ชำนาญ จันทร์เรือง: อำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญที่แท้จริง

แสดงความคิดเห็น

ประเด็นข้อถกเถียงที่เป็นปัญหาหลักปัญหาหนึ่งในสังคม ไทยยุคปัจจุบันก็คือ ประเด็นที่ว่าศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจหน้าที่ที่แท้จริงคืออะไร หากศาลรัฐธรรมนูญทำเกินกว่าที่กฎหมายบัญญัติจะมีผลบังคับใช้หรือไม่ ฯลฯ

ก่อนอื่นเราต้องมาเข้าใจกันเสียก่อนว่าศาลรัฐธรรมนูญนั้น เป็นศาลที่จัดตั้งขึ้นโดยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้ บัญญัติไว้ในหมวด ๑๐ ส่วนที่ ๒

ศาลรัฐธรรมนูญมีเพียงศาลเดียวไม่สามารถที่จะอุทธรณ์หรือ ฎีกาคำวินิจฉัยต่อไปอีกได้ ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญ ๑ คน และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอื่นอีก ๘ คน รวมเป็น ๙ คน (มาตรา ๒๐๔)

ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยปัญหาต่าง ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ดังนี้(ที่มา : โชต อัศวลาภสกุล )

๑.๑ พิจารณาวินิจฉัยว่า มติหรือข้อบังคับในเรื่องใดของพรรคการเมืองใด จะขัดต่อสถานะและการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ หรือขัดหรือแย้งกับหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือไม่ (มาตรา ๖๕ วรรคสาม)

๑.๒ วินิจฉัยสั่งการให้บุคคลหรือพรรคการเมืองเลิกการกระทำที่เป็นการใช้สิทธิและ เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตาม วิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ (มาตรา ๖๘ วรรคหนึ่งและวรรคสอง)

สั่งยุบพรรคการเมืองที่กระทำการดังกล่าว (มาตรา ๖๘ วรรคสาม) ซึ่งมีผลให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหาร ของพรรคการเมืองที่ถูกยุบในขณะที่กระทำการดังกล่าวเป็นระยะเวลา ๕ ปีนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมือง (มาตรา ๖๘ วรรคท้าย)

๑.๓ วินิจฉัยว่า สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาคนใดคนหนึ่งสิ้นสุดลงตาม มาตรา ๑๐๖ (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) (๑๐) หรือ (๑๑) หรือมาตรา ๑๑๙ (๓) (๔) (๕) (๗) หรือ (๘) แล้วแต่กรณี หรือไม่ (มาตรา ๙๑ วรรคหนึ่ง)

๑.๔ วินิจฉัยว่า มติของพรรคการเมืองที่ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้ใด พ้นจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้นเป็น สมาชิก ซึ่งมีผลให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้นสิ้นสุดลงนั้น มีลักษณะตามมาตรา ๖๕ วรรคสาม หรือไม่ (มาตรา ๑๐๖ (๗"

๑.๕ พิจารณาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (มาตรา ๑๔๑)

๑.๖ วินิจฉัยว่า ในระหว่างที่มีการยับยั้งร่างพระราชบัญญัติใดตามมาตรา ๑๔๗ คณะรัฐมนตรีหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสนอร่างพระราชบัญญัติที่มีหลักการ อย่างเดียวกันหรือคล้ายกันกับหลักการของร่างพระราชบัญญัติที่ต้องยับยั้งไว้ หรือไม่ (มาตรา ๑๔๙)

๑.๗ พิจารณาวินิจฉัยว่า ร่างพระราชบัญญัติมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่ (มาตรา ๑๕๔)

๑.๘ พิจารณาวินิจฉัยว่า ร่างข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ร่างข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา หรือร่างข้อบังคับการประชุมรัฐสภา มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่ (มาตรา ๑๕๕)

๑.๙ พิจารณาวินิจฉัยว่า ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม และร่างพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย ของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือของคณะกรรมาธิการ ได้มีการเสนอ การแปรญัตติ หรือการกระทำด้วยประการใด ๆ ที่มีผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือกรรมาธิการมีส่วนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในการใช้งบประมาณรายจ่าย หรือไม่ (มาตรา ๑๖๘ วรรคเจ็ด)

๑.๑๐ วินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งสิ้นสุดลงตามมาตรา ๑๘๒ (๒) (๓) (๔) หรือ (๖) หรือไม่ (มาตรา ๑๘๒ ประกอบมาตรา ๙๑ และมาตรา ๙๒)

๑.๑๑ วินิจฉัยว่า พระราชกำหนดใดตราให้ใช้บังคับเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของ ประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะหรือไม่ หรือได้ตราขึ้นเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบ ด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้หรือไม่ (มาตรา ๑๘๕)

๑.๑๒ วินิจฉัยชี้ขาดกรณีที่มีปัญหาว่า หนังสือสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึก และสัญญาอื่น กับนานาประเทศหรือกับองค์การระหว่างประเทศฉบับใด มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตาม หนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ หรือไม่ (มาตรา ๑๙๐)

๑.๑๓ พิจารณาวินิจฉัยว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ (มาตรา ๒๑๑)

๑.๑๔ วินิจฉัยคำร้องจากบุคคลซึ่งอ้างว่าถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญ รับรองไว้ว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ (มาตรา ๒๑๒)

๑.๑๕ พิจารณาวินิจฉัยกรณีที่มีความขัดแย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างรัฐสภา คณะรัฐมนตรี หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่มิใช่ศาลตั้งแต่สององค์กรขึ้นไป (มาตรา ๒๑๔)

๑.๑๖ วินิจฉัยว่า กรรมการการเลือกตั้งคนใดคนหนึ่งขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม หรือกระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา ๒๓๐ หรือไม่ (มาตรา ๒๓๓)

๑.๑๗ พิจารณาวินิจฉัยเรื่องที่ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอพร้อมด้วยความเห็นว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ (มาตรา ๒๔๕ (๑"

๑.๑๘ พิจารณาวินิจฉัยเรื่องที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเสนอพร้อมด้วยความ เห็น ในกรณีที่เห็นชอบตามที่มีผู้ร้องเรียนว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดกระทบต่อสิทธิมนุษยชนและมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วย รัฐธรรมนูญ (มาตรา ๒๕๗ (๒"

จะเห็นได้ว่าอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญนั้นมีจำกัดมาก ไม่ได้มีอำนาจล้นฟ้าที่จะสามารถไปบัญญัติหรือตีความนอกเหนือจากที่รัฐ ธรรมนูญบัญญัติไว้ได้ เพราะแม้แต่กฎหมายที่ที่เกี่ยวกับการวินิจฉัยชี้ขากอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ยังไม่รวมศาลรัฐธรรมนูญเข้าไปด้วย เพราะถือว่ารัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ชัดเจนแล้ว

กอปรกับตามหลักนิติรัฐองค์กรผู้ใช้อำนาจมหาชนทั้งหลายจะใช้ อำนาจได้ก็ต่อเมื่อมีกฎหมายกำหนด หรือที่เรียกว่า “ไม่มีกฎหมาย ไม่มีอำนาจ” และ “เมื่อใช้อำนาจก็ต้องใช้โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย”

ฉะนั้น เมื่อใดก็ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญได้กระทำการโดยไม่มีอำนาจหรือกระทำการนอกเหนือ อำนาจหน้าที่ คำวินิจฉัยนั้นจึงไม่มีผลผูกพันให้คู่กรณีต้องปฏิบัติตามแต่อย่างใด แม้ว่ารัฐธรรมนูญฯมาตรา ๒๑๖ วรรคห้า จะบัญญัติไว้ว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญถือเป็นเด็ดขาดก็ตาม แต่ก็ต้องเป็นคำวินิจฉัยที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งกฎหมายในที่นี้ก็คือรัฐธรรมนูญอันเป็นฐานแห่งอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐ ธรรมนูญนั่นเอง

-------------

หมายเหตุ เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๖

ขอบคุณ... http://prachatai.com/journal/2013/10/49298 (ขนาดไฟล์: 167)

ประชาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 ต.ค.56

ที่มา: ประชาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 ต.ค.56
วันที่โพสต์: 18/10/2556 เวลา 04:49:48

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ประเด็นข้อถกเถียงที่เป็นปัญหาหลักปัญหาหนึ่งในสังคม ไทยยุคปัจจุบันก็คือ ประเด็นที่ว่าศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจหน้าที่ที่แท้จริงคืออะไร หากศาลรัฐธรรมนูญทำเกินกว่าที่กฎหมายบัญญัติจะมีผลบังคับใช้หรือไม่ ฯลฯ ก่อนอื่นเราต้องมาเข้าใจกันเสียก่อนว่าศาลรัฐธรรมนูญนั้น เป็นศาลที่จัดตั้งขึ้นโดยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้ บัญญัติไว้ในหมวด ๑๐ ส่วนที่ ๒ ศาลรัฐธรรมนูญมีเพียงศาลเดียวไม่สามารถที่จะอุทธรณ์หรือ ฎีกาคำวินิจฉัยต่อไปอีกได้ ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญ ๑ คน และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอื่นอีก ๘ คน รวมเป็น ๙ คน (มาตรา ๒๐๔) ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยปัญหาต่าง ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ดังนี้(ที่มา : โชต อัศวลาภสกุล ) ๑.๑ พิจารณาวินิจฉัยว่า มติหรือข้อบังคับในเรื่องใดของพรรคการเมืองใด จะขัดต่อสถานะและการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ หรือขัดหรือแย้งกับหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือไม่ (มาตรา ๖๕ วรรคสาม) ๑.๒ วินิจฉัยสั่งการให้บุคคลหรือพรรคการเมืองเลิกการกระทำที่เป็นการใช้สิทธิและ เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตาม วิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ (มาตรา ๖๘ วรรคหนึ่งและวรรคสอง) สั่งยุบพรรคการเมืองที่กระทำการดังกล่าว (มาตรา ๖๘ วรรคสาม) ซึ่งมีผลให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหาร ของพรรคการเมืองที่ถูกยุบในขณะที่กระทำการดังกล่าวเป็นระยะเวลา ๕ ปีนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมือง (มาตรา ๖๘ วรรคท้าย) ๑.๓ วินิจฉัยว่า สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาคนใดคนหนึ่งสิ้นสุดลงตาม มาตรา ๑๐๖ (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) (๑๐) หรือ (๑๑) หรือมาตรา ๑๑๙ (๓) (๔) (๕) (๗) หรือ (๘) แล้วแต่กรณี หรือไม่ (มาตรา ๙๑ วรรคหนึ่ง) ๑.๔ วินิจฉัยว่า มติของพรรคการเมืองที่ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้ใด พ้นจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้นเป็น สมาชิก ซึ่งมีผลให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้นสิ้นสุดลงนั้น มีลักษณะตามมาตรา ๖๕ วรรคสาม หรือไม่ (มาตรา ๑๐๖ (๗)) ๑.๕ พิจารณาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (มาตรา ๑๔๑) ๑.๖ วินิจฉัยว่า ในระหว่างที่มีการยับยั้งร่างพระราชบัญญัติใดตามมาตรา ๑๔๗ คณะรัฐมนตรีหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสนอร่างพระราชบัญญัติที่มีหลักการ อย่างเดียวกันหรือคล้ายกันกับหลักการของร่างพระราชบัญญัติที่ต้องยับยั้งไว้ หรือไม่ (มาตรา ๑๔๙) ๑.๗ พิจารณาวินิจฉัยว่า ร่างพระราชบัญญัติมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่ (มาตรา ๑๕๔) ๑.๘ พิจารณาวินิจฉัยว่า ร่างข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ร่างข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา หรือร่างข้อบังคับการประชุมรัฐสภา มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่ (มาตรา ๑๕๕) ๑.๙ พิจารณาวินิจฉัยว่า ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม และร่างพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย ของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือของคณะกรรมาธิการ ได้มีการเสนอ การแปรญัตติ หรือการกระทำด้วยประการใด ๆ ที่มีผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือกรรมาธิการมีส่วนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในการใช้งบประมาณรายจ่าย หรือไม่ (มาตรา ๑๖๘ วรรคเจ็ด) ๑.๑๐ วินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งสิ้นสุดลงตามมาตรา ๑๘๒ (๒) (๓) (๔) หรือ (๖) หรือไม่ (มาตรา ๑๘๒ ประกอบมาตรา ๙๑ และมาตรา ๙๒) ๑.๑๑ วินิจฉัยว่า พระราชกำหนดใดตราให้ใช้บังคับเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของ ประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะหรือไม่ หรือได้ตราขึ้นเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบ ด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้หรือไม่ (มาตรา ๑๘๕) ๑.๑๒ วินิจฉัยชี้ขาดกรณีที่มีปัญหาว่า หนังสือสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึก และสัญญาอื่น กับนานาประเทศหรือกับองค์การระหว่างประเทศฉบับใด มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตาม หนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ หรือไม่ (มาตรา ๑๙๐) ๑.๑๓ พิจารณาวินิจฉัยว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ (มาตรา ๒๑๑) ๑.๑๔ วินิจฉัยคำร้องจากบุคคลซึ่งอ้างว่าถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญ รับรองไว้ว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ (มาตรา ๒๑๒) ๑.๑๕ พิจารณาวินิจฉัยกรณีที่มีความขัดแย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างรัฐสภา คณะรัฐมนตรี หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่มิใช่ศาลตั้งแต่สององค์กรขึ้นไป (มาตรา ๒๑๔) ๑.๑๖ วินิจฉัยว่า กรรมการการเลือกตั้งคนใดคนหนึ่งขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม หรือกระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา ๒๓๐ หรือไม่ (มาตรา ๒๓๓) ๑.๑๗ พิจารณาวินิจฉัยเรื่องที่ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอพร้อมด้วยความเห็นว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ (มาตรา ๒๔๕ (๑)) ๑.๑๘ พิจารณาวินิจฉัยเรื่องที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเสนอพร้อมด้วยความ เห็น ในกรณีที่เห็นชอบตามที่มีผู้ร้องเรียนว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดกระทบต่อสิทธิมนุษยชนและมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วย รัฐธรรมนูญ (มาตรา ๒๕๗ (๒)) จะเห็นได้ว่าอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญนั้นมีจำกัดมาก ไม่ได้มีอำนาจล้นฟ้าที่จะสามารถไปบัญญัติหรือตีความนอกเหนือจากที่รัฐ ธรรมนูญบัญญัติไว้ได้ เพราะแม้แต่กฎหมายที่ที่เกี่ยวกับการวินิจฉัยชี้ขากอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ยังไม่รวมศาลรัฐธรรมนูญเข้าไปด้วย เพราะถือว่ารัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ชัดเจนแล้ว กอปรกับตามหลักนิติรัฐองค์กรผู้ใช้อำนาจมหาชนทั้งหลายจะใช้ อำนาจได้ก็ต่อเมื่อมีกฎหมายกำหนด หรือที่เรียกว่า “ไม่มีกฎหมาย ไม่มีอำนาจ” และ “เมื่อใช้อำนาจก็ต้องใช้โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย” ฉะนั้น เมื่อใดก็ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญได้กระทำการโดยไม่มีอำนาจหรือกระทำการนอกเหนือ อำนาจหน้าที่ คำวินิจฉัยนั้นจึงไม่มีผลผูกพันให้คู่กรณีต้องปฏิบัติตามแต่อย่างใด แม้ว่ารัฐธรรมนูญฯมาตรา ๒๑๖ วรรคห้า จะบัญญัติไว้ว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญถือเป็นเด็ดขาดก็ตาม แต่ก็ต้องเป็นคำวินิจฉัยที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งกฎหมายในที่นี้ก็คือรัฐธรรมนูญอันเป็นฐานแห่งอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐ ธรรมนูญนั่นเอง ------------- หมายเหตุ เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๖ ขอบคุณ... http://prachatai.com/journal/2013/10/49298 ประชาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 ต.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...