เสวนาชำแหละคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญและทางออกส.ว.เลือกตั้งลงชื่อในญัตติ

แสดงความคิดเห็น

เมื่อวันที่ 25 พ.ย. ที่ห้องรับรอง 1-2 อาคารวุฒิสภา เวลา 13.30 น. กลุ่มส.ว.เลือกตั้ง นำโดย นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ส.ว.ชลบุรี ได้จัดงานเสวนา “ชำแหละคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ และทางออกส.ว.เลือกตั้งลงชื่อในญัตติ” โดยมี นายเอกชัย ไชยนุวัติ รองคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม และนายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักวิชาการอิสระ ร่วมเสวนาและตอบคำถามของส.ว.ที่เข้าร่วมจำนวน 31 คน โดยนายเอกชัย กล่าวว่า ตนได้คุยกับนายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ในประเด็นที่มีผู้ยื่นถอดถอน 312 สมาชิกรัฐสภาต่อต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดยนายนิคม ต้องการไปชี้แจงตามหน้าที่ แต่ส่วนตัวมองว่า ในวงส.ว.ควรหารือกันให้ตกผลึก เพราะกลุ่มมวลชนก็เล่นเกมชุมนุมไล่กันเป็นวินาที เพราะไม่อยากรอให้เรื่องถึงป.ป.ช.ก่อน และต้องการให้จบเกมภายใน 3 วันด้วยการดึงการอภิปรายไม่ไว้วางใจจนเกิดวิกฤติการณ์ความวุ่นวายในประเทศ และถึงขั้นสุดท้ายที่ส.ว.ไม่รับอำนาจศาล ส่วนกลุ่มผู้ชุมนุมก็ไม่รับอำนาจส.ว.เช่นกัน นำไปสู่นายกฯพระราชทาน ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา7 โดยที่เตรียมบุคคลอักษรย่อ “อ” หรือ “พ” ตัวดำๆ ซึ่งเป็นนักกฎหมายไว้แล้ว

ทั้งนี้ การที่ส.ว.จะไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ ส.ว.จะต้องแสดงเจตนารมณ์ต่อศาลรัฐธรรมนูญชัดเจนว่า การเสียบบัตรแทนกันเป็นอำนาจสถาปนาแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่อำนาจนิติบัญญัติ เพราะหากใช้คำนี้ย่อมแปลว่าเป็นการการออกกฎหมายทั่วไป ทั้งที่ สิ่งที่ส.ว.ทำไม่ได้ออกกฎหมายใต้รัฐธรรมนูญ แต่คือการแก้รัฐธรรมนูญ ดังนั้นไม่มีใครในโลกที่จะมาตรวจสอบควบคุมการกระทำใดๆของ ส.ว. ในฐานะตัวแทนประชาชนในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยกเว้นคน 1 คน และไม่ควรพูดว่า “ไม่ยอมรับอำนาจศาล” เพราะถือว่าเป็นกบฎ แต่ต้องบอกว่า “ศาลไม่มีอำนาจ” ขณะที่คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่โยงไปถึงการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ส.ว.ก็ต้องแสดงชัดเจนไปว่า รัฐธรรมนูญมาตรา 130 ในการแสดงความเห็นหรือออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมสภาฯ วุฒิสภา หรือประชุมร่วมรัฐสภา เป็นเอกสิทธิ์เด็ดขาดของสมาชิก ผู้ใดจะนำไปเป็นเหตุฟ้องร้องกล่าวว่าสมาชิกผู้นั้นในทางใดไม่ได้

ด้านนายวีระพัฒน์ กล่าวว่า ตามที่มีผู้ใช้สิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 271 ดำเนินการยื่นถอดถอนสมาชิกรัฐสภา 312 คนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 270 ต้องพิจารณากระบวนการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 ด้วย ที่ระบุให้ประธานวุฒิสภาส่งเรื่องตามคำร้องให้ ป.ป.ช.พิจารราตรวจสอบโดยเร็ว ตนมองว่าต้องมีการเตือนนายนิคมว่าอย่าหลับหูหลับตาส่งไปให้ทันที เนื่องจากมาตรา 272 ระบุให้พิจารณาตามคำร้องมาตรา 271 และมาตรา 270 ประกอบ โดยมาตรา 270 นั้นระบุว่า เมื่อมีผู้ใดจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หากนายนิคมมองว่าเป็นประเด็นที่อยู่ระหว่างการถกเถียง มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่เหมาะสม แต่ไม่ใช่กรณีจงใจขัดต่อรัฐธรรมนูญเพื่อกระทำการทุจริต แต่เป็นการใช้อำนาจรัฐธรรมนูญ โดยหากนายนิคมยังไม่ส่งเรื่องไปยังป.ป.ช. ก็ยังจะมีคำอธิบายได้

ทั้งนี้ นายสุพจน์ เลียดประถม ส.ว.ตราด ได้เสนอให้ ส.ว.ทั้ง 52 คนที่ถูกยื่นถอนถอน ควรแยกการต่อสู้ เนื่องจากส.ว.ไม่ใช่ผู้ที่เสียบบัตรแทนกัน อีกทั้งร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่เสนอให้สภาฯ มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักการ ไม่ใช่ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ที่ ส.ว.ให้การรับรอง นอกจากนี้ ก่อนปิดการเสวนา นายดิเรก ถึงฝั่ง สว.นนทบุรี ระบุว่าหลังการเสวนาเดิมจะมีการหารือถึงการต่อสู้ในคำวินิจฉัยของศาล และจะมีนายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ร่วมด้วยแต่ตนได้รับแจ้งจากนายนิคมว่า จะไม่เข้าที่ประชุมรัฐสภาเนื่องจากทราบมาว่าจะมีกลุ่มผู้ชุมนุมบุกรวบตัว แต่การเสวนาดังกล่าวนายนิคมได้ติดตามตลอด อย่างไรก็ตาม การหารือเรื่องดังกล่าวจะนัดประชุมอีกครั้ง ในวันที่ 26 พฤศจิกายน ส่วนจะใช้สถานที่ใดจะให้นายสุรชัย แจ้งอีกครั้ง

ขอบคุณ http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNNE5UTTRORE13Tmc9PQ==&subcatid= (ขนาดไฟล์: 167)

(ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 พ.ย.56 )

ที่มา: ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 พ.ย.56
วันที่โพสต์: 26/11/2556 เวลา 01:33:18

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เมื่อวันที่ 25 พ.ย. ที่ห้องรับรอง 1-2 อาคารวุฒิสภา เวลา 13.30 น. กลุ่มส.ว.เลือกตั้ง นำโดย นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ส.ว.ชลบุรี ได้จัดงานเสวนา “ชำแหละคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ และทางออกส.ว.เลือกตั้งลงชื่อในญัตติ” โดยมี นายเอกชัย ไชยนุวัติ รองคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม และนายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักวิชาการอิสระ ร่วมเสวนาและตอบคำถามของส.ว.ที่เข้าร่วมจำนวน 31 คน โดยนายเอกชัย กล่าวว่า ตนได้คุยกับนายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ในประเด็นที่มีผู้ยื่นถอดถอน 312 สมาชิกรัฐสภาต่อต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดยนายนิคม ต้องการไปชี้แจงตามหน้าที่ แต่ส่วนตัวมองว่า ในวงส.ว.ควรหารือกันให้ตกผลึก เพราะกลุ่มมวลชนก็เล่นเกมชุมนุมไล่กันเป็นวินาที เพราะไม่อยากรอให้เรื่องถึงป.ป.ช.ก่อน และต้องการให้จบเกมภายใน 3 วันด้วยการดึงการอภิปรายไม่ไว้วางใจจนเกิดวิกฤติการณ์ความวุ่นวายในประเทศ และถึงขั้นสุดท้ายที่ส.ว.ไม่รับอำนาจศาล ส่วนกลุ่มผู้ชุมนุมก็ไม่รับอำนาจส.ว.เช่นกัน นำไปสู่นายกฯพระราชทาน ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา7 โดยที่เตรียมบุคคลอักษรย่อ “อ” หรือ “พ” ตัวดำๆ ซึ่งเป็นนักกฎหมายไว้แล้ว ทั้งนี้ การที่ส.ว.จะไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ ส.ว.จะต้องแสดงเจตนารมณ์ต่อศาลรัฐธรรมนูญชัดเจนว่า การเสียบบัตรแทนกันเป็นอำนาจสถาปนาแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่อำนาจนิติบัญญัติ เพราะหากใช้คำนี้ย่อมแปลว่าเป็นการการออกกฎหมายทั่วไป ทั้งที่ สิ่งที่ส.ว.ทำไม่ได้ออกกฎหมายใต้รัฐธรรมนูญ แต่คือการแก้รัฐธรรมนูญ ดังนั้นไม่มีใครในโลกที่จะมาตรวจสอบควบคุมการกระทำใดๆของ ส.ว. ในฐานะตัวแทนประชาชนในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยกเว้นคน 1 คน และไม่ควรพูดว่า “ไม่ยอมรับอำนาจศาล” เพราะถือว่าเป็นกบฎ แต่ต้องบอกว่า “ศาลไม่มีอำนาจ” ขณะที่คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่โยงไปถึงการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ส.ว.ก็ต้องแสดงชัดเจนไปว่า รัฐธรรมนูญมาตรา 130 ในการแสดงความเห็นหรือออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมสภาฯ วุฒิสภา หรือประชุมร่วมรัฐสภา เป็นเอกสิทธิ์เด็ดขาดของสมาชิก ผู้ใดจะนำไปเป็นเหตุฟ้องร้องกล่าวว่าสมาชิกผู้นั้นในทางใดไม่ได้ ด้านนายวีระพัฒน์ กล่าวว่า ตามที่มีผู้ใช้สิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 271 ดำเนินการยื่นถอดถอนสมาชิกรัฐสภา 312 คนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 270 ต้องพิจารณากระบวนการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 ด้วย ที่ระบุให้ประธานวุฒิสภาส่งเรื่องตามคำร้องให้ ป.ป.ช.พิจารราตรวจสอบโดยเร็ว ตนมองว่าต้องมีการเตือนนายนิคมว่าอย่าหลับหูหลับตาส่งไปให้ทันที เนื่องจากมาตรา 272 ระบุให้พิจารณาตามคำร้องมาตรา 271 และมาตรา 270 ประกอบ โดยมาตรา 270 นั้นระบุว่า เมื่อมีผู้ใดจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หากนายนิคมมองว่าเป็นประเด็นที่อยู่ระหว่างการถกเถียง มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่เหมาะสม แต่ไม่ใช่กรณีจงใจขัดต่อรัฐธรรมนูญเพื่อกระทำการทุจริต แต่เป็นการใช้อำนาจรัฐธรรมนูญ โดยหากนายนิคมยังไม่ส่งเรื่องไปยังป.ป.ช. ก็ยังจะมีคำอธิบายได้ ทั้งนี้ นายสุพจน์ เลียดประถม ส.ว.ตราด ได้เสนอให้ ส.ว.ทั้ง 52 คนที่ถูกยื่นถอนถอน ควรแยกการต่อสู้ เนื่องจากส.ว.ไม่ใช่ผู้ที่เสียบบัตรแทนกัน อีกทั้งร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่เสนอให้สภาฯ มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักการ ไม่ใช่ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ที่ ส.ว.ให้การรับรอง นอกจากนี้ ก่อนปิดการเสวนา นายดิเรก ถึงฝั่ง สว.นนทบุรี ระบุว่าหลังการเสวนาเดิมจะมีการหารือถึงการต่อสู้ในคำวินิจฉัยของศาล และจะมีนายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ร่วมด้วยแต่ตนได้รับแจ้งจากนายนิคมว่า จะไม่เข้าที่ประชุมรัฐสภาเนื่องจากทราบมาว่าจะมีกลุ่มผู้ชุมนุมบุกรวบตัว แต่การเสวนาดังกล่าวนายนิคมได้ติดตามตลอด อย่างไรก็ตาม การหารือเรื่องดังกล่าวจะนัดประชุมอีกครั้ง ในวันที่ 26 พฤศจิกายน ส่วนจะใช้สถานที่ใดจะให้นายสุรชัย แจ้งอีกครั้ง ขอบคุณ… http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNNE5UTTRORE13Tmc9PQ==&subcatid= (ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 พ.ย.56 )

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...