มาตรา190ตายแล้ว...ความล้มเหลวของระบบรัฐสภาไทย

แสดงความคิดเห็น

ตามที่การประชุมของรัฐสภาได้ลงมติเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม โดยเสียงข้างมากแก้ไขเนื้อหาบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 โดยมีสาระการแก้ไขที่สำคัญ คือ

1.ตัดลดประเภทหนังสือสัญญาที่จะต้องผ่านกระบวนการพิจารณาของรัฐสภาอย่างมี นัยสำคัญออกไปให้เหลือเพียง (หนึ่ง) หนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตดินแดน (สอง) หนังสือสัญญาที่เปลี่ยนแปลงพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย หรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ (สาม) จะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา และ (สี่) หนังสือสัญญาที่มีบทให้เปิดเสรีด้านการค้าและการลงทุน

2.เพิ่มอำนาจรัฐบาล ให้ก่อนการดำเนินการเพื่อทำหนังสือสัญญา ไม่ต้องเสนอ “กรอบการเจรจา” ต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ

ผลสรุปจากการแก้ไขมาตรการ 190 ดังกล่าว สะท้อนถึงความล้มเหลวของระบบรัฐสภาไทยที่มุ่งเป้าหมายการเอาชนะทางการเมือง อ้างเสียงข้างมากเป็นเครื่องมือสร้างความชอบธรรม ไม่ได้ยึดถือข้อมูล เหตุผล และไม่ได้คำนึงถึงความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นจากการเร่งทำหนังสือสัญญาความ ตกลงระหว่างประเทศ และทำลายระบอบประชาธิปไตยที่เห็นหัวประชาชน

บทบัญญัติในมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 มีเจตนารมณ์เพื่อสร้างธรรมาภิบาลในกระบวนการเจรจา สร้างความโปร่งใส การมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมและเป็นกลไกสร้างระบบการถ่วงดุลและตรวจสอบ ระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติเพื่อให้ผลจากการทำหนังสือสัญญาเกิด ประโยชน์โดยรวมมากที่สุดต่อประเทศชาติ นอกจากนี้คณะเจรจายังสามารถใช้ “กรอบเจรจา” ที่ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองในการเจรจาได้อีกด้วย บทบัญญัติเหล่านี้เป็นสิ่งที่อารยประเทศต่างๆ ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

มาตรา190ตายแล้ว...ความล้มเหลวของระบบรัฐสภาไทย อนึ่ง ปัญหาความยุ่งยาก ล่าช้า การมีหนังสือสัญญาจำนวนมากต้องเสนอไปสู่รัฐสภาโดยอ้างว่าต้องปฏิบัติตาม มาตรา 190 นั้น มีรากฐานสาเหตุสำคัญ 2 ประการ คือ (หนึ่ง) การไม่จัดทำกฎหมายลูกรองรับ มาตรา 190 ออกมาใช้บังคับ ซึ่งในรัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้ให้ดำเนินการภายในเวลา 1 ปีนับจากที่รัฐบาลแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ซึ่งต้องดำเนินการให้เสร็จตั้งแต่ปี 2552 (สอง) การใช้ มาตรา 190 เป็นเครื่องมือต่อสู้กันทางการเมืองมากเกินไป

ผลจากการแก้ไข มาตรา 190 จะทำให้หนังสือจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ อย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุนหรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ ตัวอย่างเช่น การเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ความตกลงเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ความตกลงด้านสิ่งแวดล้อม ความตกลงด้านสิทธิมนุษยชน ฯลฯ ไม่ต้องผ่านกระบวนการเสนอ “กรอบการเจรจา” เป็นการทำลายกระบวนการตรวจสอบถ่วงดุล การมีส่วนร่วม ระหว่างฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติและภาคประชาสังคม ซึ่งเป็นหลักการสำคัญข้อหนึ่งในระบอบการเมืองประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมที่ ทุกฝ่ายกำลังเรียกร้อง เป็นการจำกัดพื้นที่การมีส่วนร่วมทางการเมืองของภาคส่วนต่างๆ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ผลักดันให้ประชาชนใช้ท้องถนนแสดงออกทาง การเมืองแทน

การแก้ไขมาตรา 190 ครั้งนี้ เป็นเพียงผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างนัก (การเมือง) ประชาธิปไตยแต่ปาก กลุ่มทุนครอบชาติ และฝ่ายข้าราชการประจำล้าหลัง ที่ต้องการปลดเปลื้องภาระในการปฏิบัติตามกฎกติกาเพื่อการสร้างธรรมาภิบาลใน กระบวนการเจรจาจัดทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ

ขอไว้อาลัยแด่มาตรา 190 ระบบรัฐสภาและประชาธิปไตยไทย

ขอบคุณ http://www.komchadluek.net/mobile/detail/20131022/171030.html (ขนาดไฟล์: 167)

(คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 22 ต.ค.56)

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 22 ต.ค.56
วันที่โพสต์: 22/10/2556 เวลา 03:23:07 ดูภาพสไลด์โชว์ มาตรา190ตายแล้ว...ความล้มเหลวของระบบรัฐสภาไทย

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ตามที่การประชุมของรัฐสภาได้ลงมติเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม โดยเสียงข้างมากแก้ไขเนื้อหาบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 โดยมีสาระการแก้ไขที่สำคัญ คือ 1.ตัดลดประเภทหนังสือสัญญาที่จะต้องผ่านกระบวนการพิจารณาของรัฐสภาอย่างมี นัยสำคัญออกไปให้เหลือเพียง (หนึ่ง) หนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตดินแดน (สอง) หนังสือสัญญาที่เปลี่ยนแปลงพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย หรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ (สาม) จะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา และ (สี่) หนังสือสัญญาที่มีบทให้เปิดเสรีด้านการค้าและการลงทุน 2.เพิ่มอำนาจรัฐบาล ให้ก่อนการดำเนินการเพื่อทำหนังสือสัญญา ไม่ต้องเสนอ “กรอบการเจรจา” ต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ ผลสรุปจากการแก้ไขมาตรการ 190 ดังกล่าว สะท้อนถึงความล้มเหลวของระบบรัฐสภาไทยที่มุ่งเป้าหมายการเอาชนะทางการเมือง อ้างเสียงข้างมากเป็นเครื่องมือสร้างความชอบธรรม ไม่ได้ยึดถือข้อมูล เหตุผล และไม่ได้คำนึงถึงความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นจากการเร่งทำหนังสือสัญญาความ ตกลงระหว่างประเทศ และทำลายระบอบประชาธิปไตยที่เห็นหัวประชาชน บทบัญญัติในมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 มีเจตนารมณ์เพื่อสร้างธรรมาภิบาลในกระบวนการเจรจา สร้างความโปร่งใส การมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมและเป็นกลไกสร้างระบบการถ่วงดุลและตรวจสอบ ระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติเพื่อให้ผลจากการทำหนังสือสัญญาเกิด ประโยชน์โดยรวมมากที่สุดต่อประเทศชาติ นอกจากนี้คณะเจรจายังสามารถใช้ “กรอบเจรจา” ที่ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองในการเจรจาได้อีกด้วย บทบัญญัติเหล่านี้เป็นสิ่งที่อารยประเทศต่างๆ ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา190ตายแล้ว...ความล้มเหลวของระบบรัฐสภาไทย อนึ่ง ปัญหาความยุ่งยาก ล่าช้า การมีหนังสือสัญญาจำนวนมากต้องเสนอไปสู่รัฐสภาโดยอ้างว่าต้องปฏิบัติตาม มาตรา 190 นั้น มีรากฐานสาเหตุสำคัญ 2 ประการ คือ (หนึ่ง) การไม่จัดทำกฎหมายลูกรองรับ มาตรา 190 ออกมาใช้บังคับ ซึ่งในรัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้ให้ดำเนินการภายในเวลา 1 ปีนับจากที่รัฐบาลแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ซึ่งต้องดำเนินการให้เสร็จตั้งแต่ปี 2552 (สอง) การใช้ มาตรา 190 เป็นเครื่องมือต่อสู้กันทางการเมืองมากเกินไป ผลจากการแก้ไข มาตรา 190 จะทำให้หนังสือจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ อย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุนหรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ ตัวอย่างเช่น การเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ความตกลงเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ความตกลงด้านสิ่งแวดล้อม ความตกลงด้านสิทธิมนุษยชน ฯลฯ ไม่ต้องผ่านกระบวนการเสนอ “กรอบการเจรจา” เป็นการทำลายกระบวนการตรวจสอบถ่วงดุล การมีส่วนร่วม ระหว่างฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติและภาคประชาสังคม ซึ่งเป็นหลักการสำคัญข้อหนึ่งในระบอบการเมืองประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมที่ ทุกฝ่ายกำลังเรียกร้อง เป็นการจำกัดพื้นที่การมีส่วนร่วมทางการเมืองของภาคส่วนต่างๆ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ผลักดันให้ประชาชนใช้ท้องถนนแสดงออกทาง การเมืองแทน การแก้ไขมาตรา 190 ครั้งนี้ เป็นเพียงผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างนัก (การเมือง) ประชาธิปไตยแต่ปาก กลุ่มทุนครอบชาติ และฝ่ายข้าราชการประจำล้าหลัง ที่ต้องการปลดเปลื้องภาระในการปฏิบัติตามกฎกติกาเพื่อการสร้างธรรมาภิบาลใน กระบวนการเจรจาจัดทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ ขอไว้อาลัยแด่มาตรา 190 ระบบรัฐสภาและประชาธิปไตยไทย ขอบคุณ… http://www.komchadluek.net/mobile/detail/20131022/171030.html (คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 22 ต.ค.56)

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...