ธรรมะที่เป็นเหตุให้เจริญ
ธรรมะที่เป็นเหตุให้เจริญ
ทุกคนต่างต้องการความสุขความเจริญ ไม่ต้องการพบความเสื่อมเสียหาย ผู้ที่ปรารถนาดีต่อกัน หวังความเจริญต่อกัน มักจะให้พรแก่กันให้พบแต่ความสุขความเจริญ และการที่เราจะได้รับความหวังดี ก็เพราะเรามีความหวังดีต่อกัน
ความสุขความเจริญจะเกิดขึ้นได้ เพราะตัวของเราเองเป็นสำคัญ และไม่ใช่แต่ความเจริญอย่างเดียวเท่านั้น แม้แต่ความเสื่อมเสียหาย ก็เป็นเช่นเดียวกัน ย่อมมีตัวเองเป็นต้นเหตุทั้งนั้น
พึงพิจารณาอยู่เสมอว่า บัดนี้เราเป็นอย่างไร กำลังเจริญหรือเสื่อม เมื่อพิจารณาเห็นว่ากำลังเจริญ ก็ควรจะใคร่ครวญให้ดี ว่าเราเจริญเพราะเหตุไร เมื่อรู้สาเหตุแห่งความเจริญแล้ว พึงพยายามรักษาเหตุนั้นให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป อย่าให้กลับเสื่อมทรามลงได้ หรือถ้าเราเห็นว่ากำลังประสบกับความเสื่อมเสียหาย ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ ตรวจตราดูสาเหตุแห่งความเสื่อมเสียนั้นๆ แล้ว ละสาเหตุนั้นเสีย ประกอบแต่เหตุแห่งความสุขความเจริญ เพื่อแก้ไขความเสื่อมเสีย เมื่อปฏิบัติเช่นนี้ ก็จะพบแต่ความสุขความเจริญ
ความเจริญ มีความเกี่ยวเนื่องด้วยเหตุ 4 ประการ คือ ถิ่นที่อยู่ การคบหาสมาคม การตั้งตนไว้ชอบ และบุญกุศลในหนหลัง
ถิ่นที่อยู่ ต้องเป็นถิ่นที่อยู่อันเจริญ ไม่ขัดสนกันดาร สมบูรณ์ด้วยปัจจัย 4 มีความเป็นอยู่สุขสบาย มีคนดีทรงคุณธรรม ประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ และแนะนำสั่งสอนผู้อื่นให้ทำตามด้วย แม้ได้เกิดในถิ่นที่เจริญ มีคนดีทรงคุณธรรมดังกล่าวแล้ว ถ้าไม่เข้าไปคบหาสมาคมกับท่าน ก็ยากที่จะเจริญได้
การคบหาสมาคมกับคนดี คือ การเข้าไปศึกษารับฟังคำสั่งสอนของท่าน ให้รู้บาปบุญ คุณโทษ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ สิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ ไต่ถามข้อที่สงสัยให้เข้าใจ สนใจในการประพฤติปฏิบัติให้กาย วาจา ใจ สงบจากบาปทุจริต การศึกษาคุณธรรม วิชาธรรมจากท่านดังนี้ จึงเรียกว่า การคบสัตบุรุษ แม้การเข้าไปใกล้คบหาคุ้นเคยกับสัตบุรุษแล้ว แต่หาได้ประพฤติปฏิบัติตามคำสอนของท่านไม่ กลับประพฤติปฏิบัตินอกลู่นอกทางคำสอนท่าน ชื่อว่าไม่สำเร็จประโยชน์แก่ตน ไม่ส่งผลดีให้เกิดแก่ตน และผู้อื่นแต่อย่างใด ดังนั้น การตั้งตนไว้ชอบ จึงเป็นสิ่งจำเป็นยิ่งนัก
การตั้งตนไว้ชอบ ตามโอวาทของท่านผู้รู้ มีพระพุทธเจ้า เป็นต้น คือการประพฤติแต่กรรมดี เป็นบุญกุศล ด้วยกาย วาจา และใจ ผู้ประพฤติเช่นนี้ ย่อมแคล้วคลาดปราศจากทุกข์ ย่อมได้พบแต่ความสุขความเจริญ
บุญกุศลในหนหลัง ที่ได้ทำไว้ในปางก่อน ก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะการได้มาเกิด หรือมาอยู่ในถิ่นที่มีความเจริญรุ่งเรือง ได้คบหาสมาคมกับคนดี ทำให้มีการตั้งตนไว้โดยชอบ ย่อมเป็นผลของบุญกุศลที่ตนได้ทำไว้ในปางก่อนทั้งนั้น
ธรรม 4 ประการ ดังกล่าวมานี้ เป็นดุจล้อรถ ย่อมหมุนนำพาผู้ประพฤติไปสู่ความเจริญโดยลำดับ เป็นปัจจัยอุดหนุนกันและกัน มีบริบูรณ์อยู่ในบุคคลใด บุคคลนั้นก็จะมีแต่ความสุขความเจริญ
คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด
บทความโดย พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ. 9) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร
ขอบคุณ... http://goo.gl/MbFqwS (ขนาดไฟล์: 0 )
ที่มา: http://goo.gl/MbFqwS (ขนาดไฟล์: 0
)
วันที่โพสต์: 16/03/2559 เวลา 10:36:07
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ดอกบัว ธรรมะที่เป็นเหตุให้เจริญ ทุกคนต่างต้องการความสุขความเจริญ ไม่ต้องการพบความเสื่อมเสียหาย ผู้ที่ปรารถนาดีต่อกัน หวังความเจริญต่อกัน มักจะให้พรแก่กันให้พบแต่ความสุขความเจริญ และการที่เราจะได้รับความหวังดี ก็เพราะเรามีความหวังดีต่อกัน ความสุขความเจริญจะเกิดขึ้นได้ เพราะตัวของเราเองเป็นสำคัญ และไม่ใช่แต่ความเจริญอย่างเดียวเท่านั้น แม้แต่ความเสื่อมเสียหาย ก็เป็นเช่นเดียวกัน ย่อมมีตัวเองเป็นต้นเหตุทั้งนั้น พึงพิจารณาอยู่เสมอว่า บัดนี้เราเป็นอย่างไร กำลังเจริญหรือเสื่อม เมื่อพิจารณาเห็นว่ากำลังเจริญ ก็ควรจะใคร่ครวญให้ดี ว่าเราเจริญเพราะเหตุไร เมื่อรู้สาเหตุแห่งความเจริญแล้ว พึงพยายามรักษาเหตุนั้นให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป อย่าให้กลับเสื่อมทรามลงได้ หรือถ้าเราเห็นว่ากำลังประสบกับความเสื่อมเสียหาย ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ ตรวจตราดูสาเหตุแห่งความเสื่อมเสียนั้นๆ แล้ว ละสาเหตุนั้นเสีย ประกอบแต่เหตุแห่งความสุขความเจริญ เพื่อแก้ไขความเสื่อมเสีย เมื่อปฏิบัติเช่นนี้ ก็จะพบแต่ความสุขความเจริญ ความเจริญ มีความเกี่ยวเนื่องด้วยเหตุ 4 ประการ คือ ถิ่นที่อยู่ การคบหาสมาคม การตั้งตนไว้ชอบ และบุญกุศลในหนหลัง ถิ่นที่อยู่ ต้องเป็นถิ่นที่อยู่อันเจริญ ไม่ขัดสนกันดาร สมบูรณ์ด้วยปัจจัย 4 มีความเป็นอยู่สุขสบาย มีคนดีทรงคุณธรรม ประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ และแนะนำสั่งสอนผู้อื่นให้ทำตามด้วย แม้ได้เกิดในถิ่นที่เจริญ มีคนดีทรงคุณธรรมดังกล่าวแล้ว ถ้าไม่เข้าไปคบหาสมาคมกับท่าน ก็ยากที่จะเจริญได้ การคบหาสมาคมกับคนดี คือ การเข้าไปศึกษารับฟังคำสั่งสอนของท่าน ให้รู้บาปบุญ คุณโทษ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ สิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ ไต่ถามข้อที่สงสัยให้เข้าใจ สนใจในการประพฤติปฏิบัติให้กาย วาจา ใจ สงบจากบาปทุจริต การศึกษาคุณธรรม วิชาธรรมจากท่านดังนี้ จึงเรียกว่า การคบสัตบุรุษ แม้การเข้าไปใกล้คบหาคุ้นเคยกับสัตบุรุษแล้ว แต่หาได้ประพฤติปฏิบัติตามคำสอนของท่านไม่ กลับประพฤติปฏิบัตินอกลู่นอกทางคำสอนท่าน ชื่อว่าไม่สำเร็จประโยชน์แก่ตน ไม่ส่งผลดีให้เกิดแก่ตน และผู้อื่นแต่อย่างใด ดังนั้น การตั้งตนไว้ชอบ จึงเป็นสิ่งจำเป็นยิ่งนัก การตั้งตนไว้ชอบ ตามโอวาทของท่านผู้รู้ มีพระพุทธเจ้า เป็นต้น คือการประพฤติแต่กรรมดี เป็นบุญกุศล ด้วยกาย วาจา และใจ ผู้ประพฤติเช่นนี้ ย่อมแคล้วคลาดปราศจากทุกข์ ย่อมได้พบแต่ความสุขความเจริญ บุญกุศลในหนหลัง ที่ได้ทำไว้ในปางก่อน ก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะการได้มาเกิด หรือมาอยู่ในถิ่นที่มีความเจริญรุ่งเรือง ได้คบหาสมาคมกับคนดี ทำให้มีการตั้งตนไว้โดยชอบ ย่อมเป็นผลของบุญกุศลที่ตนได้ทำไว้ในปางก่อนทั้งนั้น ธรรม 4 ประการ ดังกล่าวมานี้ เป็นดุจล้อรถ ย่อมหมุนนำพาผู้ประพฤติไปสู่ความเจริญโดยลำดับ เป็นปัจจัยอุดหนุนกันและกัน มีบริบูรณ์อยู่ในบุคคลใด บุคคลนั้นก็จะมีแต่ความสุขความเจริญ คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด บทความโดย พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ. 9) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร ขอบคุณ... http://goo.gl/MbFqwS
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)