กฎหมายการอุดมศึกษา ตอนที่ 2 สิทธิและเสรีภาพ

แสดงความคิดเห็น

คณะนักศึกษา

การบริหารการอุดมศึกษาด้วยคณะกรรมการถือเป็นแนวทางการบริหารจัดการที่ เหมาะสมสำหรับการนำมาใช้กับการอุดมศึกษาแต่แนวคิดของการให้อำนาจ ใช้อำนาจ ของคณะกรรมการควรอยู่บนพื้นฐานของสิทธิและเสรีภาพทางวิชาการรวมทั้งสิทธิ มนุษยชน ซึ่งถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่สถาบันอุดมศึกษาจะต้องมีอยู่ถือว่าเสรีภาพ ทางวิชาการเป็นส่วนควบของสถาบันอุดมศึกษาและไม่อาจยอมให้พรากไปได้ ถึงแม้ว่ารัฐธรรมนูญ (ฉบับปัจจุบัน พ.ศ. 2550) ได้คุ้มครองเสรีภาพทางวิชาการไว้ในมาตรา 50 แต่ยังไม่เพียงพอ ยังต้องการสำนึกของเสรีภาพทางวิชาการที่กว้างขวางกว่าที่บัญญัติไว้ตามตัว อักษร

สิทธิขั้นพื้นฐาน

กฎหมายอุดมศึกษาใน สหรัฐอเมริกามีรากฐานจากรัฐธรรมนูญ กฎหมายของรัฐบาลกลาง และกฎหมายของรัฐ กฎและข้อบังคับว่าด้วยการบริหารของสถาบันอุดมศึกษา นิติกรรมและสัญญา สิทธิมนุษยชน รวมทั้งกรณีข้อพิพาทที่มีคำตัดสินโดยศาล แต่ทั้งหมดอยู่บนฐานของการสร้างกฎเกณฑ์การบริหารด้วยตนเอง (Self-regulation) และศาลมีเจตคติที่มักจะไม่แตะต้อง (Judicial Hand-Off Attitudes) กับสถาบันอุดมศึกษา เพราะให้เกียรติ อาจเป็นเพราะศาลหรือผู้พิพากษาส่วนมากจบการศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาและ ตระหนักว่าสิทธิและเสรีภาพของสถาบันอุดมศึกษามีความสำคัญในการสร้าง ภูมิปัญญาให้กับพลเมือง และสร้างความแข็งแกร่งให้กับประเทศชาติ

การ ใช้อำนาจรัฐตามกฎหมายเป็นการกระทบสิทธิและเสรีภาพถึงแม้จะมีการกล่าวถึง the rule of law หรือที่รู้จักกันในภาษาไทยว่า “หลักนิติธรรม” และมีการกล่าวถึงไว้ในมาตรา 3 ของรัฐธรรมนูญ แต่คนไทยส่วนมากยังคลุมเครือกับความหมายอยู่ แต่สำหรับนักวิชาการส่วนมากเข้าใจความหมายนี้ดี แต่การนำไปปฏิบัติยังขาดเจตคติที่ดีงามหรือทราบซึ้งกับหลักนิติธรรมและมีคำ ที่อยู่ควบคู่กันอีกคำหนึ่งคือคำว่า due process of law ซึ่งศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ ได้แปลว่า “กระบวนการอันควรแก่กฎหมาย” ซึ่งทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานโดยเฉพาะสิทธิของ “เสียงข้างน้อย” ที่อาจถูกกระทบโดย “เสียงข้างมาก” ที่อยู่ในรูปของเสียงลงมติจากคณะกรรมการ

สิทธิ และเสรีภาพที่มีอยู่ในสถาบันอุดมศึกษาได้แก่สิทธิและเสรีภาพของคณาจารย์หรือ ผู้สอน ของนักศึกษาหรือผู้เรียน และของสถาบันอุดมศึกษาเอง ซึ่งเป็นสิทธิและเสรีภาพของผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาได้แก่ผู้บริหารหรือผู้ กำกับนโยบายการศึกษาได้แก่ สภาสถาบันอุดมศึกษา และอธิการบดี เป็นต้น พวกเขาเหล่านั้นต้องมีสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่ถูกกำหนดและรับรองเป็น กฎหมายมิให้ถูกพรากไปได้จากรูปแบบของการบริหารด้วยเสียงข้างมากจากคณะ กรรมการที่มีอำนาจเหนือกว่า และใช้อำนาจกับสถาบันอุดมศึกษาโดยใช้เพียงดุลพินิจเท่านั้น

สิทธิและ เสรีภาพเหล่านั้นถึงจะมีอยู่จริงแต่อยู่ในรูปของปรัชญา หลักการ ทฤษฎี แนวปฏิบัติ รวมทั้งความเชื่อถือการให้เกียรติยอมรับกันในหมู่นักวิชาการ ส่วนมากเป็นนามธรรม ไม่มีการรับรองหรือยืนยันสิทธินั้นเป็นกฎหมาย เมื่อมีข้อพิพาทเกิดขึ้น การละเมิดสิทธิและเสรีภาพโดยการใช้เสียงข้างมากของคณะกรรมการในแต่ละยุค แต่ละช่วงเวลา และแต่ละสถานการณ์จึงขาดความมั่นคง ไม่อาจคาดหมายผลการติดสินได้เนื่องจากไม่มีหลักประกันสิทธิและเสรีภาพที่ผู้ ใดจะละเมิดหรือพรากไปได้แม้ว่าจะเป็นเสียงข้างมากก็ตาม ทำให้ความมั่นใจในการดำเนินการต่าง ๆ หายไป ไม่แน่ใจว่าอะไรถูกอะไรผิด อะไรทำได้อะไรทำไม่ได้ เสมือนไร้ซึ่งกฎหมายหรือหลักการที่จะยืนยันความถูกต้องชอบธรรม

ยกตัวอย่างเช่นการรับรองสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมืองสหรัฐอเมริกาไว้ในรัฐ ธรรมนูญที่รู้จักกันว่า Bill of Rights ที่จะมีรายการสิทธิที่ถือว่าเป็นสิทธิสำคัญและจำเป็นต้องมีเพื่อการพิทักษ์ สิทธิที่ระบุไว้จากการล่วงละเมิดของรัฐบาล ถึงแม้ว่าเสียงข้างมากจากสภาผู้แทนราษฎร ผ่านการเห็นชอบจากวุฒิสภา เสนอโดยประธานาธิบดีที่เป็นตัวแทนของประชาชนโดยตรงแล้วก็ตาม ถ้ากฎหมายหรือข้อบังคับต่าง ๆ ที่เสนอและได้รับความเห็นชอบมาแล้วจากเสียงข้างมาก แต่ขัดต่อสิทธิขั้นพื้นฐานที่รับรองไว้ก็ไม่สามารถใช้บังคับได้

เช่นเดียวกันกับสิทธิและเสรีภาพในสถาบันอุดมศึกษาควรต้องมีการรับรองสิทธินี้ไว้ ตัวอย่างเช่น สิทธิและเสรีภาพของอาจารย์ที่จะตัดสินผลหรือการให้คะแนนหรือการให้เกรดจาก การเรียนการสอนของตนนั้นควรต้องได้รับการคุ้มครองไม่ว่าผู้ใดจะแก้ไข ทำแทน หรือเปลี่ยนแปลงการตัดสินผลของอาจารย์มิได้ เว้นแต่จะดำเนินการตามกระบวนการที่บัญญัติไว้ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสิทธิและเสรีภาพของนักศึกษาหรือผู้เรียนที่จะเลือกเรียนราย วิชาที่เปิดสอน เลือกอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์อย่างอิสระรวมทั้งค้นคว้าศึกษาวิจัยได้ อย่างอิสระ ไม่ถูกครอบงำหรือจำกัดจากอาจารย์ที่ปรึกษา หรือด้วยผลประโยชน์ของสถาบันการศึกษา หรือเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ไม่เป็นธรรมของหลักสูตรการเรียนการสอน และของอาจารย์ที่ปรึกษา เป็นต้น

นักศึกษา การ บริหารจัดการด้วยคณะกรรมการหลายชุด แต่ละชุดมีอำนาจหรือใช้อำนาจควบคุมเป็นลำดับชั้น เป็นการสร้างระบบบริหารที่เพิ่มขั้นตอนสร้างภาระให้กับสถาบันอุดมศึกษามาก ขึ้น นอกจากนั้นยังเปิดโอกาสให้หน่วยงานอื่นเข้ามาก้าวล่วงกับสิทธิและเสรีภาพใน การบริหารจัดการของสถาบันอุดมศึกษาในรูปแบบของมาตรฐานหรือคุณภาพ นำไปสู่การทำให้เกิดการใช้อำนาจและการกระทำโดยใช้อำนาจรัฐในการละเมิดสิทธิ และเสรีภาพได้มากขึ้นอีกด้วย

แนวคิดในการกระจายอำนาจ แบ่งอำนาจ รวมศูนย์อำนาจที่ควรจะเกิดขึ้นในกฎหมายอุดมศึกษาต้องมีการทบทวนหรือพิจารณา อย่างรอบคอบโดยต้องยึดมั่นกับการให้อิสระกับสถาบันอุดมศึกษาตามที่ได้ดำเนิน การมาระยะหนึ่งแล้วด้วยการให้สถาบันอุดมศึกษาของรัฐเปลี่ยนสถานภาพเป็น สถาบันอุดมศึกษาในกำกับและพยายามผลักดันทั้งทางตรงและทางอ้อมให้ทุกสถาบัน อุดมศึกษาของรัฐมีอิสระ (Autonomous) ในการบริหารจัดการ โดยยอมแลกกับสถานภาพของการเป็นส่วนหนึ่งของระบบราชการ สภานภาพข้าราชการของบุคลากรเพื่ออิสระในการบริหาร แต่ดูเหมือนว่าสถาบันอุดมศึกษาถูกแทรกแซงจากองค์กรภายนอกมากขึ้นกว่าแต่ก่อน

สถาบัน อุดมศึกษาควรมีสิทธิและเสรีภาพทางวิชาการที่ได้รับการรับรองและคุ้ม ครองอย่างเป็นรูปธรรม การให้สถาบันอุดมศึกษาได้บริหารจัดการ หรือปกครองตนเองเป็นแนวทางที่ต่างประเทศได้ใช้และแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพ และประสิทธิผลที่ส่งผลถึงคุณภาพของการจัดการศึกษาเป็นที่ประจักษ์แล้ว

นักศึกษากำลังทำข้อสอบ การ ดำเนินการออกกฎหมายเพื่อใช้อำนาจรัฐในการควบคุมสถาบันอุดมศึกษาจึงต้อง พิจารณาอย่างรอบคอบถึงแม้ว่าในระยะเริ่มต้นของการให้อิสระในการบริหารสถาบัน อุดมศึกษากับสภาสถาบันอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัติของสถาบันอุดมศึกษาแต่ละ แห่งจะสร้างปัญหาในการบริหารจัดการบ้าง โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยใหม่ที่เกิดขึ้นได้แก่มหาวิทยาลัยราชภัฏและมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคล แต่ถือเป็นกระบวนการเรียนรู้และก้าวผ่านขั้นตอนการพัฒนาการบริหารจัดการด้วย ตนเอง หรือ Self-regulation

การสร้างปัญหาที่มีผลกระทบต่อสังคมวง กว้างในการบริหารของมหาวิทยาลัยดังกล่าวไม่ควรนำมาใช้เป็นฐานของการออก กฎหมายการอุดมศึกษาเพื่อเข้าควบคุมการบริหารสถาบันอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัย ทั้งระบบ เพราะอาจกระทบกับสถาบันอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยเดิมที่ผ่านขั้นตอนการเรียน รู้มาแล้ว และสามารถบริหารจัดการด้วยระบบ Self-regulation หรือ การบริหารด้วยการสร้างกฎเกณฑ์ของการบริหารด้วยตนเองได้อย่างมีคุณภาพ

ขอบคุณ... http://m.thairath.co.th/content/edu/378947

(ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 28 ต.ค.56)

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 28 ต.ค.56
วันที่โพสต์: 29/10/2556 เวลา 06:43:57 ดูภาพสไลด์โชว์ กฎหมายการอุดมศึกษา ตอนที่ 2 สิทธิและเสรีภาพ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

คณะนักศึกษา การบริหารการอุดมศึกษาด้วยคณะกรรมการถือเป็นแนวทางการบริหารจัดการที่ เหมาะสมสำหรับการนำมาใช้กับการอุดมศึกษาแต่แนวคิดของการให้อำนาจ ใช้อำนาจ ของคณะกรรมการควรอยู่บนพื้นฐานของสิทธิและเสรีภาพทางวิชาการรวมทั้งสิทธิ มนุษยชน ซึ่งถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่สถาบันอุดมศึกษาจะต้องมีอยู่ถือว่าเสรีภาพ ทางวิชาการเป็นส่วนควบของสถาบันอุดมศึกษาและไม่อาจยอมให้พรากไปได้ ถึงแม้ว่ารัฐธรรมนูญ (ฉบับปัจจุบัน พ.ศ. 2550) ได้คุ้มครองเสรีภาพทางวิชาการไว้ในมาตรา 50 แต่ยังไม่เพียงพอ ยังต้องการสำนึกของเสรีภาพทางวิชาการที่กว้างขวางกว่าที่บัญญัติไว้ตามตัว อักษร สิทธิขั้นพื้นฐาน กฎหมายอุดมศึกษาใน สหรัฐอเมริกามีรากฐานจากรัฐธรรมนูญ กฎหมายของรัฐบาลกลาง และกฎหมายของรัฐ กฎและข้อบังคับว่าด้วยการบริหารของสถาบันอุดมศึกษา นิติกรรมและสัญญา สิทธิมนุษยชน รวมทั้งกรณีข้อพิพาทที่มีคำตัดสินโดยศาล แต่ทั้งหมดอยู่บนฐานของการสร้างกฎเกณฑ์การบริหารด้วยตนเอง (Self-regulation) และศาลมีเจตคติที่มักจะไม่แตะต้อง (Judicial Hand-Off Attitudes) กับสถาบันอุดมศึกษา เพราะให้เกียรติ อาจเป็นเพราะศาลหรือผู้พิพากษาส่วนมากจบการศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาและ ตระหนักว่าสิทธิและเสรีภาพของสถาบันอุดมศึกษามีความสำคัญในการสร้าง ภูมิปัญญาให้กับพลเมือง และสร้างความแข็งแกร่งให้กับประเทศชาติ การ ใช้อำนาจรัฐตามกฎหมายเป็นการกระทบสิทธิและเสรีภาพถึงแม้จะมีการกล่าวถึง the rule of law หรือที่รู้จักกันในภาษาไทยว่า “หลักนิติธรรม” และมีการกล่าวถึงไว้ในมาตรา 3 ของรัฐธรรมนูญ แต่คนไทยส่วนมากยังคลุมเครือกับความหมายอยู่ แต่สำหรับนักวิชาการส่วนมากเข้าใจความหมายนี้ดี แต่การนำไปปฏิบัติยังขาดเจตคติที่ดีงามหรือทราบซึ้งกับหลักนิติธรรมและมีคำ ที่อยู่ควบคู่กันอีกคำหนึ่งคือคำว่า due process of law ซึ่งศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ ได้แปลว่า “กระบวนการอันควรแก่กฎหมาย” ซึ่งทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานโดยเฉพาะสิทธิของ “เสียงข้างน้อย” ที่อาจถูกกระทบโดย “เสียงข้างมาก” ที่อยู่ในรูปของเสียงลงมติจากคณะกรรมการ สิทธิ และเสรีภาพที่มีอยู่ในสถาบันอุดมศึกษาได้แก่สิทธิและเสรีภาพของคณาจารย์หรือ ผู้สอน ของนักศึกษาหรือผู้เรียน และของสถาบันอุดมศึกษาเอง ซึ่งเป็นสิทธิและเสรีภาพของผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาได้แก่ผู้บริหารหรือผู้ กำกับนโยบายการศึกษาได้แก่ สภาสถาบันอุดมศึกษา และอธิการบดี เป็นต้น พวกเขาเหล่านั้นต้องมีสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่ถูกกำหนดและรับรองเป็น กฎหมายมิให้ถูกพรากไปได้จากรูปแบบของการบริหารด้วยเสียงข้างมากจากคณะ กรรมการที่มีอำนาจเหนือกว่า และใช้อำนาจกับสถาบันอุดมศึกษาโดยใช้เพียงดุลพินิจเท่านั้น สิทธิและ เสรีภาพเหล่านั้นถึงจะมีอยู่จริงแต่อยู่ในรูปของปรัชญา หลักการ ทฤษฎี แนวปฏิบัติ รวมทั้งความเชื่อถือการให้เกียรติยอมรับกันในหมู่นักวิชาการ ส่วนมากเป็นนามธรรม ไม่มีการรับรองหรือยืนยันสิทธินั้นเป็นกฎหมาย เมื่อมีข้อพิพาทเกิดขึ้น การละเมิดสิทธิและเสรีภาพโดยการใช้เสียงข้างมากของคณะกรรมการในแต่ละยุค แต่ละช่วงเวลา และแต่ละสถานการณ์จึงขาดความมั่นคง ไม่อาจคาดหมายผลการติดสินได้เนื่องจากไม่มีหลักประกันสิทธิและเสรีภาพที่ผู้ ใดจะละเมิดหรือพรากไปได้แม้ว่าจะเป็นเสียงข้างมากก็ตาม ทำให้ความมั่นใจในการดำเนินการต่าง ๆ หายไป ไม่แน่ใจว่าอะไรถูกอะไรผิด อะไรทำได้อะไรทำไม่ได้ เสมือนไร้ซึ่งกฎหมายหรือหลักการที่จะยืนยันความถูกต้องชอบธรรม ยกตัวอย่างเช่นการรับรองสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมืองสหรัฐอเมริกาไว้ในรัฐ ธรรมนูญที่รู้จักกันว่า Bill of Rights ที่จะมีรายการสิทธิที่ถือว่าเป็นสิทธิสำคัญและจำเป็นต้องมีเพื่อการพิทักษ์ สิทธิที่ระบุไว้จากการล่วงละเมิดของรัฐบาล ถึงแม้ว่าเสียงข้างมากจากสภาผู้แทนราษฎร ผ่านการเห็นชอบจากวุฒิสภา เสนอโดยประธานาธิบดีที่เป็นตัวแทนของประชาชนโดยตรงแล้วก็ตาม ถ้ากฎหมายหรือข้อบังคับต่าง ๆ ที่เสนอและได้รับความเห็นชอบมาแล้วจากเสียงข้างมาก แต่ขัดต่อสิทธิขั้นพื้นฐานที่รับรองไว้ก็ไม่สามารถใช้บังคับได้ เช่นเดียวกันกับสิทธิและเสรีภาพในสถาบันอุดมศึกษาควรต้องมีการรับรองสิทธินี้ไว้ ตัวอย่างเช่น สิทธิและเสรีภาพของอาจารย์ที่จะตัดสินผลหรือการให้คะแนนหรือการให้เกรดจาก การเรียนการสอนของตนนั้นควรต้องได้รับการคุ้มครองไม่ว่าผู้ใดจะแก้ไข ทำแทน หรือเปลี่ยนแปลงการตัดสินผลของอาจารย์มิได้ เว้นแต่จะดำเนินการตามกระบวนการที่บัญญัติไว้ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสิทธิและเสรีภาพของนักศึกษาหรือผู้เรียนที่จะเลือกเรียนราย วิชาที่เปิดสอน เลือกอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์อย่างอิสระรวมทั้งค้นคว้าศึกษาวิจัยได้ อย่างอิสระ ไม่ถูกครอบงำหรือจำกัดจากอาจารย์ที่ปรึกษา หรือด้วยผลประโยชน์ของสถาบันการศึกษา หรือเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ไม่เป็นธรรมของหลักสูตรการเรียนการสอน และของอาจารย์ที่ปรึกษา เป็นต้น นักศึกษาการ บริหารจัดการด้วยคณะกรรมการหลายชุด แต่ละชุดมีอำนาจหรือใช้อำนาจควบคุมเป็นลำดับชั้น เป็นการสร้างระบบบริหารที่เพิ่มขั้นตอนสร้างภาระให้กับสถาบันอุดมศึกษามาก ขึ้น นอกจากนั้นยังเปิดโอกาสให้หน่วยงานอื่นเข้ามาก้าวล่วงกับสิทธิและเสรีภาพใน การบริหารจัดการของสถาบันอุดมศึกษาในรูปแบบของมาตรฐานหรือคุณภาพ นำไปสู่การทำให้เกิดการใช้อำนาจและการกระทำโดยใช้อำนาจรัฐในการละเมิดสิทธิ และเสรีภาพได้มากขึ้นอีกด้วย แนวคิดในการกระจายอำนาจ แบ่งอำนาจ รวมศูนย์อำนาจที่ควรจะเกิดขึ้นในกฎหมายอุดมศึกษาต้องมีการทบทวนหรือพิจารณา อย่างรอบคอบโดยต้องยึดมั่นกับการให้อิสระกับสถาบันอุดมศึกษาตามที่ได้ดำเนิน การมาระยะหนึ่งแล้วด้วยการให้สถาบันอุดมศึกษาของรัฐเปลี่ยนสถานภาพเป็น สถาบันอุดมศึกษาในกำกับและพยายามผลักดันทั้งทางตรงและทางอ้อมให้ทุกสถาบัน อุดมศึกษาของรัฐมีอิสระ (Autonomous) ในการบริหารจัดการ โดยยอมแลกกับสถานภาพของการเป็นส่วนหนึ่งของระบบราชการ สภานภาพข้าราชการของบุคลากรเพื่ออิสระในการบริหาร แต่ดูเหมือนว่าสถาบันอุดมศึกษาถูกแทรกแซงจากองค์กรภายนอกมากขึ้นกว่าแต่ก่อน สถาบัน อุดมศึกษาควรมีสิทธิและเสรีภาพทางวิชาการที่ได้รับการรับรองและคุ้ม ครองอย่างเป็นรูปธรรม การให้สถาบันอุดมศึกษาได้บริหารจัดการ หรือปกครองตนเองเป็นแนวทางที่ต่างประเทศได้ใช้และแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพ และประสิทธิผลที่ส่งผลถึงคุณภาพของการจัดการศึกษาเป็นที่ประจักษ์แล้ว นักศึกษากำลังทำข้อสอบการ ดำเนินการออกกฎหมายเพื่อใช้อำนาจรัฐในการควบคุมสถาบันอุดมศึกษาจึงต้อง พิจารณาอย่างรอบคอบถึงแม้ว่าในระยะเริ่มต้นของการให้อิสระในการบริหารสถาบัน อุดมศึกษากับสภาสถาบันอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัติของสถาบันอุดมศึกษาแต่ละ แห่งจะสร้างปัญหาในการบริหารจัดการบ้าง โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยใหม่ที่เกิดขึ้นได้แก่มหาวิทยาลัยราชภัฏและมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคล แต่ถือเป็นกระบวนการเรียนรู้และก้าวผ่านขั้นตอนการพัฒนาการบริหารจัดการด้วย ตนเอง หรือ Self-regulation การสร้างปัญหาที่มีผลกระทบต่อสังคมวง กว้างในการบริหารของมหาวิทยาลัยดังกล่าวไม่ควรนำมาใช้เป็นฐานของการออก กฎหมายการอุดมศึกษาเพื่อเข้าควบคุมการบริหารสถาบันอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัย ทั้งระบบ เพราะอาจกระทบกับสถาบันอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยเดิมที่ผ่านขั้นตอนการเรียน รู้มาแล้ว และสามารถบริหารจัดการด้วยระบบ Self-regulation หรือ การบริหารด้วยการสร้างกฎเกณฑ์ของการบริหารด้วยตนเองได้อย่างมีคุณภาพ ขอบคุณ... http://m.thairath.co.th/content/edu/378947 (ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 28 ต.ค.56)

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...