รวมพลังประชาชน ล้มกฎหมายนิรโทษกรรม

แสดงความคิดเห็น

ทันที ที่นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม คนที่ 1 จากพรรคเพื่อไทย ได้เสนอให้แก้ไขเนื้อหาสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ในมาตรา 3 ว่า

“ให้ บรรดาการกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นของบุคคลหรือประชาชนที่เกี่ยวเนื่องกับการ ชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมือง หรือความขัดแย้งทางการเมือง หรือที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำผิดโดยคณะบุคคลหรือองค์กรที่จัดตั้งขึ้น ภายหลังการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 ถึงวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2556 ไม่ว่าผู้กระทำจะได้กระทำในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมาย ก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิด และความรับผิดโดยสิ้นเชิง

การกระทำในวรรคหนึ่ง ไม่รวมถึงการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112”

การเสนอให้แก้ไขเนื้อหาใจความดังกล่าว อันเป็นสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ ถือได้ว่าเป็น “กฎหมายนิรโทษกรรมฉบับสุดซอย” ชนิดที่เอื้อประโยชน์ให้กับทักษิณ ชินวัตร นักโทษหนีคดีมากที่สุด และก็นำมาซึ่งการต่อต้านจากฝ่ายที่คัดค้านกฎหมายนิรโทษกรรมและฝ่ายที่สนับสนุนรัฐบาล

นาย แก้วสรร อติโพธิ กรรมาธิการเสียงข้างน้อย กล่าวถึงร่างแก้ไขฉบับของนายประยุทธ์ ว่า เรื่องนี้ ขณะนี้มี 2 เข่ง เข่งแรกคือ ผู้กระทำความผิดจากการชุมนุมทางการเมือง ซึ่งมีหลายความผิด การจะนิรโทษฯ แบบยกเข่งทั้งหมดในข้อนี้ ก็สามารถเถียงกันได้ว่าเหมาะสมอย่างไร โดยเสียงข้างน้อยเห็นว่า

การก่อการร้ายทางการเมือง เช่น ปล้น ฆ่า วางเพลิง นิรโทษกรรมให้ได้ ซึ่งเดิมทีไม่ได้คลุมถึงแกนนำและผู้สั่งการ แต่มาใหม่นี้ครอบคลุมทั้งหมด ตรงนี้จะไปมีปัญหาที่ศาลรัฐธรรมนูญว่า รัฐมีอำนาจคุ้มครองผู้คน แต่ในเมื่อเขาถูกฆ่าตายโดยชายชุดดำ หรือเจ้าหน้าที่รัฐ รัฐมีอำนาจไปนิรโทษกรรม หรือไม่

“ต่อมาเข่งที่ 2 คือ คดีคอร์รัปชัน ซึ่งเขียนว่า บรรดาคดีทั้งหลายที่ คตส. กล่าวหา 16 กว่าคดี 70 กว่าคน 10 เรื่อง หากเป็นการกระทำผิดให้พ้นผิดทั้งสิ้น นี่คือการออกใบอนุญาตให้คอร์รัปชันได้”

นางพะเยาว์ อัคฮาด ประธานกลุ่มญาติผู้สูญเสียจากเหตุการณ์ทางการเมือง พ.ศ.2553 ได้อ่านแถลงการณ์ของกลุ่มญาติฯ เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2556 เห็นว่า เป็นที่ชัดเจนว่า พรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็น กมธ.เสียงข้างมากมีเจตนาเอื้อประโยชน์ ให้ทักษิณ ชินวัตร เพื่อแลกกับการไม่เอาผิดในการกระทำของทหาร การแก้ไขมาตรา 3 แสดงให้สังคมเห็นว่าพรรคเพื่อไทย ไม่เคยฟังเสียงประชาชน โดยเฉพาะญาติผู้เสียหาย

นายสุนัย ผาสุก ผู้ประสานงาน Human Right Watch ประจำประเทศไทย กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า “ความผิดที่นำสู่การเสียชีวิตต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ไม่ว่าฝ่ายใด การนิรโทษกรรมจะเกิดขึ้นได้ต้องมีขั้นตอนต่างๆ โดยต้องระบุให้ได้ว่าเกิดอะไรขึ้น คนกระทำผิดต้องสำนึกผิด ออกมาขอโทษต่อสังคม การสมานฉันท์ ต้องเป็นกระบวนการหารือในวงกว้าง ที่ผ่านมารัฐบาลไม่ได้ทำเรื่องนี้อย่างเป็นเนื้อเป็นหนัง มหาดไทยจัดเวทีแล้วก็จบไป ตัดตอนมาพูดเรื่องนิรโทษกรรมเลย”

แม้ว่าองค์กร ต่างๆ จะออกมาคัดค้านเนื้อหาฉบับสุดซอยของกฎหมายนิรโทษกรรมดังกล่าว แต่พรรคเพื่อไทย กรรมาธิการเสียงข้างมาก รัฐบาล ก็ยังคงยืนยันที่จะผลักดันกฎหมายอัปยศฉบับนี้ถึงที่สุด

ดังที่นายสามารถ แก้วมีชัย ประธานคณะกรรมาธิการฯ กล่าวในที่ประชุมเมื่อ 24 ต.ค.ที่ผ่านมาว่า ตนยืนยันว่าจะไม่กลับมติเพื่อแก้ไขเนื้อหาตามมาตรา 3 ที่เป็นร่างของนายประยุทธ์ที่เสนอให้นิรโทษกรรม ตั้งแต่ปี 2547-8 สิงหาคม ปี 2556 โดยครอบคลุมแกนนำ ผู้สั่งการ รวมถึงคดีความของ คตส. พร้อมย้ำว่า การนิรโทษกรรมไม่เกี่ยวข้องกับกฎหมายการเงิน และไม่จำเป็นต้องส่งเรื่องให้นายกรัฐมนตรีรับรอง

สอดคล้องกับนายชัยเกษม นิติสิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการร่างกฎหมายนิรโทษกรรมนี้ว่า ส่วนตัวเห็นด้วยกับร่างกฎหมายฉบับนี้ เพราะจะยุติความขัดแย้งได้

“เนื่อง จากเป็นการยกความผิดให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง ซึ่งจะได้ประโยชน์ทุกฝ่าย นับเป็นการเริ่มต้นใหม่ ถึงจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้หมด แต่ก็เป็นทางออกที่ดีที่สุด เพราะในอดีตที่ผ่านมา หลังจากนิรโทษกรรมเกิดขึ้น บ้านเมืองก็ดีขึ้นทุกครั้ง”ความเห็นเช่นนี้ ย่อมสะท้อนพฤติกรรมของนายชัยเกษม นิติสิริ ได้ดีว่า ก่อนหน้านี้ เขาทำเพื่อใคร

นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ กล่าวว่า ตนมีส่วนได้-เสียอย่างน้อย 2 ฐานะ คือ

“หนึ่ง ในฐานะผู้รับผิดชอบในคดีการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง จำนวน 65 คดี 265 คน และอยู่ในฝ่ายบริหาร หรือ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ซึ่งการทำรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เป็นการสร้างผลไม้พิษที่ส่งกลิ่นออกมา การนิรโทษกรรมต้องโละต้นไม้พิษนี้ให้หมด ดังนั้นกฎหมายฉบับนี้เกิดขึ้นเพื่อให้ ทั้งเสื้อเหลือง เสื้อแดง และผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผลไม้พิษนี้”

นี่คือความอัปยศของราชการบางคนที่รับใช้การเมืองจนลืมหลักการในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อชาติ

กฎหมาย นิรโทษกรรมฉบับสุดซอยนี้ จึงสะท้อนให้เห็นชัดถึงพฤติกรรมเหลิงอำนาจของระบอบทักษิณที่ต้องการทำลาย ระบบนิติรัฐ นิติธรรม ทำลายกฎหมาย ทำลายกระบวนการยุติธรรม ทำลายชาติ

แน่นอนที่สุด กลไกของรัฐสภาที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เผด็จการเสียงข้างมากก็จะลากกฎหมายไปสู่การประกาศใช้ถึงที่สุด เสียงข้างน้อยย่อมไม่สามารถหยุดกฎหมายที่ทำลายหลักประชาธิปไตยเช่นนี้ได้

ระบอบ ประชาธิปไตย ถึงที่สุดแล้ว ก็มีแต่การเมืองของภาคประชาชนเท่านั้นที่จะหยุดยั้งกฎหมายนิรโทษกรรมฉบับ ทำลายชาติ เพื่อหวังช่วยทักษิณให้พ้นผิด กลับมายึดครองประเทศโดยไม่ต้องรับโทษ

ถึงเวลาแล้วที่ประชาชนต้องรวมพลังกัน เพื่อล้มกฎหมายนิรโทษกรรมฉบับสุดซอยจนถึงที่สุด

ขอบคุณ... http://www.thaipost.net/tabloid/271013/81226 (ขนาดไฟล์: 167)

( ไทยโพสต์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 ต.ค.56 )

ที่มา: ไทยโพสต์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 ต.ค.56
วันที่โพสต์: 27/10/2556 เวลา 02:26:49

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ทันที ที่นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม คนที่ 1 จากพรรคเพื่อไทย ได้เสนอให้แก้ไขเนื้อหาสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ในมาตรา 3 ว่า “ให้ บรรดาการกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นของบุคคลหรือประชาชนที่เกี่ยวเนื่องกับการ ชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมือง หรือความขัดแย้งทางการเมือง หรือที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำผิดโดยคณะบุคคลหรือองค์กรที่จัดตั้งขึ้น ภายหลังการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 ถึงวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2556 ไม่ว่าผู้กระทำจะได้กระทำในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมาย ก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิด และความรับผิดโดยสิ้นเชิง การกระทำในวรรคหนึ่ง ไม่รวมถึงการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112” การเสนอให้แก้ไขเนื้อหาใจความดังกล่าว อันเป็นสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ ถือได้ว่าเป็น “กฎหมายนิรโทษกรรมฉบับสุดซอย” ชนิดที่เอื้อประโยชน์ให้กับทักษิณ ชินวัตร นักโทษหนีคดีมากที่สุด และก็นำมาซึ่งการต่อต้านจากฝ่ายที่คัดค้านกฎหมายนิรโทษกรรมและฝ่ายที่สนับสนุนรัฐบาล นาย แก้วสรร อติโพธิ กรรมาธิการเสียงข้างน้อย กล่าวถึงร่างแก้ไขฉบับของนายประยุทธ์ ว่า เรื่องนี้ ขณะนี้มี 2 เข่ง เข่งแรกคือ ผู้กระทำความผิดจากการชุมนุมทางการเมือง ซึ่งมีหลายความผิด การจะนิรโทษฯ แบบยกเข่งทั้งหมดในข้อนี้ ก็สามารถเถียงกันได้ว่าเหมาะสมอย่างไร โดยเสียงข้างน้อยเห็นว่า การก่อการร้ายทางการเมือง เช่น ปล้น ฆ่า วางเพลิง นิรโทษกรรมให้ได้ ซึ่งเดิมทีไม่ได้คลุมถึงแกนนำและผู้สั่งการ แต่มาใหม่นี้ครอบคลุมทั้งหมด ตรงนี้จะไปมีปัญหาที่ศาลรัฐธรรมนูญว่า รัฐมีอำนาจคุ้มครองผู้คน แต่ในเมื่อเขาถูกฆ่าตายโดยชายชุดดำ หรือเจ้าหน้าที่รัฐ รัฐมีอำนาจไปนิรโทษกรรม หรือไม่ “ต่อมาเข่งที่ 2 คือ คดีคอร์รัปชัน ซึ่งเขียนว่า บรรดาคดีทั้งหลายที่ คตส. กล่าวหา 16 กว่าคดี 70 กว่าคน 10 เรื่อง หากเป็นการกระทำผิดให้พ้นผิดทั้งสิ้น นี่คือการออกใบอนุญาตให้คอร์รัปชันได้” นางพะเยาว์ อัคฮาด ประธานกลุ่มญาติผู้สูญเสียจากเหตุการณ์ทางการเมือง พ.ศ.2553 ได้อ่านแถลงการณ์ของกลุ่มญาติฯ เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2556 เห็นว่า เป็นที่ชัดเจนว่า พรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็น กมธ.เสียงข้างมากมีเจตนาเอื้อประโยชน์ ให้ทักษิณ ชินวัตร เพื่อแลกกับการไม่เอาผิดในการกระทำของทหาร การแก้ไขมาตรา 3 แสดงให้สังคมเห็นว่าพรรคเพื่อไทย ไม่เคยฟังเสียงประชาชน โดยเฉพาะญาติผู้เสียหาย นายสุนัย ผาสุก ผู้ประสานงาน Human Right Watch ประจำประเทศไทย กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า “ความผิดที่นำสู่การเสียชีวิตต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ไม่ว่าฝ่ายใด การนิรโทษกรรมจะเกิดขึ้นได้ต้องมีขั้นตอนต่างๆ โดยต้องระบุให้ได้ว่าเกิดอะไรขึ้น คนกระทำผิดต้องสำนึกผิด ออกมาขอโทษต่อสังคม การสมานฉันท์ ต้องเป็นกระบวนการหารือในวงกว้าง ที่ผ่านมารัฐบาลไม่ได้ทำเรื่องนี้อย่างเป็นเนื้อเป็นหนัง มหาดไทยจัดเวทีแล้วก็จบไป ตัดตอนมาพูดเรื่องนิรโทษกรรมเลย” แม้ว่าองค์กร ต่างๆ จะออกมาคัดค้านเนื้อหาฉบับสุดซอยของกฎหมายนิรโทษกรรมดังกล่าว แต่พรรคเพื่อไทย กรรมาธิการเสียงข้างมาก รัฐบาล ก็ยังคงยืนยันที่จะผลักดันกฎหมายอัปยศฉบับนี้ถึงที่สุด ดังที่นายสามารถ แก้วมีชัย ประธานคณะกรรมาธิการฯ กล่าวในที่ประชุมเมื่อ 24 ต.ค.ที่ผ่านมาว่า ตนยืนยันว่าจะไม่กลับมติเพื่อแก้ไขเนื้อหาตามมาตรา 3 ที่เป็นร่างของนายประยุทธ์ที่เสนอให้นิรโทษกรรม ตั้งแต่ปี 2547-8 สิงหาคม ปี 2556 โดยครอบคลุมแกนนำ ผู้สั่งการ รวมถึงคดีความของ คตส. พร้อมย้ำว่า การนิรโทษกรรมไม่เกี่ยวข้องกับกฎหมายการเงิน และไม่จำเป็นต้องส่งเรื่องให้นายกรัฐมนตรีรับรอง สอดคล้องกับนายชัยเกษม นิติสิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการร่างกฎหมายนิรโทษกรรมนี้ว่า ส่วนตัวเห็นด้วยกับร่างกฎหมายฉบับนี้ เพราะจะยุติความขัดแย้งได้ “เนื่อง จากเป็นการยกความผิดให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง ซึ่งจะได้ประโยชน์ทุกฝ่าย นับเป็นการเริ่มต้นใหม่ ถึงจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้หมด แต่ก็เป็นทางออกที่ดีที่สุด เพราะในอดีตที่ผ่านมา หลังจากนิรโทษกรรมเกิดขึ้น บ้านเมืองก็ดีขึ้นทุกครั้ง”ความเห็นเช่นนี้ ย่อมสะท้อนพฤติกรรมของนายชัยเกษม นิติสิริ ได้ดีว่า ก่อนหน้านี้ เขาทำเพื่อใคร นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ กล่าวว่า ตนมีส่วนได้-เสียอย่างน้อย 2 ฐานะ คือ “หนึ่ง ในฐานะผู้รับผิดชอบในคดีการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง จำนวน 65 คดี 265 คน และอยู่ในฝ่ายบริหาร หรือ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ซึ่งการทำรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เป็นการสร้างผลไม้พิษที่ส่งกลิ่นออกมา การนิรโทษกรรมต้องโละต้นไม้พิษนี้ให้หมด ดังนั้นกฎหมายฉบับนี้เกิดขึ้นเพื่อให้ ทั้งเสื้อเหลือง เสื้อแดง และผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผลไม้พิษนี้” นี่คือความอัปยศของราชการบางคนที่รับใช้การเมืองจนลืมหลักการในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อชาติ กฎหมาย นิรโทษกรรมฉบับสุดซอยนี้ จึงสะท้อนให้เห็นชัดถึงพฤติกรรมเหลิงอำนาจของระบอบทักษิณที่ต้องการทำลาย ระบบนิติรัฐ นิติธรรม ทำลายกฎหมาย ทำลายกระบวนการยุติธรรม ทำลายชาติ แน่นอนที่สุด กลไกของรัฐสภาที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เผด็จการเสียงข้างมากก็จะลากกฎหมายไปสู่การประกาศใช้ถึงที่สุด เสียงข้างน้อยย่อมไม่สามารถหยุดกฎหมายที่ทำลายหลักประชาธิปไตยเช่นนี้ได้ ระบอบ ประชาธิปไตย ถึงที่สุดแล้ว ก็มีแต่การเมืองของภาคประชาชนเท่านั้นที่จะหยุดยั้งกฎหมายนิรโทษกรรมฉบับ ทำลายชาติ เพื่อหวังช่วยทักษิณให้พ้นผิด กลับมายึดครองประเทศโดยไม่ต้องรับโทษ ถึงเวลาแล้วที่ประชาชนต้องรวมพลังกัน เพื่อล้มกฎหมายนิรโทษกรรมฉบับสุดซอยจนถึงที่สุด ขอบคุณ... http://www.thaipost.net/tabloid/271013/81226 ( ไทยโพสต์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 ต.ค.56 )

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...