ตั้งใจทำ นำให้สำเร็จ
จิตเป็นนาย-กายเป็นบ่าว เป็นคำที่คุ้นใจชาวพุทธเป็นส่วนมาก ด้วยหลักการในพระพุทธศาสนาก็รับรองชัดเจนว่า อานุภาพแห่งจิตนี้มีมากเพียงไร ทุกสิ่งที่ทำ ทุกคำที่พูดก็ล้วนมีผลมาจากจิตใจที่ชักใยอยู่เบื้องหลัง
แต่ลักษณะของจิตใจปุถุชนนี้ไม่แน่นอน เพราะโดยปกติจิตใจที่ไม่มีสมาธิจะดิ้นรน กวัดแกว่ง บังคับยาก ห้ามยาก ไม่สามารถจะตั้งอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งได้นาน มักตกไปในอารมณ์ที่ตนรักใคร่เป็นพื้น
เมื่อลักษณะจิตใจไม่แน่นอน ผลที่มุ่งหวังก็ไม่แน่นอน
มนุษย์ที่หวังความสำเร็จจึงต้องสนใจในเรื่องของการฝึกจิต ทำจิตให้มีสมาธิหรือแน่แน่วในแนวหมาย เหมือนเป็นการปรับโฟกัสของเลนส์กล้องถ่ายรูป หากปรับไม่ถูกเป้าหมายภาพก็จะไม่ชัด ไม่สวย
เหมือนกันกับความฝันของมนุษย์ ถ้าการปรับเลนส์ใจไม่นิ่งพอก็จะเห็นเป้าหมายไม่ชัดเจน ส่งผลต่อการก้าวไปในธรรม คือ ยากแก่การพัฒนาให้ถึงจุดหมายหรือสำเร็จเป็นมรรคผลได้
จิตตะ เป็นหนึ่งในอิทธิบาท 4 แปลเข้าใจง่ายๆ คือ ตั้งใจ จดจ่อ หรือเอาใจใส่ ในสิ่งที่กำลังทำกำลังดำเนินการอยู่
ยกตัวอย่าง เช่น นักเรียนนักศึกษาอยู่ในวัยแสวงวิชาการอันเป็นพื้นฐานสู่การทำงานต่อไป หากไม่เอาใจใส่ คือสักแต่ว่าเรียน วิชาการที่ควรจะได้ ทักษะที่ควรจะมีก็ไม่ได้และไม่มี ส่งให้ผลการเรียนย่ำแย่ และอาจศึกษาไม่จบครบหลักสูตร ไม่ถึงฝั่งฝันแห่งการศึกษา เสียเวลา เสียเงินเปล่าๆ
แต่ในทางตรงกันข้าม หากมีจิตตะ คือเอาใจใส่ จดจ่อ โฟกัสอยู่ในการศึกษาทุกช่วงเวลา ตั้งแต่ก่อนเรียน ขณะเรียน และหลังเรียน สิ่งที่ครูอาจารย์ถ่ายทอดก็ไม่สูญหาย แต่จะสถิตอยู่ในความทรงจำของศิษย์ที่เอาใจใส่ และเป็นความหวังแก่อนุชนคนรุ่นต่อๆ ไป
ในการได้ศึกษาเล่าเรียนจากบรรพชนที่เอาใจใส่ในการศึกษา ความผิดพลาดตกหล่นทางวิชาการก็จะไม่เกิดขึ้น
แต่ที่เกิดขึ้นก็เพราะศิษย์จากรุ่นสู่รุ่นขาดการเอาใจใส่ในการเล่าเรียน แม้ในวงการศึกษาพระปริยัติธรรมก็เช่นเดียวกัน ถ้าขาดการศึกษาอย่างเอาใจใส่ในที่สุดก็ไร้คนสืบทอดสิ่งที่ถูกต้อง และนำไปสู่ความเสื่อมสูญแห่งศาสนาได้เหมือนกัน
ผู้ที่รักจะสร้างเนื้อสร้างตัว ให้มั่นคงเป็นปึกแผ่น นอกจากจะมีความพึงพอใจและเพียรพยายามในวิชาชีพแล้ว ต้องเอาใจใส่ในรายละเอียดด้วย เช่น ความรู้ใหม่ๆ จิตวิทยา และสภาพสังคมที่เปลี่ยนไปด้วย จะสามารถปรับตัวได้ ปรับใจเป็น และชัดเจนในเป้าหมายของตนเองจนก้าวไปถึงเส้นชัยได้ โดยอาศัยธรรมะคือ จิตตะ ที่แปลว่า ตั้งใจทำ
คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด
บทความโดย พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ. 9) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร
ขอบคุณ... http://goo.gl/vjGfEM (ขนาดไฟล์: 0 )
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ดอกบัว 4 เหล่า จิตเป็นนาย-กายเป็นบ่าว เป็นคำที่คุ้นใจชาวพุทธเป็นส่วนมาก ด้วยหลักการในพระพุทธศาสนาก็รับรองชัดเจนว่า อานุภาพแห่งจิตนี้มีมากเพียงไร ทุกสิ่งที่ทำ ทุกคำที่พูดก็ล้วนมีผลมาจากจิตใจที่ชักใยอยู่เบื้องหลัง แต่ลักษณะของจิตใจปุถุชนนี้ไม่แน่นอน เพราะโดยปกติจิตใจที่ไม่มีสมาธิจะดิ้นรน กวัดแกว่ง บังคับยาก ห้ามยาก ไม่สามารถจะตั้งอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งได้นาน มักตกไปในอารมณ์ที่ตนรักใคร่เป็นพื้น เมื่อลักษณะจิตใจไม่แน่นอน ผลที่มุ่งหวังก็ไม่แน่นอน มนุษย์ที่หวังความสำเร็จจึงต้องสนใจในเรื่องของการฝึกจิต ทำจิตให้มีสมาธิหรือแน่แน่วในแนวหมาย เหมือนเป็นการปรับโฟกัสของเลนส์กล้องถ่ายรูป หากปรับไม่ถูกเป้าหมายภาพก็จะไม่ชัด ไม่สวย เหมือนกันกับความฝันของมนุษย์ ถ้าการปรับเลนส์ใจไม่นิ่งพอก็จะเห็นเป้าหมายไม่ชัดเจน ส่งผลต่อการก้าวไปในธรรม คือ ยากแก่การพัฒนาให้ถึงจุดหมายหรือสำเร็จเป็นมรรคผลได้ จิตตะ เป็นหนึ่งในอิทธิบาท 4 แปลเข้าใจง่ายๆ คือ ตั้งใจ จดจ่อ หรือเอาใจใส่ ในสิ่งที่กำลังทำกำลังดำเนินการอยู่ ยกตัวอย่าง เช่น นักเรียนนักศึกษาอยู่ในวัยแสวงวิชาการอันเป็นพื้นฐานสู่การทำงานต่อไป หากไม่เอาใจใส่ คือสักแต่ว่าเรียน วิชาการที่ควรจะได้ ทักษะที่ควรจะมีก็ไม่ได้และไม่มี ส่งให้ผลการเรียนย่ำแย่ และอาจศึกษาไม่จบครบหลักสูตร ไม่ถึงฝั่งฝันแห่งการศึกษา เสียเวลา เสียเงินเปล่าๆ แต่ในทางตรงกันข้าม หากมีจิตตะ คือเอาใจใส่ จดจ่อ โฟกัสอยู่ในการศึกษาทุกช่วงเวลา ตั้งแต่ก่อนเรียน ขณะเรียน และหลังเรียน สิ่งที่ครูอาจารย์ถ่ายทอดก็ไม่สูญหาย แต่จะสถิตอยู่ในความทรงจำของศิษย์ที่เอาใจใส่ และเป็นความหวังแก่อนุชนคนรุ่นต่อๆ ไป ในการได้ศึกษาเล่าเรียนจากบรรพชนที่เอาใจใส่ในการศึกษา ความผิดพลาดตกหล่นทางวิชาการก็จะไม่เกิดขึ้น แต่ที่เกิดขึ้นก็เพราะศิษย์จากรุ่นสู่รุ่นขาดการเอาใจใส่ในการเล่าเรียน แม้ในวงการศึกษาพระปริยัติธรรมก็เช่นเดียวกัน ถ้าขาดการศึกษาอย่างเอาใจใส่ในที่สุดก็ไร้คนสืบทอดสิ่งที่ถูกต้อง และนำไปสู่ความเสื่อมสูญแห่งศาสนาได้เหมือนกัน ผู้ที่รักจะสร้างเนื้อสร้างตัว ให้มั่นคงเป็นปึกแผ่น นอกจากจะมีความพึงพอใจและเพียรพยายามในวิชาชีพแล้ว ต้องเอาใจใส่ในรายละเอียดด้วย เช่น ความรู้ใหม่ๆ จิตวิทยา และสภาพสังคมที่เปลี่ยนไปด้วย จะสามารถปรับตัวได้ ปรับใจเป็น และชัดเจนในเป้าหมายของตนเองจนก้าวไปถึงเส้นชัยได้ โดยอาศัยธรรมะคือ จิตตะ ที่แปลว่า ตั้งใจทำ คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด บทความโดย พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ. 9) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร ขอบคุณ... http://goo.gl/vjGfEM
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)