'อหิงสา'มรรคาสู่สันติ(๑๔)สัตว์ทั้งหมดกลัวตาย

แสดงความคิดเห็น

'อหิงสา'มรรคาสู่สันติ(๑๔)สัตว์ทั้งหมดกลัวตาย : คันฉ่องและโคมฉาย โดย ว.วชิรเมธี

ในพุทธจริยาที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎกปรากฏว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นนักปฏิรูปสังคมที่ทำให้เกิดการลด ละ เลิก การบูชายัญด้วยชีวิตคนและสัตว์จำนวนมากที่เป็นประเพณีอันถือปฏิบัติสืบกันมา นานในสังคมอินเดียโบราณให้ปลาสนาการไป ดังคำสารภาพของกูฏทันตพราหมณ์ ซึ่งอยู่ในระหว่างเตรียมการบูชายัญครั้งสำคัญ แต่พอได้สนทนาธรรมกับพระพุทธองค์ถึงการบูชายัญโดยไม่ต้องใช้ชีวิตอื่นมาเซ่น สังเวยแล้ว เขาจึงเกิดความสว่างไสวในปัญญา หันมาเป็นผู้เปี่ยมเมตตาและไมตรีต่อสรรพสัตว์พร้อมทั้งสารภาพว่า

“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอปล่อยโคผู้ ๗๐๐ ลูกโคผู้ ๗๐๐ ลูกโคเมีย ๗๐๐ แพะ ๗๐๐ แกะ ๗๐๐ ข้าพเจ้าให้ชีวิตแก่สัตว์เหล่านั้นขอให้สัตว์เหล่านั้น ได้กินหญ้าเขียวสด จงดื่มน้ำเย็น จงรับลมสดชื่นที่กำลังรำเพยให้สบายใจเถิด”

คำสอนที่ว่าด้วยการไม่ฆ่า ไม่เบียดเบียน ไม่ใช้ความรุนแรง และการมีอหิงสธรรม (Non-Violence) ของพุทธศาสนานั้นโดดเด่นเห็นชัดเจนได้รับการอ้างอิงถึงอยู่เสมอในหมู่ผู้รัก สันติภาพและปรารถนาสันติสุข คำสอนหนึ่งซึ่งได้รับการอ้างถึงบ่อยๆ ก็คือ

“เวรย่อมไม่ระงับด้วยการจองเวร แต่ระงับด้วยการไม่จองเวร” หรือ “สัตว์ทั้งหมดกลัวโทษทัณฑ์ สัตว์ทั้งหมดกลัวความตาย เอาใจเขามาใส่ใจเราอย่างนี้แล้วไม่ควรฆ่าเอง ไม่ควรสั่งให้คนอื่นฆ่า”

รวมทั้งคำสอนสำคัญของพระพุทธเจ้าที่มหาตมะ คานธี บิดาของประชาชาติอินเดียนำมาปฏิบัติจนถือเป็นจุดเริ่มอย่างหนึ่งของขบวนการอ หิงสา ซึ่งคำสอนนี้มีปรากฏอยู่ที่บ้านพักส่วนตัวอันเป็นบ้านพักหลังสุดท้ายของท่าน ที่กรุงนิวเดลี ว่า

“จงเอาชนะความโกรธ ด้วยความไม่โกรธ

จงเอาชนะความชั่วด้วยความดี

จงเอาชนะความตระหนี่ด้วยการให้

จงเอาชนะความเท็จด้วยความสัตย์”

ไม่มีสงครามในนามพุทธศาสนา ในโอวาทปาติโมกข์ที่ว่าด้วยคำสอนอันเป็นหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ทรงประกาศว่า ขันติ คือความอดทนอดกลั้น การไม่ใช้ความรุนแรง (อนูปฆาโต) การไม่กล่าวร้าย (อนูปวาโท) การไม่เบียดเบียน (ปรูปฆาตี) เป็นการปฏิบัติที่สำคัญของพุทธศาสนา

ในกรณียเมตตสูตร พระพุทธเจ้าทรงสอนให้พุทธสาวกแผ่เมตตาแก่สรรพชีพ สรรพสัตว์อย่างถ้วนหน้าไปในสากลโลกจนก่อเกิดเป็นความรัก ความปรารถนาดีดังหนึ่ง 'มารดารักลูกน้อยกลอยใจของตนเอง' หรือในบางพระสูตรทรงสอนให้พุทศาสนิกชนมองเพื่อนร่วมโลกทั้งหมดว่าเป็นดัง หนึ่งคนในครอบครัวเดียวกัน หรือคนในโลกทั้งผองล้วนเป็นพี่น้องกัน (We are the World)

(ติดตามต่อตอนต่อไปฉบับหน้า)

ขอบคุณ http://www.komchadluek.net/detail/20130319/154190/อหิงสามรรคาสู่สันติ(๑๔)สัตว์ทั้งหมดกลัวตาย.html#.UXnsUUqja8o (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: www.komchadluek.net
วันที่โพสต์: 8/05/2556 เวลา 03:15:04

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

'อหิงสา'มรรคาสู่สันติ(๑๔)สัตว์ทั้งหมดกลัวตาย : คันฉ่องและโคมฉาย โดย ว.วชิรเมธี ในพุทธจริยาที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎกปรากฏว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นนักปฏิรูปสังคมที่ทำให้เกิดการลด ละ เลิก การบูชายัญด้วยชีวิตคนและสัตว์จำนวนมากที่เป็นประเพณีอันถือปฏิบัติสืบกันมา นานในสังคมอินเดียโบราณให้ปลาสนาการไป ดังคำสารภาพของกูฏทันตพราหมณ์ ซึ่งอยู่ในระหว่างเตรียมการบูชายัญครั้งสำคัญ แต่พอได้สนทนาธรรมกับพระพุทธองค์ถึงการบูชายัญโดยไม่ต้องใช้ชีวิตอื่นมาเซ่น สังเวยแล้ว เขาจึงเกิดความสว่างไสวในปัญญา หันมาเป็นผู้เปี่ยมเมตตาและไมตรีต่อสรรพสัตว์พร้อมทั้งสารภาพว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอปล่อยโคผู้ ๗๐๐ ลูกโคผู้ ๗๐๐ ลูกโคเมีย ๗๐๐ แพะ ๗๐๐ แกะ ๗๐๐ ข้าพเจ้าให้ชีวิตแก่สัตว์เหล่านั้นขอให้สัตว์เหล่านั้น ได้กินหญ้าเขียวสด จงดื่มน้ำเย็น จงรับลมสดชื่นที่กำลังรำเพยให้สบายใจเถิด” คำสอนที่ว่าด้วยการไม่ฆ่า ไม่เบียดเบียน ไม่ใช้ความรุนแรง และการมีอหิงสธรรม (Non-Violence) ของพุทธศาสนานั้นโดดเด่นเห็นชัดเจนได้รับการอ้างอิงถึงอยู่เสมอในหมู่ผู้รัก สันติภาพและปรารถนาสันติสุข คำสอนหนึ่งซึ่งได้รับการอ้างถึงบ่อยๆ ก็คือ “เวรย่อมไม่ระงับด้วยการจองเวร แต่ระงับด้วยการไม่จองเวร” หรือ “สัตว์ทั้งหมดกลัวโทษทัณฑ์ สัตว์ทั้งหมดกลัวความตาย เอาใจเขามาใส่ใจเราอย่างนี้แล้วไม่ควรฆ่าเอง ไม่ควรสั่งให้คนอื่นฆ่า” รวมทั้งคำสอนสำคัญของพระพุทธเจ้าที่มหาตมะ คานธี บิดาของประชาชาติอินเดียนำมาปฏิบัติจนถือเป็นจุดเริ่มอย่างหนึ่งของขบวนการอ หิงสา ซึ่งคำสอนนี้มีปรากฏอยู่ที่บ้านพักส่วนตัวอันเป็นบ้านพักหลังสุดท้ายของท่าน ที่กรุงนิวเดลี ว่า “จงเอาชนะความโกรธ ด้วยความไม่โกรธ จงเอาชนะความชั่วด้วยความดี จงเอาชนะความตระหนี่ด้วยการให้ จงเอาชนะความเท็จด้วยความสัตย์” ไม่มีสงครามในนามพุทธศาสนา ในโอวาทปาติโมกข์ที่ว่าด้วยคำสอนอันเป็นหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ทรงประกาศว่า ขันติ คือความอดทนอดกลั้น การไม่ใช้ความรุนแรง (อนูปฆาโต) การไม่กล่าวร้าย (อนูปวาโท) การไม่เบียดเบียน (ปรูปฆาตี) เป็นการปฏิบัติที่สำคัญของพุทธศาสนา ในกรณียเมตตสูตร พระพุทธเจ้าทรงสอนให้พุทธสาวกแผ่เมตตาแก่สรรพชีพ สรรพสัตว์อย่างถ้วนหน้าไปในสากลโลกจนก่อเกิดเป็นความรัก ความปรารถนาดีดังหนึ่ง 'มารดารักลูกน้อยกลอยใจของตนเอง' หรือในบางพระสูตรทรงสอนให้พุทศาสนิกชนมองเพื่อนร่วมโลกทั้งหมดว่าเป็นดัง หนึ่งคนในครอบครัวเดียวกัน หรือคนในโลกทั้งผองล้วนเป็นพี่น้องกัน (We are the World) (ติดตามต่อตอนต่อไปฉบับหน้า) ขอบคุณ http://www.komchadluek.net/detail/20130319/154190/อหิงสามรรคาสู่สันติ(๑๔)สัตว์ทั้งหมดกลัวตาย.html#.UXnsUUqja8o

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...