ทศพิธราชธรรม

แสดงความคิดเห็น

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

คอลัมน์ ครู พัก ลัก จำ โดย ธนา เธียรอัจฉริยะ ผอ.สถาบันพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางธุรกิจมหาวิทยาลัยศรีปทุม

ในช่วงแห่งความเศร้าโศกเสียใจของประเทศ นอกจากการแสดงออกของคนทั้งประเทศถึงความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่แล้ว เรายังได้เห็นกลุ่มคนจำนวนมากได้เริ่มน้อมนำเอาพระบรมราโชวาทและเริ่มทำความดี เริ่มทำเพื่อส่วนรวมเพื่อตามรอยคำสอนของพ่อหลวงของเรา นอกจากพระบรมราโชวาทและสิ่งที่ในหลวงได้สอนเป็นแนวทางให้เราแล้ว ธรรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการครองแผ่นดิน ก็เป็นแบบอย่างอันยิ่งใหญ่ให้บุคคลธรรมดาที่เป็นผู้นำในองค์กรต่าง ๆ ได้ตามรอยพระบาท เพราะผลลัพธ์ของความสุขความเจริญของแผ่นดินในวันนี้ เกิดขึ้นได้เพราะธรรมของพระราชาของเราทั้งสิ้น ถ้าองค์กรน้อยใหญ่มีผู้นำที่ได้ประพฤติแม้เพียงเศษเสี้ยวของท่าน ผลลัพธ์ในส่วนองค์กรก็คงจะเจริญและยังประโยชน์สุขให้คนในองค์กรได้ในทางเดียวกัน

เมื่อทรงขึ้นครองราชย์ในปีพ.ศ. 2489 ในขณะที่มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกนั้น ได้เสด็จขึ้นประทับพระที่นั่งภัทรบิฐและได้มีพระบรมราชโองการเป็นนัดแรกว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เคยเขียนอธิบายถึง "ธรรม" นั้นหมายถึงธรรมะต่าง ๆ อันเป็นของพระมหากษัตริย์หรือเป็นของผู้ปกครองแผ่นดิน โดยในพระพุทธศาสนาเรียกธรรมของผู้ที่ครองแผ่นดินว่า ทศพิธราชธรรม โดยมีอยู่ 10 ประการ

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ได้เขียนไว้บางส่วนว่า

"ในข้อหนึ่ง "ทาน" คือการให้แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ปฏิบัติตามทศพิธราชธรรมข้อหนึ่งเป็นอย่างยิ่ง เพราะเหตุว่าได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อเกื้อกูลบุคคลเป็นจำนวนมาก และองค์การต่าง ๆ ที่เป็นการกุศล นอกจากพระราชทานพระราชทรัพย์แล้ว ยังพระราชทานเครื่องอุปโภคบริโภค ตลอดจนเหรียญตราและอื่น ๆ ให้แก่ผู้ที่รับราชการและผู้ที่ปฏิบัติเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ นอกจากนั้น ก็พระราชทานจตุปัจจัยไทยธรรมให้แก่บรรพชิตซึ่งเป็นผู้ประกอบกิจในพระศาสนาเป็นเนืองนิตย์ แล้วก็ยังได้พระราชทานพระราชทรัพย์แก่องค์การศาสนาอื่น ๆ เป็นอันมาก...

ในข้อสองคือ "ศีล" จะเห็นได้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราได้ทรงประพฤติอยู่ในศีลทั้งในทางธรรมตามพระศาสนา และศีลของพระมหากษัตริย์กล่าวคือ ทรงประพฤติปฏิบัติในทางพระราชจริยาในทางพระวรกาย และทางพระวาจาให้เป็นที่สะอาดงดงามถูกต้องตามพระราชขัตติยประเพณีอยู่เป็นนิจ ไม่เคยบกพร่องแต่อย่างใดทั้งสิ้น

ในข้อที่สาม ด้านการ "บริจาค" หรือการเสียสละนั้น จะเห็นได้ว่าได้ทรงเสียสละพระราชทรัพย์มากมายและหลายครั้งหลายหนเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยพิบัติต่าง ๆ และองค์การมูลนิธิต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง นอกจากนั้น ก็ได้ทรงเสียสละพระองค์กล่าวคือ ได้ทรงยอมรับความเหนื่อยยากพระวรกายเพื่อทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจทั้งในประเทศและนอกประเทศ เพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวม เหล่านี้เป็นที่ประจักษ์ชัดกันอยู่แล้ว

ในส่วนที่สี่คือ "อาชวะ" ก็จะแลเห็นได้ชัดว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชอัธยาศัยที่ซื่อตรงต่อประชาชน และต่อหลักการแห่งประชาธิปไตยตลอดมา ทรงประกอบพระราชกรณียกิจทุกอย่างโดยปราศจากมายาสาไถย และทรงดำรงในความสัตย์สุจริตต่อรัฐบาลต่อประชาชนของพระองค์ ตลอดจนประเทศต่าง ๆ ที่เป็นมิตรต่อประเทศไทย ไม่เคยทรงคิดล่อลวงประทุษร้ายด้วยอุบายใด ๆ ทั้งสิ้น

ในข้อที่ห้าคือ "มัททวะ" นั้นก็ปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชอัธยาศัยที่อ่อนโยนต่อชนทุกชั้น ไม่เคยถือพระองค์ ไม่ว่าจะทรงมีพระราชปฏิสันถารต่อผู้ใด ก็มีพระราชปฏิสันถารตามควรแก่ฐานะของผู้นั้น ทรงมีสัมมาคารวะอ่อนน้อมต่อผู้ที่เจริญด้วยวัยวุฒิ หรือแก่สมณชีพราหมณ์ และทรงมีความอ่อนโยนต่อประชาชนของพระองค์ทุกชั้นโดยไม่เลือกหน้า

ในธรรมะข้อที่หกคือ "ตปะ" นั้นเห็นได้ชัดว่า พระองค์ได้ทรงตั้งพระราชหฤทัยที่จะทำหน้าที่ต่าง ๆ และทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่าง ๆ ด้วยอุตสาหวิริยภาพให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไปโดยที่มิได้ละเลยเป็นอันขาด ตปะก็แปลว่าการเผากิเลสหรือการเผาความเกียจคร้าน เผาความสุขสบายส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ในข้อนี้จะเห็นได้ชัดว่า ได้ทรงปฏิบัติธรรมะข้อนี้อย่างประเสริฐเป็นอย่างดีเยี่ยม

ธรรมะต่อไปอันเป็นข้อที่เจ็ดคือ "อักโกธะ" คือความไม่โกรธ ในเรื่องนี้ชาวไทยทั้งหลายก็คงจะทราบกันดี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาต่อชนทุกชั้นเสมอกัน และไม่เคยปรากฏว่าได้เคยกริ้วโกรธผู้ใดให้เป็นที่เดือดร้อน ทั้งนี้ ก็แสดงให้เห็นได้ชัดว่าทรงตั้งอยู่ในธรรมะในข้ออักโกธะ คือความไม่โกรธ ในธรรมะข้อที่แปด ได้แก่ "อวิหิงสา" นั้นก็ไม่เคยปรากฏว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราได้ทรงเบียดเบียนผู้ใดให้เดือดร้อน ตรงกันข้ามกลับทรงพระมหากรุณาต่อคนทั้งปวงโดยสม่ำเสมอตลอดเวลา

ข้อที่เก้าคือ "ขันติ" หรือความอดทนนั้น ทรงมีขันติธรรมเป็นอย่างยอดเยี่ยม เกือบจะเรียกว่าหาผู้ใดเสมอเหมือนมิได้ เหตุการณ์บ้านเมืองของเราที่ได้มีมานั้น ในบางครั้งก็เป็นเรื่องยากยิ่งสำหรับพระมหากษัตริย์ที่จะทรงอดทนได้ แต่ก็ปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราได้ทรงอดทนต่อบุคคล ต่อสถานการณ์ และต่อความผันผวนต่าง ๆ มาได้โดยตลอด มิได้เคยเสียธรรมะข้อนี้เลย

สำหรับทศพิธราชธรรมข้อที่สิบคือ "อวิโรธนะ" ก็เป็นที่ทราบชัดกันทั่วไปว่า ไม่เคยประพฤติผิดจากพระราชจริยานุวัตรของพระมหากษัตริย์แต่อย่างไรเลยกล่าวคือ ได้ทรงยกย่องผู้ที่มีความชอบควรแก่อุปถัมภ์ยกย่อง แล้วก็ทรงปราบคนที่มีความผิดที่ควรปราบโดยทางที่เป็นธรรม โดยเหตุที่ไม่ทรงยกย่องคนคนนั้น นอกจากนั้น ก็ไม่ปรากฏว่าทรงมัวเมาในลาภยศวาสนาหรืออย่างใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้ทรงปฏิเสธลาภต่าง ๆ ที่ทรงเห็นว่าไม่เป็นประโยชน์ หรือไม่เป็นลาภไม่ควรได้ ครั้งนั้นรัฐบาลมีความประสงค์จะถวายเครื่องบินเป็นพิเศษ เพื่อจัดเป็นราชพาหนะโดยเฉพาะ ก็ทรงปฏิเสธไม่ยอมรับเพราะทรงเห็นว่าไม่จำเป็น นอกจากนั้น ก็มีอีกหลายเรื่องหลายอย่างที่ได้ทรงปฏิบัติ

ทั้งหมดนี้เป็นทศพิธราชธรรมที่ได้ทรงปฏิบัติมาโดยครบถ้วนตรงกับพระราชปณิธานและพระบรมราชโองการเมื่อต้นรัชกาลในระหว่างพระราชพิธีบรมราชาภิเษกว่าจะครองแผ่นดินโดยธรรม..."

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์เขียนบทความนี้ไว้เมื่อตอนที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 36 พรรษา หลังจากนั้นอีกหลายสิบปีพระองค์ก็ทรงดำเนินตามพระราชปณิธานได้อย่างครบถ้วน และเป็นบุญวาสนาของคนรุ่นผมที่ได้อยู่ใต้พระบรมโพธิสมภารของพระองค์

ในวันที่หลายภาคส่วนตั้งใจที่จะประพฤติปฏิบัติตนตามรอยพระบาทเพื่อประเทศของเรานั้นผู้นำขององค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนก็นับว่ามีความโชคดีเช่นกันที่ได้เห็นตัวอย่างของพระราชาผู้ทรงไว้ซึ่งทศพิธราชธรรม และได้ทรงปฏิบัติธรรมอย่างครบถ้วนที่ผู้นำในแต่ละภาคส่วนสามารถนำไปเป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติตนได้อย่างชัดเจน...

ขอบคุณ http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1478487634

ที่มา: www.prachachat.net
วันที่โพสต์: 14/11/2559 เวลา 13:51:09 ดูภาพสไลด์โชว์ ทศพิธราชธรรม

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช คอลัมน์ ครู พัก ลัก จำ โดย ธนา เธียรอัจฉริยะ ผอ.สถาบันพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางธุรกิจมหาวิทยาลัยศรีปทุม ในช่วงแห่งความเศร้าโศกเสียใจของประเทศ นอกจากการแสดงออกของคนทั้งประเทศถึงความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่แล้ว เรายังได้เห็นกลุ่มคนจำนวนมากได้เริ่มน้อมนำเอาพระบรมราโชวาทและเริ่มทำความดี เริ่มทำเพื่อส่วนรวมเพื่อตามรอยคำสอนของพ่อหลวงของเรา นอกจากพระบรมราโชวาทและสิ่งที่ในหลวงได้สอนเป็นแนวทางให้เราแล้ว ธรรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการครองแผ่นดิน ก็เป็นแบบอย่างอันยิ่งใหญ่ให้บุคคลธรรมดาที่เป็นผู้นำในองค์กรต่าง ๆ ได้ตามรอยพระบาท เพราะผลลัพธ์ของความสุขความเจริญของแผ่นดินในวันนี้ เกิดขึ้นได้เพราะธรรมของพระราชาของเราทั้งสิ้น ถ้าองค์กรน้อยใหญ่มีผู้นำที่ได้ประพฤติแม้เพียงเศษเสี้ยวของท่าน ผลลัพธ์ในส่วนองค์กรก็คงจะเจริญและยังประโยชน์สุขให้คนในองค์กรได้ในทางเดียวกัน เมื่อทรงขึ้นครองราชย์ในปีพ.ศ. 2489 ในขณะที่มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกนั้น ได้เสด็จขึ้นประทับพระที่นั่งภัทรบิฐและได้มีพระบรมราชโองการเป็นนัดแรกว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เคยเขียนอธิบายถึง "ธรรม" นั้นหมายถึงธรรมะต่าง ๆ อันเป็นของพระมหากษัตริย์หรือเป็นของผู้ปกครองแผ่นดิน โดยในพระพุทธศาสนาเรียกธรรมของผู้ที่ครองแผ่นดินว่า ทศพิธราชธรรม โดยมีอยู่ 10 ประการ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ได้เขียนไว้บางส่วนว่า "ในข้อหนึ่ง "ทาน" คือการให้แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ปฏิบัติตามทศพิธราชธรรมข้อหนึ่งเป็นอย่างยิ่ง เพราะเหตุว่าได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อเกื้อกูลบุคคลเป็นจำนวนมาก และองค์การต่าง ๆ ที่เป็นการกุศล นอกจากพระราชทานพระราชทรัพย์แล้ว ยังพระราชทานเครื่องอุปโภคบริโภค ตลอดจนเหรียญตราและอื่น ๆ ให้แก่ผู้ที่รับราชการและผู้ที่ปฏิบัติเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ นอกจากนั้น ก็พระราชทานจตุปัจจัยไทยธรรมให้แก่บรรพชิตซึ่งเป็นผู้ประกอบกิจในพระศาสนาเป็นเนืองนิตย์ แล้วก็ยังได้พระราชทานพระราชทรัพย์แก่องค์การศาสนาอื่น ๆ เป็นอันมาก... ในข้อสองคือ "ศีล" จะเห็นได้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราได้ทรงประพฤติอยู่ในศีลทั้งในทางธรรมตามพระศาสนา และศีลของพระมหากษัตริย์กล่าวคือ ทรงประพฤติปฏิบัติในทางพระราชจริยาในทางพระวรกาย และทางพระวาจาให้เป็นที่สะอาดงดงามถูกต้องตามพระราชขัตติยประเพณีอยู่เป็นนิจ ไม่เคยบกพร่องแต่อย่างใดทั้งสิ้น ในข้อที่สาม ด้านการ "บริจาค" หรือการเสียสละนั้น จะเห็นได้ว่าได้ทรงเสียสละพระราชทรัพย์มากมายและหลายครั้งหลายหนเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยพิบัติต่าง ๆ และองค์การมูลนิธิต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง นอกจากนั้น ก็ได้ทรงเสียสละพระองค์กล่าวคือ ได้ทรงยอมรับความเหนื่อยยากพระวรกายเพื่อทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจทั้งในประเทศและนอกประเทศ เพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวม เหล่านี้เป็นที่ประจักษ์ชัดกันอยู่แล้ว ในส่วนที่สี่คือ "อาชวะ" ก็จะแลเห็นได้ชัดว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชอัธยาศัยที่ซื่อตรงต่อประชาชน และต่อหลักการแห่งประชาธิปไตยตลอดมา ทรงประกอบพระราชกรณียกิจทุกอย่างโดยปราศจากมายาสาไถย และทรงดำรงในความสัตย์สุจริตต่อรัฐบาลต่อประชาชนของพระองค์ ตลอดจนประเทศต่าง ๆ ที่เป็นมิตรต่อประเทศไทย ไม่เคยทรงคิดล่อลวงประทุษร้ายด้วยอุบายใด ๆ ทั้งสิ้น ในข้อที่ห้าคือ "มัททวะ" นั้นก็ปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชอัธยาศัยที่อ่อนโยนต่อชนทุกชั้น ไม่เคยถือพระองค์ ไม่ว่าจะทรงมีพระราชปฏิสันถารต่อผู้ใด ก็มีพระราชปฏิสันถารตามควรแก่ฐานะของผู้นั้น ทรงมีสัมมาคารวะอ่อนน้อมต่อผู้ที่เจริญด้วยวัยวุฒิ หรือแก่สมณชีพราหมณ์ และทรงมีความอ่อนโยนต่อประชาชนของพระองค์ทุกชั้นโดยไม่เลือกหน้า ในธรรมะข้อที่หกคือ "ตปะ" นั้นเห็นได้ชัดว่า พระองค์ได้ทรงตั้งพระราชหฤทัยที่จะทำหน้าที่ต่าง ๆ และทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่าง ๆ ด้วยอุตสาหวิริยภาพให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไปโดยที่มิได้ละเลยเป็นอันขาด ตปะก็แปลว่าการเผากิเลสหรือการเผาความเกียจคร้าน เผาความสุขสบายส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ในข้อนี้จะเห็นได้ชัดว่า ได้ทรงปฏิบัติธรรมะข้อนี้อย่างประเสริฐเป็นอย่างดีเยี่ยม ธรรมะต่อไปอันเป็นข้อที่เจ็ดคือ "อักโกธะ" คือความไม่โกรธ ในเรื่องนี้ชาวไทยทั้งหลายก็คงจะทราบกันดี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาต่อชนทุกชั้นเสมอกัน และไม่เคยปรากฏว่าได้เคยกริ้วโกรธผู้ใดให้เป็นที่เดือดร้อน ทั้งนี้ ก็แสดงให้เห็นได้ชัดว่าทรงตั้งอยู่ในธรรมะในข้ออักโกธะ คือความไม่โกรธ ในธรรมะข้อที่แปด ได้แก่ "อวิหิงสา" นั้นก็ไม่เคยปรากฏว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราได้ทรงเบียดเบียนผู้ใดให้เดือดร้อน ตรงกันข้ามกลับทรงพระมหากรุณาต่อคนทั้งปวงโดยสม่ำเสมอตลอดเวลา ข้อที่เก้าคือ "ขันติ" หรือความอดทนนั้น ทรงมีขันติธรรมเป็นอย่างยอดเยี่ยม เกือบจะเรียกว่าหาผู้ใดเสมอเหมือนมิได้ เหตุการณ์บ้านเมืองของเราที่ได้มีมานั้น ในบางครั้งก็เป็นเรื่องยากยิ่งสำหรับพระมหากษัตริย์ที่จะทรงอดทนได้ แต่ก็ปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราได้ทรงอดทนต่อบุคคล ต่อสถานการณ์ และต่อความผันผวนต่าง ๆ มาได้โดยตลอด มิได้เคยเสียธรรมะข้อนี้เลย สำหรับทศพิธราชธรรมข้อที่สิบคือ "อวิโรธนะ" ก็เป็นที่ทราบชัดกันทั่วไปว่า ไม่เคยประพฤติผิดจากพระราชจริยานุวัตรของพระมหากษัตริย์แต่อย่างไรเลยกล่าวคือ ได้ทรงยกย่องผู้ที่มีความชอบควรแก่อุปถัมภ์ยกย่อง แล้วก็ทรงปราบคนที่มีความผิดที่ควรปราบโดยทางที่เป็นธรรม โดยเหตุที่ไม่ทรงยกย่องคนคนนั้น นอกจากนั้น ก็ไม่ปรากฏว่าทรงมัวเมาในลาภยศวาสนาหรืออย่างใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้ทรงปฏิเสธลาภต่าง ๆ ที่ทรงเห็นว่าไม่เป็นประโยชน์ หรือไม่เป็นลาภไม่ควรได้ ครั้งนั้นรัฐบาลมีความประสงค์จะถวายเครื่องบินเป็นพิเศษ เพื่อจัดเป็นราชพาหนะโดยเฉพาะ ก็ทรงปฏิเสธไม่ยอมรับเพราะทรงเห็นว่าไม่จำเป็น นอกจากนั้น ก็มีอีกหลายเรื่องหลายอย่างที่ได้ทรงปฏิบัติ ทั้งหมดนี้เป็นทศพิธราชธรรมที่ได้ทรงปฏิบัติมาโดยครบถ้วนตรงกับพระราชปณิธานและพระบรมราชโองการเมื่อต้นรัชกาลในระหว่างพระราชพิธีบรมราชาภิเษกว่าจะครองแผ่นดินโดยธรรม..." หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์เขียนบทความนี้ไว้เมื่อตอนที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 36 พรรษา หลังจากนั้นอีกหลายสิบปีพระองค์ก็ทรงดำเนินตามพระราชปณิธานได้อย่างครบถ้วน และเป็นบุญวาสนาของคนรุ่นผมที่ได้อยู่ใต้พระบรมโพธิสมภารของพระองค์ ในวันที่หลายภาคส่วนตั้งใจที่จะประพฤติปฏิบัติตนตามรอยพระบาทเพื่อประเทศของเรานั้นผู้นำขององค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนก็นับว่ามีความโชคดีเช่นกันที่ได้เห็นตัวอย่างของพระราชาผู้ทรงไว้ซึ่งทศพิธราชธรรม และได้ทรงปฏิบัติธรรมอย่างครบถ้วนที่ผู้นำในแต่ละภาคส่วนสามารถนำไปเป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติตนได้อย่างชัดเจน... ขอบคุณ… http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1478487634

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...