รัฐธรรมนูญมาตรา68, 291 กับศาลรัฐธรรมนูญ โดย สมลักษณ์ จัดกระบวนพล

แสดงความคิดเห็น

สมลักษณ์ จัดกระบวนพล อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกาและกรรมการ ป.ป.ช. อาจารย์พิเศษผู้บรรยายวิชาระบบศาล และการพิจารณาคดี (พระธรรมนูญศาลยุติธรรม) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ศาลรัฐธรรมนูญ

ระยะนี้ประชาชนชาวไทยกำลังรู้สึกเครียดกับเรื่องม็อบต่างๆ ซึ่งดาวกระจายไปตามสถานที่ราชการหลายแห่ง เป็นเหตุให้รัฐบาลออก พ.ร.บ.ความมั่นคง ถึงกระนั้นฝ่ายรัฐก็ไม่กล้าใช้อำนาจเต็มที่ตามที่มีในบทบัญญัติของกฎหมาย จึงต้องใช้วิธีพูดคุยโดยสันติ ซึ่งก็คงต้องทำในสภาพบ้านเมืองปัจจุบันนี้ เพราะบุคคลมักไม่เกรงกลัวกฎหมาย และเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้รักษาการตามกฎหมาย เพราะสั่งอะไรก็ไม่ทำตาม แต่กลับไปเชื่อฟังผู้นำม็อบมากกว่า

ผู้เขียนก็เห็นว่าประชาชนชุมนุมได้ตามสิทธิ เพราะรัฐธรรมนูญมาตรา 63 ได้ให้สิทธิดังกล่าวนี้ไว้ แต่อ่านมาตรา 63 แล้ว ก็อย่าลืมพลิกไปดูรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หมวด 3 ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย มาตรา 28 ซึ่งบัญญัติว่า

"บุคคล ย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน...Ž "

การที่ต่างพากันเดิน ดาวกระจายไปตามถนนสายต่างๆ เกือบทั่วกรุงเทพมหานคร อันเป็นเหตุให้ประชาชนส่วนใหญ่ที่เขาจำเป็นต้องใช้ถนนหนทางไปทำกิจส่วนตัว ของเขาโดยปกติสุขต้องวนไปใช้เส้นทางอื่น จนทำให้เขาต้องกระทบกระเทือนทั้งร่างกายและจิตใจนั้น ก็ลองคิดดูว่าท่านละเมิดรัฐธรรมนูญมาตรา 28 อันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศหรือไม่ ถึงแม้ท่านจะใช้สิทธิตามมาตรา 63 ได้ก็ตาม

นอกจากเรื่องม็อบต่างๆ แล้วก็ยังมีเรื่องสับสนเกี่ยวกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ประชาชนจะไม่สับสนได้อย่างไรเพราะมีนักการเมืองบางกลุ่มที่ได้รับผลเสียจาก การวินิจฉัยของศาลครั้งนี้ออกมาตอบโต้ว่าไม่ยอมรับอำนาจศาล ส่วนนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามก็ออกมากล่าวหาอย่างรุนแรงว่าเป็นการกระทำที่ไม่ ชอบที่ไม่ยอมรับอำนาจตุลาการ

ไม่ใช่แค่นักการเมือง ยังมีนักวิชาการทางด้านกฎหมายก็แบ่งแยกความคิดเห็นเป็น 2 ฝ่าย โดยให้เหตุผลในทางวิชาการไว้อย่างน่าคิดทั้งสิ้น คนที่ไม่ใช่นักกฎหมายในบ้านเมืองนี้จึงงงเป็นไก่ตาแตกไม่รู้จะเชื่อฝ่ายใดดี แง่คิดง่ายๆ ไม่ต้องคิดลึกก็คือ การแถลงไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลใดๆ ก็ตามจะกระทำมิได้

ขอ อนุญาตอ้างอิงคำตอบของท่านอดีตประธานวุฒิสภา และอดีตประธานรัฐสภาที่ว่า เราเป็นประชาชน ไม่ใช่อันธพาล จึงต้องปฏิบัติตามคำตัดสินอันเป็นที่สุดของศาล ต้องประพฤติตนตามกติกาของบ้านเมือง การจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยย่อมทำได้และเป็นของธรรมดา แต่จะปฏิเสธ หรือไม่ยอมรับ หรือไม่รับรู้เห็นจะไม่ได้ เพราะถ้าบ้านเมืองไร้ขื่อแป จะมีผลต่อเราโดยตรง ไม่เหมือนคนที่เป็นนักการเมือง ที่กอบโกยเงินทองไว้ล้นเหลือ ที่ถึงเวลาเขาก็หอบเงินและลูกเมียไปเสวยสุขยังต่างประเทศได้Ž

เป็นคำตอบที่ครบและค่อนข้างชัดเจนในกรณีเป็นเรื่องที่ศาลมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนั้น

เมื่อ ศาลมีคำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยออกมาแล้ว บุคคลที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเสียประโยชน์หรือได้ประโยชน์ต้องปฏิบัติตามคำ วินิจฉัยของศาล จะอ้างว่าไม่ยอมรับอำนาจศาลไม่ได้โดยเด็ดขาด แต่ถ้าหากเป็นกรณีที่ศาลไม่มีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีนั้นแต่ไปวินิจฉัย คดีที่ศาลไม่มีอำนาจ ผลแห่งคำวินิจฉัยนั้นน่าจะไม่ชอบ

ยกตัวอย่างง่ายๆ ให้คนที่ไม่ใช่นักกฎหมายเข้าใจ เช่น คนที่ไม่มีเงินในกระเป๋าสักบาทเดียว จะเอาเงินที่ใดไปใช้ซื้อสิ่งของเล่า

พิจารณา ดูคำแถลงการณ์ของผู้เสียประโยชน์จากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญฉบับนี้แล้ว น่าจะเป็นเรื่องแถลงการณ์ว่า ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจวินิจฉัยเรื่องการแก้ไขที่มาของ ส.ว. ในรัฐสภา ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการไม่ยอมรับอำนาจศาล ซึ่งหมายถึงไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของศาล

เมื่อเราพูดถึง "ศาล"Ž จำเป็นต้องพิจารณาให้เข้าใจใน 2 เรื่องดังนี้

1.เขต หรือเขตอำนาจศาล ซึ่งหมายถึงเขตทางภูมิศาสตร์หรือเขตทางการปกครอง ยกตัวอย่างพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 16 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า ศาลแพ่งและศาลอาญา มีเขตตลอดท้องที่กรุงเทพมหานคร นอกจากท้องที่ที่อยู่ในเขตของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี ศาลจังหวัดมีนบุรี และศาลยุติธรรมอื่นตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดไว้Ž หมายความว่า ถ้าคดีอยู่ในเขตอำนาจศาลใดก็ต้องฟ้องให้ถูกเขตศาล มิฉะนั้น ศาลก็ไม่มีอำนาจรับคดีนั้นไว้พิจารณาพิพากษา สำหรับศาลรัฐธรรมนูญ ไม่มีปัญหาด้านการพิจารณาในเรื่องเขตอำนาจศาล เพราะมีศาลเดียวในประเทศไทย

2.อำนาจ ศาล ซึ่งหมายถึงประเภทของคดี เช่น คดีแพ่งก็ต้องฟ้องที่ศาลแพ่ง คดีอาญาก็ต้องฟ้องที่ศาลอาญา คดีที่มีโทษจำคุกไม่เกินสามปี ปรับไม่เกินหกหมื่นบาท ก็ต้องฟ้องที่ศาลแขวง ยกตัวอย่าง พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 19 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติไว้ว่า ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ และศาลแพ่งธนบุรี มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งทั้งปวงและคดีอื่นใดที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาล ยุติธรรมอื่นŽ เช่น คดีแพ่งที่เกิดในเรือหรืออากาศยานไทยที่อยู่นอกราชอาณาจักร (ตาม ป.วิ.พ. ม.3 (1"

วรรคสอง บัญญัติว่า ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ และศาลอาญาธนบุรีมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ในอำนาจ ของศาลยุติธรรมอื่น รวมทั้งคดีอื่นใดที่มีกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลที่มีอำนาจพิจารณา คดีอาญา แล้วแต่กรณีŽ เช่น ความผิดที่เกิดขึ้นนอกราชอาณาจักรไทย หรือความผิดที่การสอบสวนได้กระทำลงในท้องที่หนึ่งซึ่งอยู่ในเขตของศาลใด ให้ชำระที่ศาลนั้น (ตาม ป.วิ.อาญา ม.22 (2"

ส่วนเกี่ยวกับศาลแขวง นั้น พระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 17 บัญญัติว่า ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอำนาจทำการไต่สวน หรือมีคำสั่งใดๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 วรรคหนึ่งŽ เช่น มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาซึ่งกฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างสูงจำคุกไม่เกิน สามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท ทั้งนี้ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 25 (5)

เรื่องอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีนั้น นับเป็นเรื่องสำคัญมากในการพิจารณาเกี่ยวกับระบบศาลไม่ว่าศาลใด เพราะถ้าผู้ฟ้องหรือผู้ยื่นคำร้องไปยื่นฟ้องหรือยื่นคำร้องต่อศาลที่ไม่มี อำนาจพิจารณาพิพากษาในเรื่องนั้นๆ ศาลรับคดีไว้วินิจฉัยไม่ได้ หากพิจารณาในด้านของศาล ก็เป็นเรื่องที่ศาลไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนั้น

สำหรับศาลรัฐธรรมนูญซึ่งถูกสถาปนาหรือเกิดมีขึ้นครั้งแรกตามรัฐ ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเฉพาะที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้ อำนาจไว้ ได้ตรวจดูโดยละเอียดรอบคอบแล้ว

รัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ ปัจจุบันนี้ ไม่ได้มีบทบัญญัติให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐ ธรรมนูญ ตามมาตรา 291 และเมื่อตรวจดูบทบัญญัติมาตรานี้ทุกอนุมาตรา ตั้งแต่อนุมาตรา 1 จนถึงอนุมาตรา 7 ซึ่งบัญญัติว่า เมื่อการลงมติได้เป็นไปตามที่กล่าวแล้ว (หมายถึงกระทำตามอนุมาตรา 1 ถึง 6 แล้ว) ให้นำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย และให้นำบทบัญญัติมาตรา 150 และมาตรา 151 มาใช้บังคับโดยอนุโลมŽ

มาตรา 150 บัญญัติว่า "ร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาแล้ว ให้นายก รัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายภายในยี่สิบวันนับแต่วันที่ ได้รับร่างพระราชบัญญัตินั้นจากรัฐสภา เพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้Ž

มาตรา 151 บัญญัติว่า "ร่างพระราชบัญญัติใด พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยและพระราชทานคืนมายังรัฐสภา หรือเมื่อพ้นเก้าสิบวันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา รัฐสภาจะต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่ ถ้ารัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวน สมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำร่างพระราชบัญญัตินั้นขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายอีก ครั้งหนึ่ง เมื่อพระมหากษัตริย์มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานคืนมาภายในสามสิบวัน ให้นายกรัฐมนตรีนำพระราชบัญญัตินั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็น กฎหมายได้เสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว"Ž

พิจารณา บทบัญญัติทั้ง 3 มาตราซึ่งเกี่ยวกับร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแล้ว จะเห็นว่ามีบุคคลที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้อยู่ 3 องค์กรเท่านั้นคือ 1.พระมหากษัตริย์ 2.รัฐสภา 3.นายกรัฐมนตรี

บุคคลอื่นหรือสถาบันอื่นนอกจากนี้จึงไม่มีอำนาจที่จะเข้ามาเกี่ยวข้อง และนอกจากจะไม่กล่าว ถึงอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว และถ้าตรวจดูบทบัญญัติดังกล่าวให้ถี่ถ้วนจะเห็นว่าไม่มีการเว้นช่องว่างของ ระยะเวลาให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจตรวจสอบได้เลย เพราะตามมาตรา 150 บังคับนายกรัฐมนตรีให้ต้องนำร่างรัฐธรรมนูญที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา แล้วขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมภายในยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างรัฐ ธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ถ้านายกรัฐมนตรีไม่ปฏิบัติตาม นายกรัฐมนตรีต้องมีความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 จะรอให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบหรือส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเช่น เดียวกับร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือร่างข้อบังคับตามมาตรา 155 ไม่ได้เพราะมาตรา 291 ไม่ได้ให้อำนาจไว้เหมือนกับที่บัญญัติไว้ในมาตรา 154 วรรคสอง ที่บัญญัติให้นายกรัฐมนตรีระงับการดำเนินการ เพื่อประกาศใช้ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวไว้จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำ วินิจฉัย

ด้วยเหตุผลทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวข้างต้นจึงต้องยืนยันว่า ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจวินิจฉัยการแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญของรัฐสภา ตามมาตรา 291 ข้อสำคัญที่สุดคือ ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับนี้ นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว ซึ่งก็เป็นการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ ต้องถือว่าร่างรัฐธรรมนูญอยู่ในพระราชอำนาจที่จะมีพระบรมราชวินิจฉัยว่าจะ ทรงลงพระปรมาภิไธยหรือไม่ ฉะนั้น นอกจากจะไม่ได้อยู่ในอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ยังเป็นการมิบังควรที่จะทำการวินิจฉัย ที่สมควรทำคือส่งร่างแก้ไขเพิ่มเติมคืนและไม่รับวินิจฉัย

มี ผู้แนะนำให้นายกรัฐมนตรีขอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญคืนมาก่อน แต่ผู้เขียนเห็นว่าจะให้นายกรัฐมนตรีขอคืนกลับมาด้วยเหตุผลใด เพราะศาลรัฐธรรมนูญก็มิได้มีคำวินิจฉัยให้เลิกการกระทำ เพราะสั่งไม่ได้เนื่องจากเกินเวลาแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญยังไม่อาจสั่งการ แล้วจะให้นายกรัฐมนตรีบังอาจขอร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวคืนมาทั้งๆ ที่ไม่มีบทบัญญัติให้นายกรัฐมนตรีทำเช่นนั้นได้หรือ

ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยโดยใช้มาตรา 68 ได้หรือไม่

1.ศาล รัฐธรรมนูญไม่อาจนำรัฐธรรมนูญมาตรา 68 มาใช้กับบุคคลหรือพรรคการเมืองในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นการกระทำในรัฐสภา ตามมาตรา 291 ซึ่งอยู่ในหมวด 15 ส่วนมาตรา 68 อยู่ในหมวดที่ 3 ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย ซึ่งไม่เกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดยรัฐสภา

2.กระบวนการ ยื่นคำร้องไม่ชอบ เพราะการยื่นคำร้องในกรณีนี้ต้องเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จ จริงและเป็นผู้ยื่นคำร้อง (ดูบทความของผู้เขียนเรื่อง ศาลรัฐธรรมนูญกับรัฐธรรมนูญมาตรา 68Ž จะเข้าใจแจ่มแจ้ง)

3.คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญน่าจะผิดหลักการเขียนคำพิพากษา เพราะศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการกระทำของผู้ถูกร้องผิดตามมาตรา 68 วรรค 1 ซึ่งต้องมีคำสั่งให้เลิกการกระทำดังกล่าว ที่ไม่สั่งหรือไม่สามารถสั่ง น่าจะเป็นเพราะรัฐสภาได้พิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระที่ 3 และลงมติไปเรียบร้อย จนกระทั่งนายกรัฐมนตรีได้นำร่างดังกล่าวทูลเกล้าทูลกระหม่อมเพื่อทรงลงพระ ปรมาภิไธยแล้ว

4.เมื่อศาลรัฐธรรมนูญไม่สามารถสั่งให้เลิกการกระทำ จึงไม่อาจสั่งให้ยุบพรรคการเมืองและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งหัวหน้าพรรคและ กรรมการของพรรคการเมืองนั้นได้ ที่ว่าคำวินิจฉัยผิดหลัก การเรื่องเขียนคำพิพากษาก็เพราะคำพิพากษาที่ วินิจฉัยว่า อาศัยเหตุดังที่ได้วินิจฉัยมาแล้วข้างต้น จึงวินิจฉัยโดยมติเสียงข้างมาก 6 ต่อ 3 ว่า การดำเนินการพิจารณาและลงมติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของผู้ถูกร้องทั้งหมด ในคดีนี้ เป็นการกระทำที่ไม่ชอบโดยกฎหมายรัฐธธรมนูญ... อันเป็นการทำให้ผู้ที่ถูกร้องได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศด้วยวิธีการ ซึ่งไม่ได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญมาตรา 68 วรรค 1Ž

หมายความว่าศาลรัฐ ธรรมนูญวินิจฉัยโดยมีมติเสียงข้างมาก 6 ต่อ 3 ว่าผู้ถูกร้องกระทำความผิดตามมาตรา 68 วรรค 1 ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญจะต้องให้ผู้ถูกร้องเลิกการกระทำดังกล่าว แต่กลับไม่สั่งโดยไม่ให้เหตุผลว่าเมื่อวินิจฉัยว่าเมื่อผู้ถูกร้องกระทำผิด แล้วเหตุใดจึงไม่สั่งให้เลิกการกระทำนั้น แต่กลับไปวินิจฉัยว่า ส่วนที่ผู้ร้องขอยุบพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้อง และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารของพรรคการเมืองเหล่านั้น เห็นว่ายังไม่เข้าเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 68 วรรค 3 และวรรค 4 จึงยกคำร้องในส่วนนี้Ž อ่านแล้วคลุมเครือจนผู้ถูกร้องก็ไม่ทราบว่าจะปฏิบัติอย่างไร เพราะถ้าพิจารณามาตรา 68 แล้วเงื่อนไขยุบพรรคหรือไม่ ตามวรรค 3 และจะเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งตามวรรค 4 หรือไม่ มิใช่ตามเงื่อนไขในวรรค 3 และวรรค 4 แต่หากเป็นเงื่อนไขตามวรรค 2 คือศาลต้องสั่งให้เลิกการกระทำดังกล่าว เพราะผู้ถูกร้องผิดตามมาตรา 68 วรรค 1 เสียก่อน จึงจะสั่งตามมาตรา 68 วรรค 3 และวรรค 4 ซึ่งศาลจะสั่งหรือไม่ก็ได้ แต่ถ้าวินิจฉัยว่าผู้ถูกร้องผิดตามวรรค 1 ศาลต้องสั่งให้เลิกการกระทำตามวรรค 1 จะไม่สั่งไม่ได้ เพราะวรรค 2 บัญญัติว่า ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อ เท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดัง กล่าว แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าวŽ

ถ้า จะถามว่าถ้า ส.ส. หรือ ส.ว. กระทำความผิดตามมาตรา 68 วรรค 1 ไม่อยู่ในอำนาจศาลรัฐธรรมนูญแล้ว จะให้องค์กรใดมีอำนาจดำเนินการ ก็จะตอบได้ว่า ถ้านักการเมืองเหล่านั้นมิได้กระทำการตามมาตรา 68 วรรค 1 ในสภา แต่ไปประชุมกันลับๆ หรือมี ส.ส. ส.ว. เสนอความเห็นให้มีการกระทำในวรรค 1 จึงอยู่ในอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 68 แต่ถ้ามีการทำในสภาก็มีความผิดตามรัฐธรรมนูญมาตรา 270 คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีอำนาจไต่สวนตามมาตรา 272 ไต่สวนแล้วก็ส่งให้วุฒิสภามีมติถอดถอน ส่วนความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา คณะกรรมการ ป.ป.ช.ดำเนินการไต่สวนแล้วถ้ามีมติว่ามีมูลความผิดจะส่งไปที่อัยการสูงสุด เพื่อดำเนินการฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิจารณาพิพากษา ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต มาตรา 19 (2)

ส่วนที่มีการกล่าวอ้างว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะ รัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 216 (5) นั้น คำวินิจฉัยนั้นจะต้องเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้น เพราะการจะพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นอำนาจของศาลก็จริงอยู่ แต่ศาลก็ต้องดำเนินการไปโดยยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมาย และในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ตามมาตรา 197 วรรคหนึ่ง และในวรรคสอง บัญญัติว่า ผู้พิพากษาและตุลาการมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีให้เป็นไปโดยถูก ต้อง รวด เร็ว และเป็นธรรม ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย

ด้วยความเคารพ ต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ผู้เขียนได้พิจารณาบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ประกอบเจตนารมณ์ของ ส.ส.ร. ผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้แล้ว มีความเห็นโดยสุจริตใจว่า

1.ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจวินิจฉัยร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องแก้ไขที่มาของสมาชิกวุฒิสภา

2.กระบวนการที่ยื่นตามมาตรา 68 ไม่ถูกต้องเพราะไม่ผ่านการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยอัยการสูงสุดก่อนตามมาตรา 68 วรรค 2

3.เกินกำหนดเวลาที่ศาลจะวินิจฉัย เพราะนายกรัฐมนตรีได้นำร่างดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว

4.เป็นคำวินิจฉัยที่คลุมเครือ คือวินิจฉัยว่าผู้ร้องกระทำผิดตามมาตรา 68 วรรค 1 แต่ไม่สั่งให้ผู้เกี่ยวข้องกับการแก้ไขเพิ่มเติมกระทำการแก้ไขอย่างไร เป็นเหตุให้สถาบันดังกล่าว เช่น รัฐสภา, นายกรัฐมนตรี ก็ไม่ทราบจะปฏิบัติต่อไปอย่างไร

5.ไม่มีผลบังคับตามมาตรา 216 วรรค 5

6.มีผลกระทบต่อสังคมอย่างกว้างขวาง เช่น มีผู้นำคำวินิจฉัยนี้ใช้อ้างเพื่อปลุกเร้าอารมณ์ของมวลชนว่ารัฐบาลหมดความ ชอบธรรมเพราะไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญฉบับนี้

7.จากผลของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ จะทำให้อำนาจตุลาการเข้าไปก้าวล่วงอำนาจนิติบัญญัติ เพราะถ้าศาลมีอำนาจเข้าไปวินิจฉัยเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ทั้งๆ ที่ผ่านวาระ 3 ไปแล้ว บุคคลที่ไม่ต้องการให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ว่าฉบับใดๆ ก็จะยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบทุกระยะไป ไม่ว่าในวาระ 1 วาระ 2 วาระ 3 ผลแห่งการนี้จึงดูเสมือนว่าศาลรัฐธรรมนูญคุมอำนาจในการร่างหรือการแก้ไข เพิ่มเติมรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นอำนาจของรัฐสภาไว้อย่างเบ็ดเสร็จ

ขอบคุณ... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1387362764&grpid=03&catid=&subcatid=

(มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 ธ.ค.56)

ที่มา: มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 ธ.ค.56
วันที่โพสต์: 19/12/2556 เวลา 03:42:53 ดูภาพสไลด์โชว์ รัฐธรรมนูญมาตรา68, 291 กับศาลรัฐธรรมนูญ โดย สมลักษณ์ จัดกระบวนพล

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

สมลักษณ์ จัดกระบวนพล อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกาและกรรมการ ป.ป.ช. อาจารย์พิเศษผู้บรรยายวิชาระบบศาล และการพิจารณาคดี (พระธรรมนูญศาลยุติธรรม) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศาลรัฐธรรมนูญ ระยะนี้ประชาชนชาวไทยกำลังรู้สึกเครียดกับเรื่องม็อบต่างๆ ซึ่งดาวกระจายไปตามสถานที่ราชการหลายแห่ง เป็นเหตุให้รัฐบาลออก พ.ร.บ.ความมั่นคง ถึงกระนั้นฝ่ายรัฐก็ไม่กล้าใช้อำนาจเต็มที่ตามที่มีในบทบัญญัติของกฎหมาย จึงต้องใช้วิธีพูดคุยโดยสันติ ซึ่งก็คงต้องทำในสภาพบ้านเมืองปัจจุบันนี้ เพราะบุคคลมักไม่เกรงกลัวกฎหมาย และเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้รักษาการตามกฎหมาย เพราะสั่งอะไรก็ไม่ทำตาม แต่กลับไปเชื่อฟังผู้นำม็อบมากกว่า ผู้เขียนก็เห็นว่าประชาชนชุมนุมได้ตามสิทธิ เพราะรัฐธรรมนูญมาตรา 63 ได้ให้สิทธิดังกล่าวนี้ไว้ แต่อ่านมาตรา 63 แล้ว ก็อย่าลืมพลิกไปดูรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หมวด 3 ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย มาตรา 28 ซึ่งบัญญัติว่า "บุคคล ย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน...Ž " การที่ต่างพากันเดิน ดาวกระจายไปตามถนนสายต่างๆ เกือบทั่วกรุงเทพมหานคร อันเป็นเหตุให้ประชาชนส่วนใหญ่ที่เขาจำเป็นต้องใช้ถนนหนทางไปทำกิจส่วนตัว ของเขาโดยปกติสุขต้องวนไปใช้เส้นทางอื่น จนทำให้เขาต้องกระทบกระเทือนทั้งร่างกายและจิตใจนั้น ก็ลองคิดดูว่าท่านละเมิดรัฐธรรมนูญมาตรา 28 อันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศหรือไม่ ถึงแม้ท่านจะใช้สิทธิตามมาตรา 63 ได้ก็ตาม นอกจากเรื่องม็อบต่างๆ แล้วก็ยังมีเรื่องสับสนเกี่ยวกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ประชาชนจะไม่สับสนได้อย่างไรเพราะมีนักการเมืองบางกลุ่มที่ได้รับผลเสียจาก การวินิจฉัยของศาลครั้งนี้ออกมาตอบโต้ว่าไม่ยอมรับอำนาจศาล ส่วนนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามก็ออกมากล่าวหาอย่างรุนแรงว่าเป็นการกระทำที่ไม่ ชอบที่ไม่ยอมรับอำนาจตุลาการ ไม่ใช่แค่นักการเมือง ยังมีนักวิชาการทางด้านกฎหมายก็แบ่งแยกความคิดเห็นเป็น 2 ฝ่าย โดยให้เหตุผลในทางวิชาการไว้อย่างน่าคิดทั้งสิ้น คนที่ไม่ใช่นักกฎหมายในบ้านเมืองนี้จึงงงเป็นไก่ตาแตกไม่รู้จะเชื่อฝ่ายใดดี แง่คิดง่ายๆ ไม่ต้องคิดลึกก็คือ การแถลงไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลใดๆ ก็ตามจะกระทำมิได้ ขอ อนุญาตอ้างอิงคำตอบของท่านอดีตประธานวุฒิสภา และอดีตประธานรัฐสภาที่ว่า เราเป็นประชาชน ไม่ใช่อันธพาล จึงต้องปฏิบัติตามคำตัดสินอันเป็นที่สุดของศาล ต้องประพฤติตนตามกติกาของบ้านเมือง การจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยย่อมทำได้และเป็นของธรรมดา แต่จะปฏิเสธ หรือไม่ยอมรับ หรือไม่รับรู้เห็นจะไม่ได้ เพราะถ้าบ้านเมืองไร้ขื่อแป จะมีผลต่อเราโดยตรง ไม่เหมือนคนที่เป็นนักการเมือง ที่กอบโกยเงินทองไว้ล้นเหลือ ที่ถึงเวลาเขาก็หอบเงินและลูกเมียไปเสวยสุขยังต่างประเทศได้Ž เป็นคำตอบที่ครบและค่อนข้างชัดเจนในกรณีเป็นเรื่องที่ศาลมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนั้น เมื่อ ศาลมีคำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยออกมาแล้ว บุคคลที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเสียประโยชน์หรือได้ประโยชน์ต้องปฏิบัติตามคำ วินิจฉัยของศาล จะอ้างว่าไม่ยอมรับอำนาจศาลไม่ได้โดยเด็ดขาด แต่ถ้าหากเป็นกรณีที่ศาลไม่มีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีนั้นแต่ไปวินิจฉัย คดีที่ศาลไม่มีอำนาจ ผลแห่งคำวินิจฉัยนั้นน่าจะไม่ชอบ ยกตัวอย่างง่ายๆ ให้คนที่ไม่ใช่นักกฎหมายเข้าใจ เช่น คนที่ไม่มีเงินในกระเป๋าสักบาทเดียว จะเอาเงินที่ใดไปใช้ซื้อสิ่งของเล่า พิจารณา ดูคำแถลงการณ์ของผู้เสียประโยชน์จากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญฉบับนี้แล้ว น่าจะเป็นเรื่องแถลงการณ์ว่า ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจวินิจฉัยเรื่องการแก้ไขที่มาของ ส.ว. ในรัฐสภา ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการไม่ยอมรับอำนาจศาล ซึ่งหมายถึงไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของศาล เมื่อเราพูดถึง "ศาล"Ž จำเป็นต้องพิจารณาให้เข้าใจใน 2 เรื่องดังนี้ 1.เขต หรือเขตอำนาจศาล ซึ่งหมายถึงเขตทางภูมิศาสตร์หรือเขตทางการปกครอง ยกตัวอย่างพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 16 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า ศาลแพ่งและศาลอาญา มีเขตตลอดท้องที่กรุงเทพมหานคร นอกจากท้องที่ที่อยู่ในเขตของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี ศาลจังหวัดมีนบุรี และศาลยุติธรรมอื่นตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดไว้Ž หมายความว่า ถ้าคดีอยู่ในเขตอำนาจศาลใดก็ต้องฟ้องให้ถูกเขตศาล มิฉะนั้น ศาลก็ไม่มีอำนาจรับคดีนั้นไว้พิจารณาพิพากษา สำหรับศาลรัฐธรรมนูญ ไม่มีปัญหาด้านการพิจารณาในเรื่องเขตอำนาจศาล เพราะมีศาลเดียวในประเทศไทย 2.อำนาจ ศาล ซึ่งหมายถึงประเภทของคดี เช่น คดีแพ่งก็ต้องฟ้องที่ศาลแพ่ง คดีอาญาก็ต้องฟ้องที่ศาลอาญา คดีที่มีโทษจำคุกไม่เกินสามปี ปรับไม่เกินหกหมื่นบาท ก็ต้องฟ้องที่ศาลแขวง ยกตัวอย่าง พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 19 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติไว้ว่า ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ และศาลแพ่งธนบุรี มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งทั้งปวงและคดีอื่นใดที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาล ยุติธรรมอื่นŽ เช่น คดีแพ่งที่เกิดในเรือหรืออากาศยานไทยที่อยู่นอกราชอาณาจักร (ตาม ป.วิ.พ. ม.3 (1)) วรรคสอง บัญญัติว่า ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ และศาลอาญาธนบุรีมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ในอำนาจ ของศาลยุติธรรมอื่น รวมทั้งคดีอื่นใดที่มีกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลที่มีอำนาจพิจารณา คดีอาญา แล้วแต่กรณีŽ เช่น ความผิดที่เกิดขึ้นนอกราชอาณาจักรไทย หรือความผิดที่การสอบสวนได้กระทำลงในท้องที่หนึ่งซึ่งอยู่ในเขตของศาลใด ให้ชำระที่ศาลนั้น (ตาม ป.วิ.อาญา ม.22 (2)) ส่วนเกี่ยวกับศาลแขวง นั้น พระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 17 บัญญัติว่า ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอำนาจทำการไต่สวน หรือมีคำสั่งใดๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 วรรคหนึ่งŽ เช่น มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาซึ่งกฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างสูงจำคุกไม่เกิน สามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท ทั้งนี้ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 25 (5) เรื่องอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีนั้น นับเป็นเรื่องสำคัญมากในการพิจารณาเกี่ยวกับระบบศาลไม่ว่าศาลใด เพราะถ้าผู้ฟ้องหรือผู้ยื่นคำร้องไปยื่นฟ้องหรือยื่นคำร้องต่อศาลที่ไม่มี อำนาจพิจารณาพิพากษาในเรื่องนั้นๆ ศาลรับคดีไว้วินิจฉัยไม่ได้ หากพิจารณาในด้านของศาล ก็เป็นเรื่องที่ศาลไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนั้น สำหรับศาลรัฐธรรมนูญซึ่งถูกสถาปนาหรือเกิดมีขึ้นครั้งแรกตามรัฐ ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเฉพาะที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้ อำนาจไว้ ได้ตรวจดูโดยละเอียดรอบคอบแล้ว รัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ ปัจจุบันนี้ ไม่ได้มีบทบัญญัติให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐ ธรรมนูญ ตามมาตรา 291 และเมื่อตรวจดูบทบัญญัติมาตรานี้ทุกอนุมาตรา ตั้งแต่อนุมาตรา 1 จนถึงอนุมาตรา 7 ซึ่งบัญญัติว่า เมื่อการลงมติได้เป็นไปตามที่กล่าวแล้ว (หมายถึงกระทำตามอนุมาตรา 1 ถึง 6 แล้ว) ให้นำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย และให้นำบทบัญญัติมาตรา 150 และมาตรา 151 มาใช้บังคับโดยอนุโลมŽ มาตรา 150 บัญญัติว่า "ร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาแล้ว ให้นายก รัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายภายในยี่สิบวันนับแต่วันที่ ได้รับร่างพระราชบัญญัตินั้นจากรัฐสภา เพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้Ž มาตรา 151 บัญญัติว่า "ร่างพระราชบัญญัติใด พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยและพระราชทานคืนมายังรัฐสภา หรือเมื่อพ้นเก้าสิบวันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา รัฐสภาจะต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่ ถ้ารัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวน สมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำร่างพระราชบัญญัตินั้นขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายอีก ครั้งหนึ่ง เมื่อพระมหากษัตริย์มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานคืนมาภายในสามสิบวัน ให้นายกรัฐมนตรีนำพระราชบัญญัตินั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็น กฎหมายได้เสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว"Ž พิจารณา บทบัญญัติทั้ง 3 มาตราซึ่งเกี่ยวกับร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแล้ว

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...