'เข้าใจอีกฝ่ายสันติภาพก็เป็นไปได้'ติช นัท ฮันห์

แสดงความคิดเห็น

'ถ้าเข้าใจความทุกข์ของเราและของอีกฝ่ายความกรุณาจะเกิดขึ้น สันติภาพก็เป็นไปได้'ติช นัท ฮันห์:วิปัสสนาบนหน้าข่าว โดยมนสิกุล โอวาทเภสัชช์ เรื่อง อนันต์ จันทรสูตภาพ

"สมาชิกรัฐสภาของสหรัฐอเมริกาหลายท่านที่ข้าพเจ้ารู้จักเคยกล่าวว่า พวกเขาจะผ่านพ้นความยุ่งเหยิงในชีวิตนักการเมืองไม่ได้เลย หากไม่ได้ฝึกสติ เมื่อพวกเขาเดินจากสำนักงานไปยังสถานที่ลงคะแนนตัดสิน พวกเขาเดินอย่างมีสติ และหายใจอย่างมีสติ ตลอดเวลาที่กำลังเดินอยู่นั้น พวกเขาหยุดความคิดทั้งหมด และนำความสนใจไปไว้ที่ก้าวย่างแต่ละก้าว พวกเขานำสันติภาพคืนมาสู่ตนเองและสู่สภาด้วย การเดินในวิถีแห่งสติ เราสามารถทำให้คุณภาพของปัญญาการทำงานและจิตวิญญาณของเราดีขึ้นได้ ด้วยการฝึกเจริญสติ"

พระอาจารย์ติช นัท ฮันห์ พระมหาเถระแห่งพุทธศาสนามหายาน นิกายเซน ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักสันติภาพแห่งโลก กล่าวตอนหนึ่งในการปาฐกถาธรรม เรื่อง 'เส้นทางผู้นำกับการสรรค์สร้างความกรุณาและกล้าหาญ' เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2556 ณ หอประชุมภูมิพลสังคีต วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จ.นครปฐม

การฝึกเจริญสตินั้นท่านแนะว่า สามารถกระทำได้ทุกอย่างในชีวิตประจำวันของเรา ไม่ว่า เดิน ยืน นั่ง นอน หรือแม้แต่การสวดมนต์ก็เป็นการเจริญสติอย่างหนึ่ง หากเราอยู่กับบทสวดมนต์ร้อยเปอร์เซ็นต์

ท่านกล่าวว่า พระอวโลกิเตศวร ในพุทธศาสนามหายานเป็นพระโพธิสัตว์ที่เต็มไปด้วยการรับฟังอย่างลึกซึ้งด้วย ความเมตตา กรุณา ในขณะที่คณะนักบวชสวดเอ่นพระนามพระอวโลกิเตศวร ขอให้ทุกท่านพยายามสัมผัสกับความทุกข์ที่อยู่ในตัวของเราเอง

"ในการปฏิบัติทางพุทธศาสนา ถ้าเราเข้าใจความทุกข์ของเราเอง และถ้าเราเข้าใจความทุกข์ของอีกฝ่ายหนึ่ง หรือของคนอีกกลุ่มหนึ่ง ความกรุณานั้นจะเกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ พลังแห่งความกรุณานั้นมีความสามารถ มีอำนาจที่จะช่วยเยียวยาให้เราสมานไมตรีกันใหม่ เพราะฉะนั้นการสัมผัสกับความทุกข์เป็นสิ่งที่สำคัญ เรามีความทุกข์ที่อยู่ในตัวเราเอง และความทุกข์ที่อยู่ในตัวเราเองนั้นติดมาจากความทุกข์ของคุณพ่อคุณแม่ คุณปู่คุณย่า ตาทวด จากสังคม จากประเทศชาติของเรา ถ้าเรารู้จักกลับบ้านที่แท้จริงของเรา กลับไปสัมผัสความทุกข์ เราจะมีโอกาสได้รับความเข้าใจถึงรากเหง้าและธรรมชาติของความทุกข์นั้น"

แต่ในสังคมของเรา เรามักจะไม่ฝึกปฏิบัติเช่นนั้น เพราะอะไร พระอาจารย์ติช นัท ฮันห์ ในวัย ๘๖ ปี พรรษาที่ ๗๐ กล่าวต่อมาว่า เพราะเรากลัวที่จะกลับบ้าน บ้านที่เราจะต้องกลับมาสัมผัสความทุกข์ในตัวเราเอง และจริงๆ แล้วเราพยายามวิ่งหนีจากความทุกข์เหล่านั้นโดยวิธีการบริโภค เพื่อที่จะลืมความทุกข์ที่อยู่ภายในตัวเราเอง นี่ก็คือเหตุผลที่เราไม่สามารถเข้าใจความทุกข์ของเราเองได้

เมื่อเราไม่เข้าใจความทุกข์ของเรา เราก็ไม่สามารถเข้าใจความทุกข์ของคนอื่นได้ แล้วเราจะมองหาสันติสุขได้จากที่ไหนกัน

"พระพุทธเจ้าได้ทรงแนะนำให้เรากลับไปสู่บ้านที่แท้จริง สัมผัสกับความทุกข์ที่อยู่ในตัวเราเอง ความทุกข์นั้นคืออริยสัจข้อที่หนึ่ง และถ้าเรารู้จักที่จะกลับมาตามลมหายใจเข้า ออกอย่างมีสติ เราจะสามารถสร้างพลังแห่งสติซึ่งจะช่วยให้เราไม่หวาดกลัวอีกต่อไปกับความ ทุกข์ที่อยู่ในตัวเราเอง ความทุกข์เป็นพลังงานอย่างหนึ่ง สติก็เป็นพลังอีกอย่างหนึ่ง เมื่อเราฝึกตามลมหายใจอย่างมีสติ เราจะช่วยก่อสร้างพลังแห่งสติ เราจะตระหนักรู้ถึงความทุกข์และโอบรับความทุกข์ของเราอย่างอ่อนโยน ถ้าเราสามารถที่จะทำเช่นนั้นได้ประมาณ ๕ นาที ๑๐ นาที ก็จะมีโอกาสให้พลังแห่งสตินั้นจะแผ่ลงไปในพลังความทุกข์ แล้วขบวนการแปรเปลี่ยนและเยียวยาก็จะเกิดขึ้น และเราไม่จำเป็นต้องกลัวความทุกข์ของตัวเราเองอีกต่อไป

นี่คือเหตุผลที่พระอาจารย์ติช นัท ฮันห์ อธิบายถึงการสวดมนต์ว่าเราไม่ได้สวดเพื่อการอ้อนวอนร้องขอ แต่เราสวดเพื่อทำจิตให้เป็นหนึ่งแล้วกลับมาฟังเสียงความทุกข์ภายในตัวเรา เอง

"เมื่อเราสวดมนต์เอ่ยพระนามพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรครั้งที่สอง ก็คือการกลับมาสัมผัสกับความทุกข์ในโลกนี้ ให้รู้ว่าความทุกข์ไม่ได้อยู่ในตัวเอง แต่อยู่ในคนอื่นด้วย การตระหนักรู้เหล่านี้จะช่วยสร้างพลังแห่งความเมตตากรุณา เธอจะสามารถลดความโกรธของเธอที่มีต่อคนคนนั้นได้ ในชั่วขณะนั้น แล้วเธอก็สามารถที่จะมองหน้าคนเหล่านั้น มองหน้าคนอีกกลุ่มหนึ่งด้วยความเมตตากรุณา และเธอก็จะไม่เป็นทุกข์อีกต่อไป อีกฝ่ายหนึ่งเมื่อเห็นสายตาเช่นนี้จากเธอ เขาก็จะรู้สึกดีขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นความเข้าใจต่อความทุกข์ในตัวเองจะนำมาซึ่งความเมตตากรุณาและการ เยียวยาอยู่เสมอ"

สำหรับการฝึกปฏิบัติก็เรียบง่ายมาก ท่านอธิบายว่า ขอให้เรากลับมาอยู่กับลมหายใจเข้าและออกอยู่ ณ ที่นี่และขณะนี้อย่างเต็มเปี่ยมเท่านั้นเอง

"ถ้าเธอมีก้อนแห่งความทุกข์ ความโกรธ ความกลัว ความเศร้าอยู่ในหัวใจของเธอ นี่คือโอกาสที่จะเปิดหัวใจของเธอ แล้วปล่อยให้พลังสะสมแห่งสติร่วมกันแบบนี้แผ่ซ่านเข้าไปในตัวเธอ แล้วโอบกอด ความทุกข์ ความเศร้า ความสิ้นหวังในตัวเธอ และแน่นอน เธอจะรู้สึกดีอย่างยิ่ง ในช่วงเวลาแค่สองสามนาทีเท่านั้น และถ้าเธอมีใครที่อยู่ใกล้ชิดกับเธอ เป็นคนที่เธอรัก แล้วมีความทุกข์มาก ไม่สามารถที่จะมาร่วมงานนี้กับเธอในเช้านี้ได้ เธอสามารถที่จะส่งพลังแห่งสติที่สะสมร่วมกันเช่นนี้ให้กับบุคคลนั้น โดยระลึกถึงคนๆ นั้นอยู่ในใจ คนคนนั้นก็จะมีความสุขและปลดปล่อยความทุกข์ได้ในทันทีทันใด"

ท้ายสุดของปาฐกถาธรรมเช้าวันนั้น พระอาจารย์ติช นัท ฮันห์ ได้มอบลายเส้นพู่กันที่มีความหมายไปในทางสรรค์สร้างให้เกิดความปรองดอง สมานฉันท์ให้กับผู้นำทางการเมืองและสังคม เป็นการให้กำลังใจในการทำงานร่วมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์และความสุขสงบของ ประชาชนทุกคนอย่างแท้จริง

ล้อมกรอบ

ขอเชิญชมนิทรรศการ 'ภาวนากับลายพู่กัน :ศิลปะแห่งสติ' โดยพระอาจารย์ติช นัท ฮันห์ ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ปทุมวัน กรุงเทพฯ สอบถามรายละเอียดได้ที่ ๐๘-๓๕๕๗-๙๙๒๐

ขอบคุณ http://www.komchadluek.net/detail/20130410/155860/เข้าใจอีกฝ่ายสันติภาพก็เป็นไปได้ติชนัทฮันห์.html#.UWUGLTeja8o (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: www.komchadluek.net
วันที่โพสต์: 22/04/2556 เวลา 02:58:09

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

'ถ้าเข้าใจความทุกข์ของเราและของอีกฝ่ายความกรุณาจะเกิดขึ้น สันติภาพก็เป็นไปได้'ติช นัท ฮันห์:วิปัสสนาบนหน้าข่าว โดยมนสิกุล โอวาทเภสัชช์ เรื่อง อนันต์ จันทรสูตภาพ "สมาชิกรัฐสภาของสหรัฐอเมริกาหลายท่านที่ข้าพเจ้ารู้จักเคยกล่าวว่า พวกเขาจะผ่านพ้นความยุ่งเหยิงในชีวิตนักการเมืองไม่ได้เลย หากไม่ได้ฝึกสติ เมื่อพวกเขาเดินจากสำนักงานไปยังสถานที่ลงคะแนนตัดสิน พวกเขาเดินอย่างมีสติ และหายใจอย่างมีสติ ตลอดเวลาที่กำลังเดินอยู่นั้น พวกเขาหยุดความคิดทั้งหมด และนำความสนใจไปไว้ที่ก้าวย่างแต่ละก้าว พวกเขานำสันติภาพคืนมาสู่ตนเองและสู่สภาด้วย การเดินในวิถีแห่งสติ เราสามารถทำให้คุณภาพของปัญญาการทำงานและจิตวิญญาณของเราดีขึ้นได้ ด้วยการฝึกเจริญสติ" พระอาจารย์ติช นัท ฮันห์ พระมหาเถระแห่งพุทธศาสนามหายาน นิกายเซน ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักสันติภาพแห่งโลก กล่าวตอนหนึ่งในการปาฐกถาธรรม เรื่อง 'เส้นทางผู้นำกับการสรรค์สร้างความกรุณาและกล้าหาญ' เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2556 ณ หอประชุมภูมิพลสังคีต วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จ.นครปฐม การฝึกเจริญสตินั้นท่านแนะว่า สามารถกระทำได้ทุกอย่างในชีวิตประจำวันของเรา ไม่ว่า เดิน ยืน นั่ง นอน หรือแม้แต่การสวดมนต์ก็เป็นการเจริญสติอย่างหนึ่ง หากเราอยู่กับบทสวดมนต์ร้อยเปอร์เซ็นต์ ท่านกล่าวว่า พระอวโลกิเตศวร ในพุทธศาสนามหายานเป็นพระโพธิสัตว์ที่เต็มไปด้วยการรับฟังอย่างลึกซึ้งด้วย ความเมตตา กรุณา ในขณะที่คณะนักบวชสวดเอ่นพระนามพระอวโลกิเตศวร ขอให้ทุกท่านพยายามสัมผัสกับความทุกข์ที่อยู่ในตัวของเราเอง "ในการปฏิบัติทางพุทธศาสนา ถ้าเราเข้าใจความทุกข์ของเราเอง และถ้าเราเข้าใจความทุกข์ของอีกฝ่ายหนึ่ง หรือของคนอีกกลุ่มหนึ่ง ความกรุณานั้นจะเกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ พลังแห่งความกรุณานั้นมีความสามารถ มีอำนาจที่จะช่วยเยียวยาให้เราสมานไมตรีกันใหม่ เพราะฉะนั้นการสัมผัสกับความทุกข์เป็นสิ่งที่สำคัญ เรามีความทุกข์ที่อยู่ในตัวเราเอง และความทุกข์ที่อยู่ในตัวเราเองนั้นติดมาจากความทุกข์ของคุณพ่อคุณแม่ คุณปู่คุณย่า ตาทวด จากสังคม จากประเทศชาติของเรา ถ้าเรารู้จักกลับบ้านที่แท้จริงของเรา กลับไปสัมผัสความทุกข์ เราจะมีโอกาสได้รับความเข้าใจถึงรากเหง้าและธรรมชาติของความทุกข์นั้น" แต่ในสังคมของเรา เรามักจะไม่ฝึกปฏิบัติเช่นนั้น เพราะอะไร พระอาจารย์ติช นัท ฮันห์ ในวัย ๘๖ ปี พรรษาที่ ๗๐ กล่าวต่อมาว่า เพราะเรากลัวที่จะกลับบ้าน บ้านที่เราจะต้องกลับมาสัมผัสความทุกข์ในตัวเราเอง และจริงๆ แล้วเราพยายามวิ่งหนีจากความทุกข์เหล่านั้นโดยวิธีการบริโภค เพื่อที่จะลืมความทุกข์ที่อยู่ภายในตัวเราเอง นี่ก็คือเหตุผลที่เราไม่สามารถเข้าใจความทุกข์ของเราเองได้ เมื่อเราไม่เข้าใจความทุกข์ของเรา เราก็ไม่สามารถเข้าใจความทุกข์ของคนอื่นได้ แล้วเราจะมองหาสันติสุขได้จากที่ไหนกัน "พระพุทธเจ้าได้ทรงแนะนำให้เรากลับไปสู่บ้านที่แท้จริง สัมผัสกับความทุกข์ที่อยู่ในตัวเราเอง ความทุกข์นั้นคืออริยสัจข้อที่หนึ่ง และถ้าเรารู้จักที่จะกลับมาตามลมหายใจเข้า ออกอย่างมีสติ เราจะสามารถสร้างพลังแห่งสติซึ่งจะช่วยให้เราไม่หวาดกลัวอีกต่อไปกับความ ทุกข์ที่อยู่ในตัวเราเอง ความทุกข์เป็นพลังงานอย่างหนึ่ง สติก็เป็นพลังอีกอย่างหนึ่ง เมื่อเราฝึกตามลมหายใจอย่างมีสติ เราจะช่วยก่อสร้างพลังแห่งสติ เราจะตระหนักรู้ถึงความทุกข์และโอบรับความทุกข์ของเราอย่างอ่อนโยน ถ้าเราสามารถที่จะทำเช่นนั้นได้ประมาณ ๕ นาที ๑๐ นาที ก็จะมีโอกาสให้พลังแห่งสตินั้นจะแผ่ลงไปในพลังความทุกข์ แล้วขบวนการแปรเปลี่ยนและเยียวยาก็จะเกิดขึ้น และเราไม่จำเป็นต้องกลัวความทุกข์ของตัวเราเองอีกต่อไป นี่คือเหตุผลที่พระอาจารย์ติช นัท ฮันห์ อธิบายถึงการสวดมนต์ว่าเราไม่ได้สวดเพื่อการอ้อนวอนร้องขอ แต่เราสวดเพื่อทำจิตให้เป็นหนึ่งแล้วกลับมาฟังเสียงความทุกข์ภายในตัวเรา เอง "เมื่อเราสวดมนต์เอ่ยพระนามพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรครั้งที่สอง ก็คือการกลับมาสัมผัสกับความทุกข์ในโลกนี้ ให้รู้ว่าความทุกข์ไม่ได้อยู่ในตัวเอง แต่อยู่ในคนอื่นด้วย การตระหนักรู้เหล่านี้จะช่วยสร้างพลังแห่งความเมตตากรุณา เธอจะสามารถลดความโกรธของเธอที่มีต่อคนคนนั้นได้ ในชั่วขณะนั้น แล้วเธอก็สามารถที่จะมองหน้าคนเหล่านั้น มองหน้าคนอีกกลุ่มหนึ่งด้วยความเมตตากรุณา และเธอก็จะไม่เป็นทุกข์อีกต่อไป อีกฝ่ายหนึ่งเมื่อเห็นสายตาเช่นนี้จากเธอ เขาก็จะรู้สึกดีขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นความเข้าใจต่อความทุกข์ในตัวเองจะนำมาซึ่งความเมตตากรุณาและการ เยียวยาอยู่เสมอ" สำหรับการฝึกปฏิบัติก็เรียบง่ายมาก ท่านอธิบายว่า ขอให้เรากลับมาอยู่กับลมหายใจเข้าและออกอยู่ ณ ที่นี่และขณะนี้อย่างเต็มเปี่ยมเท่านั้นเอง "ถ้าเธอมีก้อนแห่งความทุกข์ ความโกรธ ความกลัว ความเศร้าอยู่ในหัวใจของเธอ นี่คือโอกาสที่จะเปิดหัวใจของเธอ แล้วปล่อยให้พลังสะสมแห่งสติร่วมกันแบบนี้แผ่ซ่านเข้าไปในตัวเธอ แล้วโอบกอด ความทุกข์ ความเศร้า ความสิ้นหวังในตัวเธอ และแน่นอน เธอจะรู้สึกดีอย่างยิ่ง ในช่วงเวลาแค่สองสามนาทีเท่านั้น และถ้าเธอมีใครที่อยู่ใกล้ชิดกับเธอ เป็นคนที่เธอรัก แล้วมีความทุกข์มาก ไม่สามารถที่จะมาร่วมงานนี้กับเธอในเช้านี้ได้ เธอสามารถที่จะส่งพลังแห่งสติที่สะสมร่วมกันเช่นนี้ให้กับบุคคลนั้น โดยระลึกถึงคนๆ นั้นอยู่ในใจ คนคนนั้นก็จะมีความสุขและปลดปล่อยความทุกข์ได้ในทันทีทันใด" ท้ายสุดของปาฐกถาธรรมเช้าวันนั้น พระอาจารย์ติช นัท ฮันห์ ได้มอบลายเส้นพู่กันที่มีความหมายไปในทางสรรค์สร้างให้เกิดความปรองดอง สมานฉันท์ให้กับผู้นำทางการเมืองและสังคม เป็นการให้กำลังใจในการทำงานร่วมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์และความสุขสงบของ ประชาชนทุกคนอย่างแท้จริง ล้อมกรอบ ขอเชิญชมนิทรรศการ 'ภาวนากับลายพู่กัน :ศิลปะแห่งสติ' โดยพระอาจารย์ติช นัท ฮันห์ ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ปทุมวัน กรุงเทพฯ สอบถามรายละเอียดได้ที่ ๐๘-๓๕๕๗-๙๙๒๐ ขอบคุณ http://www.komchadluek.net/detail/20130410/155860/เข้าใจอีกฝ่ายสันติภาพก็เป็นไปได้ติชนัทฮันห์.html#.UWUGLTeja8o

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...