพื่อให้วิปัสสนามาต่อยอด เรียกว่า 'ยกสมถะขึ้นสู่วิปัสสนา' หรือ 'ทำสมถะเป็นบาทฐานวิปัสสนา' ลำพังเพียงสมถกรรมฐานอย่างเดียวจะบรรลุสมุจเฉทวิมุตติ : หลุดพ้นอย่างเด็ดขาด โดยอริยมรรคประหารกิเลส ซึ่งเป็นพระนิพพานจริงแท้นั้นไม่ได้ ท่านยอมรับอยู่ในขั้นวิขัมภนวิมุตติ หลุดพ้นโดยกดข่มกิเลสไว้ ด้วยกำลังของฌาน เหมือนหินทับหญ้า ฉะนั้น กล่าวโดยสรุปรวบยอด “สมถะมุ่งสู่อัปปนา วิปัสสนามุ่งสู่นิพพาน” ดูพระเจ้าปุกกุสาติเป็นตัวอย่าง พระเจ้าปุกกุสาติสำเร็จจตุตถฌานและปัญจมฌาน ทรงแรมรอนเสด็จดำเนินทางไกลเพื่อไปพบพระพุทธเจ้า ระหว่างการเดินทางที่ยาวไกลนั้น ก็ทรงเข้าฌานระงับความเหน็ดเหนื่อยรุ่มร้อน แม้ทรงไว้ซึ่งรูปฌานชั้นสูง แต่พระเจ้าปุกกุสาติก็ไม่สามารถบรรลุอนาคามิผลสำเร็จเป็นอนาคามีบุคคลได้ หากพระพุทธเจ้าไม่เสด็จมาต่อยอดวิปัสสนาให้ การแสดงธรรมโปรดพระเจ้าปุกกุสาติ ณ โรงช่างหม้อ จึงเป็นเรื่องวิปัสสนาโดยเฉพาะ และวิปัสสนาที่ทรงแสดงนั้น ก็ลึกลงละเอียดระดับ Element คือ ธาตุ มุ่งถ่ายถอนอนุสัยกิเลสที่ตกตะกอนนอนเนื่องอยู่ในขันธสันดานออกเลยทีเดียว ดังพระธรรมเทศนาบางตอนว่า “ปฐวีธาตุธาตุดินเป็นไฉน ปฐวีธาตุภายในก็มี ปฐวีธาตุภายนอกก็มี ปฐวีธาตุภายในได้แก่สิ่งที่แข่นแข็ง กำหนดได้ มีอยู่ในตน อาศัยตน คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือสิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่แข่นแข็ง นี้ก็เรียกว่า ปฐวีธาตุเหมือนกัน ปฐวีธาตุภายในและภายนอกก็ล้วนเป็นปฐวีธาตุทั้งนั้น บุคคลพึงเห็นปฐวีธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ใช่นั่น นั่นไม่ใช่อัตตาตัวตน ครั้นเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้วย่อมเบื่อหน่ายปฐวีธาตุ และให้จิตคลายกำหนัดจากปฐวีธาตุนั้นได้..." ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20130517/158673/วิปัสสนาเห็นแจ้ง(๑)สมถะและวิปัสสนา.html#.UbAN7NhHWzs

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...