ทำอย่างไร ได้อย่างนั้น
กรรม แปลว่า กระทำทางกาย มียืนเดินนั่งนอน เป็นต้น กระทำทางวาจา คือเปล่งคำพูด กระทำทางใจ คือการนึกคิด
คำว่า กรรม เป็นคำกลางๆ ไม่ดี ไม่ชั่ว ถ้าเป็นไปในฝ่ายดี ถูก ควร เรียกว่า กุศล บุญ สุจริต ถ้าเป็นไปในฝ่ายชั่ว ผิด ไม่ควร เรียกว่า อกุศล บาป ทุจริต
คำว่า ถูก ดี ควรนั้น หมายถึง กิริยาที่ทำ คำที่พูด เรื่องที่คิด อันเป็นไปเพื่อความเป็นประโยชน์ เป็นความสุข ความเจริญแก่ตนและบุคคลอื่น
คำว่า ชั่ว ผิด ไม่ควรนั้น หมายถึง กิริยาที่ทำ คำที่พูด เรื่องที่คิด อันเป็นไปเพื่อความไร้ประโยชน์ เพื่อความทุกข์ เพื่อความเสื่อมแก่ตนและบุคคลอื่น
กรรม เมื่อกล่าวโดยกรรมบถ มี 10 อย่าง แบ่งเป็น กายกรรม 3 คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดทางกาม วจีกรรม 4 คือ ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ มโนกรรม 3 คือ ไม่โลภอยากได้ของเขา ไม่พยาบาทปองร้ายเขา ไม่เห็นผิดจากทำนองคลองธรรม ที่กล่าวมาแล้วนี้เป็นฝ่ายดี ที่เป็นไปโดยตรงกันข้ามจากนี้ เป็นฝ่ายชั่ว
กรรมทั้ง 3 ประการนี้ เป็นเหตุเป็นผลของกัน คือ ก่อนที่จะทำและก่อนจะพูด จิตหรือใจต้องสั่งก่อน ถ้าทำหรือพูดโดยที่จิตไม่ได้สั่ง การทำหรือการพูดนั้น ยังไม่จัดเป็นกรรม เช่นคนนอนหลับละเมอ ทำหรือพูดอย่างหนึ่งอย่างใด เป็นต้น ยังไม่จัดเป็นกรรม คนวิกลจริตกระทำผิดกฎหมายของบ้านเมือง ตุลาการหรือศาลย่อมไม่ปรับเอาเป็นผิด เพราะเหตุที่จิตใจของคนวิกลจริต ผิดปกติธรรมดา
เจตนาในการทำและการพูดปราศจากเหตุผลหรือทำและพูดไปโดยที่ไม่มีเจตนาหรือความจงใจ
กรรมดี กรรมชั่ว ย่อมให้ผลแก่ผู้กระทำอย่างแน่นอน คือกรรมดี ได้แก่ ทำพูดคิดดี ย่อมส่งผลให้ผู้ทำกรรมนั้นมีความสุข มีความเจริญ ไม่ต้องเดือดร้อน
ส่วนกรรมชั่ว ได้แก่ ทำพูดคิดชั่ว ย่อมส่งผลให้ผู้กระทำชั่วนั้น มีความทุกข์ ประสบความเสื่อม มีความเดือดร้อนใจ
เมื่อบุคคลใดกระทำกรรมดีและกรรมชั่วอันเป็นเหตุไว้แล้ว บุคคลนั้นจะต้องได้รับผลของกรรมนั้นอย่างแน่นอน คือทำกรรมดีไว้ จะต้องได้รับผลดี ทำกรรมชั่วไว้ จะต้องได้รับผลชั่ว เหมือนปลูกพืชชนิดใดไว้ จะต้องได้รับผลเป็นพืชชนิดนั้นอย่างแน่นอน เช่น ปลูกมะม่วง จะต้องได้รับผลเป็นมะม่วง จะได้รับผลเป็นทุเรียนหรืออย่างอื่น เป็นไปไม่ได้
ดังพระพุทธภาษิตที่ได้ตรัสไว้ว่า บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้รับผลเช่นนั้น ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้ผลชั่ว
กรรมดี แม้จะให้ผลเป็นความสุข น่าปรารถนา และกรรมชั่วแม้จะให้ผลเป็นความทุกข์ อันไม่น่าปรารถนา ถึงกระนั้น ก็ยังมีผู้ทำทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว สับสนปะปนกันอยู่ร่ำไป มิใช่มีแต่ผู้ที่กระทำกรรมดีโดยส่วนเดียว หรือมีแต่ผู้ที่กระทำกรรมชั่วโดยส่วนเดียว เข้าหลักที่ว่า ดีไม่ทั่ว ชั่วไม่หมด ทั้งนี้ก็เพราะคนดีทำกรรมดีได้ง่าย ทำกรรมชั่วได้ยาก คนชั่วทำกรรมชั่วได้ง่าย ทำกรรมดีได้ยาก
ดังพระพุทธภาษิตที่ได้ตรัสไว้ว่า กรรมดี อันคนดีทำได้โดยง่าย อันคนชั่วทำได้โดยยาก กรรมชั่วอันคนชั่วทำได้ง่าย อันคนดี ทำได้โดยยาก
คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด
บทความโดย พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ. 9) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร
ขอบคุณ... http://goo.gl/UHgo9j (ขนาดไฟล์: 0 )
ที่มา: http://goo.gl/UHgo9j (ขนาดไฟล์: 0
)
วันที่โพสต์: 9/06/2559 เวลา 10:01:26
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
แสงเทียน กรรม แปลว่า กระทำทางกาย มียืนเดินนั่งนอน เป็นต้น กระทำทางวาจา คือเปล่งคำพูด กระทำทางใจ คือการนึกคิด คำว่า กรรม เป็นคำกลางๆ ไม่ดี ไม่ชั่ว ถ้าเป็นไปในฝ่ายดี ถูก ควร เรียกว่า กุศล บุญ สุจริต ถ้าเป็นไปในฝ่ายชั่ว ผิด ไม่ควร เรียกว่า อกุศล บาป ทุจริต คำว่า ถูก ดี ควรนั้น หมายถึง กิริยาที่ทำ คำที่พูด เรื่องที่คิด อันเป็นไปเพื่อความเป็นประโยชน์ เป็นความสุข ความเจริญแก่ตนและบุคคลอื่น คำว่า ชั่ว ผิด ไม่ควรนั้น หมายถึง กิริยาที่ทำ คำที่พูด เรื่องที่คิด อันเป็นไปเพื่อความไร้ประโยชน์ เพื่อความทุกข์ เพื่อความเสื่อมแก่ตนและบุคคลอื่น กรรม เมื่อกล่าวโดยกรรมบถ มี 10 อย่าง แบ่งเป็น กายกรรม 3 คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดทางกาม วจีกรรม 4 คือ ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ มโนกรรม 3 คือ ไม่โลภอยากได้ของเขา ไม่พยาบาทปองร้ายเขา ไม่เห็นผิดจากทำนองคลองธรรม ที่กล่าวมาแล้วนี้เป็นฝ่ายดี ที่เป็นไปโดยตรงกันข้ามจากนี้ เป็นฝ่ายชั่ว กรรมทั้ง 3 ประการนี้ เป็นเหตุเป็นผลของกัน คือ ก่อนที่จะทำและก่อนจะพูด จิตหรือใจต้องสั่งก่อน ถ้าทำหรือพูดโดยที่จิตไม่ได้สั่ง การทำหรือการพูดนั้น ยังไม่จัดเป็นกรรม เช่นคนนอนหลับละเมอ ทำหรือพูดอย่างหนึ่งอย่างใด เป็นต้น ยังไม่จัดเป็นกรรม คนวิกลจริตกระทำผิดกฎหมายของบ้านเมือง ตุลาการหรือศาลย่อมไม่ปรับเอาเป็นผิด เพราะเหตุที่จิตใจของคนวิกลจริต ผิดปกติธรรมดา เจตนาในการทำและการพูดปราศจากเหตุผลหรือทำและพูดไปโดยที่ไม่มีเจตนาหรือความจงใจ กรรมดี กรรมชั่ว ย่อมให้ผลแก่ผู้กระทำอย่างแน่นอน คือกรรมดี ได้แก่ ทำพูดคิดดี ย่อมส่งผลให้ผู้ทำกรรมนั้นมีความสุข มีความเจริญ ไม่ต้องเดือดร้อน ส่วนกรรมชั่ว ได้แก่ ทำพูดคิดชั่ว ย่อมส่งผลให้ผู้กระทำชั่วนั้น มีความทุกข์ ประสบความเสื่อม มีความเดือดร้อนใจ เมื่อบุคคลใดกระทำกรรมดีและกรรมชั่วอันเป็นเหตุไว้แล้ว บุคคลนั้นจะต้องได้รับผลของกรรมนั้นอย่างแน่นอน คือทำกรรมดีไว้ จะต้องได้รับผลดี ทำกรรมชั่วไว้ จะต้องได้รับผลชั่ว เหมือนปลูกพืชชนิดใดไว้ จะต้องได้รับผลเป็นพืชชนิดนั้นอย่างแน่นอน เช่น ปลูกมะม่วง จะต้องได้รับผลเป็นมะม่วง จะได้รับผลเป็นทุเรียนหรืออย่างอื่น เป็นไปไม่ได้ ดังพระพุทธภาษิตที่ได้ตรัสไว้ว่า บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้รับผลเช่นนั้น ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้ผลชั่ว กรรมดี แม้จะให้ผลเป็นความสุข น่าปรารถนา และกรรมชั่วแม้จะให้ผลเป็นความทุกข์ อันไม่น่าปรารถนา ถึงกระนั้น ก็ยังมีผู้ทำทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว สับสนปะปนกันอยู่ร่ำไป มิใช่มีแต่ผู้ที่กระทำกรรมดีโดยส่วนเดียว หรือมีแต่ผู้ที่กระทำกรรมชั่วโดยส่วนเดียว เข้าหลักที่ว่า ดีไม่ทั่ว ชั่วไม่หมด ทั้งนี้ก็เพราะคนดีทำกรรมดีได้ง่าย ทำกรรมชั่วได้ยาก คนชั่วทำกรรมชั่วได้ง่าย ทำกรรมดีได้ยาก ดังพระพุทธภาษิตที่ได้ตรัสไว้ว่า กรรมดี อันคนดีทำได้โดยง่าย อันคนชั่วทำได้โดยยาก กรรมชั่วอันคนชั่วทำได้ง่าย อันคนดี ทำได้โดยยาก คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด บทความโดย พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ. 9) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร ขอบคุณ... http://goo.gl/UHgo9j
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)