ละบาปได้เท่าไรบุญก็เกิดเท่านั้น
การเจริญปัญญาพิจารณาเห็นสังขารนามรูปหรือว่าสิ่งอื่นๆเป็นของไม่เที่ยง
เป็นของเกิดของดับ เป็นของไม่ใช่ตัวตน พิจารณาบ๊อยบ่อย
มันค่อยคลายความยึดถือออกไปเรื่อยๆ ทีแรกมันก็คลายความยึดถือในทางที่ชั่วก่อน
คือ ไม่ใช้ขันธ์ห้านี้ทำความชั่ว ผู้ใดอยู่ในเพศใดภูมิใด
ก็รักษาคุณความดีของตนอยู่ในภูมินั้นเพศนั้นไว้ได้ ไม่ให้เสื่อม
อันนี้แหละจึงเรียกว่า เป็น "ผู้เห็นแจ้งในกรรม ในผลของกรรม"
เห็นแจ้งในการละหรือการกระทำแล้วพยายามทำไปเรื่อยๆ
อันบาปนั้นมันมีอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด
เช่นเดียวกับบุญกุศลคุณธรรมนั้นเอง เมื่อละบาปอย่างหยาบได้แล้ว
มันก็ยังอย่างกลาง เมื่อละอย่างกลางได้แล้วมันก็ยังอย่างละเอียด
ดังนั้นน่ะท่านจึงสอนให้ทำความเพียร พยายามเรื่อยไป
ทำจิตให้ละเอียดเข้าไปโดยลำดับ ทำปัญญาให้แหลมให้ละเอียดเข้าไป
เผื่อมันจะได้รู้กิเลสส่วนละเอียด
อันคำว่า "บาป" นั้นแปลว่า "อารมณ์ที่ทำใจให้เศร้าหมองขุ่นมัว"
อารมณ์ใดที่ทำใจเศร้าหมองขุ่นมัวนั้นแหละเรียกว่า บาป
ดังนั้นเมื่อจิตใจมันขุ่นมัวลงไป ให้รู้ว่าบาปนั้นมันเกิดขึ้นในใจ
ดังนั้นต้องกำหนดละมันไป เช่นว่าอารมณ์อันทำใจขุ่นมัวนั้นเพิกออกไป
ดับออกไปจากจิตใจนี้แล้วใจก็ผ่องใสขึ้นมา นั่นเรียกว่า "เพียรละบาป" นะ
เมื่อละบาปได้บุญก็เกิดขึ้นอย่างว่านั้นล่ะจิตใจผ่องใสเบิกบานขึ้นมา
อิ่ม ไม่เดือดร้อน ไม่กังวล ไม่กระวนกระวาย อิ่มอยู่
เหมือนอย่างคนรับประทานอาหารอิ่มใหม่ๆ
ดังนั้นเมื่อมาถึงตอนนี้เราจะพิสูจน์ได้ว่า ไอ้ใจที่จะเศร้าหมองขุ่นมัว
ใจที่มันไม่สงบลงได้นี่น่ะล้วนตั้งแต่บาปมันคอยขัดขวางไม่ให้จิตรวมลงเป็นหนึ่งได้
เหตุนั้นพระศาสดาจึงทรงสอนให้เพียรพยายามละบาปนี้ออกไป
เมื่อละบาปออกไปได้เท่าใด บุญก็เกิดขึ้นเท่านั้น
จิตใจก็ผ่องใสสะอาดขึ้นเท่านั้น นี่คำว่า เพียรละบาปบำเพ็ญบุญนะ
ก็ให้พึงเข้าใจมันเป็นคู่กันน่ะ
เหมือนอย่างทองคำธรรมชาติอย่างนี้นะ ฝังอยู่ในดินในหิน
ดินหรือหินหุ้มห่ออยู่ มันจะเปล่งรัศมีสีแสงของตนออกมาไม่ได้เลย
ไม่มีแสงอะไรปรากฏ ทีนี้เมื่อขุดค้นเอาขึ้นมา เอามาทำความสะอาด
เจียระไน ขับไล่สนิมออกไปแล้ว แก้วหรือว่าทองคำนั้น
มันก็ส่องแสงสว่างออกมาในตัวเลย มีสีใส
เพราะธรรมชาติของแก้วของทองคำมันใสอยู่แล้ว
ไม่ได้ต้องไปตกแต่งให้มันใสหรอก มันใสอยู่แล้ว
แต่มันมีดินมีหินหุ้มห่ออยู่ มันจึงดูเหมือนมันเศร้าหมอง
ไม่มีสีสันวรรณะอะไร แต่ครั้นเมื่อขับไล่สนิมหรือว่าดิน
หรือหินนั้นออกจากทองคำนั้นแล้ว มันจึงส่องแสงออกมา
มีสีสุกสกาว จิตใจคนเราก็เป็นเช่นนั้นแหละ
เมื่อละกิเลสอันมันเป็นข้าศึกแก่ความสงบหรือความผ่องใสอันนั้นออกไปแล้ว
จิตใจนี้มันก็ผ่องใสในตัวของมันเองเลย มันเป็นอย่างนั้น
ส่วนหนึ่งจากพระธรรมเทศนาหัวข้อ "ใครทำใครได้"
:: ประวัติ ปฏิปทาและคำสอน “หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ”
ที่มา: http://variety.teenee.com/saladharm/74342.html
วันที่โพสต์: 3/02/2559 เวลา 10:17:39
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ดอกไม้สีขาว การเจริญปัญญาพิจารณาเห็นสังขารนามรูปหรือว่าสิ่งอื่นๆเป็นของไม่เที่ยง เป็นของเกิดของดับ เป็นของไม่ใช่ตัวตน พิจารณาบ๊อยบ่อย มันค่อยคลายความยึดถือออกไปเรื่อยๆ ทีแรกมันก็คลายความยึดถือในทางที่ชั่วก่อน คือ ไม่ใช้ขันธ์ห้านี้ทำความชั่ว ผู้ใดอยู่ในเพศใดภูมิใด ก็รักษาคุณความดีของตนอยู่ในภูมินั้นเพศนั้นไว้ได้ ไม่ให้เสื่อม อันนี้แหละจึงเรียกว่า เป็น "ผู้เห็นแจ้งในกรรม ในผลของกรรม" เห็นแจ้งในการละหรือการกระทำแล้วพยายามทำไปเรื่อยๆ อันบาปนั้นมันมีอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด เช่นเดียวกับบุญกุศลคุณธรรมนั้นเอง เมื่อละบาปอย่างหยาบได้แล้ว มันก็ยังอย่างกลาง เมื่อละอย่างกลางได้แล้วมันก็ยังอย่างละเอียด ดังนั้นน่ะท่านจึงสอนให้ทำความเพียร พยายามเรื่อยไป ทำจิตให้ละเอียดเข้าไปโดยลำดับ ทำปัญญาให้แหลมให้ละเอียดเข้าไป เผื่อมันจะได้รู้กิเลสส่วนละเอียด อันคำว่า "บาป" นั้นแปลว่า "อารมณ์ที่ทำใจให้เศร้าหมองขุ่นมัว" อารมณ์ใดที่ทำใจเศร้าหมองขุ่นมัวนั้นแหละเรียกว่า บาป ดังนั้นเมื่อจิตใจมันขุ่นมัวลงไป ให้รู้ว่าบาปนั้นมันเกิดขึ้นในใจ ดังนั้นต้องกำหนดละมันไป เช่นว่าอารมณ์อันทำใจขุ่นมัวนั้นเพิกออกไป ดับออกไปจากจิตใจนี้แล้วใจก็ผ่องใสขึ้นมา นั่นเรียกว่า "เพียรละบาป" นะ เมื่อละบาปได้บุญก็เกิดขึ้นอย่างว่านั้นล่ะจิตใจผ่องใสเบิกบานขึ้นมา อิ่ม ไม่เดือดร้อน ไม่กังวล ไม่กระวนกระวาย อิ่มอยู่ เหมือนอย่างคนรับประทานอาหารอิ่มใหม่ๆ ดังนั้นเมื่อมาถึงตอนนี้เราจะพิสูจน์ได้ว่า ไอ้ใจที่จะเศร้าหมองขุ่นมัว ใจที่มันไม่สงบลงได้นี่น่ะล้วนตั้งแต่บาปมันคอยขัดขวางไม่ให้จิตรวมลงเป็นหนึ่งได้ เหตุนั้นพระศาสดาจึงทรงสอนให้เพียรพยายามละบาปนี้ออกไป เมื่อละบาปออกไปได้เท่าใด บุญก็เกิดขึ้นเท่านั้น จิตใจก็ผ่องใสสะอาดขึ้นเท่านั้น นี่คำว่า เพียรละบาปบำเพ็ญบุญนะ ก็ให้พึงเข้าใจมันเป็นคู่กันน่ะ เหมือนอย่างทองคำธรรมชาติอย่างนี้นะ ฝังอยู่ในดินในหิน ดินหรือหินหุ้มห่ออยู่ มันจะเปล่งรัศมีสีแสงของตนออกมาไม่ได้เลย ไม่มีแสงอะไรปรากฏ ทีนี้เมื่อขุดค้นเอาขึ้นมา เอามาทำความสะอาด เจียระไน ขับไล่สนิมออกไปแล้ว แก้วหรือว่าทองคำนั้น มันก็ส่องแสงสว่างออกมาในตัวเลย มีสีใส เพราะธรรมชาติของแก้วของทองคำมันใสอยู่แล้ว ไม่ได้ต้องไปตกแต่งให้มันใสหรอก มันใสอยู่แล้ว แต่มันมีดินมีหินหุ้มห่ออยู่ มันจึงดูเหมือนมันเศร้าหมอง ไม่มีสีสันวรรณะอะไร แต่ครั้นเมื่อขับไล่สนิมหรือว่าดิน หรือหินนั้นออกจากทองคำนั้นแล้ว มันจึงส่องแสงออกมา มีสีสุกสกาว จิตใจคนเราก็เป็นเช่นนั้นแหละ เมื่อละกิเลสอันมันเป็นข้าศึกแก่ความสงบหรือความผ่องใสอันนั้นออกไปแล้ว จิตใจนี้มันก็ผ่องใสในตัวของมันเองเลย มันเป็นอย่างนั้น ส่วนหนึ่งจากพระธรรมเทศนาหัวข้อ "ใครทำใครได้" :: ประวัติ ปฏิปทาและคำสอน “หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ” ขอบคุณ... http://variety.teenee.com/saladharm/74342.html
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)