กสม.ออก จม.เปิดผนึกถึงนายกฯ กรณีร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม

แสดงความคิดเห็น

กรุงเทพฯ 1 พ.ย.- กสม.ออกจดหมายเปิดผนึกถึงนายกฯ-ประธานสภาฯ-ประธานวุฒิสภา กรณีร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม แนะรับฟังความเห็นประชาชนเพื่อการมีส่วนร่วมและยึดผลประโยชน์ประชาชน ที่มิใช่ผู้นำทางการเมืองเป็นหลัก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เวลา 09.40 น. วันนี้ (1 พ.ย.) สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เผยแพร่จดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2556 ว่าด้วยเรื่องข้อสังเกตและข้อเสนอแนะต่อสถานการณ์ทางการเมือง โดยระบุว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเป็นหลักการ ซึ่งนานาประเทศต่างให้การคุ้มครองรับรองว่าสำคัญยิ่งต่อการดำเนินชีวิตของ มนุษย์ที่จะดำรงตนด้วยความปลอดภัย อิสรภาพ ความยุติธรรม และสันติภาพ และปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนยังได้ยืนยันโดยปรารภไว้ว่าเป็นการจำเป็น ที่สิทธิมนุษยชนควรได้รับความคุ้มครองโดยหลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม

ในจดหมายเปิดผนึกยังระบุว่า นายกรัฐมนตรีได้ปาฐกถาต่อที่ประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 24 เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2556 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ซึ่งมีคุณค่าอย่างยิ่งต่อการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน สรุปความตอนหนึ่งได้ว่า สิทธิมนุษยชนเป็นหัวใจของประชาธิปไตย เราไม่สามารถและต้องไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่ขัดต่อหลักประชาธิปไตย และต้องสนับสนุนคุณค่าประชาธิปไตย ด้วยการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ทั้งประชาธิปไตยยังไม่ใช่เพียงเสียงข้างมาก แต่เป็นการใช้อำนาจในวิถีทางที่เคารพต่อเสียงส่วนน้อยด้วย

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ ในฐานะสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีความห่วงใยอย่างยิ่งต่อสถานการณ์ทางการ เมือง ซึ่งปัจจุบันอยู่ในสภาวะที่ละเอียดอ่อน ประชาชนอันเป็นองคาพยพที่สำคัญยิ่งของรัฐยังมีความสุ่มเสี่ยงอย่างยิ่งต่อ การถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะนับแต่ได้มีความขัดแย้งทางการเมือง การแบ่งฝักแบ่งฝ่ายอย่างรุนแรง และการละเมิดต่อกฎหมายอันเป็นส่วนหนึ่งของหลักนิติรัฐ ซึ่งสำคัญยิ่งในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

การโต้แย้งในการตรากฎหมาย และเนื้อหาแห่งร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม พ.ศ. .... ในกระบวนการนิติบัญญัติของรัฐสภา เนื่องด้วยมีทั้งกระแสสนับสนุนและคัดค้านของประชาชนในสังคม และมีแนวโน้มจะเกิดความรุนแรง เสี่ยงที่จะกระทบต่อความมั่นคง การดำรงอยู่ของหลักนิติรัฐ หลักนิติธรรม หลักธรรมาภิบาล อันเป็นสาระสำคัญยิ่งในการดำรงไว้ซึ่งหลักสิทธิมนุษยชนในการปกครองระบอบ ประชาธิปไตย เช่น การลบล้างความผิดร้ายแรง ซึ่งได้กระทำโดยเจตนาล่วงละเมิดต่อบทบัญญัติของกฎหมาย อาจนำไปสู่การเป็นเยี่ยงอย่างให้มีการละเมิดต่อหลักสิทธิมนุษยชนซ้ำอีกใน อนาคต

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ ขอให้ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1. การพิจารณาร่างกฎหมายต่าง ๆ ที่อยู่ในขั้นตอนของรัฐสภา จะต้องยึดถือหลักนิติรัฐ หลักนิติธรรม หลักธรรมาภิบาล และหลักสิทธิมนุษยชนที่เป็นสากล โดยเฉพาะเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและ สิทธิทางการเมือง และที่ปรากฏในหลักการเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยการต่อต้านการไม่ต้องรับผิดของผู้ทำผิด ดังนั้น การตรากฎหมายที่มีความละเอียดอ่อนควรมีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของ ประชาชนเพื่อการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย

2. ควรเร่งรีบพิจารณาถึงสวัสดิภาพของประชาชนที่มิใช่ผู้นำทางการเมือง ไม่ว่าจะมีความเห็นทางการเมืองไปในทิศทางใด แต่ได้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะสิทธิในกระบวนการยุติธรรมขั้นพื้นฐาน ได้แก่ การถูกจับกุม การถูกกักขัง การอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวหรือการถูกจำคุกด้วยเหตุที่มีความเห็นแตกต่าง ทางการเมือง เพื่อให้เกิดผลเห็นเป็นรูปธรรมโดยเร็ว

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องเหล่านี้ จึงเห็นควรเสนอเจตจำนงมาเพื่อร่วมกันยึดมั่นในหลักนิติรัฐ หลักนิติธรรม หลักธรรมาภิบาล หลักสิทธิมนุษยชน และหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่สำคัญอย่างยิ่งจะต้องไม่ใช้ความรุนแรงกับประชาชนในการแก้ไขปัญหา

กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีฯ ยื่นแถลงการณ์ค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เวลา 15.15 น. วันนี้ (1 พ.ย.) กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตยและกลุ่มวันใหม่ ประมาณ 15 คน นำโดยนายปณิธาน พฤกษาเกษมสุข บุตรชายนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข แกนนำกลุ่ม 24 มิถุนา ประชาธิปไตย ผู้ต้องหาในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามมาตรา 112 และนายศรัณย์ ฉุยฉาย หรือ อั้ม เนโกะ นักศึกษา ม.ธรรมศาสตร์ เดินทางมาที่พรรคเพื่อไทย เพื่อยื่นแถลงการณ์ เรื่องการนิรโทษกรรมแบบเหมาเข่งสุดซอย มีนายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกพรรคเพื่อไทย รับหนังสือ

ทั้งนี้ แถลงการณ์โดยสรุปว่า กลุ่มไม่ยอมรับร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแบบเหมาเข่งสุดซอยฉบับนี้เด็ดขาด จะต้องไม่นิรโทษกรรมให้กับแกนนำผู้ชุมนุม และผู้มีอำนาจสั่งการ ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน และจะต้องนิรโทษกรรมให้กับการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.112 เพราะมาตรานี้ถูกใช้เป็นเครื่องมือโจมตีผู้เห็นต่างทางการเมือง

ขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการพิจารณาหลังจากนี้ หยุดยั้งการผ่านร่างดังกล่าวให้จงได้ รวมทั้งพรรคเพื่อไทย ซึ่งริเริ่มการนิรโทษกรรมแบบเหมาเข่งสุดซอย ทบทวนบทบาทการทำหน้าที่ ในฐานะพรรคการเมืองที่ได้รับความไว้วางใจให้เป็นผู้พิทักษ์ระบอบประชาธิปไตย

สิ่งที่เราหวังคือ การเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับผู้ได้ความเสียหายจากเหตุการณ์ทางการเมือง และสร้างบรรทัดฐานแห่งสังคมประชาธิปไตย ที่จะไม่ยอมให้ผู้ใดบงการประทุษร้ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจสูงสุด แล้วหาทางนิรโทษกรรมตัวเองในภายหลังอยู่เรื่อยไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังการยื่นหนังสือ กลุ่มได้แสดงกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ “เหยียบคนตายกลับบ้านผ่านงานศิลปะ” โดยนักศึกษาได้เทสีกระป๋องสีแดงลงพื้นที่หน้าที่ทำการพรรคเพื่อไทย จากนั้น ได้ลงไปนอนคว่ำหน้าแสดงออกว่า เป็นผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง ช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 โดยได้สวมหน้ากากกระดาษ ซึ่งเป็นใบหน้าของผู้ชุมนุม รวมทั้งช่างภาพต่างชาติที่เสียชีวิตในเหตุการณ์การชุมนุม

นอกจากนี้ ได้มีการแปะรายชื่อของผู้เสียชีวิต ตามบันไดทางขึ้นหน้าพรรคเพื่อไทยด้วย โดยได้บรรยายข้อความประกอบว่า สิ่งนี้เป็นประจักษ์พยานว่า เป็นการทรยศประชาชนที่เสียชีวิต ความตายของประชาชนที่เกิดขึ้น เพียงเพื่อให้ชนชั้นนำได้ปรองดองเท่านั้นหรือ ก่อนปิดท้ายด้วยการชูป้ายผ้า ระบุข้อความ “เอาคุณทักษิณกลับมาได้ ด้วยการแลกกับการตายฟรีของคนเสื้อแดง คุ้มกันแล้วหรือ”

เครือข่ายต้านคอร์รัปชั่นโคราชนัดรวมเย็นนี้ลานย่าโม

นายจักริน เชิดฉาย ประธานหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา ในฐานะประธานภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่นจังหวัดนครราชสีมา พร้อมตัวแทนจาก 10 องค์กรในพื้นที่ อาทิ ที่ปรึกษาสมาพันธ์สื่อมวลชนจังหวัด องค์กรต่อต้านนาเกลือ ร่วมประชุมที่สำนักงานหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา เพื่อหารือเกี่ยวกับ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่ผ่านสภาผู้แทนราษฎรวาระ 2 และ 3 ในประเด็นเกี่ยวเนื่องกับปัญหาคอร์รัปชั่น

และมีมติเป็นเอกฉันท์ไม่เห็นด้วยกับการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรม โดยจะออกมาแสดงจุดยืนร่วมกับกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับ พ.ร.บ.ดังกล่าว ของกลุ่มนักศึกษาและคณาจารย์ส่วนหนึ่งมหาวิทยาราชภัฏนครราชสีมา บริเวณลานไทร ภายในมหาวิทยาลัยฯ เย็นวันนี้ จากนั้นจะเคลื่อนไปที่หน้าอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (ย่าโม) ถ.ราชดำเนิน เขตเทศบาลนครนครราชสีมา ซึ่งมีกลุ่มหน้ากากขาวมารออยู่แล้ว นอกจากนี้ ยังเตรียมยื่นหนังสือแสดงจุดยืนต่อนายวินัย บัวประดิษฐ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา

นายจักริน กล่าวว่า การเคลื่อนไหวครั้งนี้เพื่อเปิดเวทีกว้างให้กับผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ไม่อิงกลุ่มการเมืองใด แต่เป็นเรื่องของประชาชนทุกคนสามารถออกมาแสดงความเห็นได้ ขอยืนยันว่าการชุมนุมจะเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย ไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้นแน่นอน

ขอบคุณ http://www.mcot.net/site/content?id=5273770f150ba0f46200008a#.UnRLGTcrWyg (ขนาดไฟล์: 175)

(สำนักข่าวไทยออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 1 พ.ย.56 )

ที่มา: สำนักข่าวไทยออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 1 พ.ย.56
วันที่โพสต์: 2/11/2556 เวลา 02:29:08

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

กรุงเทพฯ 1 พ.ย.- กสม.ออกจดหมายเปิดผนึกถึงนายกฯ-ประธานสภาฯ-ประธานวุฒิสภา กรณีร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม แนะรับฟังความเห็นประชาชนเพื่อการมีส่วนร่วมและยึดผลประโยชน์ประชาชน ที่มิใช่ผู้นำทางการเมืองเป็นหลัก ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เวลา 09.40 น. วันนี้ (1 พ.ย.) สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เผยแพร่จดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2556 ว่าด้วยเรื่องข้อสังเกตและข้อเสนอแนะต่อสถานการณ์ทางการเมือง โดยระบุว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเป็นหลักการ ซึ่งนานาประเทศต่างให้การคุ้มครองรับรองว่าสำคัญยิ่งต่อการดำเนินชีวิตของ มนุษย์ที่จะดำรงตนด้วยความปลอดภัย อิสรภาพ ความยุติธรรม และสันติภาพ และปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนยังได้ยืนยันโดยปรารภไว้ว่าเป็นการจำเป็น ที่สิทธิมนุษยชนควรได้รับความคุ้มครองโดยหลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม ในจดหมายเปิดผนึกยังระบุว่า นายกรัฐมนตรีได้ปาฐกถาต่อที่ประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 24 เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2556 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ซึ่งมีคุณค่าอย่างยิ่งต่อการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน สรุปความตอนหนึ่งได้ว่า สิทธิมนุษยชนเป็นหัวใจของประชาธิปไตย เราไม่สามารถและต้องไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่ขัดต่อหลักประชาธิปไตย และต้องสนับสนุนคุณค่าประชาธิปไตย ด้วยการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ทั้งประชาธิปไตยยังไม่ใช่เพียงเสียงข้างมาก แต่เป็นการใช้อำนาจในวิถีทางที่เคารพต่อเสียงส่วนน้อยด้วย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ ในฐานะสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีความห่วงใยอย่างยิ่งต่อสถานการณ์ทางการ เมือง ซึ่งปัจจุบันอยู่ในสภาวะที่ละเอียดอ่อน ประชาชนอันเป็นองคาพยพที่สำคัญยิ่งของรัฐยังมีความสุ่มเสี่ยงอย่างยิ่งต่อ การถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะนับแต่ได้มีความขัดแย้งทางการเมือง การแบ่งฝักแบ่งฝ่ายอย่างรุนแรง และการละเมิดต่อกฎหมายอันเป็นส่วนหนึ่งของหลักนิติรัฐ ซึ่งสำคัญยิ่งในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การโต้แย้งในการตรากฎหมาย และเนื้อหาแห่งร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม พ.ศ. .... ในกระบวนการนิติบัญญัติของรัฐสภา เนื่องด้วยมีทั้งกระแสสนับสนุนและคัดค้านของประชาชนในสังคม และมีแนวโน้มจะเกิดความรุนแรง เสี่ยงที่จะกระทบต่อความมั่นคง การดำรงอยู่ของหลักนิติรัฐ หลักนิติธรรม หลักธรรมาภิบาล อันเป็นสาระสำคัญยิ่งในการดำรงไว้ซึ่งหลักสิทธิมนุษยชนในการปกครองระบอบ ประชาธิปไตย เช่น การลบล้างความผิดร้ายแรง ซึ่งได้กระทำโดยเจตนาล่วงละเมิดต่อบทบัญญัติของกฎหมาย อาจนำไปสู่การเป็นเยี่ยงอย่างให้มีการละเมิดต่อหลักสิทธิมนุษยชนซ้ำอีกใน อนาคต คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ ขอให้ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1. การพิจารณาร่างกฎหมายต่าง ๆ ที่อยู่ในขั้นตอนของรัฐสภา จะต้องยึดถือหลักนิติรัฐ หลักนิติธรรม หลักธรรมาภิบาล และหลักสิทธิมนุษยชนที่เป็นสากล โดยเฉพาะเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและ สิทธิทางการเมือง และที่ปรากฏในหลักการเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยการต่อต้านการไม่ต้องรับผิดของผู้ทำผิด ดังนั้น การตรากฎหมายที่มีความละเอียดอ่อนควรมีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของ ประชาชนเพื่อการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย 2. ควรเร่งรีบพิจารณาถึงสวัสดิภาพของประชาชนที่มิใช่ผู้นำทางการเมือง ไม่ว่าจะมีความเห็นทางการเมืองไปในทิศทางใด แต่ได้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะสิทธิในกระบวนการยุติธรรมขั้นพื้นฐาน ได้แก่ การถูกจับกุม การถูกกักขัง การอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวหรือการถูกจำคุกด้วยเหตุที่มีความเห็นแตกต่าง ทางการเมือง เพื่อให้เกิดผลเห็นเป็นรูปธรรมโดยเร็ว คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องเหล่านี้ จึงเห็นควรเสนอเจตจำนงมาเพื่อร่วมกันยึดมั่นในหลักนิติรัฐ หลักนิติธรรม หลักธรรมาภิบาล หลักสิทธิมนุษยชน และหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่สำคัญอย่างยิ่งจะต้องไม่ใช้ความรุนแรงกับประชาชนในการแก้ไขปัญหา กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีฯ ยื่นแถลงการณ์ค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เวลา 15.15 น. วันนี้ (1 พ.ย.) กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตยและกลุ่มวันใหม่ ประมาณ 15 คน นำโดยนายปณิธาน พฤกษาเกษมสุข บุตรชายนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข แกนนำกลุ่ม 24 มิถุนา ประชาธิปไตย ผู้ต้องหาในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามมาตรา 112 และนายศรัณย์ ฉุยฉาย หรือ อั้ม เนโกะ นักศึกษา ม.ธรรมศาสตร์ เดินทางมาที่พรรคเพื่อไทย เพื่อยื่นแถลงการณ์ เรื่องการนิรโทษกรรมแบบเหมาเข่งสุดซอย มีนายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกพรรคเพื่อไทย รับหนังสือ ทั้งนี้ แถลงการณ์โดยสรุปว่า กลุ่มไม่ยอมรับร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแบบเหมาเข่งสุดซอยฉบับนี้เด็ดขาด จะต้องไม่นิรโทษกรรมให้กับแกนนำผู้ชุมนุม และผู้มีอำนาจสั่งการ ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน และจะต้องนิรโทษกรรมให้กับการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.112 เพราะมาตรานี้ถูกใช้เป็นเครื่องมือโจมตีผู้เห็นต่างทางการเมือง ขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการพิจารณาหลังจากนี้ หยุดยั้งการผ่านร่างดังกล่าวให้จงได้ รวมทั้งพรรคเพื่อไทย ซึ่งริเริ่มการนิรโทษกรรมแบบเหมาเข่งสุดซอย ทบทวนบทบาทการทำหน้าที่ ในฐานะพรรคการเมืองที่ได้รับความไว้วางใจให้เป็นผู้พิทักษ์ระบอบประชาธิปไตย สิ่งที่เราหวังคือ การเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับผู้ได้ความเสียหายจากเหตุการณ์ทางการเมือง และสร้างบรรทัดฐานแห่งสังคมประชาธิปไตย ที่จะไม่ยอมให้ผู้ใดบงการประทุษร้ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจสูงสุด แล้วหาทางนิรโทษกรรมตัวเองในภายหลังอยู่เรื่อยไป ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังการยื่นหนังสือ กลุ่มได้แสดงกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ “เหยียบคนตายกลับบ้านผ่านงานศิลปะ” โดยนักศึกษาได้เทสีกระป๋องสีแดงลงพื้นที่หน้าที่ทำการพรรคเพื่อไทย จากนั้น ได้ลงไปนอนคว่ำหน้าแสดงออกว่า เป็นผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง ช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 โดยได้สวมหน้ากากกระดาษ ซึ่งเป็นใบหน้าของผู้ชุมนุม รวมทั้งช่างภาพต่างชาติที่เสียชีวิตในเหตุการณ์การชุมนุม นอกจากนี้ ได้มีการแปะรายชื่อของผู้เสียชีวิต ตามบันไดทางขึ้นหน้าพรรคเพื่อไทยด้วย โดยได้บรรยายข้อความประกอบว่า สิ่งนี้เป็นประจักษ์พยานว่า เป็นการทรยศประชาชนที่เสียชีวิต ความตายของประชาชนที่เกิดขึ้น เพียงเพื่อให้ชนชั้นนำได้ปรองดองเท่านั้นหรือ ก่อนปิดท้ายด้วยการชูป้ายผ้า ระบุข้อความ “เอาคุณทักษิณกลับมาได้ ด้วยการแลกกับการตายฟรีของคนเสื้อแดง คุ้มกันแล้วหรือ” เครือข่ายต้านคอร์รัปชั่นโคราชนัดรวมเย็นนี้ลานย่าโม นายจักริน เชิดฉาย ประธานหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา ในฐานะประธานภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่นจังหวัดนครราชสีมา พร้อมตัวแทนจาก 10 องค์กรในพื้นที่ อาทิ ที่ปรึกษาสมาพันธ์สื่อมวลชนจังหวัด องค์กรต่อต้านนาเกลือ ร่วมประชุมที่สำนักงานหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา เพื่อหารือเกี่ยวกับ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่ผ่านสภาผู้แทนราษฎรวาระ 2 และ 3 ในประเด็นเกี่ยวเนื่องกับปัญหาคอร์รัปชั่น และมีมติเป็นเอกฉันท์ไม่เห็นด้วยกับการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรม โดยจะออกมาแสดงจุดยืนร่วมกับกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับ พ.ร.บ.ดังกล่าว ของกลุ่มนักศึกษาและคณาจารย์ส่วนหนึ่งมหาวิทยาราชภัฏนครราชสีมา บริเวณลานไทร ภายในมหาวิทยาลัยฯ เย็นวันนี้ จากนั้นจะเคลื่อนไปที่หน้าอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (ย่าโม) ถ.ราชดำเนิน เขตเทศบาลนครนครราชสีมา ซึ่งมีกลุ่มหน้ากากขาวมารออยู่แล้ว นอกจากนี้ ยังเตรียมยื่นหนังสือแสดงจุดยืนต่อนายวินัย บัวประดิษฐ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา นายจักริน กล่าวว่า การเคลื่อนไหวครั้งนี้เพื่อเปิดเวทีกว้างให้กับผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ไม่อิงกลุ่มการเมืองใด แต่เป็นเรื่องของประชาชนทุกคนสามารถออกมาแสดงความเห็นได้ ขอยืนยันว่าการชุมนุมจะเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย ไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้นแน่นอน ขอบคุณ … http://www.mcot.net/site/content?id=5273770f150ba0f46200008a#.UnRLGTcrWyg (สำนักข่าวไทยออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 1 พ.ย.56 )

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...