วินัย มี 2 ประเภท คือ วินัยทางโลกและวินัยทางธรรม

แสดงความคิดเห็น

ดอกบัวสีขาว

วินัยทางโลก ได้แก่ ระเบียบแบบแผนสำหรับควบคุมคนในสังคม เป็นคำสั่งของสังคม เพื่อให้คนในสังคมนั้นทำ หรือไม่ทำในบางสิ่งบางประการ เช่น รัฐธรรมนูญ พระราชกำหนด กฎหมาย กฎกติกา ระเบียบแบบแผน ขนบธรรมเนียม จารีต ประเพณี วัฒนธรรม

การที่เป็นเช่นนี้ เพราะเหตุที่คนผู้เป็นบัณฑิต ฉลาดรอบรู้ มีวิสัยทัศน์ ผู้เป็นประมุขเป็นประธาน ผู้เป็นนักบริหารจัดการ ทั้งหมดล้วนมีความเห็นเป็นหนึ่งเดียวว่า คนที่เกิดมาจำต้องมีวินัยคอยควบคุม เพื่อให้อยู่ร่วมกันด้วยความผาสุกสงบร่มเย็น

จึงได้บัญญัติวินัย ตรากฎหมายไว้ในทุกๆ ทาง ทั้งทางการค้าขาย การแต่งงาน การหย่าร้าง การเดินรถ การเดินเรือ การท่าอากาศยาน การเลือกผู้แทน เป็นต้น ตลอดจนเกมส์กีฬา การจะชกจะต่อยกันก็มีกติกา วินัยทางโลกมีความจำเป็นอย่างนี้

วินัยทางธรรม คือ ในทางศาสนา ได้แก่ ข้อบัญญัติสำหรับศาสนิกชน ในทางพระพุทธศาสนา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติวินัยไว้อย่างครบถ้วนบริบูรณ์ คือ

1.วินัยของชาวบ้านผู้ครองเรือน ได้แก่ ศีล 5 หรือศีล 8

บรรดาศีล 2 ประเภทนี้ ศีล 5 เป็นวินัยที่จะต้องรักษาเป็นประจำ เพราะเป็นพื้นฐานของวินัยทุกประเภท ถ้าไม่สามารถรักษาวินัย 5 ประการนี้ได้ ย่อมไม่สามารถที่จะรักษาวินัยที่สูงขึ้นไปกว่านี้ได้

วินัย 5 ข้อนี้ บัณฑิตบัญญัติว่า เป็นมนุษยธรรม หรืออารยธรรม คือระเบียบแบบแผน อำนวยความสุข ความเจริญและความสงบร่มเย็นแก่สังคม

นอกจากนี้ ยังมีข้อห้ามต่างๆ อันเกี่ยวกับความประพฤติของผู้ครองเรือน เช่น ห้ามการค้าขายอาวุธ การค้าขายมนุษย์ การค้าขายยาพิษ รวมถึงยาเสพติดให้โทษอื่นๆ เช่น ฝิ่น เฮโรอีน ผงขาว และยาบ้า เป็นต้น

2.วินัยนักบวช นักบวชคือ ผู้เว้นขาดจากกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต ออกบวชไม่มีเรือน ต้องเที่ยวภิกษาจาร อาศัยชาวบ้านเลี้ยงชีวิต ย่อมประพฤติวินัยให้เคร่งครัด ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักทางศาสนา ชาวบ้านจึงจะเกิดศรัทธาเลื่อมใส

วินัยนักบวชนั้นมีมากมายหลายเท่าของผู้ครองเรือน ผู้เป็นสามเณรจะต้องปฏิบัติตามหลักวินัย 10 ข้อ ผู้ที่เป็นพระภิกษุจะต้องปฏิบัติตามหลักวินัย 227 ข้อ

เมื่อประพฤติปฏิบัติตามหลักวินัย นอกจากจะทำตนเองให้ประพฤติดีมีศีลธรรมแล้ว ยังเอื้อให้สังคมส่วนรวมดีงามไปด้วย

กฎหมายนับว่ามีอำนาจสูงสุดในทุกๆ ประเทศ แต่ถึงอย่างนั้น ก็ยังไม่สามารถป้องกันให้สนิทได้เท่าศาสนา ศีลธรรมอันดีงาม หรือระเบียบวินัยที่พระพุทธองค์สั่งสอน ให้ละชั่ว ทำดี และชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ ที่คนในชาติถือเป็นประมวลจรรยาของชาติ จึงเป็นมิ่งขวัญและเป็นบ่อเกิดแห่งความเจริญ ความสงบสุขแห่งชาติ เป็นดุจประทีปส่องสว่างนำทางให้ชาติดำเนินไปตามวิถีทางที่ตรง ถูกต้อง และเหมาะสม

เป็นหลักแห่งความประพฤติของปวงชน

คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด

บทความโดย พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ. 9) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร

ขอบคุณ... http://goo.gl/z8Jpl7 (ขนาดไฟล์: 0 )

ที่มา: http://www.itti-patihan.com/
วันที่โพสต์: 17/05/2559 เวลา 13:13:04 ดูภาพสไลด์โชว์ วินัย มี 2 ประเภท คือ วินัยทางโลกและวินัยทางธรรม

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ดอกบัวสีขาว วินัยทางโลก ได้แก่ ระเบียบแบบแผนสำหรับควบคุมคนในสังคม เป็นคำสั่งของสังคม เพื่อให้คนในสังคมนั้นทำ หรือไม่ทำในบางสิ่งบางประการ เช่น รัฐธรรมนูญ พระราชกำหนด กฎหมาย กฎกติกา ระเบียบแบบแผน ขนบธรรมเนียม จารีต ประเพณี วัฒนธรรม การที่เป็นเช่นนี้ เพราะเหตุที่คนผู้เป็นบัณฑิต ฉลาดรอบรู้ มีวิสัยทัศน์ ผู้เป็นประมุขเป็นประธาน ผู้เป็นนักบริหารจัดการ ทั้งหมดล้วนมีความเห็นเป็นหนึ่งเดียวว่า คนที่เกิดมาจำต้องมีวินัยคอยควบคุม เพื่อให้อยู่ร่วมกันด้วยความผาสุกสงบร่มเย็น จึงได้บัญญัติวินัย ตรากฎหมายไว้ในทุกๆ ทาง ทั้งทางการค้าขาย การแต่งงาน การหย่าร้าง การเดินรถ การเดินเรือ การท่าอากาศยาน การเลือกผู้แทน เป็นต้น ตลอดจนเกมส์กีฬา การจะชกจะต่อยกันก็มีกติกา วินัยทางโลกมีความจำเป็นอย่างนี้ วินัยทางธรรม คือ ในทางศาสนา ได้แก่ ข้อบัญญัติสำหรับศาสนิกชน ในทางพระพุทธศาสนา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติวินัยไว้อย่างครบถ้วนบริบูรณ์ คือ 1.วินัยของชาวบ้านผู้ครองเรือน ได้แก่ ศีล 5 หรือศีล 8 บรรดาศีล 2 ประเภทนี้ ศีล 5 เป็นวินัยที่จะต้องรักษาเป็นประจำ เพราะเป็นพื้นฐานของวินัยทุกประเภท ถ้าไม่สามารถรักษาวินัย 5 ประการนี้ได้ ย่อมไม่สามารถที่จะรักษาวินัยที่สูงขึ้นไปกว่านี้ได้ วินัย 5 ข้อนี้ บัณฑิตบัญญัติว่า เป็นมนุษยธรรม หรืออารยธรรม คือระเบียบแบบแผน อำนวยความสุข ความเจริญและความสงบร่มเย็นแก่สังคม นอกจากนี้ ยังมีข้อห้ามต่างๆ อันเกี่ยวกับความประพฤติของผู้ครองเรือน เช่น ห้ามการค้าขายอาวุธ การค้าขายมนุษย์ การค้าขายยาพิษ รวมถึงยาเสพติดให้โทษอื่นๆ เช่น ฝิ่น เฮโรอีน ผงขาว และยาบ้า เป็นต้น 2.วินัยนักบวช นักบวชคือ ผู้เว้นขาดจากกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต ออกบวชไม่มีเรือน ต้องเที่ยวภิกษาจาร อาศัยชาวบ้านเลี้ยงชีวิต ย่อมประพฤติวินัยให้เคร่งครัด ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักทางศาสนา ชาวบ้านจึงจะเกิดศรัทธาเลื่อมใส วินัยนักบวชนั้นมีมากมายหลายเท่าของผู้ครองเรือน ผู้เป็นสามเณรจะต้องปฏิบัติตามหลักวินัย 10 ข้อ ผู้ที่เป็นพระภิกษุจะต้องปฏิบัติตามหลักวินัย 227 ข้อ เมื่อประพฤติปฏิบัติตามหลักวินัย นอกจากจะทำตนเองให้ประพฤติดีมีศีลธรรมแล้ว ยังเอื้อให้สังคมส่วนรวมดีงามไปด้วย กฎหมายนับว่ามีอำนาจสูงสุดในทุกๆ ประเทศ แต่ถึงอย่างนั้น ก็ยังไม่สามารถป้องกันให้สนิทได้เท่าศาสนา ศีลธรรมอันดีงาม หรือระเบียบวินัยที่พระพุทธองค์สั่งสอน ให้ละชั่ว ทำดี และชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ ที่คนในชาติถือเป็นประมวลจรรยาของชาติ จึงเป็นมิ่งขวัญและเป็นบ่อเกิดแห่งความเจริญ ความสงบสุขแห่งชาติ เป็นดุจประทีปส่องสว่างนำทางให้ชาติดำเนินไปตามวิถีทางที่ตรง ถูกต้อง และเหมาะสม เป็นหลักแห่งความประพฤติของปวงชน คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด บทความโดย พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ. 9) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร ขอบคุณ... http://goo.gl/z8Jpl7

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...