การเมืองไทย หลังคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ โดย พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์

แสดงความคิดเห็น

ศาลรัฐธรรมนูญ

คําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับ เรื่องของที่มาของวุฒิสมาชิกนั้นมีเรื่องราวหลายเรื่องที่น่าจะแลกเปลี่ยน ความคิดกัน ในที่นี้ผมจะขอนำเสนอประเด็นออกเป็นสามประเด็นหลัก

หนึ่งคือ เรื่องราวของกระบวนการและบทบาทของศาลรัฐธรรมนูญกับการเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่เน้นรัฐสภา

สองคือ เรื่องราวของเนื้อหาและความคิดทางการเมืองของศาลรัฐธรรมนูญต่อประชาธิปไตย

และสามคือ ทางออกของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในวันนี้

ทั้ง หมดทั้งปวงนี้ไม่ได้ตั้งหลักที่การประณามว่าศาลรัฐธรรมนูญนั้นไม่ควรจะมี อยู่ในสังคมประชาธิปไตยแบบรัฐสภา แต่อาจจะตั้งหลักใหม่ก่อนว่าการมีอยู่ของศาลรัฐธรรมนูญนั้นมีความสำคัญต่อ การเปลี่ยนผ่านประชาธิปไตยเป็นอย่างยิ่ง แต่ก็ไม่ได้เป็นหลักประกันว่าศาลรัฐธรรมนูญนั้นทำอะไรก็ถูกนะครับ

ขอ เริ่มแบบนี้ก่อนครับ ว่าอย่าเพิ่งมองง่ายๆ ว่า ศาลรัฐธรรมนูญนั้นเป็นคู่ขัดแย้งกับรัฐสภา เพราะถ้ามองแบบนี้ก็จบกันหละครับ มันจะหาทางออกกันไม่ได้ ว่าใครมีอำนาจสูงกว่าใครระหว่างประชาชนกับศาล

และ ยิ่งจะทำให้สังคมนั้นร้าวลึกไปอีกระหว่างการมองว่าเป็นเรื่องการเผชิญหน้า ระหว่างอำนาจเก่า กับอำนาจใหม่ ระหว่างอำมาตย์กับประชาธิปไตย หรือแม้กระทั่งระหว่างจำนวนกับเหตุผล หรือระหว่างเหตุผลสองชุด

ใน ทางหลักวิชาทางรัฐศาสตร์สมัยใหม่นั้น โดยเฉพาะในการเมืองเปรียบเทียบ เราค้นพบปรากฏการณ์ใหม่ว่า ประเทศประชาธิปไตยใหม่ๆ รวมทั้งพัฒนาการของประชาธิปไตยในประเทศที่มีประชาธิปไตยอันยาวนานนั้นก็ล้วน แล้วแต่มีการก่อตั้งสถาบันที่เรียกว่าศาลรัฐธรรมนูญในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง กันมาทั้งสิ้น

ประเด็นอยู่ที่ว่า เราสามารถตีความเรื่องนี้ออกเป็นสองด้าน หนึ่งก็คือมองแบบระยะเฉพาะหน้า/ระยะสั้น ได้แก่การมองว่า การมีศาลรัฐธรรมนูญนั้นส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของ "การสร้างหลักประกัน" ของผู้ที่มีบทบาทในการร่างรัฐธรรมนูญในการสืบทอดอำนาจ หรือให้หลักประกันว่าการเมืองหลังรัฐธรรมนูญประกาศใช้นั้น กระบวนการใช้อำนาจในสังคมนั้นจะมีลักษณะกระจายตัว ไม่กระจุกตัวอยู่ในกลุ่มพวกเดียว (โดยเฉพาะพวกที่ไม่ใช่พวกคนที่ร่างรัฐธรรมนูญ)

แต่อีกด้าน หนึ่ง คือการมองด้านยาวๆ หน่อย ก็คือมองในแง่ของพัฒนาการของประชาธิปไตยเอง ก็คือศาลรัฐธรรมนูญนั้นเป็นกระบวนการตุลาการภิวัฒน์ หรือแปลง่ายๆ ก็คือ การที่ศาลเข้ามามีบทบาททางการเมืองโดยการตีความกฎหมายที่กำกับและจำกัดอำนาจ ของรัฐบาล (judicial review) อันเนื่องมาจากพัฒนาการของการเมืองแบบรัฐสภา (parliamentary sovereignty) ที่อาจมีลักษณะที่ขัดกับความเป็นเสรีนิยมทางการเมือง (liberal traditions in politics)

นั่นหมายความว่า ในยุคแรกนั้น สภาเป็นทางออกจากการต่อสู้กับอำนาจเก่า โดยเฉพาะอำนาจเจ้าและอำนาจศาสนา แต่เมื่อรัฐสภาจากประชาชนสถาปนาอำนาจได้แล้ว รัฐสภาอาจจะกระทำขัดกับหลักที่ตัวเองเคยเชิดชู นั่นก็คือ หลักการสำคัญของประชาธิปไตยนั้นจะมีอยู่สองหลัก คือหลักของการปกครองของประชาชนหรือคนหมู่มาก และหลักที่สองคือหลักของความเป็นมนุษย์ที่รักความเสรีและประกันหลักพื้นฐาน ไม่ว่าจะอยู่ในเสียงข้างมากหรือน้อย

แต่ต้องย้ำว่าศาลรัฐธรรมนูญกับ รัฐสภาไม่จำเป็นต้องมองว่าเป็นศัตรูกัน แต่ต้องมองว่าศาลรัฐธรรมนูญนั้นเป็นคู่ขัดแย้งตรงของรัฐบาลที่มีฐานจาก รัฐสภา เพราะกระบวนการตุลาการภิวัฒน์นั้นไม่ได้มีแค่เรื่องศาลรัฐธรรมนูญ แต่ต้องมองไปถึงการขยายตัวของกฎหมายมหาชนต่างๆ และลักษณะรัฐธรรมนูญนิยมที่มีไว้กำกับอำนาจรัฐไม่ให้ละเมิดเสรีภาพและความ เป็นมนุษย์ของประชาชน ซึ่งศาลและศาลรัฐธรรมนูญก็มีขึ้นเพื่อพิทักษ์เรื่องนี้เช่นกัน

นี่ คือเรื่องของหลักการ ดังนั้นก็อย่าให้ถึงต้องคิดว่าศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการภิวัฒน์นั้นไม่มีคุณ ประโยชน์กับพัฒนาการของประชาธิปไตยเอาเสียเลย เพียงแต่ต้องเข้าใจว่ามิติทางการเมืองของการช่วงชิงการตีความและการอ้างความ เป็นประชาชนและการสอดประสานของกันระหว่างหลักการอำนาจจากประชาชน และหลักการของความเป็นมนุษย์และสังคมเสรีนั้นจะเกิดขึ้นจริงได้อย่างไร และศาลรัฐธรรมนูญนั้นในความเป็นจริงนั้นมีที่มาจากไหนเช่นกัน

เรื่อง นี้เป็นคนละเรื่องกับเรื่องของการตั้งคำถามว่าศาลรัฐธรรมนูญมีสิทธิไหมในการ ให้คำวินิจฉัย หรือ ถ้ารัฐสภาทำผิดในแง่ขั้นตอนกระบวนการแล้วศาลรัฐธรรมนูญจะเป็นผู้ที่จะมา ตัดสินเรื่องนี้ เรื่องพวกนี้เป็นเรื่องรายละเอียดในทางขั้นตอนกระบวนการซึ่งก็ต้องว่ากันไป ในแต่ละเรื่อง แต่เรื่องที่สำคัญไม่แพ้กันที่ผมพยายามย้ำก็คือ อย่าให้ถึงกับการมองว่าจะต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งไปเสียทีเดียว

และ ในอีกด้านหนึ่งก็ต้องคิดให้ดีว่าศาลรัฐธรรมนูญนั้นเมื่อเข้ามาเกี่ยวข้องกับ เรื่องการเมืองเช่นนี้ ย่อมจะต้องเผชิญหน้ากับประชาชน รัฐสภา และรัฐบาล อย่างแน่นอน และจะต้องมีความละเอียดอ่อนว่าศาลรัฐธรรมนูญนั้นกระทำการตุลาการภิวัฒน์ เพื่อหลักการอะไร ระหว่างหลักการเชิดชูความเสรีของประชาธิปไตย

หรือเป็นเพียงหลักประกันของโครงสร้างอำนาจเก่า โดยเฉพาะกลุ่มที่กลัวว่าอำนาจจะหลุดจากมือของตนไปหลังการร่างรัฐธรรมนูญ

ใน ประเด็นที่สองคือเรื่องของ เนื้อหาและความคิดทางการเมืองของศาลรัฐธรรมนูญต่อประชาธิปไตย ซึ่งมีความชัดเจนมากในครั้งนี้ และเป็นเรื่องที่อันตรายมากในการอ้างถึงว่า การเปิดให้มีการเลือกตั้งวุฒิสมาชิกทั้งหมดนั้นจะนำไปสู่ความล้มเหลวของ ประชาธิปไตยดังที่เคยเป็นมาก่อน และทำให้เชื่อได้ว่าการคัดสรรวุฒิสมาชิกครึ่งหนึ่งแบบที่เป็นอยู่ในรัฐ ธรรมนูญในวันนี้เป็นหนทางที่ถูกต้องแล้ว

แต่ก่อนที่เราจะโจมตีศาลรัฐธรรมนูญอย่างเสียหาย ไร้ที่ยืน เราคงต้องตั้งหลักหลายเรื่อง เรื่องแรกก็คือศาลรัฐธรรมนูญอยู่ในสถานะที่จะให้ทรรศนะทางการเมืองได้ไหม? หรือมีหน้าที่แค่มองว่าอะไรขัดกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือ หลักการของรัฐธรรมนูญ

ยิ่งเรื่องของการพูดถึงการแก้รัฐ ธรรมนูญเองแล้ว ศาลก็ต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง ว่าจะพูดแบบกำปั้นทุบดินคืออะไรการแก้รัฐธรรมนูญนั้นยังไงก็ขัดกับรัฐ ธรรมนูญ หรือการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นต่างจากการขัดหลักการรัฐธรรมนูญ (หรือว่าศาลไม่ควรยุ่งกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญเลย เว้นแต่เรื่องนั้นกระทบกับอำนาจอธิปไตย โดยเฉพาะหลักที่ว่าอำนาจอธิปไตยนั้นเป็นของประชาชน)

คำถามที่ท้าทาย มากๆ อยู่ที่ว่า ระบบสภาผัวเมียที่ศาลอ้างถึงนั้นเป็นระบบที่นำไปสู่การล่มสลายของรัฐธรรมนูญ 2540 จริงหรือเปล่า? หรือเป็นเรื่องอื่นอีกมากมาย ที่จนถึงวันนี้ก็แยกได้ยากระหว่างข้อกล่าวหาและข้อเท็จจริงทางการเมือง เพราะขึ้นอยู่กับว่าเรามีจุดยืนอยู่กับฝ่ายไหน? หรือถ้าจะพูดแบบตรงๆ ก็คือ การมีวุฒิสมาชิกที่มาจากเลือกตั้งนั้นทำลายหลักการเสรีตรงไหนในทางการเมือง?

เรื่อง นี้ต้องตั้งอกตั้งใจกันนิดหนึ่ง เพราะการแก้ไขในรอบนี้นั้นไม่ได้ยกเลิกหลักการสองสภา และไม่ได้ใช้การเลือกตั้งในแบบเดียวกันกับสภาผู้แทน ในแง่ของการแบ่งเขตและการมีบัญชีรายชื่อ ดังนั้นจะมองว่าการมีสองสภาที่มาจากการเลือกตั้งที่แตกต่างกันนั้นเป็นการ ทำลายหลักนิติธรรม หรือแม้กระทั่งหลักประชาธิปไตยเสรีนั้นก็เห็นจะยากอยู่

แต่ ในอีกมุมหนึ่ง เราก็ต้องเรียนรู้หลักทางรัฐศาสตร์สมัยใหม่อีกเช่นกัน ที่มองว่าการมีรัฐสภาที่มาจากเสียงข้างมากสภาเดียวนั้นอาจจะนำไปสู่คุณ ประโยชน์ หรือประเด็นท้าทายได้เช่นกัน เพราะเอาเข้าจริงแล้ว แม้ว่าอำนาจอธิปไตยจะเป็นของประชาชน แต่ประชาชนนั้นก็สามารถแสดงออกทางอำนาจอธิปไตยของเขาได้หลากหลายรูปลักษณะ เช่นการเป็นประชาชนของท้องถิ่น (ในการเลือกตั้งองค์กรปกครองท้องถิ่น) ประชาชนของชุมชนการเมืองที่เรียกว่ารัฐ (ในการเลือกตั้งรัฐสภาระดับชาติ) หรือแม้กระทั่งการเลือกตั้งตามสาขาอาชีพ

นักรัฐศาสตร์สาขา การเมืองเปรียบเทียบสมัยใหม่กลุ่มหนึ่งจึงพยายามที่จะศึกษาและออกแบบ ?การแบ่งปันอำนาจ? ในรูปแบบใหม่ๆ ในความหมายที่ว่าประชาธิปไตยที่ทำงานได้นั้นอาจจะต้องมีสภาที่คานอำนาจกัน สองสภา และมาจากการเลือกตั้ง แต่เป็นการเลือกตั้งที่แตกต่างรูปลักษณะกัน เพื่อให้เกิดความเป็นไปได้ว่าการปกครองแบบประชาธิปไตยเสียงข้างมากนั้นจำ เป็นจะต้องมีคู่สนทนาที่ร่วมกันปรึกษาหารือเพื่อให้ความขัดแย้งทางสังคมไม่ ได้เกิดมาง่ายนัก หรือผดุงไว้ซึ่งหลักการความเสรีของประชาธิปไตยด้วย โดยสร้างความหลากหลายทางการเมืองและทำให้การเมืองนั้นอยู่ในระบบระเบียบมาก ขึ้น

ในประการสุดท้ายก็คือทางออกของปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ ผมคิดว่าหากพยายามเข้าอกเข้าใจคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในรอบนี้อีกสักนิด ผมเชื่อว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้คิดหรอกครับว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งของระบอบรัฐ ประหาร แต่ที่เขาสามารถที่จะออกจากบ้านมาทำงานในแต่ละวันได้ก็เพราะเขาเชื่อว่ารัฐ ธรรมนูญที่เขาผดุงรักษาเอาไว้นั้น ?ชอบธรรม? ยิ่งเพราะว่ามาจากการทำประชามติ (แม้ว่าเขาอาจไม่ตระหนักว่าการทำประชามติในครั้งนั้นอยู่ในห้วงเวลาของการมี กฎอัยการศึกเกินครึ่งประเทศ) ดังนั้นศาลรัฐธรรมนูญก็คงจะต้องพยายามเชื่อว่าในการจะแก้ไขในเรื่องใดๆ นั้นคงจะต้องให้ทำประชามตินั่นแหละครับ

ทีนี้คำถามในทางปฏิบัติก็คือ จะทำกันสักกี่รอบ?

ในมุมของผมนั้นก็ทำทั้งสองรอบ คือทั้งรอบขอแก้ และเมื่อแก้เสร็จก็ทำซะอีกครั้ง

เรื่อง นี้เมื่อผมได้พูดคุยกับนักวิชาการผู้ใหญ่อีกท่าน ท่านกลับเสนอประเด็นที่น่าสนใจอีกมุม ก็คือ ในรอบแรกที่จะทำนั้นก็ให้เลือกตั้งไปพร้อมกัน (พูดอ้อมๆ ก็คือยุบสภาไปด้วย)

ในแง่นี้ผมคิดว่าก็ไม่ใช่เรื่องที่น่าหนักใจเท่าไหร่ เพราะหากดูคะแนนเสียงของพรรคเพื่อไทยและประชาธิปัตย์ในรอบที่แล้วนั้น แม้ว่ารายเขตจะห่างกันมาก แต่เมื่อดูบัญชีรายชื่อแล้วห่างกันไม่มาก ไม่นับตัวแปรพรรคเล็กๆ น้อยๆ อีก ดังนั้นประชามติเอาเข้าจริงก็ค่อนข้างที่จะได้เสียงที่เป็นค่อนข้างยุติธรรม หน่อย และยิ่งเป็นการขับเน้นความเป็นผู้นำของรัฐบาลที่มาจากเสียงของประชาชนข้าง มาก และการที่รัฐบาลจะต้องเป็นรัฐบาลของทุกคนด้วย และไม่จำเป็นที่จะต้องมองว่ารัฐบาลนั้นเพลี่ยงพล้ำทางการเมือง แต่มองว่าเรื่องนี้คือการ

กลับไปถามประชาชนว่าจะเอาอย่างไรกับเรื่องของนโยบายและเรื่องของการแก้ไขรัฐธรรมนูญเมื่อเจอกับปรากฏการณ์การต้านเช่นนี้

อยาก ขอย้ำอีกครั้งว่าเรื่องที่เราเจอกันอยู่นี้ไม่ใช่ปัญหาขนาดโลกแตกหรือต้อง เลือกระหว่างความถูกต้องกับความไม่ถูกต้องซะทีเดียว มันมีเรื่องของบทเรียนหลายอย่างที่เราต้องร่วมกันบันทึกเอาไว้ท่ามกลางการ เมืองที่ร้อนแรงและมีพลวัตอย่างคาดไม่ถึงตลอดเวลาเช่นนี้

ขอบคุณ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1385462944&grpid=&catid=02&subcatid=0207 (ขนาดไฟล์: 167)

( มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 พ.ย.56 )

ที่มา: มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 พ.ย.56
วันที่โพสต์: 27/11/2556 เวลา 02:13:08 ดูภาพสไลด์โชว์ การเมืองไทย หลังคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ โดย พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ศาลรัฐธรรมนูญ คําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับ เรื่องของที่มาของวุฒิสมาชิกนั้นมีเรื่องราวหลายเรื่องที่น่าจะแลกเปลี่ยน ความคิดกัน ในที่นี้ผมจะขอนำเสนอประเด็นออกเป็นสามประเด็นหลัก หนึ่งคือ เรื่องราวของกระบวนการและบทบาทของศาลรัฐธรรมนูญกับการเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่เน้นรัฐสภา สองคือ เรื่องราวของเนื้อหาและความคิดทางการเมืองของศาลรัฐธรรมนูญต่อประชาธิปไตย และสามคือ ทางออกของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในวันนี้ ทั้ง หมดทั้งปวงนี้ไม่ได้ตั้งหลักที่การประณามว่าศาลรัฐธรรมนูญนั้นไม่ควรจะมี อยู่ในสังคมประชาธิปไตยแบบรัฐสภา แต่อาจจะตั้งหลักใหม่ก่อนว่าการมีอยู่ของศาลรัฐธรรมนูญนั้นมีความสำคัญต่อ การเปลี่ยนผ่านประชาธิปไตยเป็นอย่างยิ่ง แต่ก็ไม่ได้เป็นหลักประกันว่าศาลรัฐธรรมนูญนั้นทำอะไรก็ถูกนะครับ ขอ เริ่มแบบนี้ก่อนครับ ว่าอย่าเพิ่งมองง่ายๆ ว่า ศาลรัฐธรรมนูญนั้นเป็นคู่ขัดแย้งกับรัฐสภา เพราะถ้ามองแบบนี้ก็จบกันหละครับ มันจะหาทางออกกันไม่ได้ ว่าใครมีอำนาจสูงกว่าใครระหว่างประชาชนกับศาล และ ยิ่งจะทำให้สังคมนั้นร้าวลึกไปอีกระหว่างการมองว่าเป็นเรื่องการเผชิญหน้า ระหว่างอำนาจเก่า กับอำนาจใหม่ ระหว่างอำมาตย์กับประชาธิปไตย หรือแม้กระทั่งระหว่างจำนวนกับเหตุผล หรือระหว่างเหตุผลสองชุด ใน ทางหลักวิชาทางรัฐศาสตร์สมัยใหม่นั้น โดยเฉพาะในการเมืองเปรียบเทียบ เราค้นพบปรากฏการณ์ใหม่ว่า ประเทศประชาธิปไตยใหม่ๆ รวมทั้งพัฒนาการของประชาธิปไตยในประเทศที่มีประชาธิปไตยอันยาวนานนั้นก็ล้วน แล้วแต่มีการก่อตั้งสถาบันที่เรียกว่าศาลรัฐธรรมนูญในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง กันมาทั้งสิ้น ประเด็นอยู่ที่ว่า เราสามารถตีความเรื่องนี้ออกเป็นสองด้าน หนึ่งก็คือมองแบบระยะเฉพาะหน้า/ระยะสั้น ได้แก่การมองว่า การมีศาลรัฐธรรมนูญนั้นส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของ "การสร้างหลักประกัน" ของผู้ที่มีบทบาทในการร่างรัฐธรรมนูญในการสืบทอดอำนาจ หรือให้หลักประกันว่าการเมืองหลังรัฐธรรมนูญประกาศใช้นั้น กระบวนการใช้อำนาจในสังคมนั้นจะมีลักษณะกระจายตัว ไม่กระจุกตัวอยู่ในกลุ่มพวกเดียว (โดยเฉพาะพวกที่ไม่ใช่พวกคนที่ร่างรัฐธรรมนูญ) แต่อีกด้าน หนึ่ง คือการมองด้านยาวๆ หน่อย ก็คือมองในแง่ของพัฒนาการของประชาธิปไตยเอง ก็คือศาลรัฐธรรมนูญนั้นเป็นกระบวนการตุลาการภิวัฒน์ หรือแปลง่ายๆ ก็คือ การที่ศาลเข้ามามีบทบาททางการเมืองโดยการตีความกฎหมายที่กำกับและจำกัดอำนาจ ของรัฐบาล (judicial review) อันเนื่องมาจากพัฒนาการของการเมืองแบบรัฐสภา (parliamentary sovereignty) ที่อาจมีลักษณะที่ขัดกับความเป็นเสรีนิยมทางการเมือง (liberal traditions in politics) นั่นหมายความว่า ในยุคแรกนั้น สภาเป็นทางออกจากการต่อสู้กับอำนาจเก่า โดยเฉพาะอำนาจเจ้าและอำนาจศาสนา แต่เมื่อรัฐสภาจากประชาชนสถาปนาอำนาจได้แล้ว รัฐสภาอาจจะกระทำขัดกับหลักที่ตัวเองเคยเชิดชู นั่นก็คือ หลักการสำคัญของประชาธิปไตยนั้นจะมีอยู่สองหลัก คือหลักของการปกครองของประชาชนหรือคนหมู่มาก และหลักที่สองคือหลักของความเป็นมนุษย์ที่รักความเสรีและประกันหลักพื้นฐาน ไม่ว่าจะอยู่ในเสียงข้างมากหรือน้อย แต่ต้องย้ำว่าศาลรัฐธรรมนูญกับ รัฐสภาไม่จำเป็นต้องมองว่าเป็นศัตรูกัน แต่ต้องมองว่าศาลรัฐธรรมนูญนั้นเป็นคู่ขัดแย้งตรงของรัฐบาลที่มีฐานจาก รัฐสภา เพราะกระบวนการตุลาการภิวัฒน์นั้นไม่ได้มีแค่เรื่องศาลรัฐธรรมนูญ แต่ต้องมองไปถึงการขยายตัวของกฎหมายมหาชนต่างๆ และลักษณะรัฐธรรมนูญนิยมที่มีไว้กำกับอำนาจรัฐไม่ให้ละเมิดเสรีภาพและความ เป็นมนุษย์ของประชาชน ซึ่งศาลและศาลรัฐธรรมนูญก็มีขึ้นเพื่อพิทักษ์เรื่องนี้เช่นกัน นี่ คือเรื่องของหลักการ ดังนั้นก็อย่าให้ถึงต้องคิดว่าศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการภิวัฒน์นั้นไม่มีคุณ ประโยชน์กับพัฒนาการของประชาธิปไตยเอาเสียเลย เพียงแต่ต้องเข้าใจว่ามิติทางการเมืองของการช่วงชิงการตีความและการอ้างความ เป็นประชาชนและการสอดประสานของกันระหว่างหลักการอำนาจจากประชาชน และหลักการของความเป็นมนุษย์และสังคมเสรีนั้นจะเกิดขึ้นจริงได้อย่างไร และศาลรัฐธรรมนูญนั้นในความเป็นจริงนั้นมีที่มาจากไหนเช่นกัน เรื่อง นี้เป็นคนละเรื่องกับเรื่องของการตั้งคำถามว่าศาลรัฐธรรมนูญมีสิทธิไหมในการ ให้คำวินิจฉัย หรือ ถ้ารัฐสภาทำผิดในแง่ขั้นตอนกระบวนการแล้วศาลรัฐธรรมนูญจะเป็นผู้ที่จะมา ตัดสินเรื่องนี้ เรื่องพวกนี้เป็นเรื่องรายละเอียดในทางขั้นตอนกระบวนการซึ่งก็ต้องว่ากันไป ในแต่ละเรื่อง แต่เรื่องที่สำคัญไม่แพ้กันที่ผมพยายามย้ำก็คือ อย่าให้ถึงกับการมองว่าจะต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งไปเสียทีเดียว และ ในอีกด้านหนึ่งก็ต้องคิดให้ดีว่าศาลรัฐธรรมนูญนั้นเมื่อเข้ามาเกี่ยวข้องกับ เรื่องการเมืองเช่นนี้ ย่อมจะต้องเผชิญหน้ากับประชาชน รัฐสภา และรัฐบาล อย่างแน่นอน และจะต้องมีความละเอียดอ่อนว่าศาลรัฐธรรมนูญนั้นกระทำการตุลาการภิวัฒน์ เพื่อหลักการอะไร ระหว่างหลักการเชิดชูความเสรีของประชาธิปไตย หรือเป็นเพียงหลักประกันของโครงสร้างอำนาจเก่า โดยเฉพาะกลุ่มที่กลัวว่าอำนาจจะหลุดจากมือของตนไปหลังการร่างรัฐธรรมนูญ ใน ประเด็นที่สองคือเรื่องของ เนื้อหาและความคิดทางการเมืองของศาลรัฐธรรมนูญต่อประชาธิปไตย ซึ่งมีความชัดเจนมากในครั้งนี้ และเป็นเรื่องที่อันตรายมากในการอ้างถึงว่า การเปิดให้มีการเลือกตั้งวุฒิสมาชิกทั้งหมดนั้นจะนำไปสู่ความล้มเหลวของ ประชาธิปไตยดังที่เคยเป็นมาก่อน และทำให้เชื่อได้ว่าการคัดสรรวุฒิสมาชิกครึ่งหนึ่งแบบที่เป็นอยู่ในรัฐ ธรรมนูญในวันนี้เป็นหนทางที่ถูกต้องแล้ว แต่ก่อนที่เราจะโจมตีศาลรัฐธรรมนูญอย่างเสียหาย ไร้ที่ยืน เราคงต้องตั้งหลักหลายเรื่อง เรื่องแรกก็คือศาลรัฐธรรมนูญอยู่ในสถานะที่จะให้ทรรศนะทางการเมืองได้ไหม? หรือมีหน้าที่แค่มองว่าอะไรขัดกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือ หลักการของรัฐธรรมนูญ ยิ่งเรื่องของการพูดถึงการแก้รัฐ ธรรมนูญเองแล้ว ศาลก็ต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง ว่าจะพูดแบบกำปั้นทุบดินคืออะไรการแก้รัฐธรรมนูญนั้นยังไงก็ขัดกับรัฐ ธรรมนูญ หรือการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นต่างจากการขัดหลักการรัฐธรรมนูญ (หรือว่าศาลไม่ควรยุ่งกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญเลย เว้นแต่เรื่องนั้นกระทบกับอำนาจอธิปไตย โดยเฉพาะหลักที่ว่าอำนาจอธิปไตยนั้นเป็นของประชาชน) คำถามที่ท้าทาย มากๆ อยู่ที่ว่า ระบบสภาผัวเมียที่ศาลอ้างถึงนั้นเป็นระบบที่นำไปสู่การล่มสลายของรัฐธรรมนูญ 2540 จริงหรือเปล่า? หรือเป็นเรื่องอื่นอีกมากมาย ที่จนถึงวันนี้ก็แยกได้ยากระหว่างข้อกล่าวหาและข้อเท็จจริงทางการเมือง เพราะขึ้นอยู่กับว่าเรามีจุดยืนอยู่กับฝ่ายไหน? หรือถ้าจะพูดแบบตรงๆ ก็คือ การมีวุฒิสมาชิกที่มาจากเลือกตั้งนั้นทำลายหลักการเสรีตรงไหนในทางการเมือง? เรื่อง นี้ต้องตั้งอกตั้งใจกันนิดหนึ่ง เพราะการแก้ไขในรอบนี้นั้นไม่ได้ยกเลิกหลักการสองสภา และไม่ได้ใช้การเลือกตั้งในแบบเดียวกันกับสภาผู้แทน ในแง่ของการแบ่งเขตและการมีบัญชีรายชื่อ ดังนั้นจะมองว่าการมีสองสภาที่มาจากการเลือกตั้งที่แตกต่างกันนั้นเป็นการ ทำลายหลักนิติธรรม หรือแม้กระทั่งหลักประชาธิปไตยเสรีนั้นก็เห็นจะยากอยู่ แต่ ในอีกมุมหนึ่ง เราก็ต้องเรียนรู้หลักทางรัฐศาสตร์สมัยใหม่อีกเช่นกัน ที่มองว่าการมีรัฐสภาที่มาจากเสียงข้างมากสภาเดียวนั้นอาจจะนำไปสู่คุณ ประโยชน์ หรือประเด็นท้าทายได้เช่นกัน เพราะเอาเข้าจริงแล้ว แม้ว่าอำนาจอธิปไตยจะเป็นของประชาชน แต่ประชาชนนั้นก็สามารถแสดงออกทางอำนาจอธิปไตยของเขาได้หลากหลายรูปลักษณะ เช่นการเป็นประชาชนของท้องถิ่น (ในการเลือกตั้งองค์กรปกครองท้องถิ่น) ประชาชนของชุมชนการเมืองที่เรียกว่ารัฐ (ในการเลือกตั้งรัฐสภาระดับชาติ) หรือแม้กระทั่งการเลือกตั้งตามสาขาอาชีพ นักรัฐศาสตร์สาขา การเมืองเปรียบเทียบสมัยใหม่กลุ่มหนึ่งจึงพยายามที่จะศึกษาและออกแบบ ?การแบ่งปันอำนาจ? ในรูปแบบใหม่ๆ ในความหมายที่ว่าประชาธิปไตยที่ทำงานได้นั้นอาจจะต้องมีสภาที่คานอำนาจกัน สองสภา และมาจากการเลือกตั้ง แต่เป็นการเลือกตั้งที่แตกต่างรูปลักษณะกัน เพื่อให้เกิดความเป็นไปได้ว่าการปกครองแบบประชาธิปไตยเสียงข้างมากนั้นจำ เป็นจะต้องมีคู่สนทนาที่ร่วมกันปรึกษาหารือเพื่อให้ความขัดแย้งทางสังคมไม่ ได้เกิดมาง่ายนัก หรือผดุงไว้ซึ่งหลักการความเสรีของประชาธิปไตยด้วย โดยสร้างความหลากหลายทางการเมืองและทำให้การเมืองนั้นอยู่ในระบบระเบียบมาก ขึ้น

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...