'อหิงสา'มรรคาสู่สันติ(๘)อดทนและสงบในทุกสถานการณ์

แสดงความคิดเห็น

'อหิงสา'มรรคาสู่สันติ(๘)อดทนและสงบในทุกสถานการณ์ : คันฉ่องและโคมฉาย โดยว.วชิรเมธี

ในกกจูปมสูตร พระพุทธองค์ทรงสอนให้พุทธสาวกรู้จักอดทนอดกลั้นต่อผู้ที่ใช้ความรุนแรงกับตน อย่างถึงที่สุดแม้เขาจะมุ่งร้ายต่อตนถึงขั้นปลงชีวิต ก็ทรงสอนให้มั่นคงอยู่ในขันติธรรม ต้องไม่ยอมปล่อยใจให้โกรธตอบเป็นอันขาด ทรงยกตัวอย่างว่า หากภิกษุถูกพวกโจรใจบาปหยาบช้าประทุษร้าย จับมัดมือมัดเท้า แล้วนำเลื่อยมาหั่นตรงกลางลำตัว แม้สถานการณ์จะเลวร้ายถึงเพียงนี้ ก็ทรงสอนว่า จะต้องไม่โกรธตอบ ภิกษุรูปใดโกรธตอบ ทรงถือว่า ไม่ใช่ผู้ทำตามคำสอนของพระองค์ ไม่นับเป็นพุทธสาวก

ในประวัติของพระสาวกชื่อพระปุณณะ มีตัวอย่างของการมีขันติธรรมของพระพุทธสาวกที่พระพุทธองค์ทรงยกย่องปรากฏ อยู่ดังต่อไปนี้

“พระผู้มีพระภาคเจ้าประทานพระโอวาทแสดงวิธีปฏิบัติต่อรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ โดยอาการที่จะมิให้ทุกข์เกิดขึ้น แล้วตรัสถามท่านว่า จะไปอยู่ในถิ่นใด

ท่านทูลตอบว่า จะไปอยู่ในแคว้นสุนาปรันตะ

ตรัสถามว่า ชาวสุนาปรันตะเป็นคนดุร้าย ถ้าเขาด่าว่า ท่านจะวางใจต่อคนเหล่านั้นอย่างไร

ทูลตอบว่า จะคิดว่ายังดีนักหนาที่เขาไม่ตบตี

ตรัสถามว่า ถ้าเขาตบตีจะวางใจอย่างไร

ทูลตอบว่า จะคิดว่ายังดีนักหนาที่เขาไม่ขว้างปาด้วยก้อนดิน

ตรัสถามว่า ถ้าเขาขว้างด้วยก้อนดิน จะวางใจอย่างไร

ทูลตอบว่า จะคิดว่ายังดีนักหนาที่เขาไม่ทุบตีด้วยท่อนไม้

ตรัสถามว่า ถ้าเขาทุบตีด้วยท่อนไม้ จะวางใจอย่างไร

ทูลตอบว่า จะคิดว่ายังดีนักหนาที่เขาไม่ฟันแทงด้วยศัสตรา

ตรัสถามว่า ถ้าเขาฟันแทงด้วยศัสตรา จะวางใจอย่างไร

ทูลตอบว่า จะคิดว่ายังดีนักหนาที่เขาไม่เอาศัสตราอันคมฆ่าเสีย

ตรัสถามว่า ถ้าเขาเอาศัสตราอันคมปลิดชีพเสีย จะวางใจอย่างไร

ทูลตอบว่า จะคิดว่า มีสาวกบางท่านเบื่อหน่ายร่างกายและชีวิตต้องเที่ยวหาศัสตรามาสังหารตนเอง แต่เราไม่ต้องเที่ยวหาเลย ก็ได้ศัสตราแล้ว

พระผู้มีพระภาคประทานสาธุการ และตรัสว่า ท่านมีทมะ (อดทน) และอุปสมะ (ความสงบ) อย่างนี้ สามารถไปอยู่ในแคว้นสุนาปรันตะได้”

แนวคิดของพระปุณณะซึ่งเป็นพระอรหันต์ที่ได้รับการสรรเสริญจากพระพุทธองค์ดัง กล่าวมานี้ คือ ตัวอย่างอันดีที่ชี้ให้เห็นว่า 'ขันติธรรม' ในพุทธศาสนานั้นมีความหมายลึกซึ้งแค่ไหน และเป็นอุทาหรณ์ดีพอที่เราจะกล่าวว่า พุทธศาสนาคือศาสนาแห่งความอดทนอดกลั้น คือ ศาสนาแห่งอหิงสาการไม่ใช้ความรุนแรง คือ ศาสนาแห่งสันติภาพที่ใช้ทั้งสันติธรรมและสันติวิธีในทุกขั้นตอน

(ติดตามตอนต่อไปวันพระหน้า)

ขอบคุณ http://www.komchadluek.net/detail/20130203/150828/อหิงสามรรคาสู่สันติ(๘)อดทนและสงบในทุกสถานการณ์.html#.UXnqw0qja8o (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์
วันที่โพสต์: 28/04/2556 เวลา 03:06:04

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

'อหิงสา'มรรคาสู่สันติ(๘)อดทนและสงบในทุกสถานการณ์ : คันฉ่องและโคมฉาย โดยว.วชิรเมธี ในกกจูปมสูตร พระพุทธองค์ทรงสอนให้พุทธสาวกรู้จักอดทนอดกลั้นต่อผู้ที่ใช้ความรุนแรงกับตน อย่างถึงที่สุดแม้เขาจะมุ่งร้ายต่อตนถึงขั้นปลงชีวิต ก็ทรงสอนให้มั่นคงอยู่ในขันติธรรม ต้องไม่ยอมปล่อยใจให้โกรธตอบเป็นอันขาด ทรงยกตัวอย่างว่า หากภิกษุถูกพวกโจรใจบาปหยาบช้าประทุษร้าย จับมัดมือมัดเท้า แล้วนำเลื่อยมาหั่นตรงกลางลำตัว แม้สถานการณ์จะเลวร้ายถึงเพียงนี้ ก็ทรงสอนว่า จะต้องไม่โกรธตอบ ภิกษุรูปใดโกรธตอบ ทรงถือว่า ไม่ใช่ผู้ทำตามคำสอนของพระองค์ ไม่นับเป็นพุทธสาวก ในประวัติของพระสาวกชื่อพระปุณณะ มีตัวอย่างของการมีขันติธรรมของพระพุทธสาวกที่พระพุทธองค์ทรงยกย่องปรากฏ อยู่ดังต่อไปนี้ “พระผู้มีพระภาคเจ้าประทานพระโอวาทแสดงวิธีปฏิบัติต่อรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ โดยอาการที่จะมิให้ทุกข์เกิดขึ้น แล้วตรัสถามท่านว่า จะไปอยู่ในถิ่นใด ท่านทูลตอบว่า จะไปอยู่ในแคว้นสุนาปรันตะ ตรัสถามว่า ชาวสุนาปรันตะเป็นคนดุร้าย ถ้าเขาด่าว่า ท่านจะวางใจต่อคนเหล่านั้นอย่างไร ทูลตอบว่า จะคิดว่ายังดีนักหนาที่เขาไม่ตบตี ตรัสถามว่า ถ้าเขาตบตีจะวางใจอย่างไร ทูลตอบว่า จะคิดว่ายังดีนักหนาที่เขาไม่ขว้างปาด้วยก้อนดิน ตรัสถามว่า ถ้าเขาขว้างด้วยก้อนดิน จะวางใจอย่างไร ทูลตอบว่า จะคิดว่ายังดีนักหนาที่เขาไม่ทุบตีด้วยท่อนไม้ ตรัสถามว่า ถ้าเขาทุบตีด้วยท่อนไม้ จะวางใจอย่างไร ทูลตอบว่า จะคิดว่ายังดีนักหนาที่เขาไม่ฟันแทงด้วยศัสตรา ตรัสถามว่า ถ้าเขาฟันแทงด้วยศัสตรา จะวางใจอย่างไร ทูลตอบว่า จะคิดว่ายังดีนักหนาที่เขาไม่เอาศัสตราอันคมฆ่าเสีย ตรัสถามว่า ถ้าเขาเอาศัสตราอันคมปลิดชีพเสีย จะวางใจอย่างไร ทูลตอบว่า จะคิดว่า มีสาวกบางท่านเบื่อหน่ายร่างกายและชีวิตต้องเที่ยวหาศัสตรามาสังหารตนเอง แต่เราไม่ต้องเที่ยวหาเลย ก็ได้ศัสตราแล้ว พระผู้มีพระภาคประทานสาธุการ และตรัสว่า ท่านมีทมะ (อดทน) และอุปสมะ (ความสงบ) อย่างนี้ สามารถไปอยู่ในแคว้นสุนาปรันตะได้” แนวคิดของพระปุณณะซึ่งเป็นพระอรหันต์ที่ได้รับการสรรเสริญจากพระพุทธองค์ดัง กล่าวมานี้ คือ ตัวอย่างอันดีที่ชี้ให้เห็นว่า 'ขันติธรรม' ในพุทธศาสนานั้นมีความหมายลึกซึ้งแค่ไหน และเป็นอุทาหรณ์ดีพอที่เราจะกล่าวว่า พุทธศาสนาคือศาสนาแห่งความอดทนอดกลั้น คือ ศาสนาแห่งอหิงสาการไม่ใช้ความรุนแรง คือ ศาสนาแห่งสันติภาพที่ใช้ทั้งสันติธรรมและสันติวิธีในทุกขั้นตอน (ติดตามตอนต่อไปวันพระหน้า) ขอบคุณ… http://www.komchadluek.net/detail/20130203/150828/อหิงสามรรคาสู่สันติ(๘)อดทนและสงบในทุกสถานการณ์.html#.UXnqw0qja8o

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...