บทบาท ความหมาย คำวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญ อยากให้จบ แต่ไม่จบ

แสดงความคิดเห็น

คล้ายกับ "เจตนา" ของศาลรัฐธรรมนูญที่ปรากฏผ่านคำวินิจฉัยต่อร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญว่าด้วยที่มาของ ส.ว.จะต้องการยุติปัญหา

เห็นได้จาก 1 ยุติการแก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยที่มาของ ส.ว.ใหม่

ศาลรัฐธรรมนูญ ขณะเดียวกัน 1 เห็นได้จากแม้จะยุติร่างแก้ไขเพิ่มเติม แต่ 312 ส.ส. และ ส.ว.ที่เสนอและลงมติผ่านความเห็นชอบก็ไม่มีความผิด

ไม่มีการถอดถอน ไม่มีการยุบพรรค

ไม่ เพียงแต่รัฐบาลยังดำรงคงอยู่ต่อไป นายกรัฐมนตรียังดำรงคงอยู่ต่อไป ประธานสภาผู้แทนราษฎรยังดำรงอยู่ต่อไป ประธานวุฒิสภายังดำรงอยู่ต่อไป ส.ส. และ ส.ว. 312 คนก็ยังดำรงคงอยู่ต่อไป

เหมือนต้องการให้จบ เพราะเท่ากับวิน-วินทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งฝ่ายที่เสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติม และฝ่ายที่คัดค้าน ต่อต้านร่างแก้ไขเพิ่มเติม

คำถามก็คือ จบไหม

ความเป็นจริงที่เห็นเพียงไม่กี่นาทีภายหลังการอ่านคำวินิจฉัย ยืนยันอย่างเด่นชัดยิ่งว่าไม่จบและยากเป็นอย่างยิ่งที่จะจบ

เพราะมีคนไม่อยากให้ "จบ"

ประเมินผ่านท่าทีและการเคลื่อนไหวของพรรคประชาธิปัตย์ เรื่องยังไม่จบ ประเมินผ่านท่าทีและการเคลื่อนไหวของ 40 ส.ว. เรื่องยังไม่จบ

น.ส.รสนา โตสิตระกูล และ นายสมชาย แสวงการ พูดชัด

ชัดว่า 1 นายกรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบ ชัดว่า 1 ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้องรับผิดชอบ ชัดว่า 1 ประธานวุฒิสภาต้องรับผิดชอบ

รับผิดชอบตาม "มารยาท" ทางการเมือง

ยิ่งหากฟังจาก นายสุเทพ เทือกสุบรรณ จาก นายถาวร เสนเนียม จาก นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ

ยิ่งมองเห็นถึง "บท" ต่อไปของ "สถานการณ์"

นั่น ก็คือ การนำคำวินิจฉัยยื่นต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.เพื่อดำเนินการถอดถอน นั่นก็คือ การเรียกร้องให้ นายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา และ 312 ส.ส. และ ส.ว.ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำทั้งหมด

กลายเป็น "เงื่อนไข" ไปสู่การชุมนุมใหญ่วันที่ 24 พฤศจิกายน

ขณะเดียวกัน ยังกลายเป็น "เงื่อนไข" ทำให้อีกฟากฝ่าย 1 ถูกกดดันและผลักรุนให้ต้องออกมาเคลื่อนไหวเพื่อรับกับการรุกจากอีกฟากฝ่าย

เข้าทำนอง "ขิง" ก็รา "ข่า" ก็แรง

ถามว่าเมื่อสภาพทางการเมืองจักดำเนินไปในวิถีแห่งความขัดแย้ง แตกแยก ปะทะกันแหลมคมรุนแรงมากยิ่งขึ้นเช่นนี้ใครจะเป็นฝ่ายรับผิดชอบ

คำตอบ 1 ฝ่ายที่ไม่ยอมจบ

ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายที่เดินหน้าต่อ อาศัย "คำวินิจฉัย" เป็นเงื่อนไขในการรุกไล่ ไม่ว่าฝ่ายที่จำเป็นต้องออกมาปกป้องตนเอง

คำตอบ 1 กลายเป็น "ทุกขลาภ" ของศาลรัฐธรรมนูญ

เพราะว่าในท่ามกลางการขัดแย้ง แตกแยก ปะทะกันในทางความคิดและในทางการเมือง ก็จะนำไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์ "คำวินิจฉัย" อย่างละเอียด ยิบย่อย

คำต่อคำ เนื้อความต่อเนื้อความ

ฟาก ฝ่าย 1 สดุดีในความยอดเยี่ยมของคำวินิจฉัยถึงขั้นที่ว่าเป็นการช่วยปกป้องคุ้มครอง ชาติบ้านเมืองให้พ้นจากเงื้อมมือของคนชั่วช้าเลวทราม ฟากฝ่าย 1 ตั้งข้อสังเกตในคำวินิจฉัยว่ามองไม่เห็นบทบาทและความหมายของประชาชนและของ ปวงชน

ละเมิดหลักการ "อำนาจอธิปไตย" เป็นของ "ประชาชน"

บทบาทของศาลรัฐธรรมนูญที่แขวนห้อยในสายตาของสังคมจึงแผกต่างเป็นลำดับกับบทบาทของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ

ปลายทางเป็น "สงคราม" มิใช่ "สันติภาพ"

สถานการณ์ในวันที่ 20 พฤศจิกายน กับ สถานการณ์ในวันที่ 11 พฤศจิกายน จึงทรงความหมาย

ทรง ความหมายต่อความขัดแย้ง แตกแยกภายในสังคมไทย ตรงที่คำตอบอาจไม่เหมือนกันแต่ที่เหมือนกันเป็นอย่างมากก็คือก่อสภาวะที่ พลิกผันและแปรเปลี่ยนอย่างใหญ่หลวง

ทำให้ "สังคมไทย" ก้าวไปอีกจุดที่ "ไม่เหมือนเดิม"

ขอบคุณ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1385105184&grpid=&catid=12&subcatid=1200 (ขนาดไฟล์: 167)

( มติออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 22 พ.ย.56 )

ที่มา: มติออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 22 พ.ย.56
วันที่โพสต์: 23/11/2556 เวลา 04:28:05 ดูภาพสไลด์โชว์ บทบาท ความหมาย คำวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญ อยากให้จบ แต่ไม่จบ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

คล้ายกับ "เจตนา" ของศาลรัฐธรรมนูญที่ปรากฏผ่านคำวินิจฉัยต่อร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญว่าด้วยที่มาของ ส.ว.จะต้องการยุติปัญหา เห็นได้จาก 1 ยุติการแก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยที่มาของ ส.ว.ใหม่ ศาลรัฐธรรมนูญขณะเดียวกัน 1 เห็นได้จากแม้จะยุติร่างแก้ไขเพิ่มเติม แต่ 312 ส.ส. และ ส.ว.ที่เสนอและลงมติผ่านความเห็นชอบก็ไม่มีความผิด ไม่มีการถอดถอน ไม่มีการยุบพรรค ไม่ เพียงแต่รัฐบาลยังดำรงคงอยู่ต่อไป นายกรัฐมนตรียังดำรงคงอยู่ต่อไป ประธานสภาผู้แทนราษฎรยังดำรงอยู่ต่อไป ประธานวุฒิสภายังดำรงอยู่ต่อไป ส.ส. และ ส.ว. 312 คนก็ยังดำรงคงอยู่ต่อไป เหมือนต้องการให้จบ เพราะเท่ากับวิน-วินทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งฝ่ายที่เสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติม และฝ่ายที่คัดค้าน ต่อต้านร่างแก้ไขเพิ่มเติม คำถามก็คือ จบไหม ความเป็นจริงที่เห็นเพียงไม่กี่นาทีภายหลังการอ่านคำวินิจฉัย ยืนยันอย่างเด่นชัดยิ่งว่าไม่จบและยากเป็นอย่างยิ่งที่จะจบ เพราะมีคนไม่อยากให้ "จบ" ประเมินผ่านท่าทีและการเคลื่อนไหวของพรรคประชาธิปัตย์ เรื่องยังไม่จบ ประเมินผ่านท่าทีและการเคลื่อนไหวของ 40 ส.ว. เรื่องยังไม่จบ น.ส.รสนา โตสิตระกูล และ นายสมชาย แสวงการ พูดชัด ชัดว่า 1 นายกรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบ ชัดว่า 1 ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้องรับผิดชอบ ชัดว่า 1 ประธานวุฒิสภาต้องรับผิดชอบ รับผิดชอบตาม "มารยาท" ทางการเมือง ยิ่งหากฟังจาก นายสุเทพ เทือกสุบรรณ จาก นายถาวร เสนเนียม จาก นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ยิ่งมองเห็นถึง "บท" ต่อไปของ "สถานการณ์" นั่น ก็คือ การนำคำวินิจฉัยยื่นต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.เพื่อดำเนินการถอดถอน นั่นก็คือ การเรียกร้องให้ นายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา และ 312 ส.ส. และ ส.ว.ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำทั้งหมด กลายเป็น "เงื่อนไข" ไปสู่การชุมนุมใหญ่วันที่ 24 พฤศจิกายน ขณะเดียวกัน ยังกลายเป็น "เงื่อนไข" ทำให้อีกฟากฝ่าย 1 ถูกกดดันและผลักรุนให้ต้องออกมาเคลื่อนไหวเพื่อรับกับการรุกจากอีกฟากฝ่าย เข้าทำนอง "ขิง" ก็รา "ข่า" ก็แรง ถามว่าเมื่อสภาพทางการเมืองจักดำเนินไปในวิถีแห่งความขัดแย้ง แตกแยก ปะทะกันแหลมคมรุนแรงมากยิ่งขึ้นเช่นนี้ใครจะเป็นฝ่ายรับผิดชอบ คำตอบ 1 ฝ่ายที่ไม่ยอมจบ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายที่เดินหน้าต่อ อาศัย "คำวินิจฉัย" เป็นเงื่อนไขในการรุกไล่ ไม่ว่าฝ่ายที่จำเป็นต้องออกมาปกป้องตนเอง คำตอบ 1 กลายเป็น "ทุกขลาภ" ของศาลรัฐธรรมนูญ เพราะว่าในท่ามกลางการขัดแย้ง แตกแยก ปะทะกันในทางความคิดและในทางการเมือง ก็จะนำไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์ "คำวินิจฉัย" อย่างละเอียด ยิบย่อย คำต่อคำ เนื้อความต่อเนื้อความ ฟาก ฝ่าย 1 สดุดีในความยอดเยี่ยมของคำวินิจฉัยถึงขั้นที่ว่าเป็นการช่วยปกป้องคุ้มครอง ชาติบ้านเมืองให้พ้นจากเงื้อมมือของคนชั่วช้าเลวทราม ฟากฝ่าย 1 ตั้งข้อสังเกตในคำวินิจฉัยว่ามองไม่เห็นบทบาทและความหมายของประชาชนและของ ปวงชน ละเมิดหลักการ "อำนาจอธิปไตย" เป็นของ "ประชาชน" บทบาทของศาลรัฐธรรมนูญที่แขวนห้อยในสายตาของสังคมจึงแผกต่างเป็นลำดับกับบทบาทของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ปลายทางเป็น "สงคราม" มิใช่ "สันติภาพ" สถานการณ์ในวันที่ 20 พฤศจิกายน กับ สถานการณ์ในวันที่ 11 พฤศจิกายน จึงทรงความหมาย ทรง ความหมายต่อความขัดแย้ง แตกแยกภายในสังคมไทย ตรงที่คำตอบอาจไม่เหมือนกันแต่ที่เหมือนกันเป็นอย่างมากก็คือก่อสภาวะที่ พลิกผันและแปรเปลี่ยนอย่างใหญ่หลวง ทำให้ "สังคมไทย" ก้าวไปอีกจุดที่ "ไม่เหมือนเดิม" ขอบคุณ… http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1385105184&grpid=&catid=12&subcatid=1200 ( มติออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 22 พ.ย.56 )

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...