นิติราษฎร์แถลง: กรณีศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแก้ไข รธน. ที่มา ส.ว.

แสดงความคิดเห็น

นิติราษฎร์แถลง: กรณีศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแก้ไข รธน. ที่มา ส.ว.

24 พ.ย. 2556 - เมื่อวันที่ 23 พ.ย. ที่ห้องประกอบ หุตะสิงห์ อาคารอเนกประสงค์ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ คณะนิติราษฎร์จัดงานแถลงข่าวเพื่อเสนอความคิดเห็นทางวิชาการ ต่อกรณีคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นการได้มา ซึ่งสมาชิกวุฒิสภา

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2556 ศาลธรรมนูญมีคำวินิจฉัยกรณีรัฐสภาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการได้ มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา โดยคณะนิติราษฎร์เห็นว่า "คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เนื่องจากไม่มีบทบัญญัติใดในรัฐธรรมนูญให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบควบคุม กระบวนการตลอดจนเนื้อหาของการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ การที่ศาลรัฐธรรมนูญเข้าตรวจสอบควบคุมการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญทั้งๆ ที่ปราศจากอำนาจตามรัฐธรรมนูญแต่กลับสถาปนาอำนาจดังกล่าวขึ้นมาเอง จึงเป็นการขยายแดนอำนาจของตนออกไปจนกลายเป็นองค์กรที่อยู่เหนือรัฐธรรมนูญ และอยู่เหนือองค์กรทั้งปวงของรัฐ มีผลเป็นการทำลายหลักนิติรัฐประชาธิปไตยลง จนก่อให้เกิดสภาวการณ์ที่ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจสูงสุดเด็ดขาด"

"แม้คณะนิติราษฎร์เห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจพิจารณาคดีดังกล่าวนี้ ก็ตาม แต่โดยเหตุที่ศาลรัฐธรรมนูญได้แสดงทัศนคติทางการเมืองผ่าน “คำวินิจฉัย” ต่อสาธารณชน ซึ่งเนื้อหาใน “คำวินิจฉัย” อาจก่อให้เกิดความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องจนส่งผลร้ายต่อการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยได้ จึงจำเป็นที่คณะนิติราษฎร์ต้องจัดแถลงข่าวเพื่อเสนอความเห็นทางวิชาการต่อ “คำวินิจฉัย” ดังกล่าว" ส่วนหนึ่งของประกาศจากคณะนิติราษฎร์ระบุ

ทั้งนี้ในการแถลงข่าว วรเจตน์ ภาคีรัตน์ หนึ่งในนักวิชาการคณะนิติราษฎร์กล่าวในการแถลงว่า ผลของการวินิจฉัยมาตรา 68 ของศาลรัฐธรรมนูญ กลายเป็นการสถาปนาอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญขึ้นมาเอง มีการตีความอย่างกว้างขวาง ไม่ชอบด้วยหลักการตรวจสอบถ่วงดุล และไม่ชอบด้วยหลักการจัดโครงสร้างรัฐ ถ้าปล่อยให้การตีความมาตรา 68 ของศาลรัฐธรรมเป็นแบบนี้ก็เป็นการปล่อยให้เขตอำนาจขยายไปเรื่อย เชื่อว่าจะมีคนมาร้องศาลรัฐธรรมนูญตลอดเวลา เพราะมีคนพร้อมจะทำเช่นนั้นอยู่แล้วในทุกเรื่อง ศาลจะมีอำนาจในการรับคดีต่างๆ มาพิจารณาคดีเต็มไปหมด กลายเป็น "ซูเปอร์องค์กร" เป็นองค์กรที่อยู่เหนือองค์กรทั้งปวง และศาลนั้นแม้จะเกิดจากรัฐธรรมนูญ แต่โดยผลของการใช้กฎหมายแบบนี้จะกลับเป็นคนที่ให้กำเนิดรัฐธรรมนูญเอง มันจะเกิดสภาพวิปลาส ผิดเพี้ยนไปหมด มีผลรุนแรงทำลายหลักนิติรัฐและประชาธิปไตยลง ส่งผลให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจสูงสุดเด็ดขาด โดยความร้ายแรงแบบนี้เองที่ทำให้เราต้องยืนยันว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐ ธรรมนูญนี้เสียเปล่าและไม่มีผลทางกฎหมาย

จันทจิรา เอี่ยมมยุรา ได้วิจารณ์ในส่วนของคำวินิจฉัย ของศาลในเนื้อหาของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยศาลชี้ว่าจะทำให้เกิดการไม่สมดุล เป็นสภาญาติพี่น้อง สภาครอบครัวหรือสภาผัวเมียทำให้สูญสิ้นสถานะและศักยภาพแห่งการเป็นสติปัญญา ให้กับสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทำลายสาระสำคัญของการมีสองสภา

"ศาลเข้ามาใช้อำนาจชี้นำการกำหนดโครงสร้างทางการเมืองเป็นกรณีที่ศาล กระทำสิ่งที่ไม่ใช่หน้าที่ของศาลและการมีวุฒิสภาในประเทศอื่นในโลกที่เป็น ประชาธิปไตยก็ล้วนมาจากการเลือกตั้งการที่ศาลอ้างว่าไม่เป็นประชาธิปไตยก็ ขัดแย้งกับหลักการประชาธิปไตย"

"ส่วนการมีเจตจำนงให้วุฒิสภามาจากการแต่งตั้งเป็นการถาวรตลอดไปก็ต้องเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 291"

ปิยบุตร แสงกนกกุล กล่าวตอนหนึ่งว่า การพยายามมาแตะเรื่องเนื้อหาเพราะว่าการแก้ไข ส.ว. ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดเป็นการได้มาซึ่งอำนาจการปกครองที่ไม่เป็นไปตาม ระบอบประชาธิปไตย เพื่อวางหลักไว้ว่าจะไม่มีใครสามารถมาเสนอเรื่องแบบนี้ได้อีกแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญกำลังขยายแดนของบทบัญญัติที่ห้ามแก้ไขออกไปเรื่อยๆ ทั้งที่ตามรธน.มีแค่ 2 เรื่องเท่านั้นที่แก้ไม่ได้ คือการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และเรื่องรูปของรัฐ

ถ้าเห็นด้วยกับ ส.ว. แต่งตั้งก็ไปร่วมรณรงค์กับเสียงข้างน้อยเพื่อโน้มน้าวให้เสียงข้างมากเห็น ด้วย ไม่ใช่เอาทัศนคติตัวเองไปลงไว้ในคำวินิจฉัย ซึ่งปิยบุตรย้ำอีกครั้งส่า ส.ว. แต่งตั้งเป็นมรดกตกทอดจากการรัฐประหาร

ทั้งนี้วรเจตน์ปิดท้ายการแถลงข่าวโดยสรุปว่า หลังจากนี้อาจจะมีข้อโต้แย้งว่า แม้คำวินิจฉัยจะมีปัญหาร้ายแรงตามที่วิพากษ์วิจารณ์มา แต่หากไม่ทำตาม ไม่ยอมรับ บ้านเมืองก็ไม่มีขื่อไม่มีแป จะทำอย่างไรกันต่อไป

“เราจะยอมถูกกดขี่โดยคำวินิจฉัยไปชั่วกัลปาวสานหรือ นี่มันไม่ใช่หลักนิติธรรม ไม่ใช่หลักประชาธิปไตย” วรเจตน์กล่าวพร้อมระบว่าอาจมีคนอ้างมาตรา 206 วรรค 5 ว่าผลการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้มีผลผูกพันองค์กรของรัฐทุกองค์กร แต่วรเจตน์เห็นว่ากรณีนี้โมฆะ เนื่องจากคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญจะมีผลเป็นเด็ดขาดไม่ได้ เพราะเป็นคำวินิจฉัยที่ขัดต่อหลักประชาธิปไตย นิติรัฐ นิติธรรม และไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญเอง ในทางกฎหมายต้องถือเป็นโมฆะ บังคับองค์กรของรัฐไม่ได้ แต่ถามว่าจะเกิดวิกฤตไหม เกิดวิกฤตแน่นอน

ในส่วนของผลทางกฎหมาย คำวินิจฉัยนี้ไม่ได้บอกว่าต้องทำอะไร ระหว่างนี้มีคนบอกว่าร่างรัฐธรรมนูญ นี้ตกไปแล้ว แต่ถามว่าตกไปจากไหน ตอบไม่ได้ กระบวนการขณะนี้นายกรัฐมนตรีได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ไปแล้ว ซึ่งในคำวินิจฉัยของศาลก็ไม่ได้บอกว่าร่างรัฐธรรมนูญนี้ตกไป เพราะเขาไม่มีอำนาจจะบอกได้ ขณะนี้เรื่องอยู่ระหว่างการรอลงพระปรมาภิไธย จะสั่งกษัตริย์ให้ไม่ลงพระปรมาภิไธยก็ไม่ได้ มาตรา 68 ก็ไม่ได้ให้อำนาจไว้ เป็นการชี้ว่าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยโดยไม่มีอำนาจ ดังนั้นขณะนี้ร่างรัฐธรรมนูญ ยังมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายทุกประการ และหากกษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยก็นำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ถ้าไม่ทรงวงพระปรมาภิไธย ก็ถือว่าทรงใช้อำนาจวีโต้ สภาก็ต้องมาปรึกษากัน ถ้าลงมติยืนยันไม่ถึง 2 ใน 3 ก็ตกไป แต่ถ้าลงคะแนนถึง 2 ใน 3 ก็ต้องยืนยันทูลเกล้าฯ อีกครั้ง และครั้งนี้หากพ้น 60 วันก็ประกาศเป็นกฎหมายต่อไปได้

ขอบคุณ... http://prachatai.com/journal/2013/11/49942 (ขนาดไฟล์: 167)

( ประชาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 23 พ.ย.56 )

ที่มา: ประชาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 23 พ.ย.56
วันที่โพสต์: 24/11/2556 เวลา 01:39:56 ดูภาพสไลด์โชว์ นิติราษฎร์แถลง: กรณีศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแก้ไข รธน. ที่มา ส.ว.

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นิติราษฎร์แถลง: กรณีศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแก้ไข รธน. ที่มา ส.ว. 24 พ.ย. 2556 - เมื่อวันที่ 23 พ.ย. ที่ห้องประกอบ หุตะสิงห์ อาคารอเนกประสงค์ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ คณะนิติราษฎร์จัดงานแถลงข่าวเพื่อเสนอความคิดเห็นทางวิชาการ ต่อกรณีคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นการได้มา ซึ่งสมาชิกวุฒิสภา ทั้งนี้เมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2556 ศาลธรรมนูญมีคำวินิจฉัยกรณีรัฐสภาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการได้ มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา โดยคณะนิติราษฎร์เห็นว่า "คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เนื่องจากไม่มีบทบัญญัติใดในรัฐธรรมนูญให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบควบคุม กระบวนการตลอดจนเนื้อหาของการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ การที่ศาลรัฐธรรมนูญเข้าตรวจสอบควบคุมการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญทั้งๆ ที่ปราศจากอำนาจตามรัฐธรรมนูญแต่กลับสถาปนาอำนาจดังกล่าวขึ้นมาเอง จึงเป็นการขยายแดนอำนาจของตนออกไปจนกลายเป็นองค์กรที่อยู่เหนือรัฐธรรมนูญ และอยู่เหนือองค์กรทั้งปวงของรัฐ มีผลเป็นการทำลายหลักนิติรัฐประชาธิปไตยลง จนก่อให้เกิดสภาวการณ์ที่ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจสูงสุดเด็ดขาด" "แม้คณะนิติราษฎร์เห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจพิจารณาคดีดังกล่าวนี้ ก็ตาม แต่โดยเหตุที่ศาลรัฐธรรมนูญได้แสดงทัศนคติทางการเมืองผ่าน “คำวินิจฉัย” ต่อสาธารณชน ซึ่งเนื้อหาใน “คำวินิจฉัย” อาจก่อให้เกิดความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องจนส่งผลร้ายต่อการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยได้ จึงจำเป็นที่คณะนิติราษฎร์ต้องจัดแถลงข่าวเพื่อเสนอความเห็นทางวิชาการต่อ “คำวินิจฉัย” ดังกล่าว" ส่วนหนึ่งของประกาศจากคณะนิติราษฎร์ระบุ ทั้งนี้ในการแถลงข่าว วรเจตน์ ภาคีรัตน์ หนึ่งในนักวิชาการคณะนิติราษฎร์กล่าวในการแถลงว่า ผลของการวินิจฉัยมาตรา 68 ของศาลรัฐธรรมนูญ กลายเป็นการสถาปนาอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญขึ้นมาเอง มีการตีความอย่างกว้างขวาง ไม่ชอบด้วยหลักการตรวจสอบถ่วงดุล และไม่ชอบด้วยหลักการจัดโครงสร้างรัฐ ถ้าปล่อยให้การตีความมาตรา 68 ของศาลรัฐธรรมเป็นแบบนี้ก็เป็นการปล่อยให้เขตอำนาจขยายไปเรื่อย เชื่อว่าจะมีคนมาร้องศาลรัฐธรรมนูญตลอดเวลา เพราะมีคนพร้อมจะทำเช่นนั้นอยู่แล้วในทุกเรื่อง ศาลจะมีอำนาจในการรับคดีต่างๆ มาพิจารณาคดีเต็มไปหมด กลายเป็น "ซูเปอร์องค์กร" เป็นองค์กรที่อยู่เหนือองค์กรทั้งปวง และศาลนั้นแม้จะเกิดจากรัฐธรรมนูญ แต่โดยผลของการใช้กฎหมายแบบนี้จะกลับเป็นคนที่ให้กำเนิดรัฐธรรมนูญเอง มันจะเกิดสภาพวิปลาส ผิดเพี้ยนไปหมด มีผลรุนแรงทำลายหลักนิติรัฐและประชาธิปไตยลง ส่งผลให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจสูงสุดเด็ดขาด โดยความร้ายแรงแบบนี้เองที่ทำให้เราต้องยืนยันว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐ ธรรมนูญนี้เสียเปล่าและไม่มีผลทางกฎหมาย จันทจิรา เอี่ยมมยุรา ได้วิจารณ์ในส่วนของคำวินิจฉัย ของศาลในเนื้อหาของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยศาลชี้ว่าจะทำให้เกิดการไม่สมดุล เป็นสภาญาติพี่น้อง สภาครอบครัวหรือสภาผัวเมียทำให้สูญสิ้นสถานะและศักยภาพแห่งการเป็นสติปัญญา ให้กับสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทำลายสาระสำคัญของการมีสองสภา "ศาลเข้ามาใช้อำนาจชี้นำการกำหนดโครงสร้างทางการเมืองเป็นกรณีที่ศาล กระทำสิ่งที่ไม่ใช่หน้าที่ของศาลและการมีวุฒิสภาในประเทศอื่นในโลกที่เป็น ประชาธิปไตยก็ล้วนมาจากการเลือกตั้งการที่ศาลอ้างว่าไม่เป็นประชาธิปไตยก็ ขัดแย้งกับหลักการประชาธิปไตย" "ส่วนการมีเจตจำนงให้วุฒิสภามาจากการแต่งตั้งเป็นการถาวรตลอดไปก็ต้องเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 291" ปิยบุตร แสงกนกกุล กล่าวตอนหนึ่งว่า การพยายามมาแตะเรื่องเนื้อหาเพราะว่าการแก้ไข ส.ว. ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดเป็นการได้มาซึ่งอำนาจการปกครองที่ไม่เป็นไปตาม ระบอบประชาธิปไตย เพื่อวางหลักไว้ว่าจะไม่มีใครสามารถมาเสนอเรื่องแบบนี้ได้อีกแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญกำลังขยายแดนของบทบัญญัติที่ห้ามแก้ไขออกไปเรื่อยๆ ทั้งที่ตามรธน.มีแค่ 2 เรื่องเท่านั้นที่แก้ไม่ได้ คือการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และเรื่องรูปของรัฐ ถ้าเห็นด้วยกับ ส.ว. แต่งตั้งก็ไปร่วมรณรงค์กับเสียงข้างน้อยเพื่อโน้มน้าวให้เสียงข้างมากเห็น ด้วย ไม่ใช่เอาทัศนคติตัวเองไปลงไว้ในคำวินิจฉัย ซึ่งปิยบุตรย้ำอีกครั้งส่า ส.ว. แต่งตั้งเป็นมรดกตกทอดจากการรัฐประหาร ทั้งนี้วรเจตน์ปิดท้ายการแถลงข่าวโดยสรุปว่า หลังจากนี้อาจจะมีข้อโต้แย้งว่า แม้คำวินิจฉัยจะมีปัญหาร้ายแรงตามที่วิพากษ์วิจารณ์มา แต่หากไม่ทำตาม ไม่ยอมรับ บ้านเมืองก็ไม่มีขื่อไม่มีแป จะทำอย่างไรกันต่อไป “เราจะยอมถูกกดขี่โดยคำวินิจฉัยไปชั่วกัลปาวสานหรือ นี่มันไม่ใช่หลักนิติธรรม ไม่ใช่หลักประชาธิปไตย” วรเจตน์กล่าวพร้อมระบว่าอาจมีคนอ้างมาตรา 206 วรรค 5 ว่าผลการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้มีผลผูกพันองค์กรของรัฐทุกองค์กร แต่วรเจตน์เห็นว่ากรณีนี้โมฆะ เนื่องจากคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญจะมีผลเป็นเด็ดขาดไม่ได้ เพราะเป็นคำวินิจฉัยที่ขัดต่อหลักประชาธิปไตย นิติรัฐ นิติธรรม และไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญเอง ในทางกฎหมายต้องถือเป็นโมฆะ บังคับองค์กรของรัฐไม่ได้ แต่ถามว่าจะเกิดวิกฤตไหม เกิดวิกฤตแน่นอน ในส่วนของผลทางกฎหมาย คำวินิจฉัยนี้ไม่ได้บอกว่าต้องทำอะไร ระหว่างนี้มีคนบอกว่าร่างรัฐธรรมนูญ นี้ตกไปแล้ว แต่ถามว่าตกไปจากไหน ตอบไม่ได้ กระบวนการขณะนี้นายกรัฐมนตรีได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ไปแล้ว ซึ่งในคำวินิจฉัยของศาลก็ไม่ได้บอกว่าร่างรัฐธรรมนูญนี้ตกไป เพราะเขาไม่มีอำนาจจะบอกได้ ขณะนี้เรื่องอยู่ระหว่างการรอลงพระปรมาภิไธย จะสั่งกษัตริย์ให้ไม่ลงพระปรมาภิไธยก็ไม่ได้ มาตรา 68 ก็ไม่ได้ให้อำนาจไว้ เป็นการชี้ว่าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยโดยไม่มีอำนาจ ดังนั้นขณะนี้ร่างรัฐธรรมนูญ ยังมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายทุกประการ และหากกษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยก็นำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ถ้าไม่ทรงวงพระปรมาภิไธย ก็ถือว่าทรงใช้อำนาจวีโต้ สภาก็ต้องมาปรึกษากัน ถ้าลงมติยืนยันไม่ถึง 2 ใน 3 ก็ตกไป แต่ถ้าลงคะแนนถึง 2 ใน 3 ก็ต้องยืนยันทูลเกล้าฯ อีกครั้ง และครั้งนี้หากพ้น 60 วันก็ประกาศเป็นกฎหมายต่อไปได้ ขอบคุณ... http://prachatai.com/journal/2013/11/49942 ( ประชาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 23 พ.ย.56 )

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...