อำนาจอธิปไตย กับปวงชนชาวไทย บทความโดย วีรพงษ์ รามางกูร

แสดงความคิดเห็น

อำนาจอธิปไตย กับปวงชนชาวไทย บทความโดย วีรพงษ์ รามางกูร

รัฐธรรมนูญฉบับถาวรทุกฉบับของประเทศไทยจะมีบทบัญญัติในการตราตรงกันเสมอ ว่า "อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย" หรือ "อำนาจอธิปไตยมาจากปวงชนชาวไทย"

แต่ รัฐธรรมนูญฉบับถาวรเกือบทุกฉบับ ก็จะทำการจัดร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือสภานิติบัญญัติ ที่แต่งตั้งโดย "รัฏฐาธิปัตย์" ที่ได้อำนาจรัฐมาจากการทำปฏิวัติ หรือรัฐประหาร จะมียกเว้นอยู่ก็เพียง 2 ฉบับ คือ รัฐธรรมนูญปี 2517 และรัฐธรรมนูญปี 2540 รัฐธรรมนูญปี 2517 จัดร่างขึ้นโดยสภานิติบัญญัติ ที่สมาชิกได้รับเลือกจากการเลือกกันเองของ "สภาสนามม้า" ซึ่งได้รับการโปรดเกล้าแต่งตั้งขึ้นจำนวน 2,000 คน ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ส่วนรัฐธรรมนูญปี 2540 ได้ร่างขึ้นโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้งสมาชิกทั่วประเทศ รัฐธรรมนูญทั้งสองฉบับนี้จึงได้รับการขนานนามว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็น ประชาธิปไตยมากที่สุด เพราะยอมรับว่าเป็นอำนาจอธิปไตยที่มาจากปวงชนชาวไทยมากที่สุด

ดังนั้น รัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับนั้น จึงได้รับการยอมรับว่ามีความเป็นประชาธิปไตย มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับความเป็นเจ้าของอำนาจประชาธิปไตย เป็นของปวงชนชาวไทยมากที่สุด

ในระบอบการปกครองโดยรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นระบอบที่แพร่หลายมากที่สุดในโลก จะมียกเว้นประเทศเดียวคืออังกฤษ ในความหมายของรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรที่เป็นกฎหมายสูงสุด กฎหมายอื่นจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้

ในระบอบรัฐธรรมนูญ หรือ constitutionism อำนาจอธิปไตยที่ว่าเป็นของปวงชนนั้น ย่อมถูกจำกัดโดยรัฐธรรมนูญและศาลรัฐธรรมนูญ

เท่า กับว่าอำนาจอธิปไตยไม่ได้เป็นของปวงชนทั้งหมด เพราะถูกจำกัดโดยรัฐธรรมนูญ หรือโดยผู้สถาปนารัฐธรรมนูญฉบับนั้นๆ หรือปวงชนในยุคที่มีการร่างรัฐธรรมนูญครั้งนั้นฉบับนั้น

รัฐธรรมนูญ ของเราเกือบทุกฉบับได้จัดทำขึ้นโดยอำนาจจากการทำรัฐประหาร ด้วยเหตุนี้ รัฐธรรมนูญของเราจึงมีข้อจำกัดในการเป็นอำนาจอธิปไตยของประชาชนผ่านทางสภา ผู้แทนราษฎรและคณะรัฐมนตรีโดยตลอด ข้อจำกัดเหล่านี้น่าจะต้องถือว่าเป็นข้อสงวนของผู้ที่ยึดอำนาจอธิปไตยไปจาก ประชาชนแล้วคืนอำนาจอธิปไตยบางส่วนให้ประชาชน เป็นการประนีประนอมระหว่างผู้ถืออำนาจรัฐก่อนมีรัฐธรรมนูญฉบับนั้นกับ ประชาชน จนมีผู้ตั้งฉายาของรัฐธรรมนูญฉบับต่างๆ ที่ร่างขึ้นโดยสภาแต่งตั้งว่าเป็นรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยครึ่งใบบ้าง รัฐธรรมนูญฉบับนั้นปลอมบ้างแล้วแต่จะเรียก

ก็เท่ากับว่าอำนาจอธิปไตย ไม่เคยเป็นของปวงชนชาวไทยโดยสมบูรณ์ตลอดมา อาจจะมีข้อยกเว้นก็เพียงแต่รัฐธรรมนูญสมัยปี 2540 ฉบับเดียว ส่วนรัฐธรรมนูญฉบับปี 2517 ก็อาจจะถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับพระราชทานก็คงไม่ผิด ถ้าหากถือจากแหล่งที่มา เพราะร่างมาจากสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากสภาสนามม้าซึ่งโปรดเกล้าแต่ง ตั้ง

สำหรับรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ก็เข้ากับหลักเกณฑ์ที่กล่าวไว้ข้างต้น กล่าวคือไม่ได้ร่างขึ้นโดยองค์กรที่เป็นตัวแทนของปวงชนชาวไทย แม้จะอ้างว่าได้เชื่อมโยงกับประชาชนโดยการให้มีการลงประชามติ รับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ โดยมีการเข้าใจว่าให้รับไปก่อนแล้วแก้ทีหลัง มีการเข้าใจกันโดยทั่วไปว่าสามารถแก้ไขได้ทั้งฉบับโดยการตั้ง ส.ส.ร.ร่างใหม่ทั้งฉบับ

แต่เมื่อศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยว่าร่าง ใหม่ทั้งฉบับไม่ได้ ถ้าจะร่างใหม่ทั้งฉบับต้องถามประชาชนโดยประชามติก่อน แต่บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญบอกว่าการขอประชามติที่จะมีผลผูกพันในการปฏิบัติ ต้องเป็นประชามติเกินกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิออกเสียง ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่เป็นไปไม่ได้เลยในทางปฏิบัติ ก็เท่ากับว่าอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยในการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับถูก จำกัดโดยคณะรัฐประหาร 2549 ไปในตัว

การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ซึ่งรัฐสภากำลังพยายามจะทำอยู่ ในขณะนี้แม้จะผ่านวาระที่ 3 ไปแล้วก็ตามก็ยังไม่แน่ว่าจะสามารถออกมาบังคับใช้ได้หรือไม่ ถ้าสามารถออกมาประกาศบังคับใช้ได้ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลเกิด ขึ้น

ที่ว่าเช่นนั้นเพราะ องค์ประกอบของวุฒิสภาตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญปี 2550 จะเปลี่ยนเป็นสมาชิกที่มาจากประชาชนทั้งหมด

แม้ จะมีการบัญญัติห้ามมิให้สมาชิกวุฒิสภาเป็นสมาชิกพรรคการเมือง บทบัญญัติเช่นว่าเป็นบทบัญญัติที่บังคับใช้ไม่ได้ในทางปฏิบัติ เพราะเป็นการฝืนธรรมชาติของการเมือง เหมือนกับบทบัญญัติที่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2517 บัญญัติว่า ห้ามมิให้มีการนิรโทษกรรมแก่ผู้ที่ทำการล้มล้างรัฐธรรมนูญ เป็นต้น

เนื่องจากวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญปี 2550 เป็นสภาที่มีอำนาจในการแต่งตั้งศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครองและองค์กรอิสระต่างๆ การเปลี่ยนองค์ประกอบของวุฒิสภาในส่วนที่ไม่ได้มาจากประชาชน โดยยกเลิกเสีย ย่อมสอดคล้องกับหลักการการเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยมากขึ้น การคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ จึงเท่ากับการคัดค้านหลักการการเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน จึงไม่เข้าใจว่าพรรคประชาธิปัตย์คัดค้านได้อย่างไร เพราะเป็นพรรคการเมืองของประชาชน ส่วน 40 ส.ว.ที่คัดค้านนั้นเข้าใจได้ ในด้านหลักการต้องเป็นอย่างนั้น ในขั้นปฏิบัติค่อยมาว่ากันอีกที

บท บัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 เป็นธรรมดาที่คณะรัฐประหารจะต้องสงวนอำนาจของตนเอาไว้ไม่ยอมคืนให้ปวงชนชาว ไทยให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้

การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ก็ควรแก้มาตราในหมวดว่าด้วยการลงประชามติเสียใหม่ เพราะผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้แอบสร้างเงื่อนไขไม่ให้ผลของประชามติมีผล ผูกพันในทางปฏิบัติได้เลย

ด้วยเหตุนี้จึงยังไม่อาจกล่าวได้ว่า อำนาจอธิปไตยที่บัญญัติอย่างมีเงื่อนไขว่าเป็นของปวงชนนั้น มากหรือน้อยเพียงใด ตราบใดที่ประชาชนทั้งหมดยังไม่มีส่วนในการสถาปนารัฐธรรมนูญทั้งฉบับ

แต่ก็คงต้องค่อยๆ แก้ไขเป็นรายมาตราไป จะทำอย่างไรได้

ขอบคุณ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1382062150&grpid=01&catid=&subcatid= (ขนาดไฟล์: 167)

( มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 ต.ค.56 )

ที่มา: มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 ต.ค.56
วันที่โพสต์: 19/10/2556 เวลา 04:05:47 ดูภาพสไลด์โชว์ อำนาจอธิปไตย กับปวงชนชาวไทย บทความโดย วีรพงษ์ รามางกูร

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

อำนาจอธิปไตย กับปวงชนชาวไทย บทความโดย วีรพงษ์ รามางกูร รัฐธรรมนูญฉบับถาวรทุกฉบับของประเทศไทยจะมีบทบัญญัติในการตราตรงกันเสมอ ว่า "อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย" หรือ "อำนาจอธิปไตยมาจากปวงชนชาวไทย" แต่ รัฐธรรมนูญฉบับถาวรเกือบทุกฉบับ ก็จะทำการจัดร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือสภานิติบัญญัติ ที่แต่งตั้งโดย "รัฏฐาธิปัตย์" ที่ได้อำนาจรัฐมาจากการทำปฏิวัติ หรือรัฐประหาร จะมียกเว้นอยู่ก็เพียง 2 ฉบับ คือ รัฐธรรมนูญปี 2517 และรัฐธรรมนูญปี 2540 รัฐธรรมนูญปี 2517 จัดร่างขึ้นโดยสภานิติบัญญัติ ที่สมาชิกได้รับเลือกจากการเลือกกันเองของ "สภาสนามม้า" ซึ่งได้รับการโปรดเกล้าแต่งตั้งขึ้นจำนวน 2,000 คน ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ส่วนรัฐธรรมนูญปี 2540 ได้ร่างขึ้นโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้งสมาชิกทั่วประเทศ รัฐธรรมนูญทั้งสองฉบับนี้จึงได้รับการขนานนามว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็น ประชาธิปไตยมากที่สุด เพราะยอมรับว่าเป็นอำนาจอธิปไตยที่มาจากปวงชนชาวไทยมากที่สุด ดังนั้น รัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับนั้น จึงได้รับการยอมรับว่ามีความเป็นประชาธิปไตย มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับความเป็นเจ้าของอำนาจประชาธิปไตย เป็นของปวงชนชาวไทยมากที่สุด ในระบอบการปกครองโดยรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นระบอบที่แพร่หลายมากที่สุดในโลก จะมียกเว้นประเทศเดียวคืออังกฤษ ในความหมายของรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรที่เป็นกฎหมายสูงสุด กฎหมายอื่นจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้ ในระบอบรัฐธรรมนูญ หรือ constitutionism อำนาจอธิปไตยที่ว่าเป็นของปวงชนนั้น ย่อมถูกจำกัดโดยรัฐธรรมนูญและศาลรัฐธรรมนูญ เท่า กับว่าอำนาจอธิปไตยไม่ได้เป็นของปวงชนทั้งหมด เพราะถูกจำกัดโดยรัฐธรรมนูญ หรือโดยผู้สถาปนารัฐธรรมนูญฉบับนั้นๆ หรือปวงชนในยุคที่มีการร่างรัฐธรรมนูญครั้งนั้นฉบับนั้น รัฐธรรมนูญ ของเราเกือบทุกฉบับได้จัดทำขึ้นโดยอำนาจจากการทำรัฐประหาร ด้วยเหตุนี้ รัฐธรรมนูญของเราจึงมีข้อจำกัดในการเป็นอำนาจอธิปไตยของประชาชนผ่านทางสภา ผู้แทนราษฎรและคณะรัฐมนตรีโดยตลอด ข้อจำกัดเหล่านี้น่าจะต้องถือว่าเป็นข้อสงวนของผู้ที่ยึดอำนาจอธิปไตยไปจาก ประชาชนแล้วคืนอำนาจอธิปไตยบางส่วนให้ประชาชน เป็นการประนีประนอมระหว่างผู้ถืออำนาจรัฐก่อนมีรัฐธรรมนูญฉบับนั้นกับ ประชาชน จนมีผู้ตั้งฉายาของรัฐธรรมนูญฉบับต่างๆ ที่ร่างขึ้นโดยสภาแต่งตั้งว่าเป็นรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยครึ่งใบบ้าง รัฐธรรมนูญฉบับนั้นปลอมบ้างแล้วแต่จะเรียก ก็เท่ากับว่าอำนาจอธิปไตย ไม่เคยเป็นของปวงชนชาวไทยโดยสมบูรณ์ตลอดมา อาจจะมีข้อยกเว้นก็เพียงแต่รัฐธรรมนูญสมัยปี 2540 ฉบับเดียว ส่วนรัฐธรรมนูญฉบับปี 2517 ก็อาจจะถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับพระราชทานก็คงไม่ผิด ถ้าหากถือจากแหล่งที่มา เพราะร่างมาจากสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากสภาสนามม้าซึ่งโปรดเกล้าแต่ง ตั้ง สำหรับรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ก็เข้ากับหลักเกณฑ์ที่กล่าวไว้ข้างต้น กล่าวคือไม่ได้ร่างขึ้นโดยองค์กรที่เป็นตัวแทนของปวงชนชาวไทย แม้จะอ้างว่าได้เชื่อมโยงกับประชาชนโดยการให้มีการลงประชามติ รับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ โดยมีการเข้าใจว่าให้รับไปก่อนแล้วแก้ทีหลัง มีการเข้าใจกันโดยทั่วไปว่าสามารถแก้ไขได้ทั้งฉบับโดยการตั้ง ส.ส.ร.ร่างใหม่ทั้งฉบับ แต่เมื่อศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยว่าร่าง ใหม่ทั้งฉบับไม่ได้ ถ้าจะร่างใหม่ทั้งฉบับต้องถามประชาชนโดยประชามติก่อน แต่บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญบอกว่าการขอประชามติที่จะมีผลผูกพันในการปฏิบัติ ต้องเป็นประชามติเกินกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิออกเสียง ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่เป็นไปไม่ได้เลยในทางปฏิบัติ ก็เท่ากับว่าอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยในการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับถูก จำกัดโดยคณะรัฐประหาร 2549 ไปในตัว การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ซึ่งรัฐสภากำลังพยายามจะทำอยู่ ในขณะนี้แม้จะผ่านวาระที่ 3 ไปแล้วก็ตามก็ยังไม่แน่ว่าจะสามารถออกมาบังคับใช้ได้หรือไม่ ถ้าสามารถออกมาประกาศบังคับใช้ได้ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลเกิด ขึ้น ที่ว่าเช่นนั้นเพราะ องค์ประกอบของวุฒิสภาตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญปี 2550 จะเปลี่ยนเป็นสมาชิกที่มาจากประชาชนทั้งหมด แม้ จะมีการบัญญัติห้ามมิให้สมาชิกวุฒิสภาเป็นสมาชิกพรรคการเมือง บทบัญญัติเช่นว่าเป็นบทบัญญัติที่บังคับใช้ไม่ได้ในทางปฏิบัติ เพราะเป็นการฝืนธรรมชาติของการเมือง เหมือนกับบทบัญญัติที่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2517 บัญญัติว่า ห้ามมิให้มีการนิรโทษกรรมแก่ผู้ที่ทำการล้มล้างรัฐธรรมนูญ เป็นต้น เนื่องจากวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญปี 2550 เป็นสภาที่มีอำนาจในการแต่งตั้งศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครองและองค์กรอิสระต่างๆ การเปลี่ยนองค์ประกอบของวุฒิสภาในส่วนที่ไม่ได้มาจากประชาชน โดยยกเลิกเสีย ย่อมสอดคล้องกับหลักการการเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยมากขึ้น การคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ จึงเท่ากับการคัดค้านหลักการการเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน จึงไม่เข้าใจว่าพรรคประชาธิปัตย์คัดค้านได้อย่างไร เพราะเป็นพรรคการเมืองของประชาชน ส่วน 40 ส.ว.ที่คัดค้านนั้นเข้าใจได้ ในด้านหลักการต้องเป็นอย่างนั้น ในขั้นปฏิบัติค่อยมาว่ากันอีกที บท บัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 เป็นธรรมดาที่คณะรัฐประหารจะต้องสงวนอำนาจของตนเอาไว้ไม่ยอมคืนให้ปวงชนชาว ไทยให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ก็ควรแก้มาตราในหมวดว่าด้วยการลงประชามติเสียใหม่ เพราะผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้แอบสร้างเงื่อนไขไม่ให้ผลของประชามติมีผล ผูกพันในทางปฏิบัติได้เลย ด้วยเหตุนี้จึงยังไม่อาจกล่าวได้ว่า อำนาจอธิปไตยที่บัญญัติอย่างมีเงื่อนไขว่าเป็นของปวงชนนั้น มากหรือน้อยเพียงใด ตราบใดที่ประชาชนทั้งหมดยังไม่มีส่วนในการสถาปนารัฐธรรมนูญทั้งฉบับ แต่ก็คงต้องค่อยๆ แก้ไขเป็นรายมาตราไป จะทำอย่างไรได้ ขอบคุณ … http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1382062150&grpid=01&catid=&subcatid= ( มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 ต.ค.56 )

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...