ปากทางแห่งสุขภาพ๒ภาวนาว่าด้วยเรื่อง'กิน'

แสดงความคิดเห็น

ปากทางแห่งสุขภาพ๒ภาวนาว่าด้วยเรื่อง'กิน' : จุดประทีปธรรม โดยพระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตต์

เวลารับประทานอาหาร "สติ" ระลึกรู้เท่าทันจะต้องมาประกอบอยู่เสมอ เพราะมิฉะนั้นปริมาณของอาหารจะเข้ามาจนเกินพอดี ได้อาหารดี ชอบ คือ "โลภะ" ได้อาหารไม่ดี ไม่ชอบ คือ "โทสะ" ได้อาหารทั้งดีและไม่ดี เฉยๆ คือ "โมหะ"

ปากคือต้นธารของอาหาร มนสิการไม่ดีก็เกิดกิเลส ทางพระท่านจึงให้พิจารณาว่าเป็นเพียงธาตุอย่างหนึ่ง มิใช่สัตว์ มิใช่ชีวะ ช่วยหล่อเลี้ยงร่างกายให้อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ได้เท่านั้น

พระจริยาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขณะทรงกระทำภัตกิจปรากฏอยู่ในพรหมายุสูตรว่า

“พระผู้มีพระภาคทรงรับข้าวสุกพอดีๆ ไม่น้อยไม่มาก รับกับข้าวเสวยพอประมาณกับคำข้าว ไม่ทำกับข้าวให้เกินคำข้าว เคี้ยวสองสามครั้งแล้วกลืน หากคำข้าวยังไม่ละเอียดจะไม่กลืนลงไป กระทั่งคำข้าวไม่เหลืออยู่ในพระโอษฐ์แล้ว จึงค่อยนำคำข้าวอีกคำหนึ่งเข้าสู่พระโอษฐ์ใหม่ ทรงมีปกติกำหนดรู้รสอาหารเสวย ไม่ติดใจในรสเลย”

การรับประทานอาหารหากเราสามารถปฏิบัติได้ตามพระจริยาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี้จะดีมากๆ ส่งผลดีต่อผิวพรรณวรรณะและอายุที่ยืนยาว แต่กลายเป็นว่าเรายกให้เป็นเรื่องของพระอย่างเดียว แต่นี่คือ "ต้นตำหรับสุขภาพชั้นยอด" ยาอายุวัฒนะที่ไม่ต้องไปแสวงหาที่ไหน พระพุทธองค์ประทานพระจริยานี้ไว้แล้ว

เคยสังเกตบ้างไหม คำข้าวหรืออาหารอยู่ในปากเรานั้นเคี้ยวได้กี่ครั้งจึงละเอียด พบว่า ต้องเคี้ยวเกิน ๔๐ ครั้ง ถ้าไม่เกิน ๔๐ ครั้ง อาหารหรือคำข้าวจะไม่ค่อยละเอียด หลวกๆ หยาบกลืนลงไป ครั้นตกถึงกระเพาะ กระเพาะก็ทำงานหนักย่อยยาก ดูดซับเอาสารอาหารไปหล่อเลี้ยงร่างกายได้ไม่ดี พอถึงเวลาขับถ่าย อุจจาระก็แข็งออกลำบาก ไม่นานโรคริดสีดวงทวารก็ถามหา แต่ถ้าเคี้ยวได้ละเอียดกลืนลงสู่กระเพาะ กระเพาะก็ทำงานเบาย่อยง่ายดูดซับเอาสารอาหารไปหล่อเลี้ยงร่างกายได้ดี พอถึงเวลาขับถ่าย อุจจาระก็อ่อนออกง่าย โรคริดสีดวงทวารไม่ถามหา

ยิ่งไปกว่านั้นคือการเคี้ยวอย่างมีสติ ระลึกรู้อยู่ทุกขณะ จะทำให้เรารู้รสในตอนแรก และจะเป็นการทำลายรสชาติของอาหารใสตอนหลัง คลายรสความอร่อยลงเอง เดิมทีที่คิดจะรับประทานมากก็รับประทานน้อย ยิ่งเคี้ยวละเอียด เวลาผ่านไปสัก ๒ ชั่วโมง อาหารที่ตกอยู่ในท้องก็ถูกบดย่อยจนหมดร่างกายโปร่งเบา

นี่คือการปฏิบัติของผู้เจริญวิปัสสนา ดังคาถาพระสารีบุตรว่า “อูนูทโร มิตาหาโร ท้องพร่อง อาหารพอประมาณ” และสอดคล้องกับหลักการที่หลวงปู่ชา สุภัทโทกล่าวว่า “กินน้อย พูดน้อย นอนน้อย ปฏิบัติให้มาก”

ปริมาณอาหารในทางธรรมนั้นจะลดน้อยลงกว่าปริมาณอาหารในทางโลกมาก เพราะถ้าถือเอาปริมาณอาหารในทางโลกมาปฏิบัติในทางธรรม แม้จะรับประทานได้พอดีแล้ว แต่ก็ยังส่งผลเสียต่อการเจริญวิปัสสนา ทำให้กำหนดอารมณ์กรรมฐานได้ลำบาก ยิ่งถีนมิทธะความง่วงซึมเข้ามาแทรก ยิ่งต้องจำกัดอาหารลงให้น้อยที่สุด

อย่างไรก็ตาม แม้ข้อปฏิบัติทางธรรมจะลำบากสำหรับทางโลกสักหน่อย (สวนทางกับบริโภคนิยม) แต่ผู้ปรารถนาสุขภาพดีก็ควรน้อมนำวิธีทางธรรมนี้ไปสู่วิถีทางโลกปฏิบัติตาม เถิด ทั้งนี้ เพื่อ "สุขภาพจิตแจ่มใส อยู่ในสุขภาพกายที่แข็งแรง" นั่นเอง

ต้นทางสุขภาพดีอยู่ที่ปาก

แม้หิวมากอยากกลืนกินอาหาร

แต่ควรรู้ ลด ละ พอประมาณ

อย่าลนลานกินหมดกำหนดจำ

จงเคี้ยวให้ละเอียดดีมีสติ

คอยตรองตริดูไว้อย่าให้ล้ำ

เมื่อกินถูกทำนองตามครองธรรม

ย่อมพานำสู่สุขกายสบายใจ ฯ

ขอบคุณ ... http://www.komchadluek.net/detail/20130403/155350/ปากทางแห่งสุขภาพ๒ภาวนาว่าด้วยเรื่องกิน.html#.UXSniUqja8o (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: www.komchadluek.net
วันที่โพสต์: 23/05/2556 เวลา 03:55:50

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ปากทางแห่งสุขภาพ๒ภาวนาว่าด้วยเรื่อง'กิน' : จุดประทีปธรรม โดยพระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตต์ เวลารับประทานอาหาร "สติ" ระลึกรู้เท่าทันจะต้องมาประกอบอยู่เสมอ เพราะมิฉะนั้นปริมาณของอาหารจะเข้ามาจนเกินพอดี ได้อาหารดี ชอบ คือ "โลภะ" ได้อาหารไม่ดี ไม่ชอบ คือ "โทสะ" ได้อาหารทั้งดีและไม่ดี เฉยๆ คือ "โมหะ" ปากคือต้นธารของอาหาร มนสิการไม่ดีก็เกิดกิเลส ทางพระท่านจึงให้พิจารณาว่าเป็นเพียงธาตุอย่างหนึ่ง มิใช่สัตว์ มิใช่ชีวะ ช่วยหล่อเลี้ยงร่างกายให้อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ได้เท่านั้น พระจริยาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขณะทรงกระทำภัตกิจปรากฏอยู่ในพรหมายุสูตรว่า “พระผู้มีพระภาคทรงรับข้าวสุกพอดีๆ ไม่น้อยไม่มาก รับกับข้าวเสวยพอประมาณกับคำข้าว ไม่ทำกับข้าวให้เกินคำข้าว เคี้ยวสองสามครั้งแล้วกลืน หากคำข้าวยังไม่ละเอียดจะไม่กลืนลงไป กระทั่งคำข้าวไม่เหลืออยู่ในพระโอษฐ์แล้ว จึงค่อยนำคำข้าวอีกคำหนึ่งเข้าสู่พระโอษฐ์ใหม่ ทรงมีปกติกำหนดรู้รสอาหารเสวย ไม่ติดใจในรสเลย” การรับประทานอาหารหากเราสามารถปฏิบัติได้ตามพระจริยาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี้จะดีมากๆ ส่งผลดีต่อผิวพรรณวรรณะและอายุที่ยืนยาว แต่กลายเป็นว่าเรายกให้เป็นเรื่องของพระอย่างเดียว แต่นี่คือ "ต้นตำหรับสุขภาพชั้นยอด" ยาอายุวัฒนะที่ไม่ต้องไปแสวงหาที่ไหน พระพุทธองค์ประทานพระจริยานี้ไว้แล้ว เคยสังเกตบ้างไหม คำข้าวหรืออาหารอยู่ในปากเรานั้นเคี้ยวได้กี่ครั้งจึงละเอียด พบว่า ต้องเคี้ยวเกิน ๔๐ ครั้ง ถ้าไม่เกิน ๔๐ ครั้ง อาหารหรือคำข้าวจะไม่ค่อยละเอียด หลวกๆ หยาบกลืนลงไป ครั้นตกถึงกระเพาะ กระเพาะก็ทำงานหนักย่อยยาก ดูดซับเอาสารอาหารไปหล่อเลี้ยงร่างกายได้ไม่ดี พอถึงเวลาขับถ่าย อุจจาระก็แข็งออกลำบาก ไม่นานโรคริดสีดวงทวารก็ถามหา แต่ถ้าเคี้ยวได้ละเอียดกลืนลงสู่กระเพาะ กระเพาะก็ทำงานเบาย่อยง่ายดูดซับเอาสารอาหารไปหล่อเลี้ยงร่างกายได้ดี พอถึงเวลาขับถ่าย อุจจาระก็อ่อนออกง่าย โรคริดสีดวงทวารไม่ถามหา ยิ่งไปกว่านั้นคือการเคี้ยวอย่างมีสติ ระลึกรู้อยู่ทุกขณะ จะทำให้เรารู้รสในตอนแรก และจะเป็นการทำลายรสชาติของอาหารใสตอนหลัง คลายรสความอร่อยลงเอง เดิมทีที่คิดจะรับประทานมากก็รับประทานน้อย ยิ่งเคี้ยวละเอียด เวลาผ่านไปสัก ๒ ชั่วโมง อาหารที่ตกอยู่ในท้องก็ถูกบดย่อยจนหมดร่างกายโปร่งเบา นี่คือการปฏิบัติของผู้เจริญวิปัสสนา ดังคาถาพระสารีบุตรว่า “อูนูทโร มิตาหาโร ท้องพร่อง อาหารพอประมาณ” และสอดคล้องกับหลักการที่หลวงปู่ชา สุภัทโทกล่าวว่า “กินน้อย พูดน้อย นอนน้อย ปฏิบัติให้มาก” ปริมาณอาหารในทางธรรมนั้นจะลดน้อยลงกว่าปริมาณอาหารในทางโลกมาก เพราะถ้าถือเอาปริมาณอาหารในทางโลกมาปฏิบัติในทางธรรม แม้จะรับประทานได้พอดีแล้ว แต่ก็ยังส่งผลเสียต่อการเจริญวิปัสสนา ทำให้กำหนดอารมณ์กรรมฐานได้ลำบาก ยิ่งถีนมิทธะความง่วงซึมเข้ามาแทรก ยิ่งต้องจำกัดอาหารลงให้น้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม แม้ข้อปฏิบัติทางธรรมจะลำบากสำหรับทางโลกสักหน่อย (สวนทางกับบริโภคนิยม) แต่ผู้ปรารถนาสุขภาพดีก็ควรน้อมนำวิธีทางธรรมนี้ไปสู่วิถีทางโลกปฏิบัติตาม เถิด ทั้งนี้ เพื่อ "สุขภาพจิตแจ่มใส อยู่ในสุขภาพกายที่แข็งแรง" นั่นเอง ต้นทางสุขภาพดีอยู่ที่ปาก แม้หิวมากอยากกลืนกินอาหาร แต่ควรรู้ ลด ละ พอประมาณ อย่าลนลานกินหมดกำหนดจำ จงเคี้ยวให้ละเอียดดีมีสติ คอยตรองตริดูไว้อย่าให้ล้ำ เมื่อกินถูกทำนองตามครองธรรม ย่อมพานำสู่สุขกายสบายใจ ฯ ขอบคุณ ... http://www.komchadluek.net/detail/20130403/155350/ปากทางแห่งสุขภาพ๒ภาวนาว่าด้วยเรื่องกิน.html#.UXSniUqja8o

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...