ครส. จี้ รบ. ถอน ชี้ร่างแก้ รธน.มาตรา 190 ผิด ม.68

แสดงความคิดเห็น

เครือข่ายราษฎรปกป้องสถาบัน ฉะรัฐแก้ ม.190 ตัดสิทธิรับรู้ของ ปชช. มุ่งรวบอำนาจไม่เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ผิดมาตรา 68 วอนเลิกดำเนินการ และเพิกถอนร่างทันที

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 13 พ.ย. นายบวร ยสินทร ประธานเครือข่ายราษฎรอาสาปกป้อง 3 สถาบันพร้อมคณะ แถลงการณ์เรื่อง คำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ความว่า “ตามที่รัฐสภาได้ผ่านร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในมาตรา 190 ในวาระที่ 3 ซึ่งเป็นเรื่องการทำหนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขต หรือนอกอาณาเขตที่ไทยมีอธิปไตย หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภานั้น ปรากฏว่า ถ้อยคำที่ได้แก้ไข เป็นการเพิ่มอำนาจให้ฝ่ายบริหารในการเข้าทำหนังสือสัญญาต่างๆ ได้โดยสะดวก โดยลดอำนาจ และสิทธิในการตรวจสอบของรัฐสภาลงไป

ทั้งที่อำนาจในการตรวจสอบถ่วงดุล ที่สมาชิกรัฐสภามีตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ เป็นการใช้อำนาจในฐานะผู้แทนของปวงชนชาวไทย การลดอำนาจ และสิทธิรับรู้ก่อนที่คณะรัฐมนตรีจะทำหนังสือสัญญากับนานาประเทศ จึงไม่ใช่อำนาจหรือสิทธิที่สมาชิกรัฐสภาจะนำไปยกให้แก่ฝ่ายบริหารได้ แม้จะด้วยเสียงข้างมากก็ตาม

เพราะเท่ากับเป็นการตัดสิทธิรับรู้ของประชาชน ประชาชนในฐานะผู้มีสิทธิ และเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้ชัดแจ้ง ย่อมได้รับการคุ้มครอง และมีสิทธิที่จะปกป้องสิทธิในการรับรู้ตามรัฐธรรมนูญ ด้วยการขัดขวางการกระทำผ่านศาลรัฐธรรมนูญ ที่จะไม่ยินยอมให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ที่ต้องทำหน้าที่ผู้แทนปวงชนชาวไทย แต่กลับแสดงตนอยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติ มอบหมาย หรือความครอบงำ และอาศัยเสียงข้างมากในรัฐสภา ลงมติโดยไม่คำนึงถึงสิทธิการรับรู้ของประชาชนผ่านการประชุมของรัฐสภา

การทำหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาในกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญนี้ จึงไม่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ของปวงชนชาวไทย เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ อันเป็นความผิดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 122 แม้เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190 นี้ จะริเริ่มโดยสมาชิกรัฐสภา แต่ทำเพื่อประโยชน์ของฝ่ายบริหารโดยตรง นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้นำฝ่ายบริหาร จึงไม่อาจปฏิเสธถึงการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐ ธรรมนูญในมาตรา 190 นี้ด้วยข้อเท็จจริง และพฤติการณ์ดังกล่าว

ผมกับคณะมีความเห็นว่า ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 190) เป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้ เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ อันเป็นความผิดตามมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญ ดังนั้น ในวันนี้ (13 พฤศจิกายน 2556) ผมกับคณะจึงได้เข้ายื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้พิจารณาวินิจฉัย ให้ผู้ถูกร้องอันประกอบด้วย นายประสิทธิ์ โพธสุธน สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะผู้ยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานรัฐสภา และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซึ่งบุคคลดังกล่าวทั้งหมด เป็นผู้ร่วมกระทำการอันเป็นความผิดตามมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญ และให้บุคคลทั้งหมดเลิกการดำเนินการและเพิกถอนร่างรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 190) ที่ผ่านการพิจารณาของรัฐสภาในวาระที่ 3 เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2556 ไม่ว่าจะอยู่ในขั้นตอนใดทันที”

ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9560000141653 (ขนาดไฟล์: 169)

(ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 พ.ย.56 )

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 พ.ย.56
วันที่โพสต์: 15/11/2556 เวลา 03:13:08

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เครือข่ายราษฎรปกป้องสถาบัน ฉะรัฐแก้ ม.190 ตัดสิทธิรับรู้ของ ปชช. มุ่งรวบอำนาจไม่เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ผิดมาตรา 68 วอนเลิกดำเนินการ และเพิกถอนร่างทันที ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 13 พ.ย. นายบวร ยสินทร ประธานเครือข่ายราษฎรอาสาปกป้อง 3 สถาบันพร้อมคณะ แถลงการณ์เรื่อง คำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ความว่า “ตามที่รัฐสภาได้ผ่านร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในมาตรา 190 ในวาระที่ 3 ซึ่งเป็นเรื่องการทำหนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขต หรือนอกอาณาเขตที่ไทยมีอธิปไตย หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภานั้น ปรากฏว่า ถ้อยคำที่ได้แก้ไข เป็นการเพิ่มอำนาจให้ฝ่ายบริหารในการเข้าทำหนังสือสัญญาต่างๆ ได้โดยสะดวก โดยลดอำนาจ และสิทธิในการตรวจสอบของรัฐสภาลงไป ทั้งที่อำนาจในการตรวจสอบถ่วงดุล ที่สมาชิกรัฐสภามีตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ เป็นการใช้อำนาจในฐานะผู้แทนของปวงชนชาวไทย การลดอำนาจ และสิทธิรับรู้ก่อนที่คณะรัฐมนตรีจะทำหนังสือสัญญากับนานาประเทศ จึงไม่ใช่อำนาจหรือสิทธิที่สมาชิกรัฐสภาจะนำไปยกให้แก่ฝ่ายบริหารได้ แม้จะด้วยเสียงข้างมากก็ตาม เพราะเท่ากับเป็นการตัดสิทธิรับรู้ของประชาชน ประชาชนในฐานะผู้มีสิทธิ และเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้ชัดแจ้ง ย่อมได้รับการคุ้มครอง และมีสิทธิที่จะปกป้องสิทธิในการรับรู้ตามรัฐธรรมนูญ ด้วยการขัดขวางการกระทำผ่านศาลรัฐธรรมนูญ ที่จะไม่ยินยอมให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ที่ต้องทำหน้าที่ผู้แทนปวงชนชาวไทย แต่กลับแสดงตนอยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติ มอบหมาย หรือความครอบงำ และอาศัยเสียงข้างมากในรัฐสภา ลงมติโดยไม่คำนึงถึงสิทธิการรับรู้ของประชาชนผ่านการประชุมของรัฐสภา การทำหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาในกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญนี้ จึงไม่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ของปวงชนชาวไทย เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ อันเป็นความผิดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 122 แม้เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190 นี้ จะริเริ่มโดยสมาชิกรัฐสภา แต่ทำเพื่อประโยชน์ของฝ่ายบริหารโดยตรง นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้นำฝ่ายบริหาร จึงไม่อาจปฏิเสธถึงการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐ ธรรมนูญในมาตรา 190 นี้ด้วยข้อเท็จจริง และพฤติการณ์ดังกล่าว ผมกับคณะมีความเห็นว่า ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 190) เป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้ เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ อันเป็นความผิดตามมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญ ดังนั้น ในวันนี้ (13 พฤศจิกายน 2556) ผมกับคณะจึงได้เข้ายื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้พิจารณาวินิจฉัย ให้ผู้ถูกร้องอันประกอบด้วย นายประสิทธิ์ โพธสุธน สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะผู้ยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานรัฐสภา และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซึ่งบุคคลดังกล่าวทั้งหมด เป็นผู้ร่วมกระทำการอันเป็นความผิดตามมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญ และให้บุคคลทั้งหมดเลิกการดำเนินการและเพิกถอนร่างรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 190) ที่ผ่านการพิจารณาของรัฐสภาในวาระที่ 3 เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2556 ไม่ว่าจะอยู่ในขั้นตอนใดทันที” ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9560000141653 (ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 พ.ย.56 )

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...