สู่จุดอับเดดล็อกการเมือง

แสดงความคิดเห็น

นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภาและรองประธานรัฐสภา

รัฐบาล-นิติบัญญัติเสียงข้างมากบนกำมือองค์กรอิสระ

พลัน เสียงข้างมากในรัฐสภาปฏิเสธไม่ยอมรับอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ กรณีวินิจฉัยการแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มาของ ส.ว.ว่าเข้าข่ายล้มล้างการปกครอง เป็นชนวนให้กลุ่มผู้ชุมนุมขจัดระบอบทักษิณดีเดย์วันที่ 9 ธ.ค. เวลา 09.39น. นัดเคลื่อนไหวกดดันรุกฆาตรัฐบาล

ขวากนามบนถนนการเมืองของรัฐบาลและ ฝ่ายนิติบัญญัติเสียงข้างมาก จะเดินไปถึงจุดเปลี่ยนทางการเมืองระดับไหน นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภาและรองประธานรัฐสภา จะเป็นผู้เฉลยคำตอบ

โดย บอกว่าผมเคารพศาลรัฐธรรมนูญ แต่ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยในกรณีดังกล่าว เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจของรัฐสภา ตามมาตรา 291 ไม่เข้าข่ายขัดต่อรัฐธรรมนูญ ไม่เหมือนกรณีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. ที่เสนอตั้งสภาประชาชน เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง

ฉะนั้นคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 กรณีนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา พร้อมผมกับพวกรวม 312 คน แก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มาของ ส.ว.

เป็นการกระทำเพื่อล้มล้างการ ปกครองระบอบประชาธิปไตย หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการที่ไม่ได้เป็นไปตามวิถีทางตามกฎหมายสูงสุดของประเทศ

ตาม เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจรับคำร้องไว้วินิจฉัย เพราะสมาชิกรัฐสภาปฏิบัติตามกฎหมาย ได้รับเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาด ผู้ใดจะนำไปเป็นเหตุฟ้องร้องสมาชิกในทางใดทางหนึ่งไม่ได้

และการตีความขยายอำนาจตนเองของศาลรัฐธรรมนูญได้ขยายเขตอำนาจตนเอง มีผลเท่ากับศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้บัญญัติรัฐธรรมนูญเสียเอง

หาก ยอมรับอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ เท่ากับส่งเสริมให้ศาลรัฐธรรมนูญได้ขยายอำนาจของตนเองอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ทำลายหลักการแบ่งแยกอำนาจตามระบอบประชาธิปไตย ดังนั้นศาลรัฐธรรมนูญ ไม่อาจอ้างผลแห่งคำวินิจฉัยที่เป็นเด็ดขาด ผูกพันองค์กรต่างๆมาใช้ในกรณีนี้ได้ เพราะคำวินิจฉัยที่ชอบด้วยกฎหมายที่จะเป็นเด็ดขาดและผูกพันองค์กรต่างๆ ต้องเป็นคำวินิจฉัยที่ชอบด้วยกฎหมาย อยู่ในขอบเขตอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ

หลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย คดีนี้ มีผู้ไปยื่นคำร้องขอถอดถอน 312 สมาชิกรัฐสภาต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดย มีการบรรยายถึงพฤติกรรมชี้ฐานความผิด ทั้งขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ประธานรัฐสภา รองประธานรัฐสภา วางตัวไม่เป็นกลาง มีผลประโยชน์ทับซ้อน มีบุคคลกดบัตรลงคะแนนแทนในช่วงโหวตลงมติวาระ 3 และคณะบุคคลที่เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญสอดไส้ปลอมแปลงเอกสาร ส่อมีความผิดฐานใช้เอกสารอันเป็นเท็จ

คำวินิจฉัยจะถูกต้องหรือไม่ก็ ตาม ผมก็จะไปชี้แจงต่อ ป.ป.ช. เพื่อชี้ให้เห็นว่าคำวินิจฉัยดังกล่าวไม่ถูกต้อง ขอบอก ป.ป.ช.ไว้ก่อนว่าอย่าเอาคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เอามาเป็นบรรทัดฐานตัดสิน

ป.ป.ช.จะต้องดำเนินการตามกระบวนการถอดถอนสมาชิกรัฐสภา 312 คน ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 โดยตั้งคณะกรรมการขึ้นมา และเชิญทุกคนไปชี้แจง

ผม จึงได้ทำหนังสือถึง ป.ป.ช.ว่าก่อนจะมีมติชี้ว่าข้อกล่าวหาในแต่ละประเด็นมีมูลหรือไม่ ให้ไต่สวนข้อเท็จจริงตามคำร้องดังกล่าว โดยยึดหลักเกณฑ์ ขั้นตอน และวิธีการตามกฎหมาย ป.ป.ช.กำหนดไว้ เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงเป็นที่ปรากฏโดยชัดแจ้งและเป็นที่ยุติ

ทุก ประเด็นที่ถูกร้องที่เกี่ยวข้องกับผมมีหลักฐานและเหตุผลชี้แจง ทั้งการวางตัวไม่เป็นกลาง มีผลประโยชน์ทับซ้อน การเสียบบัตรแทนกัน การปลอมแปลงเอกสาร การไม่ให้คนที่สงวนคำแปรญัตติไว้ได้อภิปราย

ทีม ข่าวการเมือง ถามว่ามีกระบวนการทำให้ประธานรัฐสภา รองประธานรัฐสภา หลุดจากตำแหน่ง ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร นายนิคม บอกว่า กระบวนการถอดถอนปกติคงถอดถอนไม่ได้ เพราะจำนวนองค์ประชุมร่อแร่ เสียงของวุฒิสภาไม่เพียงพอ (จะต้องใช้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มี อยู่ของวุฒิสภาถึงถอดถอนได้สำเร็จ)

แต่มีกระบวนการช่วยย่อยจำนวนเสียง วุฒิสภาจากเดิมให้น้อยลง โดยเมื่อป.ป.ช.ชี้มูลความผิด ส.ว. 56 คน ส.ว.ที่เหลือจะทำหน้าที่ได้หรือไม่ ปมนี้จะต้องตีความว่าสามารถทำได้หรือไม่ ปัญหาอยู่ที่ไม่มีคนตีความ หากส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความก็จะเข้าล็อกทันที

และ ผมยังมองว่ามีช่องทางที่อาจเป็นไปได้ โดยเอาคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญส่งให้ ป.ป.ช. เมื่อ ป.ป.ช.ชี้มูล รองประธานรัฐสภาและประธานรัฐสภาต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ทันที เพื่อต้อง การให้รัฐสภาเป็นง่อย เดินหน้าพิจารณากฎหมายไม่ได้ ในเมื่อตำแหน่งรอง ประธานรัฐสภาและประธานรัฐสภายังคาอยู่ก็เลือกตั้งสมาชิกคนอื่นมาไม่ได้แทน ไม่ได้จะทำให้เกิดสุญญากาศทางการเมือง เมื่อรัฐสภาเดินหน้าไม่ได้ รัฐบาลก็บริหารประเทศไม่ได้

โดยเฉพาะเมื่อนายกรัฐมนตรี (น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) ถูกยื่นถอดถอนด้วย หาก ป.ป.ช.ชี้ว่ามีมูล นายกฯจะต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ ประเทศก็ยิ่งเดินหน้าไปไม่ได้ ตอนนี้ คงอยู่ที่ ป.ป.ช.จะต้องไต่สวนข้อเท็จจริงให้เป็นไปตามกระบวนการ หากทำไม่ถูกต้อง สมาชิกรัฐสภาจำนวนไม่น้อย 1 ใน 5 มีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อเอาผิดตามกฎหมายต่อไป สุดท้ายหาก ป.ป.ช.ทำตามกระบวนการ ไต่สวนข้อเท็จจริงให้ครบทั้ง 312 คน แล้วถึงชี้มูลการถอดถอนจะต้องใช้เวลาอีกนาน ไม่ควรเร่งถอดถอนรองประธานรัฐสภาและประธานรัฐสภา เพื่อให้รัฐสภาเดินหน้าไปได้

เหตุการณ์การเมืองจะเลวร้ายสุด ภายในกลุ่ม ส.ว.มองอย่างไร นายนิคม บอกว่า เดิมทีที่มีความคิดจะมีรัฐบาลจากคนเป็นกลางตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 7 ช่วงหลังๆไม่ค่อยพูดถึงเรื่องนี้ เพราะจะเป็นการก้าวล่วงพระราชอำนาจ และทางออกของบ้านเมืองยังมีอีกหลายช่องทาง

หนึ่งในทางออกของประเทศ กปปส.เสนอให้ตั้งสภาประชาชนและขอเสนอนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญมาตรา 3 และมาตรา 7 นายนิคม บอกว่า ตามรัฐธรรมนูญไม่สามารถทำได้ และขณะนี้รัฐสภายังปฏิบัติหน้าที่ได้อยู่ หากรัฐสภาปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ มีช่องทางเดียวที่สามารถทำได้ คือการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เฉพาะประเด็นนี้ หากจะเอาด่วนหน่อยก็ใช้ระยะเวลาแค่ 3 เดือนจบ

แต่ กปปส.มีความพยายามทำให้เกิดเดดล็อกการเมืองมากกว่า โดยหวังจะให้องค์กรอิสระอย่างป.ป.ช.ชี้มูลความผิดในหลายคำร้องที่คาอยู่ โดยเฉพาะกรณีคำร้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มา ส.ว. หากชี้มูลว่าผิดทั้งประธานรัฐสภาและรองประธานรัฐสภา และสมาชิกรัฐสภาต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ แต่ไม่ใช่หมายความว่าต้องพ้นจากการเป็นสมาชิกรัฐสภา รัฐสภาไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้

มีบางคนพูดว่าคนบางกลุ่มต้องการให้ บ้านเมืองเป็นอย่างนี้ บีบให้ผมหยุดปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้คนที่อยู่รักษาการ (ตำแหน่งประธานวุฒิสภาและตำแหน่งรองประธานรัฐสภา นำรายชื่อนายกรัฐมนตรีขึ้นทูลเกล้าฯตามมาตรา 7) ดำเนินการแทน ขอยืนยันอีกครั้งว่านายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 7 ไม่มีช่องทางที่จะทำได้

ทางออก ของประเทศตามกฎหมายมีช่องเดียว จะต้องเดินตามครรลองประชาธิปไตย ตามกติกาบ้านเมืองที่มีอยู่ โดยให้นายกฯยุบสภาเพื่อให้ประชาชนตัดสิน ถึงวันนั้นหาก กปปส.ยืนยันจะชุมนุมต่อไป แสดงให้เห็นว่าต้องการสร้างความวุ่นวายให้บ้านเมือง

ทีมข่าวการเมือง ถามว่าเปิดประชุมรัฐสภาสมัยนิติบัญญัติวันที่ 21 ธ.ค. มีแนวคิดเดินหน้าโหวตการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ในวาระ 3 นำไปสู่การตั้ง ส.ส.ร.ยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อย่างไร

นายนิคม บอกว่า อาจจะเป็นไปได้ที่จะโหวตร่างกฎหมายที่ค้างอยู่ควรทำให้จบ รวมถึงร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 68 และ 237 เพื่อให้มีคนไปร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอีกครั้ง จะได้เป็นบรรทัดฐาน เป็นแนวทางแก่คนรุ่นหลังได้ศึกษา

แต่ในระหว่างช่วงปิดสมัยประชุมรัฐสภา คู่ขัดแย้งทุกฝ่ายน่าจะหันหน้ามาเจรจาพูดคุยกัน โดยเสนอทางออกของประเทศร่วมกัน

ถึงอย่างไรก็ไม่อยากให้คนไทยมาแบ่งพื้นที่ แบ่งเหนือแบ่งใต้ ความคิดทางการเมืองแตกต่างกันได้ แต่ความเป็นคนไทยไม่ควรแตกแยก

เชื่อว่าเมื่อคู่ขัดแย้งได้พูดคุยจะมีทางลงให้แก่กันและกัน มีทางออกแก่ประเทศไทย

ไม่อยากให้เกิดเหตุเดดล็อกการเมือง.

ขอบคุณ http://www.thairath.co.th/column/pol/wikroh/387915

( ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 8 ธ.ค.56 )

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 8 ธ.ค.56
วันที่โพสต์: 9/12/2556 เวลา 03:15:04 ดูภาพสไลด์โชว์ สู่จุดอับเดดล็อกการเมือง

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภาและรองประธานรัฐสภา รัฐบาล-นิติบัญญัติเสียงข้างมากบนกำมือองค์กรอิสระ พลัน เสียงข้างมากในรัฐสภาปฏิเสธไม่ยอมรับอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ กรณีวินิจฉัยการแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มาของ ส.ว.ว่าเข้าข่ายล้มล้างการปกครอง เป็นชนวนให้กลุ่มผู้ชุมนุมขจัดระบอบทักษิณดีเดย์วันที่ 9 ธ.ค. เวลา 09.39น. นัดเคลื่อนไหวกดดันรุกฆาตรัฐบาล ขวากนามบนถนนการเมืองของรัฐบาลและ ฝ่ายนิติบัญญัติเสียงข้างมาก จะเดินไปถึงจุดเปลี่ยนทางการเมืองระดับไหน นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภาและรองประธานรัฐสภา จะเป็นผู้เฉลยคำตอบ โดย บอกว่าผมเคารพศาลรัฐธรรมนูญ แต่ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยในกรณีดังกล่าว เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจของรัฐสภา ตามมาตรา 291 ไม่เข้าข่ายขัดต่อรัฐธรรมนูญ ไม่เหมือนกรณีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. ที่เสนอตั้งสภาประชาชน เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง ฉะนั้นคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 กรณีนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา พร้อมผมกับพวกรวม 312 คน แก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มาของ ส.ว. เป็นการกระทำเพื่อล้มล้างการ ปกครองระบอบประชาธิปไตย หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการที่ไม่ได้เป็นไปตามวิถีทางตามกฎหมายสูงสุดของประเทศ ตาม เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจรับคำร้องไว้วินิจฉัย เพราะสมาชิกรัฐสภาปฏิบัติตามกฎหมาย ได้รับเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาด ผู้ใดจะนำไปเป็นเหตุฟ้องร้องสมาชิกในทางใดทางหนึ่งไม่ได้ และการตีความขยายอำนาจตนเองของศาลรัฐธรรมนูญได้ขยายเขตอำนาจตนเอง มีผลเท่ากับศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้บัญญัติรัฐธรรมนูญเสียเอง หาก ยอมรับอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ เท่ากับส่งเสริมให้ศาลรัฐธรรมนูญได้ขยายอำนาจของตนเองอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ทำลายหลักการแบ่งแยกอำนาจตามระบอบประชาธิปไตย ดังนั้นศาลรัฐธรรมนูญ ไม่อาจอ้างผลแห่งคำวินิจฉัยที่เป็นเด็ดขาด ผูกพันองค์กรต่างๆมาใช้ในกรณีนี้ได้ เพราะคำวินิจฉัยที่ชอบด้วยกฎหมายที่จะเป็นเด็ดขาดและผูกพันองค์กรต่างๆ ต้องเป็นคำวินิจฉัยที่ชอบด้วยกฎหมาย อยู่ในขอบเขตอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ หลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย คดีนี้ มีผู้ไปยื่นคำร้องขอถอดถอน 312 สมาชิกรัฐสภาต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดย มีการบรรยายถึงพฤติกรรมชี้ฐานความผิด ทั้งขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ประธานรัฐสภา รองประธานรัฐสภา วางตัวไม่เป็นกลาง มีผลประโยชน์ทับซ้อน มีบุคคลกดบัตรลงคะแนนแทนในช่วงโหวตลงมติวาระ 3 และคณะบุคคลที่เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญสอดไส้ปลอมแปลงเอกสาร ส่อมีความผิดฐานใช้เอกสารอันเป็นเท็จ คำวินิจฉัยจะถูกต้องหรือไม่ก็ ตาม ผมก็จะไปชี้แจงต่อ ป.ป.ช. เพื่อชี้ให้เห็นว่าคำวินิจฉัยดังกล่าวไม่ถูกต้อง ขอบอก ป.ป.ช.ไว้ก่อนว่าอย่าเอาคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เอามาเป็นบรรทัดฐานตัดสิน ป.ป.ช.จะต้องดำเนินการตามกระบวนการถอดถอนสมาชิกรัฐสภา 312 คน ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 โดยตั้งคณะกรรมการขึ้นมา และเชิญทุกคนไปชี้แจง ผม จึงได้ทำหนังสือถึง ป.ป.ช.ว่าก่อนจะมีมติชี้ว่าข้อกล่าวหาในแต่ละประเด็นมีมูลหรือไม่ ให้ไต่สวนข้อเท็จจริงตามคำร้องดังกล่าว โดยยึดหลักเกณฑ์ ขั้นตอน และวิธีการตามกฎหมาย ป.ป.ช.กำหนดไว้ เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงเป็นที่ปรากฏโดยชัดแจ้งและเป็นที่ยุติ ทุก ประเด็นที่ถูกร้องที่เกี่ยวข้องกับผมมีหลักฐานและเหตุผลชี้แจง ทั้งการวางตัวไม่เป็นกลาง มีผลประโยชน์ทับซ้อน การเสียบบัตรแทนกัน การปลอมแปลงเอกสาร การไม่ให้คนที่สงวนคำแปรญัตติไว้ได้อภิปราย ทีม ข่าวการเมือง ถามว่ามีกระบวนการทำให้ประธานรัฐสภา รองประธานรัฐสภา หลุดจากตำแหน่ง ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร นายนิคม บอกว่า กระบวนการถอดถอนปกติคงถอดถอนไม่ได้ เพราะจำนวนองค์ประชุมร่อแร่ เสียงของวุฒิสภาไม่เพียงพอ (จะต้องใช้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มี อยู่ของวุฒิสภาถึงถอดถอนได้สำเร็จ) แต่มีกระบวนการช่วยย่อยจำนวนเสียง วุฒิสภาจากเดิมให้น้อยลง โดยเมื่อป.ป.ช.ชี้มูลความผิด ส.ว. 56 คน ส.ว.ที่เหลือจะทำหน้าที่ได้หรือไม่ ปมนี้จะต้องตีความว่าสามารถทำได้หรือไม่ ปัญหาอยู่ที่ไม่มีคนตีความ หากส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความก็จะเข้าล็อกทันที และ ผมยังมองว่ามีช่องทางที่อาจเป็นไปได้ โดยเอาคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญส่งให้ ป.ป.ช. เมื่อ ป.ป.ช.ชี้มูล รองประธานรัฐสภาและประธานรัฐสภาต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ทันที เพื่อต้อง การให้รัฐสภาเป็นง่อย เดินหน้าพิจารณากฎหมายไม่ได้ ในเมื่อตำแหน่งรอง ประธานรัฐสภาและประธานรัฐสภายังคาอยู่ก็เลือกตั้งสมาชิกคนอื่นมาไม่ได้แทน ไม่ได้จะทำให้เกิดสุญญากาศทางการเมือง เมื่อรัฐสภาเดินหน้าไม่ได้ รัฐบาลก็บริหารประเทศไม่ได้ โดยเฉพาะเมื่อนายกรัฐมนตรี (น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) ถูกยื่นถอดถอนด้วย หาก ป.ป.ช.ชี้ว่ามีมูล นายกฯจะต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ ประเทศก็ยิ่งเดินหน้าไปไม่ได้ ตอนนี้ คงอยู่ที่ ป.ป.ช.จะต้องไต่สวนข้อเท็จจริงให้เป็นไปตามกระบวนการ หากทำไม่ถูกต้อง สมาชิกรัฐสภาจำนวนไม่น้อย 1 ใน 5 มีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อเอาผิดตามกฎหมายต่อไป สุดท้ายหาก ป.ป.ช.ทำตามกระบวนการ ไต่สวนข้อเท็จจริงให้ครบทั้ง 312 คน แล้วถึงชี้มูลการถอดถอนจะต้องใช้เวลาอีกนาน ไม่ควรเร่งถอดถอนรองประธานรัฐสภาและประธานรัฐสภา เพื่อให้รัฐสภาเดินหน้าไปได้ เหตุการณ์การเมืองจะเลวร้ายสุด ภายในกลุ่ม ส.ว.มองอย่างไร นายนิคม บอกว่า เดิมทีที่มีความคิดจะมีรัฐบาลจากคนเป็นกลางตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 7 ช่วงหลังๆไม่ค่อยพูดถึงเรื่องนี้ เพราะจะเป็นการก้าวล่วงพระราชอำนาจ และทางออกของบ้านเมืองยังมีอีกหลายช่องทาง หนึ่งในทางออกของประเทศ กปปส.เสนอให้ตั้งสภาประชาชนและขอเสนอนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญมาตรา 3 และมาตรา 7 นายนิคม บอกว่า ตามรัฐธรรมนูญไม่สามารถทำได้ และขณะนี้รัฐสภายังปฏิบัติหน้าที่ได้อยู่ หากรัฐสภาปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ มีช่องทางเดียวที่สามารถทำได้ คือการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เฉพาะประเด็นนี้ หากจะเอาด่วนหน่อยก็ใช้ระยะเวลาแค่ 3 เดือนจบ แต่ กปปส.มีความพยายามทำให้เกิดเดดล็อกการเมืองมากกว่า โดยหวังจะให้องค์กรอิสระอย่างป.ป.ช.ชี้มูลความผิดในหลายคำร้องที่คาอยู่ โดยเฉพาะกรณีคำร้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มา ส.ว. หากชี้มูลว่าผิดทั้งประธานรัฐสภาและรองประธานรัฐสภา และสมาชิกรัฐสภาต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ แต่ไม่ใช่หมายความว่าต้องพ้นจากการเป็นสมาชิกรัฐสภา รัฐสภาไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ มีบางคนพูดว่าคนบางกลุ่มต้องการให้ บ้านเมืองเป็นอย่างนี้ บีบให้ผมหยุดปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้คนที่อยู่รักษาการ (ตำแหน่งประธานวุฒิสภาและตำแหน่งรองประธานรัฐสภา นำรายชื่อนายกรัฐมนตรีขึ้นทูลเกล้าฯตามมาตรา 7) ดำเนินการแทน ขอยืนยันอีกครั้งว่านายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 7 ไม่มีช่องทางที่จะทำได้ ทางออก ของประเทศตามกฎหมายมีช่องเดียว จะต้องเดินตามครรลองประชาธิปไตย ตามกติกาบ้านเมืองที่มีอยู่ โดยให้นายกฯยุบสภาเพื่อให้ประชาชนตัดสิน ถึงวันนั้นหาก กปปส.ยืนยันจะชุมนุมต่อไป แสดงให้เห็นว่าต้องการสร้างความวุ่นวายให้บ้านเมือง ทีมข่าวการเมือง ถามว่าเปิดประชุมรัฐสภาสมัยนิติบัญญัติวันที่ 21 ธ.ค. มีแนวคิดเดินหน้าโหวตการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ในวาระ 3 นำไปสู่การตั้ง ส.ส.ร.ยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อย่างไร นายนิคม บอกว่า อาจจะเป็นไปได้ที่จะโหวตร่างกฎหมายที่ค้างอยู่ควรทำให้จบ รวมถึงร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 68 และ 237 เพื่อให้มีคนไปร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอีกครั้ง จะได้เป็นบรรทัดฐาน เป็นแนวทางแก่คนรุ่นหลังได้ศึกษา แต่ในระหว่างช่วงปิดสมัยประชุมรัฐสภา คู่ขัดแย้งทุกฝ่ายน่าจะหันหน้ามาเจรจาพูดคุยกัน โดยเสนอทางออกของประเทศร่วมกัน ถึงอย่างไรก็ไม่อยากให้คนไทยมาแบ่งพื้นที่ แบ่งเหนือแบ่งใต้ ความคิดทางการเมืองแตกต่างกันได้ แต่ความเป็นคนไทยไม่ควรแตกแยก เชื่อว่าเมื่อคู่ขัดแย้งได้พูดคุยจะมีทางลงให้แก่กันและกัน มีทางออกแก่ประเทศไทย ไม่อยากให้เกิดเหตุเดดล็อกการเมือง. ขอบคุณ… http://www.thairath.co.th/column/pol/wikroh/387915 ( ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 8 ธ.ค.56 )

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...