'อหิงสา'มรรคาสู่สันติ(๑๗)อภัยทานคือต้นธารของสันติสุข

แสดงความคิดเห็น

'อหิงสา'มรรคาสู่สันติ(๑๗)อภัยทานคือต้นธารของสันติสุข : คันฉ่องและโคมฉาย โดยว.วชิรเมธี

...ก็ความเจริญงอกงามแห่งสารธรรมนี้ มีอยู่มากมายหลายประการ แต่ส่วนที่เป็นรากฐานแห่งความเจริญงอกงามนั้น ได้แก่สิ่งนี้คือ การสำรวมระวังวาจา (วจีคุปติ์) ระวังอย่างไร? คือ ไม่พึงมีการยกย่องลัทธิศาสนาของตน และการตำหนิลัทธิศาสนาของผู้อื่น ในเมื่อมิใช่โอกาสอันควร

การสังสรรค์กลมเกลียวกันนั่นแล เป็นสิ่งดีงามแท้ จะทำอย่างไร? คือ จะต้องรับฟัง และยินดีรับฟังธรรมของกันและกัน

จริงดังนั้น พระผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ ทรงมีความปรารถนาว่า เหล่าศาสนิกชนในลัทธิศาสนาทั้งปวง พึงเป็นผู้มีความรอบรู้ (เป็นพหูสูต) และมีหลักศาสนธรรมที่ดีงาม (กัลยาณาคม)

ชนเหล่าใดก็ตาม ซึ่งมีศรัทธาเลื่อมใสในลัทธิศาสนาต่างๆ กัน ชนเหล่านั้นพึงกล่าว (ให้รู้กันทั่วไป) ว่า พระผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ ไม่ทรงถือว่าทานหรือการบูชาอันใด จะทัดเทียมกับสิ่งนี้เลย สิ่งนี้คืออะไร? สิ่งนี้ได้แก่การที่จะพึงมีความเจริญงอกงามแห่งสารธรรมในลัทธิศาสนาทั้งปวง และ (ความเจริญงอกงามนี้) พึงมีเป็นอันมากด้วย

พุทธพจน์ข้างต้นยังคงเปล่งแสงแห่งสัจธรรมเสมอ ไม่เพียงแต่ขันติธรรมเสรีธรรมคือการให้เสรีภาพทางศาสนาเท่านั้น ที่เป็นมรดกที่พุทธศาสนามอบให้แก่โลก แม้แต่หลักคำสอนเรื่อง 'อภัยทาน' ก็มีรากฐานอันแข็งแกร่งอยู่ในพุทธศาสนาเหมือนกัน

อภัยทานนี้ (โดยรูปศัพท์ 'อภัย' แปลว่า 'ไม่มีภัย ไม่มีอะไรน่ากลัว/Fearlessness) มีสองความหมาย ในความหมายเชิงบวก หมายถึงการเป็นคนดี ไม่มีพิษภัยกับใคร คนดีทุกคนจึงเท่ากับว่า เป็นผู้ปฏิบัติอภัยทานอยู่แล้วโดยปกติ ในความหมายเชิงลบ อภัยทานหมายถึงการไม่จองเวรกับใคร การไม่อาฆาตพยาบาทใคร การปล่อยลงปลงได้ต่อความโกรธเกลียดชิงชังคั่งแค้นบรรดามีที่เคยสร้างสมด้วย กันมาเป็นเวลานานระหว่างคนสองคนหรือสองกลุ่มสองพวกสองเผ่าสองพรรคหรือ มากกว่านั้น ในความหมายที่สองนี้ มีตัวอย่างจากนิทานชาดกชื่อ 'ทีฆาวุกุมารชาดก' เป็นอุทาหรณ์ดังต่อไปนี้

ในกรุงพาราณสี มีพระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชซึ่งมีฐานะมั่งคั่ง และในกรุงสาวัตถี มีพระเจ้าทีฆีติโกศลราช ซึ่งมีฐานะขัดสน ต่อมาพระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชทรงกรีฑาทัพเพื่อโจมตีพระเจ้าทีฆีติโกศลราช เมื่อพระเจ้าทีฆิติโกศลราชทรงทราบข่าว ท่านเห็นว่าท่านไม่สามารถต่อยุทธ์กับพระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชได้ จึงทรงพาพระมเหสีเสด็จหนีออกจากพระนคร โดยปลอมแปลงพระองค์มิให้ใครรู้จัก และอาศัยอยู่ในบ้านของช่างหม้อ

ครั้นต่อมาไม่นานพระมเหสีทรงตั้งพระครรภ์ และประสูติพระราชโอรส มีพระนามว่า ทีฆาวุ เมื่อทีฆาวุกุมารเติบโตขึ้น พระเจ้าทีฆีติโกศลทรงให้หลบอยู่นอกพระนครเพื่อความปลอดภัย ต่อมาไม่นานทีฆาวุกุมารก็ได้ศึกษาศิลปะสำเร็จทุกสาขา

เวลาผ่านไป นายช่างกัลบกเห็นพระเจ้าทีฆีติโกศลราชพร้อมกับมเหสีทรงปลอมแปลงพระกายจึงนำ ความกราบทูล เมื่อทรงทราบความพระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชจึงมีพระบรมราชโองการสั่งจับ แล้วให้นำไปแห่รอบเมือง จากนั้นให้ประหารชีวิต

(ติดตามตอนต่อไปวันพระหน้า)

ขอบคุณ http://www.komchadluek.net/detail/20130410/155856/อหิงสามรรคาสู่สันติ(๑๗)อภัยทานคือต้นธารของสันติสุข.html#.UXnsvEqja8o (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: www.komchadluek.net
วันที่โพสต์: 12/05/2556 เวลา 02:20:58

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

'อหิงสา'มรรคาสู่สันติ(๑๗)อภัยทานคือต้นธารของสันติสุข : คันฉ่องและโคมฉาย โดยว.วชิรเมธี ...ก็ความเจริญงอกงามแห่งสารธรรมนี้ มีอยู่มากมายหลายประการ แต่ส่วนที่เป็นรากฐานแห่งความเจริญงอกงามนั้น ได้แก่สิ่งนี้คือ การสำรวมระวังวาจา (วจีคุปติ์) ระวังอย่างไร? คือ ไม่พึงมีการยกย่องลัทธิศาสนาของตน และการตำหนิลัทธิศาสนาของผู้อื่น ในเมื่อมิใช่โอกาสอันควร การสังสรรค์กลมเกลียวกันนั่นแล เป็นสิ่งดีงามแท้ จะทำอย่างไร? คือ จะต้องรับฟัง และยินดีรับฟังธรรมของกันและกัน จริงดังนั้น พระผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ ทรงมีความปรารถนาว่า เหล่าศาสนิกชนในลัทธิศาสนาทั้งปวง พึงเป็นผู้มีความรอบรู้ (เป็นพหูสูต) และมีหลักศาสนธรรมที่ดีงาม (กัลยาณาคม) ชนเหล่าใดก็ตาม ซึ่งมีศรัทธาเลื่อมใสในลัทธิศาสนาต่างๆ กัน ชนเหล่านั้นพึงกล่าว (ให้รู้กันทั่วไป) ว่า พระผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ ไม่ทรงถือว่าทานหรือการบูชาอันใด จะทัดเทียมกับสิ่งนี้เลย สิ่งนี้คืออะไร? สิ่งนี้ได้แก่การที่จะพึงมีความเจริญงอกงามแห่งสารธรรมในลัทธิศาสนาทั้งปวง และ (ความเจริญงอกงามนี้) พึงมีเป็นอันมากด้วย พุทธพจน์ข้างต้นยังคงเปล่งแสงแห่งสัจธรรมเสมอ ไม่เพียงแต่ขันติธรรมเสรีธรรมคือการให้เสรีภาพทางศาสนาเท่านั้น ที่เป็นมรดกที่พุทธศาสนามอบให้แก่โลก แม้แต่หลักคำสอนเรื่อง 'อภัยทาน' ก็มีรากฐานอันแข็งแกร่งอยู่ในพุทธศาสนาเหมือนกัน อภัยทานนี้ (โดยรูปศัพท์ 'อภัย' แปลว่า 'ไม่มีภัย ไม่มีอะไรน่ากลัว/Fearlessness) มีสองความหมาย ในความหมายเชิงบวก หมายถึงการเป็นคนดี ไม่มีพิษภัยกับใคร คนดีทุกคนจึงเท่ากับว่า เป็นผู้ปฏิบัติอภัยทานอยู่แล้วโดยปกติ ในความหมายเชิงลบ อภัยทานหมายถึงการไม่จองเวรกับใคร การไม่อาฆาตพยาบาทใคร การปล่อยลงปลงได้ต่อความโกรธเกลียดชิงชังคั่งแค้นบรรดามีที่เคยสร้างสมด้วย กันมาเป็นเวลานานระหว่างคนสองคนหรือสองกลุ่มสองพวกสองเผ่าสองพรรคหรือ มากกว่านั้น ในความหมายที่สองนี้ มีตัวอย่างจากนิทานชาดกชื่อ 'ทีฆาวุกุมารชาดก' เป็นอุทาหรณ์ดังต่อไปนี้ ในกรุงพาราณสี มีพระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชซึ่งมีฐานะมั่งคั่ง และในกรุงสาวัตถี มีพระเจ้าทีฆีติโกศลราช ซึ่งมีฐานะขัดสน ต่อมาพระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชทรงกรีฑาทัพเพื่อโจมตีพระเจ้าทีฆีติโกศลราช เมื่อพระเจ้าทีฆิติโกศลราชทรงทราบข่าว ท่านเห็นว่าท่านไม่สามารถต่อยุทธ์กับพระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชได้ จึงทรงพาพระมเหสีเสด็จหนีออกจากพระนคร โดยปลอมแปลงพระองค์มิให้ใครรู้จัก และอาศัยอยู่ในบ้านของช่างหม้อ ครั้นต่อมาไม่นานพระมเหสีทรงตั้งพระครรภ์ และประสูติพระราชโอรส มีพระนามว่า ทีฆาวุ เมื่อทีฆาวุกุมารเติบโตขึ้น พระเจ้าทีฆีติโกศลทรงให้หลบอยู่นอกพระนครเพื่อความปลอดภัย ต่อมาไม่นานทีฆาวุกุมารก็ได้ศึกษาศิลปะสำเร็จทุกสาขา เวลาผ่านไป นายช่างกัลบกเห็นพระเจ้าทีฆีติโกศลราชพร้อมกับมเหสีทรงปลอมแปลงพระกายจึงนำ ความกราบทูล เมื่อทรงทราบความพระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชจึงมีพระบรมราชโองการสั่งจับ แล้วให้นำไปแห่รอบเมือง จากนั้นให้ประหารชีวิต (ติดตามตอนต่อไปวันพระหน้า) ขอบคุณ http://www.komchadluek.net/detail/20130410/155856/อหิงสามรรคาสู่สันติ(๑๗)อภัยทานคือต้นธารของสันติสุข.html#.UXnsvEqja8o

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...