'อหิงสา'มรรคาสู่สันติ(๑๙)ตัดกรรมด้วยปัญญา

แสดงความคิดเห็น

'อหิงสา'มรรคาสู่สันติ(๑๙)ตัดกรรมด้วยปัญญา : คันฉ่องและโคมฉาย โดย ว.วชิรเมธี

เจ้าพรหมทัตกาสิกราชและทีฆาวุราชกุมาร ต่างได้ให้ชีวิตแก่กันและกันได้จับพระหัตถ์กัน และได้ให้ปฏิญญาต่อกันและกันว่าจะไม่ทำร้ายกัน เมื่อพระเจ้าพรหมทัตกาสิกราช เสด็จเข้าสู่พระนครพาราณสีแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดให้เรียกประชุมหมู่อำมาตย์ราชบริษัท ได้ตรัสถามความเห็นว่าหากพบทีฆาวุราชกุมารโอรสของพระเจ้าทีฆีติโกศลราชจะพึง ทำอะไรแก่เขา อำมาตย์บางพวกกราบทูลว่า จะพึงตัดมือ จะพึงตัดเท้า จะพึงตัดทั้งมือและเท้า จะพึงตัดหู จะพึงตัดจมูก จะพึงตัดทั้งหูและจมูก จะพึงตัดศีรษะ พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชตรัสว่า ชายหนุ่มผู้นี้แล คือ ทีฆาวุราชกุมารโอรสของพระเจ้าทีฆีติโกศลราชคนนั้น ชายหนุ่มผู้นี้ใครๆ จะทำอะไรไม่ได้ เพราะชายหนุ่มผู้นี้ได้ให้ชีวิตแก่เรา และเราก็ได้ให้ชีวิตแก่ชายหนุ่มผู้นี้

จากนั้นจึงตรัสถามทีฆาวุราชกุมารถึงพระบรมราชโองการของพระชนก ทีฆาวุราชกุมารกราบทูลว่า ขอเดชะ พระชนกของข้าพระพุทธเจ้าได้ตรัสพระบรมราชโอวาทอันใดแลไว้เมื่อใกล้จะสวรรคต ว่า เจ้าอย่าเห็นแก่ยาว ดังนี้หมายความว่า เจ้าอย่าได้จองเวรให้ยืดเยื้อ เจ้าอย่าเห็นแก่สั้น หมายความว่า เจ้าอย่าแตกร้าวจากมิตรเร็วนัก เวรทั้งหลายย่อมไม่ระงับเพราะเวรเลย แต่ย่อมระงับได้เพราะไม่จองเวร หมายความว่า พระชนกชนนีของข้าพระพุทธเจ้า ถูกพระองค์ปลงพระชนชีพเสีย ถ้าข้าพระพุทธเจ้าจะพึงปลงพระชนชีพของพระองค์เสียบ้าง คนเหล่าใดใคร่ความเจริญแก่พระองค์ คนเหล่านั้นจะพึงปลงชีวิตข้าพระพุทธเจ้า คนเหล่าใดใคร่ความเจริญแก่ข้าพระพุทธเจ้า คนเหล่านั้นจะพึงปลงชีวิตคนเหล่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ เวรนั้นไม่พึงระงับเพราะเวร แต่มาบัดนี้พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานชีวิตแก่ข้าพระพุทธเจ้า และข้าพระพุทธเจ้าก็ได้ทูลถวายพระชนมชีพแก่พระองค์ เป็นอันว่าเวรนั้นระงับแล้วเพราะไม่จองเวร

พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชตรัสว่า ทีฆาวุราชกุมารนี้เป็นบัณฑิต จึงได้เข้าใจความแห่งภาษิตอันพระชนกตรัสไว้ แล้วทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานคืนรี้พล ราชพาหนะ ชนบท คลังศัสตราวุธยุทธภัณฑ์และคลังธัญญาหารอันเป็นพระราชสมบัติของพระชนก และได้พระราชทานพระราชธิดาอภิเษกสมรสด้วย ต่อมาได้เป็นพระมหากษัตริย์แทนพระเจ้าพรหมทัต ครองสมบัติทั้งสองประเทศ

อภัยทานไม่ใช่การลืม แต่เป็นการเรียนรู้จากข้อเท็จจริงว่า ความรุนแรงมีแต่จะทำให้เกิดความรุนแรงที่มากยิ่งกว่า ตาต่อตามีแต่จะตาบอด ฟันต่อฟันมีแต่จะฟันหัก การจองเวรไม่เคยทำให้ใครเป็นผู้ชนะและได้นอนหลับสนิทอย่างแท้จริง การให้อภัยหรืออภัยทานเป็นทานชั้นสูงที่ต้องใช้ปัญญาระดับรัฐบุรุษซึ่งมี ปกติมองกว้าง คิดไกล ใฝ่สูง จึงจะสามารถปฏิบัติได้ เพราะหากปราศจากปัญญาที่มองเห็นการณ์ไกล การให้อภัยจะเป็นเพียงพิธีกรรมที่ไม่ส่งผลยั่งยืนแต่อย่างใด เป็นได้อย่างดีที่สุดก็เพียงเล่ห์กโลบายระหว่างคู่ขัดแย้งสองฝ่ายที่เจรจา สงบศึกกันเพียงชั่วคราวก็เพื่อให้แต่ละฝ่ายสมประโยชน์ที่หมายปองเฉพาะหน้า เท่านั้น

(ติดตามตอนจบวันพระหน้า)

ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20130425/156887/อหิงสามรรคาสู่สันติ(๑๙)ตัดกรรมด้วยปัญญา.html#.UXnswEqja8o (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: ขอบคุณ http://www.komchadluek.net/detail/20130514/158406/มือใหม่หัดสวดโอ้เอ้วิหารราย.html#.UZGlHUqkPZ4 คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๑๔ พ.ค.๕๖
วันที่โพสต์: 21/05/2556 เวลา 03:44:29

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

'อหิงสา'มรรคาสู่สันติ(๑๙)ตัดกรรมด้วยปัญญา : คันฉ่องและโคมฉาย โดย ว.วชิรเมธี เจ้าพรหมทัตกาสิกราชและทีฆาวุราชกุมาร ต่างได้ให้ชีวิตแก่กันและกันได้จับพระหัตถ์กัน และได้ให้ปฏิญญาต่อกันและกันว่าจะไม่ทำร้ายกัน เมื่อพระเจ้าพรหมทัตกาสิกราช เสด็จเข้าสู่พระนครพาราณสีแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดให้เรียกประชุมหมู่อำมาตย์ราชบริษัท ได้ตรัสถามความเห็นว่าหากพบทีฆาวุราชกุมารโอรสของพระเจ้าทีฆีติโกศลราชจะพึง ทำอะไรแก่เขา อำมาตย์บางพวกกราบทูลว่า จะพึงตัดมือ จะพึงตัดเท้า จะพึงตัดทั้งมือและเท้า จะพึงตัดหู จะพึงตัดจมูก จะพึงตัดทั้งหูและจมูก จะพึงตัดศีรษะ พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชตรัสว่า ชายหนุ่มผู้นี้แล คือ ทีฆาวุราชกุมารโอรสของพระเจ้าทีฆีติโกศลราชคนนั้น ชายหนุ่มผู้นี้ใครๆ จะทำอะไรไม่ได้ เพราะชายหนุ่มผู้นี้ได้ให้ชีวิตแก่เรา และเราก็ได้ให้ชีวิตแก่ชายหนุ่มผู้นี้ จากนั้นจึงตรัสถามทีฆาวุราชกุมารถึงพระบรมราชโองการของพระชนก ทีฆาวุราชกุมารกราบทูลว่า ขอเดชะ พระชนกของข้าพระพุทธเจ้าได้ตรัสพระบรมราชโอวาทอันใดแลไว้เมื่อใกล้จะสวรรคต ว่า เจ้าอย่าเห็นแก่ยาว ดังนี้หมายความว่า เจ้าอย่าได้จองเวรให้ยืดเยื้อ เจ้าอย่าเห็นแก่สั้น หมายความว่า เจ้าอย่าแตกร้าวจากมิตรเร็วนัก เวรทั้งหลายย่อมไม่ระงับเพราะเวรเลย แต่ย่อมระงับได้เพราะไม่จองเวร หมายความว่า พระชนกชนนีของข้าพระพุทธเจ้า ถูกพระองค์ปลงพระชนชีพเสีย ถ้าข้าพระพุทธเจ้าจะพึงปลงพระชนชีพของพระองค์เสียบ้าง คนเหล่าใดใคร่ความเจริญแก่พระองค์ คนเหล่านั้นจะพึงปลงชีวิตข้าพระพุทธเจ้า คนเหล่าใดใคร่ความเจริญแก่ข้าพระพุทธเจ้า คนเหล่านั้นจะพึงปลงชีวิตคนเหล่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ เวรนั้นไม่พึงระงับเพราะเวร แต่มาบัดนี้พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานชีวิตแก่ข้าพระพุทธเจ้า และข้าพระพุทธเจ้าก็ได้ทูลถวายพระชนมชีพแก่พระองค์ เป็นอันว่าเวรนั้นระงับแล้วเพราะไม่จองเวร พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชตรัสว่า ทีฆาวุราชกุมารนี้เป็นบัณฑิต จึงได้เข้าใจความแห่งภาษิตอันพระชนกตรัสไว้ แล้วทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานคืนรี้พล ราชพาหนะ ชนบท คลังศัสตราวุธยุทธภัณฑ์และคลังธัญญาหารอันเป็นพระราชสมบัติของพระชนก และได้พระราชทานพระราชธิดาอภิเษกสมรสด้วย ต่อมาได้เป็นพระมหากษัตริย์แทนพระเจ้าพรหมทัต ครองสมบัติทั้งสองประเทศ อภัยทานไม่ใช่การลืม แต่เป็นการเรียนรู้จากข้อเท็จจริงว่า ความรุนแรงมีแต่จะทำให้เกิดความรุนแรงที่มากยิ่งกว่า ตาต่อตามีแต่จะตาบอด ฟันต่อฟันมีแต่จะฟันหัก การจองเวรไม่เคยทำให้ใครเป็นผู้ชนะและได้นอนหลับสนิทอย่างแท้จริง การให้อภัยหรืออภัยทานเป็นทานชั้นสูงที่ต้องใช้ปัญญาระดับรัฐบุรุษซึ่งมี ปกติมองกว้าง คิดไกล ใฝ่สูง จึงจะสามารถปฏิบัติได้ เพราะหากปราศจากปัญญาที่มองเห็นการณ์ไกล การให้อภัยจะเป็นเพียงพิธีกรรมที่ไม่ส่งผลยั่งยืนแต่อย่างใด เป็นได้อย่างดีที่สุดก็เพียงเล่ห์กโลบายระหว่างคู่ขัดแย้งสองฝ่ายที่เจรจา สงบศึกกันเพียงชั่วคราวก็เพื่อให้แต่ละฝ่ายสมประโยชน์ที่หมายปองเฉพาะหน้า เท่านั้น (ติดตามตอนจบวันพระหน้า) ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20130425/156887/อหิงสามรรคาสู่สันติ(๑๙)ตัดกรรมด้วยปัญญา.html#.UXnswEqja8o

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...