'อหิงสา'มรรคาสู่สันติ(๑๖)เสรีภาพทางศาสนา

แสดงความคิดเห็น

'อหิงสา'มรรคาสู่สันติ(๑๖)เสรีภาพทางศาสนา : คันฉ่องและโคมฉาย โดยว.วชิรเมธี

ดังที่ได้กล่าวไว้ว่า พระเจ้าอโศกมหาราช คือ ต้นแบบของขบวนการอหิงสาที่เก่าแก่ จากศิลาจารึกของพระองค์ที่มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่สาม ระบุถึงพระราชจริยวัตรในพระองค์ในเรื่องนี้ไว้ตอนหนึ่งว่า

"ธรรมโองการนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปริยทรรศี ผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ ได้โปรดให้จารึกไว้ ณ ถิ่นนี้ บุคคลไม่พึงฆ่าสัตว์มีชีวิตใดๆ เพื่อการบูชายัญ...แต่ก่อนนี้ ในโรงครัวหลวงของพระเจ้าอยู่หัวปริยทรรศี ผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ สัตว์ได้ถูกฆ่าเพื่อทำเป็นอาหาร วันละหลายแสนตัว ครั้นมาในบัดนี้ เมื่อธรรมโองการนี้อันพระองค์โปรดให้จารึกแล้ว สัตว์เพียง ๓ ตัวเท่านั้นที่ถูกฆ่า คือ นกยูง ๒ ตัว และเนื้อ ๑ ตัว ถึงแม้เนื้อนั้นก็มิได้ถูกฆ่าเป็นประจำ ก็แลสัตว์ทั้งสามนี้ (ในกาลภายหน้า) ก็จักไม่ถูกฆ่าอีกเลย”

นอกจากพุทธศาสนาจะมอบต้นธารแห่งขบวนการ "อหิงสา" ให้แก่โลกแล้ว ก็ยังมอบ "ขันติธรรม" (Tolerance) กล่าวคือ ความมีใจกว้าง พร้อมที่จะยอมอด ยอมทน ต่อความแตกต่างระหว่างคนที่ถือศาสนา ลัทธินิยม อุดมการณ์ที่แตกต่างกันให้สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติอีกด้วย คตินี้มีเค้ามาแต่พุทธธรรมในเรื่อง "สัจจานุรักษ์" (ซึ่งเคยกล่าวถึงมาแล้วในหัวข้อ "ศาสนาแห่งสันติภาพ") ซึ่งพระเจ้าอโศกทรงนำมาเน้นย้ำในรัชสมัยของพระองค์ และกลายมาเป็นคติสำคัญในประเทศแถบสหรัฐอเมริกา ยุโรป และทั่วโลก หลังจากที่พวกเขาได้ผ่านพ้นสงครามศาสนามาแล้วอย่างสะบักสะบอม

ขันติธรรมนี้มองอีกมุมหนึ่งก็คือ การให้เสรีภาพทางศาสนา (Religious Freedom) แก่ประชาชนนั่นเอง ขันติธรรมและเสรีธรรมนี้มีปรากฏอยู่ในรัฐาภิบาล (Public Governance or National Governance) นโยบายทางการเมืองการปกครองสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชที่พระองค์ทรงให้เสรีภาพ ทางศาสนาแก่ประชาชนของพระองค์อย่างเต็มที่ ทำให้ทุกศาสนาสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ความแตกต่างจึงไม่กลายเป็นความแตกแยกแต่ได้กลายเป็นความเติมเต็ม เพราะต่างคน ต่างปัญญา และต่างศรัทธา

ศาสนาแต่ละศาสนาก็ย่อมเหมาะกับพื้นภูมิปัญญาของผู้คนที่แตกต่างกัน การเกณฑ์ให้คนทั้งประเทศหรือคนทั้งโลกถือศาสนาเดียวกัน จึงเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติพื้นฐานของมนุษย์ที่มีความแตกต่างหลากหลายกันทาง ภูมิปัญญา ในเรื่องนี้พระเจ้าอโศกมหาราชทรงนำหน้าพวกเราในยุคนี้มาก ดังศิลาจารึกของพระองค์ระบุถึงความมีใจกว้างทางศาสนาไว้ดังนี้

“สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปริยทรรศี ผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ ย่อมทรงยกย่องนับถือศาสนิกชนแห่งลัทธิศาสนาทั้งปวง ทั้งที่เป็นบรรพชิตและคฤหัสถ์ ด้วยการพระราชทานสิ่งของและการแสดงความยกย่องนับถืออย่างอื่นๆ แต่พระผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ ย่อมไม่ทรงพิจารณาเห็นทานหรือการบูชาอันใดที่จะเทียบได้กับสิ่งนี้เลย สิ่งนี้คืออะไร? สิ่งนั้นก็คือ การที่จะพึงมีความเจริญงอกงามแห่งสารธรรมในลัทธิศาสนาทั้งปวง

(ติดตามตอนต่อไปวันพระหน้า)

ขอบคุณ http://www.komchadluek.net/detail/20130403/155349/อหิงสามรรคาสู่สันติ(๑๖)เสรีภาพทางศาสนา.html#.UXnsj0qja8o (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: www.komchadluek.net
วันที่โพสต์: 10/05/2556 เวลา 03:48:43

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

'อหิงสา'มรรคาสู่สันติ(๑๖)เสรีภาพทางศาสนา : คันฉ่องและโคมฉาย โดยว.วชิรเมธี ดังที่ได้กล่าวไว้ว่า พระเจ้าอโศกมหาราช คือ ต้นแบบของขบวนการอหิงสาที่เก่าแก่ จากศิลาจารึกของพระองค์ที่มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่สาม ระบุถึงพระราชจริยวัตรในพระองค์ในเรื่องนี้ไว้ตอนหนึ่งว่า "ธรรมโองการนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปริยทรรศี ผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ ได้โปรดให้จารึกไว้ ณ ถิ่นนี้ บุคคลไม่พึงฆ่าสัตว์มีชีวิตใดๆ เพื่อการบูชายัญ...แต่ก่อนนี้ ในโรงครัวหลวงของพระเจ้าอยู่หัวปริยทรรศี ผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ สัตว์ได้ถูกฆ่าเพื่อทำเป็นอาหาร วันละหลายแสนตัว ครั้นมาในบัดนี้ เมื่อธรรมโองการนี้อันพระองค์โปรดให้จารึกแล้ว สัตว์เพียง ๓ ตัวเท่านั้นที่ถูกฆ่า คือ นกยูง ๒ ตัว และเนื้อ ๑ ตัว ถึงแม้เนื้อนั้นก็มิได้ถูกฆ่าเป็นประจำ ก็แลสัตว์ทั้งสามนี้ (ในกาลภายหน้า) ก็จักไม่ถูกฆ่าอีกเลย” นอกจากพุทธศาสนาจะมอบต้นธารแห่งขบวนการ "อหิงสา" ให้แก่โลกแล้ว ก็ยังมอบ "ขันติธรรม" (Tolerance) กล่าวคือ ความมีใจกว้าง พร้อมที่จะยอมอด ยอมทน ต่อความแตกต่างระหว่างคนที่ถือศาสนา ลัทธินิยม อุดมการณ์ที่แตกต่างกันให้สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติอีกด้วย คตินี้มีเค้ามาแต่พุทธธรรมในเรื่อง "สัจจานุรักษ์" (ซึ่งเคยกล่าวถึงมาแล้วในหัวข้อ "ศาสนาแห่งสันติภาพ") ซึ่งพระเจ้าอโศกทรงนำมาเน้นย้ำในรัชสมัยของพระองค์ และกลายมาเป็นคติสำคัญในประเทศแถบสหรัฐอเมริกา ยุโรป และทั่วโลก หลังจากที่พวกเขาได้ผ่านพ้นสงครามศาสนามาแล้วอย่างสะบักสะบอม ขันติธรรมนี้มองอีกมุมหนึ่งก็คือ การให้เสรีภาพทางศาสนา (Religious Freedom) แก่ประชาชนนั่นเอง ขันติธรรมและเสรีธรรมนี้มีปรากฏอยู่ในรัฐาภิบาล (Public Governance or National Governance) นโยบายทางการเมืองการปกครองสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชที่พระองค์ทรงให้เสรีภาพ ทางศาสนาแก่ประชาชนของพระองค์อย่างเต็มที่ ทำให้ทุกศาสนาสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ความแตกต่างจึงไม่กลายเป็นความแตกแยกแต่ได้กลายเป็นความเติมเต็ม เพราะต่างคน ต่างปัญญา และต่างศรัทธา ศาสนาแต่ละศาสนาก็ย่อมเหมาะกับพื้นภูมิปัญญาของผู้คนที่แตกต่างกัน การเกณฑ์ให้คนทั้งประเทศหรือคนทั้งโลกถือศาสนาเดียวกัน จึงเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติพื้นฐานของมนุษย์ที่มีความแตกต่างหลากหลายกันทาง ภูมิปัญญา ในเรื่องนี้พระเจ้าอโศกมหาราชทรงนำหน้าพวกเราในยุคนี้มาก ดังศิลาจารึกของพระองค์ระบุถึงความมีใจกว้างทางศาสนาไว้ดังนี้ “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปริยทรรศี ผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ ย่อมทรงยกย่องนับถือศาสนิกชนแห่งลัทธิศาสนาทั้งปวง ทั้งที่เป็นบรรพชิตและคฤหัสถ์ ด้วยการพระราชทานสิ่งของและการแสดงความยกย่องนับถืออย่างอื่นๆ แต่พระผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ ย่อมไม่ทรงพิจารณาเห็นทานหรือการบูชาอันใดที่จะเทียบได้กับสิ่งนี้เลย สิ่งนี้คืออะไร? สิ่งนั้นก็คือ การที่จะพึงมีความเจริญงอกงามแห่งสารธรรมในลัทธิศาสนาทั้งปวง (ติดตามตอนต่อไปวันพระหน้า) ขอบคุณ http://www.komchadluek.net/detail/20130403/155349/อหิงสามรรคาสู่สันติ(๑๖)เสรีภาพทางศาสนา.html#.UXnsj0qja8o

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...