การทอดกฐิน-เป็นกาลทาน นับว่าเป็นมงคลสำหรับชีวิต

แสดงความคิดเห็น

การทอดกฐิน-เป็นกาลทาน นับว่าเป็นมงคลสำหรับชีวิต

กฐิน จัดเป็นกาลทาน เนื่องด้วยเวลาที่จะทอดกฐิน นั้นมีเวลาที่จำกัด ทรงอนุญาตไว้เพียง 1 เดือนเท่านั้น คือ ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12

ถ้าถวายก่อนหรือหลังเวลาจากนี้ไป แม้ผู้มีจิตศรัทธาตั้งใจถวายให้เป็นกฐิน ก็ไม่จัดว่าเป็นกฐิน ดังนั้น กฐินจึงจัดเป็นกาลทาน คือการให้ทานตามกาล ซึ่งเป็นหนึ่งในสัปปุริสทาน คือการให้ทานของผู้ฉลาด 5 ประการ คือ

1.ให้ด้วยศรัทธา ผู้ให้ด้วยความเชื่ออย่างมีเหตุผล ผลของการให้นี้คือเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และเป็นผู้มีรูปร่างสัณฐานงดงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยผิวพรรณงามยิ่งนัก

2.ให้ด้วยความเคารพ ผู้ให้ด้วยความเคารพ ผลของการให้นี้ คือเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีบุตร ภรรยา สามี ทาส คนใช้หรือบริวาร เป็นผู้เชื่อฟังคำสั่งสอน ว่านอนสอนง่าย ไม่ขัดใจในการงานที่ดีทุกอย่าง

3.ให้ทานตามกาล ผู้ให้ตามกาล ผลของการให้นี้ คือเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างล้นเหลือ ตามกาลหรือวัยของตน คือเจริญในปฐมวัย มัชฌิมวัย ปัจฉิมวัย

4.ให้ด้วยจิตอนุเคราะห์ ผู้ให้ด้วยจิตอนุเคราะห์อย่างแท้จริง ไม่ยึดติดหรือเสียดายหลังจากให้แล้ว ผลของการให้นี้ คือเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และเป็นผู้มีจิตน้อมไป เพื่อบริโภคกามคุณ ซึ่งเป็นสมบัติที่มีอยู่ของตนอย่างมีความสุข มิใช่เป็นเพียงผู้เฝ้าทรัพย์เท่านั้น

5.ให้ทานไม่กระทบตนและผู้อื่น ผู้ให้โดยไม่กระทบตนและผู้อื่น ผลของการให้นี้ คือเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และทรัพย์สมบัติที่มีอยู่ ไม่เสียหายวิบัติไปด้วยภัย คือ ไฟไหม้ น้ำท่วม โจรปล้น พระราชายึดเข้าพระคลัง หรือภัยจากญาติหรือคนที่เป็นศัตรูกัน

เมื่อพิจารณาแล้ว การทอดกฐินนี้ ผู้ที่เข้าใจจึงได้ปฏิบัติตามหลักสัปปุริสทาน ทั้ง 5 ประการ

นอกจากนี้ ผู้นำบุญคือผู้เป็นเจ้าภาพ จะบริบูรณ์ด้วยโภคสมบัติ และบริวารสมบัติ มีตัวอย่างในอรรถกถาธรรมบท ภาค 4 เรื่องบัณฑิตสามเณร พระพุทธองค์ตรัสอนุโมทนาว่า อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย บางคนในโลกนี้คิดว่า เราควรให้เฉพาะของตนเท่านั้น ไม่มีประโยชน์ด้วยการชักชวนผู้อื่น แล้วให้เฉพาะตนเท่านั้น ไม่ชักชวนผู้อื่น เขาเกิดมาย่อมได้โภคสมบัติ แต่ไม่ได้บริวารสมบัติ บางคนชักชวนผู้อื่น แต่ตนเองไม่ให้ เขาเกิดมา ย่อมได้บริวารสมบัติ แต่ไม่ได้โภคสมบัติ บางคนตนเองไม่ให้ ผู้อื่นก็ไม่ได้ชักชวน เขาเกิดมา ย่อมไม่ได้โภคสมบัติและไม่ได้บริวารสมบัติ บางคนตนเองให้ทานด้วย ชักชวนผู้อื่นด้วย เขาเกิดมา ย่อมได้ทั้งโภคสมบัติทั้งบริวารสมบัติ

ดังนั้น การทอดกฐิน จึงจัดว่าเป็นกาลทาน ถวายทานตามกาล นับว่าเป็นมงคลสำหรับชีวิต เพราะได้สั่งสมบุญบารมีที่บัณฑิตสรรเสริญ และเป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ให้มีความมั่นคงยั่งยืนนาน

คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด

บทความโดย พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ. 9) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร

ขอบคุณ... http://goo.gl/nOLKvX (ขนาดไฟล์: 0 )

ที่มา: http://goo.gl/nOLKvX (ขนาดไฟล์: 0 )
วันที่โพสต์: 19/04/2559 เวลา 10:21:23 ดูภาพสไลด์โชว์ การทอดกฐิน-เป็นกาลทาน นับว่าเป็นมงคลสำหรับชีวิต

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

การทอดกฐิน-เป็นกาลทาน นับว่าเป็นมงคลสำหรับชีวิต กฐิน จัดเป็นกาลทาน เนื่องด้วยเวลาที่จะทอดกฐิน นั้นมีเวลาที่จำกัด ทรงอนุญาตไว้เพียง 1 เดือนเท่านั้น คือ ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ถ้าถวายก่อนหรือหลังเวลาจากนี้ไป แม้ผู้มีจิตศรัทธาตั้งใจถวายให้เป็นกฐิน ก็ไม่จัดว่าเป็นกฐิน ดังนั้น กฐินจึงจัดเป็นกาลทาน คือการให้ทานตามกาล ซึ่งเป็นหนึ่งในสัปปุริสทาน คือการให้ทานของผู้ฉลาด 5 ประการ คือ 1.ให้ด้วยศรัทธา ผู้ให้ด้วยความเชื่ออย่างมีเหตุผล ผลของการให้นี้คือเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และเป็นผู้มีรูปร่างสัณฐานงดงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยผิวพรรณงามยิ่งนัก 2.ให้ด้วยความเคารพ ผู้ให้ด้วยความเคารพ ผลของการให้นี้ คือเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีบุตร ภรรยา สามี ทาส คนใช้หรือบริวาร เป็นผู้เชื่อฟังคำสั่งสอน ว่านอนสอนง่าย ไม่ขัดใจในการงานที่ดีทุกอย่าง 3.ให้ทานตามกาล ผู้ให้ตามกาล ผลของการให้นี้ คือเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างล้นเหลือ ตามกาลหรือวัยของตน คือเจริญในปฐมวัย มัชฌิมวัย ปัจฉิมวัย 4.ให้ด้วยจิตอนุเคราะห์ ผู้ให้ด้วยจิตอนุเคราะห์อย่างแท้จริง ไม่ยึดติดหรือเสียดายหลังจากให้แล้ว ผลของการให้นี้ คือเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และเป็นผู้มีจิตน้อมไป เพื่อบริโภคกามคุณ ซึ่งเป็นสมบัติที่มีอยู่ของตนอย่างมีความสุข มิใช่เป็นเพียงผู้เฝ้าทรัพย์เท่านั้น 5.ให้ทานไม่กระทบตนและผู้อื่น ผู้ให้โดยไม่กระทบตนและผู้อื่น ผลของการให้นี้ คือเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และทรัพย์สมบัติที่มีอยู่ ไม่เสียหายวิบัติไปด้วยภัย คือ ไฟไหม้ น้ำท่วม โจรปล้น พระราชายึดเข้าพระคลัง หรือภัยจากญาติหรือคนที่เป็นศัตรูกัน เมื่อพิจารณาแล้ว การทอดกฐินนี้ ผู้ที่เข้าใจจึงได้ปฏิบัติตามหลักสัปปุริสทาน ทั้ง 5 ประการ นอกจากนี้ ผู้นำบุญคือผู้เป็นเจ้าภาพ จะบริบูรณ์ด้วยโภคสมบัติ และบริวารสมบัติ มีตัวอย่างในอรรถกถาธรรมบท ภาค 4 เรื่องบัณฑิตสามเณร พระพุทธองค์ตรัสอนุโมทนาว่า อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย บางคนในโลกนี้คิดว่า เราควรให้เฉพาะของตนเท่านั้น ไม่มีประโยชน์ด้วยการชักชวนผู้อื่น แล้วให้เฉพาะตนเท่านั้น ไม่ชักชวนผู้อื่น เขาเกิดมาย่อมได้โภคสมบัติ แต่ไม่ได้บริวารสมบัติ บางคนชักชวนผู้อื่น แต่ตนเองไม่ให้ เขาเกิดมา ย่อมได้บริวารสมบัติ แต่ไม่ได้โภคสมบัติ บางคนตนเองไม่ให้ ผู้อื่นก็ไม่ได้ชักชวน เขาเกิดมา ย่อมไม่ได้โภคสมบัติและไม่ได้บริวารสมบัติ บางคนตนเองให้ทานด้วย ชักชวนผู้อื่นด้วย เขาเกิดมา ย่อมได้ทั้งโภคสมบัติทั้งบริวารสมบัติ ดังนั้น การทอดกฐิน จึงจัดว่าเป็นกาลทาน ถวายทานตามกาล นับว่าเป็นมงคลสำหรับชีวิต เพราะได้สั่งสมบุญบารมีที่บัณฑิตสรรเสริญ และเป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ให้มีความมั่นคงยั่งยืนนาน คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด บทความโดย พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ. 9) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร ขอบคุณ... http://goo.gl/nOLKvX

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...