FTA Watch ชี้ก่อนยุบสภาควรแก้ไขรัฐธรรมนูญตามกระบวนการประชาธิปไตยก่อน

แสดงความคิดเห็น

30 พ.ย. 2556 - กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch) ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงสื่อมวลชนเสนอข้อเสนอทางออกทางการเมือง โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ข้อเสนอทางออกทางการเมือง โดย กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch)

ภาย ใต้สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นและอาจแปรไปสู่การเผชิญหน้า และใช้ความรุนแรงระหว่างประชาชนทั้งสองฝ่าย หรือระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่รัฐนั้น

1. ทุกฝ่ายควรเคารพเจตนารมย์การเข้าร่วมชุมนุมของประชาชนทั้งสองฝ่าย ทั้งจากฝ่ายแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ที่ต้องการปกป้องรัฐบาที่มาจากการเลือกตั้งและสิทธิในการเลือกตั้ง และคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่ สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.) ที่เรียกร้องการขจัดคอรัปชั่นของนักการเมืองและกลุ่มทุนขนาดใหญ่

เจตนารมณ์ ของทั้งสองฝ่ายไม่ควรเป็นคู่ขัดแย้งกันและกัน แต่ควรเป็นหลักการร่วมที่สำคัญของการระบบการเมืองของประเทศ การชุมนุมของทั้งสองกลุ่มเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการประชาธิปไตย ตราบใดก็ตามที่ไม่มีการเรียกร้องอำนาจนอกระบบ ไม่ทำลายทรัพย์สินของรัฐและเอกชน และเป็นการชุมนุมโดยสันติปราศจากอาวุธ

2. เราขอเรียกร้องให้มีการปฏิรูปและแก้ไขปัญหาที่เป็นรากฐานของความขัดแย้งของสังคมไทย 3 ประการคือ

1) แก้ปัญหาการไม่ยอมรับหรือไม่ไว้วางใจต่อกลไกพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยอัน ได้แก่การถ่วงดุลอำนาจของฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ และแนวทางป้องกันปัญหาการแทรกแซงของอำนาจนอกระบบ

2) แก้ไขปัญหาความเสมอภาคในการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนทุกกลุ่ม กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและเสียงข้างน้อยในกระบวนการประชาธิปไตยทั้ง ที่เกิดขึ้นในรัฐสภา (การจัดทำกฎหมาย ) และการกำหนดนโยบายสาธารณะ (นโยบายและแผนพัฒนาประเทศ นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจ นโยบายและแผนด้านทรัพยากรธรรมชาติ การจัดทำโครงการพัฒนาต่างๆ ฯลฯ) ตลอดจนการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นและชุมชนจัดการตนเอง

3) ขจัดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจในสังคมไทย การขจัดและป้องกันปัญหาคอรัปชั่น รวมทั้งการขจัดการผูกขาดและควบคุมตรวจสอบอิทธิพลของกลุ่มทุนและบรรษัทขนาด ใหญ่ในการกำหนดนโยบายและผลักดันโครงการที่เอื้อประโยชน์ต่อตัวเอง และสร้างผลกระทบต่อประชาชนส่วนใหญ่

3. เราเห็นว่าภายใต้สถานการณ์ที่ฝ่ายผู้ชุมนุมได้ยกระดับการชุมนุมเพื่อเข้าไป ยึดสถานที่ราชการโดยมีเป้าหมายเพื่อขจัดระบอบทักษิณเป็นหลักโดยมิได้มีข้อ เสนอการปฏิรูปทางการเมืองที่ชัดเจน ในขณะฝ่ายรัฐบาลยังคงพยายามรักษาอำนาจในการบริหารประเทศ หรือตัดสินใจยุบสภาโดยไม่ได้แสดงจุดยืนและไม่ได้แสดงเจตนารมย์ที่จะแก้ไข ปัญหารากฐานความขัดแย้งทั้ง 3 ประการข้างต้นนั้น จะไม่สามารถนำพาประเทศไปสู่ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์และการสร้างความเท่าเทียม เป็นธรรมได้อย่างที่ทั้งสองฝ่ายประสงค์

4. ดังนั้น ก่อนประกาศยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ ต้องดำเนินการให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามกระบวนการประชาธิปไตย โดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มีตัวแทนจากรัฐสภา จากกลุ่มผู้ชุมนุมทั้งสองฝ่าย และจากภาควิชาการ/ภาคประชาสังคม/ภาคสังคมอื่นๆจำนวนเท่าๆกัน เพื่อสร้างรัฐธรรมนูญที่เป็นกติการ่วมที่เป็นไปตามเจตนารมย์ และออกแบบกลไกในรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการปฏิรูปกระบวนการกำหนดและการตัดสินใจนโยบายสาธารณะ เพื่อให้การแก้ไขปัญหารากฐานทั้ง 3 ประการของสังคมไทยให้ได้อย่างแท้จริง

กรอบ เวลาในการยุบสภา การร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จ การจัดให้มีการเลือกตั้งครั้งใหม่ ตลอดจนรายละเอียดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น การจัดประชามติ การให้สัตยาบัน ตามข้อเรียกร้องของหลายฝ่ายให้เป็นไปตามการเจรจาของกลุ่มที่เกี่ยวข้อง

5. เราขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยุติการยั่วยุ และใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และร่วมกันผลักดันให้เกิดการเจรจาขึ้นโดยเร็ว เพื่อให้สังคมก้าวพ้นเงื่อนไขที่ทำให้เกิดความรุนแรง ที่อาจนำประเทศไปสู่การรัฐประหาร เปลี่ยนการเผชิญหน้ามาเป็นการร่วมวางกติกาทางสังคมร่วมกันของทั้งรัฐสภา ตัวแทนของกลุ่มผู้ชุมนุมทั้งสองฝ่าย และพลเมืองที่แสดงออกและประสงค์จะมีส่วนร่วมในการกำหนดอนาคตประเทศในรูปแบบ ต่างๆ

ขอบคุณ... http://prachatai.com/journal/2013/11/50099 (ขนาดไฟล์: 167)

( ประชาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 30พย.56 )

ที่มา: ประชาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 30พย.56
วันที่โพสต์: 1/12/2556 เวลา 04:55:08

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

30 พ.ย. 2556 - กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch) ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงสื่อมวลชนเสนอข้อเสนอทางออกทางการเมือง โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ข้อเสนอทางออกทางการเมือง โดย กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch) ภาย ใต้สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นและอาจแปรไปสู่การเผชิญหน้า และใช้ความรุนแรงระหว่างประชาชนทั้งสองฝ่าย หรือระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่รัฐนั้น 1. ทุกฝ่ายควรเคารพเจตนารมย์การเข้าร่วมชุมนุมของประชาชนทั้งสองฝ่าย ทั้งจากฝ่ายแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ที่ต้องการปกป้องรัฐบาที่มาจากการเลือกตั้งและสิทธิในการเลือกตั้ง และคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่ สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.) ที่เรียกร้องการขจัดคอรัปชั่นของนักการเมืองและกลุ่มทุนขนาดใหญ่ เจตนารมณ์ ของทั้งสองฝ่ายไม่ควรเป็นคู่ขัดแย้งกันและกัน แต่ควรเป็นหลักการร่วมที่สำคัญของการระบบการเมืองของประเทศ การชุมนุมของทั้งสองกลุ่มเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการประชาธิปไตย ตราบใดก็ตามที่ไม่มีการเรียกร้องอำนาจนอกระบบ ไม่ทำลายทรัพย์สินของรัฐและเอกชน และเป็นการชุมนุมโดยสันติปราศจากอาวุธ 2. เราขอเรียกร้องให้มีการปฏิรูปและแก้ไขปัญหาที่เป็นรากฐานของความขัดแย้งของสังคมไทย 3 ประการคือ 1) แก้ปัญหาการไม่ยอมรับหรือไม่ไว้วางใจต่อกลไกพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยอัน ได้แก่การถ่วงดุลอำนาจของฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ และแนวทางป้องกันปัญหาการแทรกแซงของอำนาจนอกระบบ 2) แก้ไขปัญหาความเสมอภาคในการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนทุกกลุ่ม กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและเสียงข้างน้อยในกระบวนการประชาธิปไตยทั้ง ที่เกิดขึ้นในรัฐสภา (การจัดทำกฎหมาย ) และการกำหนดนโยบายสาธารณะ (นโยบายและแผนพัฒนาประเทศ นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจ นโยบายและแผนด้านทรัพยากรธรรมชาติ การจัดทำโครงการพัฒนาต่างๆ ฯลฯ) ตลอดจนการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นและชุมชนจัดการตนเอง 3) ขจัดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจในสังคมไทย การขจัดและป้องกันปัญหาคอรัปชั่น รวมทั้งการขจัดการผูกขาดและควบคุมตรวจสอบอิทธิพลของกลุ่มทุนและบรรษัทขนาด ใหญ่ในการกำหนดนโยบายและผลักดันโครงการที่เอื้อประโยชน์ต่อตัวเอง และสร้างผลกระทบต่อประชาชนส่วนใหญ่ 3. เราเห็นว่าภายใต้สถานการณ์ที่ฝ่ายผู้ชุมนุมได้ยกระดับการชุมนุมเพื่อเข้าไป ยึดสถานที่ราชการโดยมีเป้าหมายเพื่อขจัดระบอบทักษิณเป็นหลักโดยมิได้มีข้อ เสนอการปฏิรูปทางการเมืองที่ชัดเจน ในขณะฝ่ายรัฐบาลยังคงพยายามรักษาอำนาจในการบริหารประเทศ หรือตัดสินใจยุบสภาโดยไม่ได้แสดงจุดยืนและไม่ได้แสดงเจตนารมย์ที่จะแก้ไข ปัญหารากฐานความขัดแย้งทั้ง 3 ประการข้างต้นนั้น จะไม่สามารถนำพาประเทศไปสู่ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์และการสร้างความเท่าเทียม เป็นธรรมได้อย่างที่ทั้งสองฝ่ายประสงค์ 4. ดังนั้น ก่อนประกาศยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ ต้องดำเนินการให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามกระบวนการประชาธิปไตย โดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มีตัวแทนจากรัฐสภา จากกลุ่มผู้ชุมนุมทั้งสองฝ่าย และจากภาควิชาการ/ภาคประชาสังคม/ภาคสังคมอื่นๆจำนวนเท่าๆกัน เพื่อสร้างรัฐธรรมนูญที่เป็นกติการ่วมที่เป็นไปตามเจตนารมย์ และออกแบบกลไกในรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการปฏิรูปกระบวนการกำหนดและการตัดสินใจนโยบายสาธารณะ เพื่อให้การแก้ไขปัญหารากฐานทั้ง 3 ประการของสังคมไทยให้ได้อย่างแท้จริง กรอบ เวลาในการยุบสภา การร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จ การจัดให้มีการเลือกตั้งครั้งใหม่ ตลอดจนรายละเอียดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น การจัดประชามติ การให้สัตยาบัน ตามข้อเรียกร้องของหลายฝ่ายให้เป็นไปตามการเจรจาของกลุ่มที่เกี่ยวข้อง 5. เราขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยุติการยั่วยุ และใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และร่วมกันผลักดันให้เกิดการเจรจาขึ้นโดยเร็ว เพื่อให้สังคมก้าวพ้นเงื่อนไขที่ทำให้เกิดความรุนแรง ที่อาจนำประเทศไปสู่การรัฐประหาร เปลี่ยนการเผชิญหน้ามาเป็นการร่วมวางกติกาทางสังคมร่วมกันของทั้งรัฐสภา ตัวแทนของกลุ่มผู้ชุมนุมทั้งสองฝ่าย และพลเมืองที่แสดงออกและประสงค์จะมีส่วนร่วมในการกำหนดอนาคตประเทศในรูปแบบ ต่างๆ ขอบคุณ... http://prachatai.com/journal/2013/11/50099 ( ประชาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 30พย.56 )

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...