'อหิงสา'มรรคาสู่สันติ(๙)ฟังด้วยหัวใจ

แสดงความคิดเห็น

'อหิงสา'มรรคาสู่สันติ(๙)ฟังด้วยหัวใจ : คันฉ่องและโคมฉาย โดยว.วชิรเมธี

การมีใจกว้าง ไม่ผูกขาดสัจธรรม ยอมฟังความคิดเห็นที่แตกต่างอย่างให้เกียรติ นี่คือหัวใจของการนำไปสู่ความสุขสงบในใจ

ความใจแคบ ไม่ยอมรับฟังข้อคิด ความเห็น หรือไม่ยอมเปิดใจเรียนรู้ลัทธินิยม อุดมการณ์ที่แตกต่างออกไปจากระบบความคิดระบบความเชื่อที่ตนเชื่อถือหรือ สังกัดอยู่ เป็นสาเหตุอันหนึ่งของความรุนแรง หรือในบางกรณีเป็นสาเหตุของสงครามที่คร่าชีวิตผู้คนมากมายนับไม่ถ้วน แต่ในสารบบคำสอนของพระพุทธเจ้า เราจะไม่พบท่าทีหรือคำสอนเช่นนี้เลย

พระพุทธองค์ทรงสอนให้ชาวพุทธเป็นคนใจกว้าง สามารถรับฟังเสียงหรือความคิด ความเชื่อ ลัทธินิยมอุดมการณ์ที่แตกต่างออกไปอย่างสงบและด้วยการให้เกียรติอย่างดียิ่ง ท่าทีอย่างนี้ มีปรากฏชัดอยู่ในพุทธจริยาของพระองค์ที่ทรงนิยมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเจ้า ลัทธินิกายต่างๆ อยู่เสมอ บ่อยครั้งทรงนั่งฟัง นั่งสนทนา นั่งแลกเปลี่ยนกับคนที่มาชี้แจงแถลงข้อคิดความเห็นของตนให้พระองค์ฟังเป็น เวลานานอย่างสงบและด้วยท่าทีที่ให้เกียรติต่อเขาเหล่านั้นอย่างเต็มที่

ในบางกรณีเมื่อแลกเปลี่ยนระบบความคิดความเชื่อกันแล้ว เขายอมรับว่า คำสอนของพระองค์ดีกว่า เหนือกว่า ถูกต้องกว่า แทนที่พระองค์จะทรงดีพระทัย รีบรับเขาเป็นสาวก แต่เปล่าเลย พระองค์กลับทรงแนะนำให้เขายังคงปฏิบัติต่อลัทธินิกายที่ตนเคยศรัทธามาแต่ ก่อนด้วยความเคารพและให้เกียรติเหมือนเดิม

พระพุทธองค์ไม่ทรงกระหายสาวก และสาวกของพระองค์ก็มีปฏิปทาเช่นเดียวกันคือไม่กระหายศาสนิก ด้วยเหตุนี้ งานเผยแผ่พระพุทธศาสนาจึงเป็นไปอย่างสันติ เพราะมีเจตนาดีต่อการเผยแผ่ คือ ปรารถนาแต่จะให้ชาวโลกได้พบแต่สิ่งที่ดีที่สุดต่อตัวเขา ไม่ได้ปรารถนาจะมุ่งนำเขามาเพิ่มปริมาณให้กับศาสนาของตนเอง ท่าทีที่เปี่ยมด้วยความใจกว้างอย่างนี้ นอกจากกจะเป็นพุทธจริยาและเป็นปฏิปทาของชาวพุทธแล้ว ในแง่คำสอนก็มีหลักการที่เรียกว่า "สัจจานุรักษ์" ไว้ให้พุทธศาสนิกชนถือปฏิบัติเพื่อที่จะสามารถรับฟังเสียงที่ต่างออกไปได้ อย่างสันติอีกด้วย

คำว่า "สัจจานุรักษ์" แปลว่า "การตามรักษาความจริง" กล่าวคือ เมื่อใครมีความเห็นอย่างไร มีลัทธินิยมอุดมการณ์อย่างไรก็ตาม มากล่าวให้ตนฟัง มาแถลงให้ตนฟัง เราจะยังไม่ปฏิเสธทันที แต่เราจะรับฟังเขาอย่างดีที่สุดตั้งแต่ต้นจนจบด้วยความเคารพจากใจจริง จากนั้น หากเรามีความเห็นอย่างไร ก็จะขอโอกาสแสดงข้อคิดความเห็นของตนด้วยใจเป็นกลางอย่างสุภาพว่า “ที่ท่านกล่าวมานั้นก็ดีแล้ว...แต่ในส่วนของข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้ามีความเห็นเป็นอย่างนี้...” หรือ “เท่าที่ข้าพเจ้าได้ยินได้ฟังมา เรื่องนั้นมีว่าอย่างนี้...” หรือ “สิ่งที่ท่านกล่าวมานั้น จะผิดหรือถูกประการใด เอาไว้ก่อน ในส่วนของข้าพเจ้า ขอแลกเปลี่ยนกับท่านในเรื่องนี้ดังต่อไปนี้...”

(ติดตามตอนต่อไปวันพระหน้า)

ขอบคุณ http://www.komchadluek.net/detail/20130210/151449/อหิงสามรรคาสู่สันติ(๙)ฟังด้วยหัวใจ.html#.UXnrGkqja8o (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: www.komchadluek.net
วันที่โพสต์: 30/04/2556 เวลา 03:56:21

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

'อหิงสา'มรรคาสู่สันติ(๙)ฟังด้วยหัวใจ : คันฉ่องและโคมฉาย โดยว.วชิรเมธี การมีใจกว้าง ไม่ผูกขาดสัจธรรม ยอมฟังความคิดเห็นที่แตกต่างอย่างให้เกียรติ นี่คือหัวใจของการนำไปสู่ความสุขสงบในใจ ความใจแคบ ไม่ยอมรับฟังข้อคิด ความเห็น หรือไม่ยอมเปิดใจเรียนรู้ลัทธินิยม อุดมการณ์ที่แตกต่างออกไปจากระบบความคิดระบบความเชื่อที่ตนเชื่อถือหรือ สังกัดอยู่ เป็นสาเหตุอันหนึ่งของความรุนแรง หรือในบางกรณีเป็นสาเหตุของสงครามที่คร่าชีวิตผู้คนมากมายนับไม่ถ้วน แต่ในสารบบคำสอนของพระพุทธเจ้า เราจะไม่พบท่าทีหรือคำสอนเช่นนี้เลย พระพุทธองค์ทรงสอนให้ชาวพุทธเป็นคนใจกว้าง สามารถรับฟังเสียงหรือความคิด ความเชื่อ ลัทธินิยมอุดมการณ์ที่แตกต่างออกไปอย่างสงบและด้วยการให้เกียรติอย่างดียิ่ง ท่าทีอย่างนี้ มีปรากฏชัดอยู่ในพุทธจริยาของพระองค์ที่ทรงนิยมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเจ้า ลัทธินิกายต่างๆ อยู่เสมอ บ่อยครั้งทรงนั่งฟัง นั่งสนทนา นั่งแลกเปลี่ยนกับคนที่มาชี้แจงแถลงข้อคิดความเห็นของตนให้พระองค์ฟังเป็น เวลานานอย่างสงบและด้วยท่าทีที่ให้เกียรติต่อเขาเหล่านั้นอย่างเต็มที่ ในบางกรณีเมื่อแลกเปลี่ยนระบบความคิดความเชื่อกันแล้ว เขายอมรับว่า คำสอนของพระองค์ดีกว่า เหนือกว่า ถูกต้องกว่า แทนที่พระองค์จะทรงดีพระทัย รีบรับเขาเป็นสาวก แต่เปล่าเลย พระองค์กลับทรงแนะนำให้เขายังคงปฏิบัติต่อลัทธินิกายที่ตนเคยศรัทธามาแต่ ก่อนด้วยความเคารพและให้เกียรติเหมือนเดิม พระพุทธองค์ไม่ทรงกระหายสาวก และสาวกของพระองค์ก็มีปฏิปทาเช่นเดียวกันคือไม่กระหายศาสนิก ด้วยเหตุนี้ งานเผยแผ่พระพุทธศาสนาจึงเป็นไปอย่างสันติ เพราะมีเจตนาดีต่อการเผยแผ่ คือ ปรารถนาแต่จะให้ชาวโลกได้พบแต่สิ่งที่ดีที่สุดต่อตัวเขา ไม่ได้ปรารถนาจะมุ่งนำเขามาเพิ่มปริมาณให้กับศาสนาของตนเอง ท่าทีที่เปี่ยมด้วยความใจกว้างอย่างนี้ นอกจากกจะเป็นพุทธจริยาและเป็นปฏิปทาของชาวพุทธแล้ว ในแง่คำสอนก็มีหลักการที่เรียกว่า "สัจจานุรักษ์" ไว้ให้พุทธศาสนิกชนถือปฏิบัติเพื่อที่จะสามารถรับฟังเสียงที่ต่างออกไปได้ อย่างสันติอีกด้วย คำว่า "สัจจานุรักษ์" แปลว่า "การตามรักษาความจริง" กล่าวคือ เมื่อใครมีความเห็นอย่างไร มีลัทธินิยมอุดมการณ์อย่างไรก็ตาม มากล่าวให้ตนฟัง มาแถลงให้ตนฟัง เราจะยังไม่ปฏิเสธทันที แต่เราจะรับฟังเขาอย่างดีที่สุดตั้งแต่ต้นจนจบด้วยความเคารพจากใจจริง จากนั้น หากเรามีความเห็นอย่างไร ก็จะขอโอกาสแสดงข้อคิดความเห็นของตนด้วยใจเป็นกลางอย่างสุภาพว่า “ที่ท่านกล่าวมานั้นก็ดีแล้ว...แต่ในส่วนของข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้ามีความเห็นเป็นอย่างนี้...” หรือ “เท่าที่ข้าพเจ้าได้ยินได้ฟังมา เรื่องนั้นมีว่าอย่างนี้...” หรือ “สิ่งที่ท่านกล่าวมานั้น จะผิดหรือถูกประการใด เอาไว้ก่อน ในส่วนของข้าพเจ้า ขอแลกเปลี่ยนกับท่านในเรื่องนี้ดังต่อไปนี้...” (ติดตามตอนต่อไปวันพระหน้า) ขอบคุณ http://www.komchadluek.net/detail/20130210/151449/อหิงสามรรคาสู่สันติ(๙)ฟังด้วยหัวใจ.html#.UXnrGkqja8o

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...