รัฐธรรมนูญคือยาวิเศษ?

แสดงความคิดเห็น

ในงาน “40 ปี 14 ตุลา จงพิทักษ์ เจตนารมณ์ประชาธิปไตยสมบูรณ์” ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายเสกสรรค์ ประเสริฐกุล อดีตผู้นำนักศึกษาผู้มีบทบาทสูง ได้แสดงปาฐกถาชี้ถึงอุปสรรคใหญ่ของประชาธิปไตย 3 ประการ ได้แก่ อิทธิพลของชนชั้นนำที่เคยผูกขาดอำนาจปกครองมานาน การครอบงำของวัฒนธรรมอำนาจ เจริญ และพลังฝ่ายประชาธิปไตยไม่คงเส้นคงวา

อดีตผู้นำนักศึกษาคน สำคัญซึ่งเคยดำรงตำแหน่งคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มธ.คงจะมองด้วยสายตาของนักรัฐศาสตร์ สอดคล้องกับความเป็นจริงทางการเมืองไทยทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นอิทธิพลของชนชั้นนำ ที่เคยผูกขาดอำนาจปกครองมานาน และอุดมการณ์อำนาจนิยมที่ครอบงำสังคมไทยมายาวนาน ตั้งแต่ยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จนถึงยุคประชาธิปไตยในปัจจุบัน

วัฒนธรรม อำนาจนิยมเป็น อุปสรรคสำคัญ ในการพัฒนาประชาธิปไตย แม้แต่ในปัจจุบันผู้นำทางการเมืองบางคน ที่มีอำนาจและบทบาทสูงอย่างยิ่ง ก็เคยยอมรับว่า “ประชาธิปไตย” ไม่ใช่เป้าหมายของเขา ประชาธิปไตยเป็นเพียง “เครื่องมือ” เข้าสู่อำนาจ เพื่อใช้อำนาจช่วยเหลือประชาชนให้มีชีวิตที่ดีขึ้น และทำให้ประเทศชาติก้าวหน้า ความคิดลักษณะนี้คือ “อำนาจนิยม”

นักการ เมืองที่มีแนวความคิด อำนาจนิยม อาจแปรเปลี่ยน “ประชาธิปไตย” ให้เป็นเผด็จการได้โดยง่าย เพราะถือว่าประชาธิปไตยเป็นแค่ “การเลือกตั้ง” เป็นเครื่อง มือเข้าสู่อำนาจ ผู้ชนะเลือกตั้งมีอำนาจสิทธิ์ ขาดที่จะทำอะไรก็ได้ ที่เชื่อว่าจะทำให้ประเทศ ก้าวหน้า และจะต้องไม่ถูกขัดขวางโดยอำนาจอื่นๆ ไม่ต้องถูกตรวจสอบใดๆนอกจากเลือกตั้ง

ส่วน ความไม่คงเส้นคงวาของฝ่ายประชาธิปไตย ที่เป็นอุปสรรคสำคัญอีกอย่างหนึ่งอาจมองได้หลายแง่ การที่นักศึกษาประชาชนบางส่วนหนีเข้าป่า หลังจากที่ถูกล้อม ปราบ และเข้าร่วมต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์ ก็อาจเป็นตัวอย่างหนึ่ง แต่ขณะนี้ มีอดีตนักศึกษา ออกจากป่า มาเป็นท่าน ส.ส.หรือ ฯพณฯ รัฐมนตรีหลายคนและร่วมต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย แต่เถียงกันว่าประชาธิปไตยคืออะไร?

อดีตผู้นำนักศึกษาอีกคนหนึ่ง ซึ่งแสดงปาฐกถาในงานเดียวกัน คือนายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า อนาคตของประเทศไทย ผูกอยู่กับรัฐธรรมนูญ ต้องแก้ไขทั้งฉบับให้เป็นประชาธิปไตย ต่างจากผลการสำรวจความเห็นโดยเอแบคโพล กลุ่มตัวอย่าง 84.7% เห็นว่าควรปฏิรูปพฤติกรรมและจิต สำนึกนักการเมืองก่อน

สะท้อนให้เห็น ว่าแม้แต่ในกลุ่มคนเดือนตุลา ที่เคยร่วมต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยด้วยกันมา ก็มีความเห็นต่างแม้แต่นิยามของ “ประชาธิปไตย” บางคนเชื่อว่าจะต้องแก้ไขหรือปลูกฝังวัฒนธรรมประชาธิปไตยด้วย แต่บางคนเชื่อว่าแก้ไขรัฐธรรมนูญก็พอ ถ้ารัฐธรรมนูญใหม่จะทำให้พฤติกรรมและจิตสำนึกของนักการเมืองดีขึ้น ก็ควรอย่างยิ่งที่จะรีบยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ในทันที.

โดย: ไทยรัฐฉบับพิมพ์

ขอบคุณ... http://m.thairath.co.th/content/pol/376351

ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 ต.ค.56

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 ต.ค.56
วันที่โพสต์: 16/10/2556 เวลา 04:11:46

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ในงาน “40 ปี 14 ตุลา จงพิทักษ์ เจตนารมณ์ประชาธิปไตยสมบูรณ์” ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายเสกสรรค์ ประเสริฐกุล อดีตผู้นำนักศึกษาผู้มีบทบาทสูง ได้แสดงปาฐกถาชี้ถึงอุปสรรคใหญ่ของประชาธิปไตย 3 ประการ ได้แก่ อิทธิพลของชนชั้นนำที่เคยผูกขาดอำนาจปกครองมานาน การครอบงำของวัฒนธรรมอำนาจ เจริญ และพลังฝ่ายประชาธิปไตยไม่คงเส้นคงวา อดีตผู้นำนักศึกษาคน สำคัญซึ่งเคยดำรงตำแหน่งคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มธ.คงจะมองด้วยสายตาของนักรัฐศาสตร์ สอดคล้องกับความเป็นจริงทางการเมืองไทยทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นอิทธิพลของชนชั้นนำ ที่เคยผูกขาดอำนาจปกครองมานาน และอุดมการณ์อำนาจนิยมที่ครอบงำสังคมไทยมายาวนาน ตั้งแต่ยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จนถึงยุคประชาธิปไตยในปัจจุบัน วัฒนธรรม อำนาจนิยมเป็น อุปสรรคสำคัญ ในการพัฒนาประชาธิปไตย แม้แต่ในปัจจุบันผู้นำทางการเมืองบางคน ที่มีอำนาจและบทบาทสูงอย่างยิ่ง ก็เคยยอมรับว่า “ประชาธิปไตย” ไม่ใช่เป้าหมายของเขา ประชาธิปไตยเป็นเพียง “เครื่องมือ” เข้าสู่อำนาจ เพื่อใช้อำนาจช่วยเหลือประชาชนให้มีชีวิตที่ดีขึ้น และทำให้ประเทศชาติก้าวหน้า ความคิดลักษณะนี้คือ “อำนาจนิยม” นักการ เมืองที่มีแนวความคิด อำนาจนิยม อาจแปรเปลี่ยน “ประชาธิปไตย” ให้เป็นเผด็จการได้โดยง่าย เพราะถือว่าประชาธิปไตยเป็นแค่ “การเลือกตั้ง” เป็นเครื่อง มือเข้าสู่อำนาจ ผู้ชนะเลือกตั้งมีอำนาจสิทธิ์ ขาดที่จะทำอะไรก็ได้ ที่เชื่อว่าจะทำให้ประเทศ ก้าวหน้า และจะต้องไม่ถูกขัดขวางโดยอำนาจอื่นๆ ไม่ต้องถูกตรวจสอบใดๆนอกจากเลือกตั้ง ส่วน ความไม่คงเส้นคงวาของฝ่ายประชาธิปไตย ที่เป็นอุปสรรคสำคัญอีกอย่างหนึ่งอาจมองได้หลายแง่ การที่นักศึกษาประชาชนบางส่วนหนีเข้าป่า หลังจากที่ถูกล้อม ปราบ และเข้าร่วมต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์ ก็อาจเป็นตัวอย่างหนึ่ง แต่ขณะนี้ มีอดีตนักศึกษา ออกจากป่า มาเป็นท่าน ส.ส.หรือ ฯพณฯ รัฐมนตรีหลายคนและร่วมต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย แต่เถียงกันว่าประชาธิปไตยคืออะไร? อดีตผู้นำนักศึกษาอีกคนหนึ่ง ซึ่งแสดงปาฐกถาในงานเดียวกัน คือนายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า อนาคตของประเทศไทย ผูกอยู่กับรัฐธรรมนูญ ต้องแก้ไขทั้งฉบับให้เป็นประชาธิปไตย ต่างจากผลการสำรวจความเห็นโดยเอแบคโพล กลุ่มตัวอย่าง 84.7% เห็นว่าควรปฏิรูปพฤติกรรมและจิต สำนึกนักการเมืองก่อน สะท้อนให้เห็น ว่าแม้แต่ในกลุ่มคนเดือนตุลา ที่เคยร่วมต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยด้วยกันมา ก็มีความเห็นต่างแม้แต่นิยามของ “ประชาธิปไตย” บางคนเชื่อว่าจะต้องแก้ไขหรือปลูกฝังวัฒนธรรมประชาธิปไตยด้วย แต่บางคนเชื่อว่าแก้ไขรัฐธรรมนูญก็พอ ถ้ารัฐธรรมนูญใหม่จะทำให้พฤติกรรมและจิตสำนึกของนักการเมืองดีขึ้น ก็ควรอย่างยิ่งที่จะรีบยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ในทันที. โดย: ไทยรัฐฉบับพิมพ์ ขอบคุณ... http://m.thairath.co.th/content/pol/376351 ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 ต.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...