สร้างวินัย-ใช้กฎหมายเข้มกู้วิกฤตจราจร

แสดงความคิดเห็น

การจราจรติดขัดบนท้องถนน แค่โยนก้อนหินถามทางเสนอแนวคิดห้ามรถยนต์อายุใช้งานเกิน 7-10 ปี เข้าพื้นที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) ก็โดนรุมคัดค้านหนัก ทำให้ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ต้องออกโรงชี้แจงว่าเป็นเพียงนำเสนอทางเลือกแก้ไขปัญหาการจราจรที่กำลัง วิกฤต แต่ที่จะนำร่องปฏิบัติ คือ การจับ ปรับ ข้อหาจอดรถในพื้นที่ห้ามจอดบางจุดในถนนสายหลัก 10 สาย ประกอบด้วย ถนนลาดพร้าว พระราม 4 รัชดาภิเษก พหลโยธิน วิภาวดีรังสิต สาทรเหนือ เพชรบุรี และรามคำแหง เริ่มตั้งแต่ 21 ตุลาคมนี้ ซึ่งกระแสการตอบรับของสาธารณชนมีมากกว่า

ที่ผ่านมามีความพยายามหลายต่อหลายครั้ง จะแก้วิกฤตจราจรย่านใจกลางเมือง ด้วยการจำกัดปริมาณรถ แต่ไม่อาจต้านเสียงวิพากษ์วิจารณ์ที่มีตามมา เลยมักจบลงคล้าย ๆ กัน คือ เงียบหายไปกับสายลม เช่น จะให้รถทะเบียนเลขคู่กับเลขคี่สลับวิ่ง ซึ่งถูกจุดประกายนับครั้งไม่ถ้วน สุดท้ายก็ไม่สามารถผลักดันไปสู่การปฏิบัติได้ ไม่ต่างไปจากครั้งนี้ที่ไม่ทันนับหนึ่งก็ต้องถอยตั้งหลัก

แม้ทุก ฝ่ายเห็นสอดคล้องตรงกันปัญหาการจราจรใน กทม.ขณะนี้หนักเลยจุดวิกฤตไปแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังปริมาณรถเพิ่มขึ้นก้าวกระโดดช่วงหลายปีที่ผ่านมา

ข้อมูล จากกรมการขนส่งทางบกระบุว่า สาเหตุที่การจราจรใน กทม.ติดขัดหนักขึ้นส่วนหนึ่งมาจากโครงการรถยนต์คันแรกที่ออกสู่ถนนมากขึ้น โดยสถิติจำนวนรถยนต์จดทะเบียนปี 2555 มีรถยนต์ภายใต้โครงการรถยนต์คันแรกใน กทม.มากถึง 244,172 คัน ขณะเดียวกันจำนวนรถยนต์ใน กทม.เพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยสิ้นปี 2555 มีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลรวม 2,975,548 คัน รถจักรยานยนต์ 2,845,973 คัน และรถอื่น ๆ รวม 7,381,714 คัน ส่งผลให้ถนน

ทั้งสาย หลักสายรองซึ่งแม้จะมีความยาวรวม 5,400 กิโลเมตรไม่พอรองรับ ประกอบหลายสายถูกปิดกั้นช่องทางจราจรก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า ทำให้ปัญหารถติดที่หนักหนาสาหัสอยู่แล้ววิกฤตหนักยิ่งขึ้น

ถือเป็น เรื่องดีที่ ผบ.ตร.ในฐานะผู้รักษากฎหมายพยายามหาทางแก้ โดยนำระเบียบข้อกฎหมายมาบังคับใช้อย่างเข้มงวด เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้การจราจรใน กทม.ติดขัดหนักมาจากผู้ใช้รถใช้ถนนไม่เคารพกฎหมาย ขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร กทม. เจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบก ฯลฯ ก็ปฏิบัติหน้าที่หย่อนยานไม่เข้มงวด กลายเป็นต้นเหตุทำให้เกิดอุบัติเหตุ และปัญหาการจราจร

ดังนั้น หากปรับรื้อใหญ่คุมเข้มการใช้รถใช้ถนน โดยบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังกับผู้ที่ละเมิดฝ่าฝืน ควบคู่กับการรณรงค์ให้คนทุกเพศทุกวัยมีวินัยการจราจร น่าจะช่วยแก้การจราจรที่วิกฤตให้บรรเทาลงได้บ้าง

ขณะเดียวกัน อาจต้องยกเครื่องการบริหารจัดการโครงข่ายเส้นทางคมนาคมทั้งระบบ โดยนำสถิติข้อมูล ตลอดจนเทคนิคทางด้านวิศวกรรมการจราจรมาปรับใช้ พร้อมเร่งปรับปรุงพัฒนาระบบขนส่งมวลชนรองรับการเดินทางของประชาชน เพื่อลดปริมาณการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ซึ่งจะเกิดผลดีทั้งทางตรงและทางอ้อม ช่วยแก้รถติด ลดการเกิดอุบัติเหตุ ลดมลพิษ รวมทั้งประหยัดการนำเข้าพลังงาน ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้ยากจะเกิดผลในทางปฏิบัติได้ ถ้าหากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่มีนโยบายที่ชัดเจน และลงมือปฏิบัติตั้งแต่วันนี้

ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1381725994 (ขนาดไฟล์: 143)

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 ต.ค.56

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 ต.ค.56
วันที่โพสต์: 15/10/2556 เวลา 02:37:58 ดูภาพสไลด์โชว์ สร้างวินัย-ใช้กฎหมายเข้มกู้วิกฤตจราจร

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

การจราจรติดขัดบนท้องถนนแค่โยนก้อนหินถามทางเสนอแนวคิดห้ามรถยนต์อายุใช้งานเกิน 7-10 ปี เข้าพื้นที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) ก็โดนรุมคัดค้านหนัก ทำให้ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ต้องออกโรงชี้แจงว่าเป็นเพียงนำเสนอทางเลือกแก้ไขปัญหาการจราจรที่กำลัง วิกฤต แต่ที่จะนำร่องปฏิบัติ คือ การจับ ปรับ ข้อหาจอดรถในพื้นที่ห้ามจอดบางจุดในถนนสายหลัก 10 สาย ประกอบด้วย ถนนลาดพร้าว พระราม 4 รัชดาภิเษก พหลโยธิน วิภาวดีรังสิต สาทรเหนือ เพชรบุรี และรามคำแหง เริ่มตั้งแต่ 21 ตุลาคมนี้ ซึ่งกระแสการตอบรับของสาธารณชนมีมากกว่า ที่ผ่านมามีความพยายามหลายต่อหลายครั้ง จะแก้วิกฤตจราจรย่านใจกลางเมือง ด้วยการจำกัดปริมาณรถ แต่ไม่อาจต้านเสียงวิพากษ์วิจารณ์ที่มีตามมา เลยมักจบลงคล้าย ๆ กัน คือ เงียบหายไปกับสายลม เช่น จะให้รถทะเบียนเลขคู่กับเลขคี่สลับวิ่ง ซึ่งถูกจุดประกายนับครั้งไม่ถ้วน สุดท้ายก็ไม่สามารถผลักดันไปสู่การปฏิบัติได้ ไม่ต่างไปจากครั้งนี้ที่ไม่ทันนับหนึ่งก็ต้องถอยตั้งหลัก แม้ทุก ฝ่ายเห็นสอดคล้องตรงกันปัญหาการจราจรใน กทม.ขณะนี้หนักเลยจุดวิกฤตไปแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังปริมาณรถเพิ่มขึ้นก้าวกระโดดช่วงหลายปีที่ผ่านมา ข้อมูล จากกรมการขนส่งทางบกระบุว่า สาเหตุที่การจราจรใน กทม.ติดขัดหนักขึ้นส่วนหนึ่งมาจากโครงการรถยนต์คันแรกที่ออกสู่ถนนมากขึ้น โดยสถิติจำนวนรถยนต์จดทะเบียนปี 2555 มีรถยนต์ภายใต้โครงการรถยนต์คันแรกใน กทม.มากถึง 244,172 คัน ขณะเดียวกันจำนวนรถยนต์ใน กทม.เพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยสิ้นปี 2555 มีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลรวม 2,975,548 คัน รถจักรยานยนต์ 2,845,973 คัน และรถอื่น ๆ รวม 7,381,714 คัน ส่งผลให้ถนน ทั้งสาย หลักสายรองซึ่งแม้จะมีความยาวรวม 5,400 กิโลเมตรไม่พอรองรับ ประกอบหลายสายถูกปิดกั้นช่องทางจราจรก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า ทำให้ปัญหารถติดที่หนักหนาสาหัสอยู่แล้ววิกฤตหนักยิ่งขึ้น ถือเป็น เรื่องดีที่ ผบ.ตร.ในฐานะผู้รักษากฎหมายพยายามหาทางแก้ โดยนำระเบียบข้อกฎหมายมาบังคับใช้อย่างเข้มงวด เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้การจราจรใน กทม.ติดขัดหนักมาจากผู้ใช้รถใช้ถนนไม่เคารพกฎหมาย ขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร กทม. เจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบก ฯลฯ ก็ปฏิบัติหน้าที่หย่อนยานไม่เข้มงวด กลายเป็นต้นเหตุทำให้เกิดอุบัติเหตุ และปัญหาการจราจร ดังนั้น หากปรับรื้อใหญ่คุมเข้มการใช้รถใช้ถนน โดยบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังกับผู้ที่ละเมิดฝ่าฝืน ควบคู่กับการรณรงค์ให้คนทุกเพศทุกวัยมีวินัยการจราจร น่าจะช่วยแก้การจราจรที่วิกฤตให้บรรเทาลงได้บ้าง ขณะเดียวกัน อาจต้องยกเครื่องการบริหารจัดการโครงข่ายเส้นทางคมนาคมทั้งระบบ โดยนำสถิติข้อมูล ตลอดจนเทคนิคทางด้านวิศวกรรมการจราจรมาปรับใช้ พร้อมเร่งปรับปรุงพัฒนาระบบขนส่งมวลชนรองรับการเดินทางของประชาชน เพื่อลดปริมาณการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ซึ่งจะเกิดผลดีทั้งทางตรงและทางอ้อม ช่วยแก้รถติด ลดการเกิดอุบัติเหตุ ลดมลพิษ รวมทั้งประหยัดการนำเข้าพลังงาน ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้ยากจะเกิดผลในทางปฏิบัติได้ ถ้าหากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่มีนโยบายที่ชัดเจน และลงมือปฏิบัติตั้งแต่วันนี้ ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1381725994 ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 ต.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...