ต้นทุนแต่ละคนมีไม่เท่ากัน

แสดงความคิดเห็น

ต้นทุนแต่ละคนมีไม่เท่ากัน

พอดีได้ไปเจอบทความดีๆ ที่น่าอ่าน ให้ข้อคิด ให้กำลังใจชีวิตให้ก้าวเดินต่อไป เป็นเรื่องเกี่ยวกับ ต้นทุนของชีวิต ความต่างระหว่างเศรษฐีกับคนจน เพราะว่าคนเรานั้นเลือกที่จะเกิดไม่ได้ แต่สามารถเลือกที่จะเป็นได้ แต่เมื่อเลือกแล้วจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จนั้นก็ขึ้นอยู่ที่ความพยายามของแต่ละคน ดังบทความที่นำมาฝากนี้

ผมได้อ่านหนังสือเล่มเล็ก ๆ เล่มหนึ่งเขียนโดย Keith Cameron Smith เรื่องความแตกต่างที่โดดเด่น 10 ข้อ ระหว่างคนรวยกับคนชั้นกลาง และเห็นว่ามันมีความเป็นจริงอยู่พอสมควรจากการสังเกตของผม ดังนั้น จึงขอนำมาเผยแพร่เพื่อที่ว่าเราจะได้รู้ว่าเราอยู่ในด้านไหนของสังคมและจะต้องทำอย่างไรเพื่อที่ว่าเราจะได้ย้ายจากการมีแนวโน้มที่จะเป็นคนชั้นกลางสู่การเป็นคนรวย

ความแตกต่างข้อแรกก็คือ เศรษฐีนั้นคิดยาวแต่คนชั้นกลางคิดสั้น ว่าที่จริงคนที่คิดสั้นที่สุดก็คือคนจน พวกเขามักจะคิดอะไรแบบวันต่อวันทำนองหาเช้ากินค่ำ คนชั้นกลางนั้นมักจะคิดเป็นเดือนต่อเดือน นั่นคือคิดถึงวันเงินเดือนออก แต่คนรวยจะต้องคิดยาวเป็นปีๆ หรือเป็นสิบๆ ปี ในใจของคนจนนั้น เขามักคิดแต่เฉพาะเรื่องของความอยู่รอดเป็นหลัก ในขณะที่คนชั้นกลางคิดถึงเรื่องความสุขสบายจากการจับจ่ายใช้สอยสินค้า ส่วนคนรวยนั้น เป้าหมายของพวกเขาชัดเจน เขาต้องการความเป็นอิสระทางการเงิน การคิดยาวนั้นมีพลังมหาศาล เพราะมันจะทำให้เขาอดออมและลงทุนระยะยาวซึ่งจะทำให้เงินงอกเงยแบบทบต้นเป็นเวลานาน และนี่คือสูตรสำคัญที่สุดในการที่จะทำให้คนมั่งคั่ง

ข้อสอง – คนรวยพูดเกี่ยวกับเรื่องไอเดีย คนชั้นกลางพูดเกี่ยวกับสิ่งของ และคนจนพูดถึงเรื่องของคนอื่น นี่คงไม่ได้หมายถึงว่าคนรวยไม่พูดเกี่ยวกับเรื่องของสิ่งของหรือคนอื่น แต่หมายถึงว่าคนรวยจะพูดถึงเรื่องของคนอื่นน้อยกว่าคนจนและมักจะเป็นคนที่มีแนวความคิดดีๆ หรือมีมุมมองต่างๆ มากกว่าคนชั้นกลางและคนจน เบื้องหลังของนิสัยในเรื่องนี้คงอยู่ที่ว่า คนรวยนั้นมักจะมีความคิดสร้างสรรค์มากกว่าคนจนซึ่งมักจะชอบ “ซุบซิบนินทา” เป็นนิจสิน ในขณะที่คนชั้นกลางอาจจะเน้นการทำงานประจำ ชอบพูดถึงเรื่องรถยนต์ ดนตรี การพักผ่อนหย่อนใจ เป็นต้น

ข้อสาม – คนรวยยอมรับการเปลี่ยนแปลง คนชั้นกลางต่อต้านการเปลี่ยนแปลง คนชั้นกลางรู้สึกว่าการเปลี่ยนแปลงจะคุกคามชีวิตความเป็นอยู่ที่ตนเองเคยชิน ในขณะที่คนรวยนั้นคิดว่าการเปลี่ยนแปลงอาจนำมาซึ่งชีวิตที่ดีกว่า เขาคิดว่าในการเปลี่ยนแปลงนั้นมักมีโอกาสที่เขาอาจจะฉกฉวยได้ เบื้องหลังนิสัยนี้อาจจะมาจากการที่คนรวยมีความมั่นใจสูงกว่าคนชั้นกลางที่มักจะกลัวว่าตนเองจะไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งใหม่ๆได้

ข้อสี่ – คนรวยกล้ารับความเสี่ยงที่ได้มีการพิจารณาและไตร่ตรองดีแล้ว คนชั้นกลางกลัวที่จะรับความเสี่ยง นี่เป็นนิสัยที่เป็นจุดอ่อนมากที่สุดของคนชั้นกลางในความเห็นของผม คนที่ไม่ยอมรับความเสี่ยงเลยนั้นจะพลาดที่จะได้ผลตอบแทนที่ดีโดยสิ้นเชิง ในขณะที่คนที่กล้ารับความเสี่ยงอย่างที่ได้มีการศึกษามาเป็นอย่างดีจะสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้โดยที่ความเสี่ยงจริงๆ นั้นจะมีน้อยมาก ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนที่สุด ก็คือ คนชั้นกลางส่วนใหญ่นั้นมักจะกลัวการลงทุนในหุ้นหรือตราสารการเงินที่มีความผันผวนของราคาโดยที่เขาไม่พยายามศึกษาว่าในระยะยาวแล้วมันอาจจะมีความคุ้มค่ากว่าการฝากเงินในธนาคารมาก ในอีกมุมหนึ่ง คนที่กล้ารับความเสี่ยงอย่าง “บ้าบิ่น” เช่นคนที่เล่นหุ้นวันต่อวันเองก็ไม่ใช่นิสัยของคนรวย คนรวยนั้นจะต้องรับความเสี่ยงเฉพาะที่มีการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว

ข้อห้า – คนรวยเรียนรู้และเติบโตตลอดชีวิต คนชั้นกลางคิดว่าการเรียนรู้จบที่โรงเรียน นิสัยการเรียนรู้ไปเรื่อยๆ นี้ ผมคิดว่าเป็นหัวใจเศรษฐีจริงๆ เพราะในความรู้สึกของผมเอง การเรียนรู้จากโรงเรียนเป็นเพียงพื้นฐานที่เรานำมาศึกษาต่อด้วยตนเองได้ และเวลาหลังจากการเรียนในโรงเรียนนั้นยาวมากเป็นหลายสิบปี ดังนั้น ความรู้ส่วนใหญ่จึงควรที่จะเกิดขึ้นหลังจากที่เราเรียนจบจากโรงเรียน

โดยนัยของข้อนี้ คนรวยจึงน่าจะมีนิสัยรักการอ่านหรือการหาความรู้ต่อไปเรื่อยๆ ในขณะที่คนชั้นกลางนั้น พอเรียนจบก็มักจะไม่สนใจอ่านหนังสือหรือหาความรู้ใหม่ๆ และความรู้ที่ผมคิดว่าคนชั้นกลางพลาดไปเพราะไม่มีการสอนในโรงเรียนก็คือ ความรู้ทางด้านการเงินที่คนรวยมักจะศึกษาต่อเพราะเห็นถึงความสำคัญและอาจนำไปสู่ความร่ำรวยได้

ข้อหก – คนรวยทำงานเพื่อหากำไร คนชั้นกลางทำงานเพื่อจะได้ค่าจ้าง คนรวยมองว่านี่คือหนทางที่จะทำให้รวยได้มากกว่าแม้ว่าจะมีความเสี่ยง ในขณะที่คนชั้นกลางนั้นมักจะไม่กล้าเสี่ยงและอาจจะมีความคิดสร้างสรรค์น้อยกว่า จึงมุ่งไปที่การหางานที่จะมีรายได้แน่นอน แต่รายได้จากการใช้แรงงานของตนเองนั้น มีน้อยคนที่จะทำให้ตนเองรวยได้

ข้อเจ็ด – คนรวยเชื่อว่าพวกเขาจะต้องใจบุญสุนทาน คนชั้นกลางคิดว่าพวกเขาไม่มีปัญญาที่จะทำบุญ ข้อนี้ผมเองคงไม่มีคอมเม้นท์อะไร ส่วนหนึ่งผมเองก็ไม่แน่ใจเนื่องจากเรื่องนี้เป็นเรื่องของแต่ละคนที่ไม่ค่อยบอกหรือรู้กันยกเว้นกรณีที่เป็นการบริจาคใหญ่ๆ อย่างกรณีของบัฟเฟตต์หรือบิลเกต

ข้อแปด – คนรวยมีแหล่งรายได้หลากหลาย คนชั้นกลางมีเพียงหนึ่งหรือสองแหล่ง ข้อนี้ก็เช่นกัน ผมเองไม่แน่ใจว่าคนรวยมีรายได้จากหลายแหล่งเพราะรวยแล้วจึงไปลงทุนในทรัพย์สินหลายๆอย่าง หรือมีทรัพย์สินหลายอย่างจึงทำให้รวย แต่ที่ผมเห็นชัดเจนก็คือ คนชั้นกลางนั้น มักไม่ลงทุนในทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงทำให้รายได้มักจะมาจากเงินเดือนเป็นหลัก

ข้อเก้า – คนรวยเน้นการเพิ่มขึ้นของความมั่งคั่งของตนเอง คนชั้นกลางเน้นการเพิ่มของเงินเดือน เป้าหมายของคนรวยนั้นอยู่ที่ว่าตนเองมีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นมากน้อยแค่ไหนโดยมองที่ภาพรวม ดังนั้น ถ้าเขามีหุ้นอยู่ การที่หุ้นมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเขาก็มีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นโดยที่เขาไม่ต้องเสียภาษี แต่คนชั้นกลางพยายามทำงานเพื่อให้มีเงินเดือนสูงขึ้นแต่เขาอาจจะลืมไปว่าเขาจะต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นด้วย สรุปก็คือ คนรวยเน้นการลงทุนใช้เงินทำงานแทนตนเอง คนชั้นกลางเน้นการใช้แรงงานของตนเอง

สุดท้าย ข้อสิบ – คนรวยชอบตั้งคำถามที่เป็นบวกและสร้างกำลังใจ เช่น ฉันจะสร้างรายได้เป็นเท่าตัวในปีนี้ได้อย่างไร? ในขณะที่คนชั้นกลางชอบตั้งคำถามที่เป็นลบและเสียกำลังใจ เช่น จะหาเงินมาจ่ายหนี้ค่าบัตรเครดิตเดือนนี้ได้อย่างไร?

และนั่นก็คือ ความแตกต่าง 10 ข้อระหว่างคนรวยกับคนชั้นกลางที่มีคนตั้งข้อสังเกตไว้ ซึ่งผมเชื่อว่าส่วนใหญ่น่าจะเป็นจริง แน่นอน คนรวยบางคนก็มีคุณสมบัติที่เป็นแบบคนชั้นกลางและคนชั้นกลางจำนวนมากก็มีนิสัยแบบคนรวย แต่ถ้าเราอยากรวย ผมคิดว่า การยึดนิสัยแบบคนรวยน่าจะทำให้เรามีโอกาสมากกว่า

บทความโดย : ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวราการ

ที่มา : Forward Mail

ขอบคุณ... http://zazana.com/259 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: http://zazana.com/259 (ขนาดไฟล์: 167)
วันที่โพสต์: 14/06/2560 เวลา 13:41:00 ดูภาพสไลด์โชว์ ต้นทุนแต่ละคนมีไม่เท่ากัน

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ต้นทุนแต่ละคนมีไม่เท่ากัน พอดีได้ไปเจอบทความดีๆ ที่น่าอ่าน ให้ข้อคิด ให้กำลังใจชีวิตให้ก้าวเดินต่อไป เป็นเรื่องเกี่ยวกับ ต้นทุนของชีวิต ความต่างระหว่างเศรษฐีกับคนจน เพราะว่าคนเรานั้นเลือกที่จะเกิดไม่ได้ แต่สามารถเลือกที่จะเป็นได้ แต่เมื่อเลือกแล้วจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จนั้นก็ขึ้นอยู่ที่ความพยายามของแต่ละคน ดังบทความที่นำมาฝากนี้ ผมได้อ่านหนังสือเล่มเล็ก ๆ เล่มหนึ่งเขียนโดย Keith Cameron Smith เรื่องความแตกต่างที่โดดเด่น 10 ข้อ ระหว่างคนรวยกับคนชั้นกลาง และเห็นว่ามันมีความเป็นจริงอยู่พอสมควรจากการสังเกตของผม ดังนั้น จึงขอนำมาเผยแพร่เพื่อที่ว่าเราจะได้รู้ว่าเราอยู่ในด้านไหนของสังคมและจะต้องทำอย่างไรเพื่อที่ว่าเราจะได้ย้ายจากการมีแนวโน้มที่จะเป็นคนชั้นกลางสู่การเป็นคนรวย ความแตกต่างข้อแรกก็คือ เศรษฐีนั้นคิดยาวแต่คนชั้นกลางคิดสั้น ว่าที่จริงคนที่คิดสั้นที่สุดก็คือคนจน พวกเขามักจะคิดอะไรแบบวันต่อวันทำนองหาเช้ากินค่ำ คนชั้นกลางนั้นมักจะคิดเป็นเดือนต่อเดือน นั่นคือคิดถึงวันเงินเดือนออก แต่คนรวยจะต้องคิดยาวเป็นปีๆ หรือเป็นสิบๆ ปี ในใจของคนจนนั้น เขามักคิดแต่เฉพาะเรื่องของความอยู่รอดเป็นหลัก ในขณะที่คนชั้นกลางคิดถึงเรื่องความสุขสบายจากการจับจ่ายใช้สอยสินค้า ส่วนคนรวยนั้น เป้าหมายของพวกเขาชัดเจน เขาต้องการความเป็นอิสระทางการเงิน การคิดยาวนั้นมีพลังมหาศาล เพราะมันจะทำให้เขาอดออมและลงทุนระยะยาวซึ่งจะทำให้เงินงอกเงยแบบทบต้นเป็นเวลานาน และนี่คือสูตรสำคัญที่สุดในการที่จะทำให้คนมั่งคั่ง ข้อสอง – คนรวยพูดเกี่ยวกับเรื่องไอเดีย คนชั้นกลางพูดเกี่ยวกับสิ่งของ และคนจนพูดถึงเรื่องของคนอื่น นี่คงไม่ได้หมายถึงว่าคนรวยไม่พูดเกี่ยวกับเรื่องของสิ่งของหรือคนอื่น แต่หมายถึงว่าคนรวยจะพูดถึงเรื่องของคนอื่นน้อยกว่าคนจนและมักจะเป็นคนที่มีแนวความคิดดีๆ หรือมีมุมมองต่างๆ มากกว่าคนชั้นกลางและคนจน เบื้องหลังของนิสัยในเรื่องนี้คงอยู่ที่ว่า คนรวยนั้นมักจะมีความคิดสร้างสรรค์มากกว่าคนจนซึ่งมักจะชอบ “ซุบซิบนินทา” เป็นนิจสิน ในขณะที่คนชั้นกลางอาจจะเน้นการทำงานประจำ ชอบพูดถึงเรื่องรถยนต์ ดนตรี การพักผ่อนหย่อนใจ เป็นต้น ข้อสาม – คนรวยยอมรับการเปลี่ยนแปลง คนชั้นกลางต่อต้านการเปลี่ยนแปลง คนชั้นกลางรู้สึกว่าการเปลี่ยนแปลงจะคุกคามชีวิตความเป็นอยู่ที่ตนเองเคยชิน ในขณะที่คนรวยนั้นคิดว่าการเปลี่ยนแปลงอาจนำมาซึ่งชีวิตที่ดีกว่า เขาคิดว่าในการเปลี่ยนแปลงนั้นมักมีโอกาสที่เขาอาจจะฉกฉวยได้ เบื้องหลังนิสัยนี้อาจจะมาจากการที่คนรวยมีความมั่นใจสูงกว่าคนชั้นกลางที่มักจะกลัวว่าตนเองจะไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งใหม่ๆได้ ข้อสี่ – คนรวยกล้ารับความเสี่ยงที่ได้มีการพิจารณาและไตร่ตรองดีแล้ว คนชั้นกลางกลัวที่จะรับความเสี่ยง นี่เป็นนิสัยที่เป็นจุดอ่อนมากที่สุดของคนชั้นกลางในความเห็นของผม คนที่ไม่ยอมรับความเสี่ยงเลยนั้นจะพลาดที่จะได้ผลตอบแทนที่ดีโดยสิ้นเชิง ในขณะที่คนที่กล้ารับความเสี่ยงอย่างที่ได้มีการศึกษามาเป็นอย่างดีจะสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้โดยที่ความเสี่ยงจริงๆ นั้นจะมีน้อยมาก ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนที่สุด ก็คือ คนชั้นกลางส่วนใหญ่นั้นมักจะกลัวการลงทุนในหุ้นหรือตราสารการเงินที่มีความผันผวนของราคาโดยที่เขาไม่พยายามศึกษาว่าในระยะยาวแล้วมันอาจจะมีความคุ้มค่ากว่าการฝากเงินในธนาคารมาก ในอีกมุมหนึ่ง คนที่กล้ารับความเสี่ยงอย่าง “บ้าบิ่น” เช่นคนที่เล่นหุ้นวันต่อวันเองก็ไม่ใช่นิสัยของคนรวย คนรวยนั้นจะต้องรับความเสี่ยงเฉพาะที่มีการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว ข้อห้า – คนรวยเรียนรู้และเติบโตตลอดชีวิต คนชั้นกลางคิดว่าการเรียนรู้จบที่โรงเรียน นิสัยการเรียนรู้ไปเรื่อยๆ นี้ ผมคิดว่าเป็นหัวใจเศรษฐีจริงๆ เพราะในความรู้สึกของผมเอง การเรียนรู้จากโรงเรียนเป็นเพียงพื้นฐานที่เรานำมาศึกษาต่อด้วยตนเองได้ และเวลาหลังจากการเรียนในโรงเรียนนั้นยาวมากเป็นหลายสิบปี ดังนั้น ความรู้ส่วนใหญ่จึงควรที่จะเกิดขึ้นหลังจากที่เราเรียนจบจากโรงเรียน โดยนัยของข้อนี้ คนรวยจึงน่าจะมีนิสัยรักการอ่านหรือการหาความรู้ต่อไปเรื่อยๆ ในขณะที่คนชั้นกลางนั้น พอเรียนจบก็มักจะไม่สนใจอ่านหนังสือหรือหาความรู้ใหม่ๆ และความรู้ที่ผมคิดว่าคนชั้นกลางพลาดไปเพราะไม่มีการสอนในโรงเรียนก็คือ ความรู้ทางด้านการเงินที่คนรวยมักจะศึกษาต่อเพราะเห็นถึงความสำคัญและอาจนำไปสู่ความร่ำรวยได้ ข้อหก – คนรวยทำงานเพื่อหากำไร คนชั้นกลางทำงานเพื่อจะได้ค่าจ้าง คนรวยมองว่านี่คือหนทางที่จะทำให้รวยได้มากกว่าแม้ว่าจะมีความเสี่ยง ในขณะที่คนชั้นกลางนั้นมักจะไม่กล้าเสี่ยงและอาจจะมีความคิดสร้างสรรค์น้อยกว่า จึงมุ่งไปที่การหางานที่จะมีรายได้แน่นอน แต่รายได้จากการใช้แรงงานของตนเองนั้น มีน้อยคนที่จะทำให้ตนเองรวยได้ ข้อเจ็ด – คนรวยเชื่อว่าพวกเขาจะต้องใจบุญสุนทาน คนชั้นกลางคิดว่าพวกเขาไม่มีปัญญาที่จะทำบุญ ข้อนี้ผมเองคงไม่มีคอมเม้นท์อะไร ส่วนหนึ่งผมเองก็ไม่แน่ใจเนื่องจากเรื่องนี้เป็นเรื่องของแต่ละคนที่ไม่ค่อยบอกหรือรู้กันยกเว้นกรณีที่เป็นการบริจาคใหญ่ๆ อย่างกรณีของบัฟเฟตต์หรือบิลเกต ข้อแปด – คนรวยมีแหล่งรายได้หลากหลาย คนชั้นกลางมีเพียงหนึ่งหรือสองแหล่ง ข้อนี้ก็เช่นกัน ผมเองไม่แน่ใจว่าคนรวยมีรายได้จากหลายแหล่งเพราะรวยแล้วจึงไปลงทุนในทรัพย์สินหลายๆอย่าง หรือมีทรัพย์สินหลายอย่างจึงทำให้รวย แต่ที่ผมเห็นชัดเจนก็คือ คนชั้นกลางนั้น มักไม่ลงทุนในทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงทำให้รายได้มักจะมาจากเงินเดือนเป็นหลัก ข้อเก้า – คนรวยเน้นการเพิ่มขึ้นของความมั่งคั่งของตนเอง คนชั้นกลางเน้นการเพิ่มของเงินเดือน เป้าหมายของคนรวยนั้นอยู่ที่ว่าตนเองมีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นมากน้อยแค่ไหนโดยมองที่ภาพรวม ดังนั้น ถ้าเขามีหุ้นอยู่ การที่หุ้นมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเขาก็มีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นโดยที่เขาไม่ต้องเสียภาษี แต่คนชั้นกลางพยายามทำงานเพื่อให้มีเงินเดือนสูงขึ้นแต่เขาอาจจะลืมไปว่าเขาจะต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นด้วย สรุปก็คือ คนรวยเน้นการลงทุนใช้เงินทำงานแทนตนเอง คนชั้นกลางเน้นการใช้แรงงานของตนเอง สุดท้าย ข้อสิบ – คนรวยชอบตั้งคำถามที่เป็นบวกและสร้างกำลังใจ เช่น ฉันจะสร้างรายได้เป็นเท่าตัวในปีนี้ได้อย่างไร? ในขณะที่คนชั้นกลางชอบตั้งคำถามที่เป็นลบและเสียกำลังใจ เช่น จะหาเงินมาจ่ายหนี้ค่าบัตรเครดิตเดือนนี้ได้อย่างไร? และนั่นก็คือ ความแตกต่าง 10 ข้อระหว่างคนรวยกับคนชั้นกลางที่มีคนตั้งข้อสังเกตไว้ ซึ่งผมเชื่อว่าส่วนใหญ่น่าจะเป็นจริง แน่นอน คนรวยบางคนก็มีคุณสมบัติที่เป็นแบบคนชั้นกลางและคนชั้นกลางจำนวนมากก็มีนิสัยแบบคนรวย แต่ถ้าเราอยากรวย ผมคิดว่า การยึดนิสัยแบบคนรวยน่าจะทำให้เรามีโอกาสมากกว่า บทความโดย : ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวราการ ที่มา : Forward Mail ขอบคุณ... http://zazana.com/259

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...