เสกสรรค์ ประเสริฐกุล: การประกาศจุดยืน-ข้อเสนอแนะต่อขบวนประชาธิปไตย

แสดงความคิดเห็น

เสกสรรค์  ประเสริฐกุล อดีตผู้นำนักศึกษาในเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ และนักคิดนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์

13 ต.ค.56 ที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ในงานรำลึก 40 ปี 14 ตุลาฯ องค์ปาฐกคนสำคัญอีกคนหนึ่งคือ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล อดีตผู้นำนักศึกษาในเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ และนักคิดนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ เขากล่าวปาฐกถาเกี่ยวกับความหมายทางการเมืองและเจตนารมณ์ของเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ พร้อมวิเคราะห์สาเหตุที่ประชาธิปไตยยังไม่สามารถปักหลักมั่นคงได้ในสังคม โดยแบ่งเป็น 3 ปัจจัย ได้แก่ อิทธิพลของชนชั้นนำภาครัฐที่เคยผูกขาดอำนาจการปกครองมาก่อน, ฐานะครอบงำของวัฒนธรรมอำนาจนิยมซึ่งไม่สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย และสภาพกำลังของฝ่ายประชาธิปไตยยังไม่มีลักษณะคงเส้นคงวา

นอกจากนี้เขายังกล่าวถึงพลังการเคลื่อนไหวในปัจจุบันว่าเป็นการสืบต่อ เจตนารมณ์ของ 14 ตุลาฯ ในการแสวงหาเสรีภาพ ความเสมอภาคและความเป็นธรรม โดยระบบทุนนิยมโลกาภิวัตน์ได้ทำให้เกิด “กลุ่มชนชั้นกลางใหม่” คือคนในชนบทและคนชั้นกลางหัวเมืองซึ่งกลายมาเป็นผู้มีบทบาทหลักในการผลักดัน ประชาธิปไตย แสวงหาพื้นที่ทางการเมือง ประกอบกับการเกิดขึ้นของทุนใหม่โลกาภิวัตน์ที่ต้องการมาแทนที่อำนาจเก่าด้วย การสร้างนโยบายที่ตอบสนองต่อประชาชนกว้างขวางอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เป็นการชุบชีวิตระบบรัฐสภา และเป็น “หุ้นส่วนที่เหลือเชื่อ” ในทางการเมือง

“พลังใหม่นี้จะนำพาสังคมไทยไปได้ไกลแค่ไหน หรือจะต้านทานพลังปฏิปักษ์ประชาธิปไตยได้เพียงใดและอย่างไร ที่สำคัญกว่านั้นอีกคือ สังคมไทยจะสามารถปรับความสันพันธ์ทางอำนาจระลอกนี้ได้ลงตัวหรือไม่ โดยไม่ต้องจ่ายราคาแพงเท่าในอดีต” เสกสรรค์กล่าว

เขายังนำเสนอข้อเสนอแนะต่อขบวนเคลื่อนไหวหรือพลังประชาธิปไตยใน 3 เรื่องด้วยกัน ได้แก่ 1.พลังประชาธิปไตยต้องรักษากลไกของระบอบอื่นๆ นอกเหนือจากรัฐบาลให้ทำงานได้อย่างเต็มรูปแบบด้วย ไม่ใช่มุ่งปกป้องแต่พรรคใดหรือรัฐบาลใด 2. เพื่อเสถียรภาพของระบอบ จำเป็นต้องขยายแนวร่วมไปยังชนชั้นหรือบุคคลกลุ่มต่างๆ ให้มากที่สุด เพราะในยุคโลกภิวัตน์ประชาชนมิได้เป็นก้อนเดียว พร้อมทั้งต้องยึดถือหลัก “เสรีนิยมทางการเมือง” ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องมีคู่ประชาธิปไตย ทั้งนี้ การเมืองภาคประชาชนแบบดั้งเดิมก็เป็นพลังประชาธิปไตยแบบหนึ่งที่จำเป็นต้อง ให้พื้นที่ในการเรียกร้อง วิจารณ์รัฐบาล สิ่งนี้เป็นกลไกทำให้ระบบดีขึ้น ไม่ได้ขัดแย้งกับพลังมวลชนที่ชื่นชอบพรรค 3. ขบวนประชาธิปไตยควรเรียนรู้การใช้อำนาจอ่อนในการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมที่ซึม ลึกในสังคมไทย นำเสนอสิ่งที่ดีกว่าเพื่อให้สังคมเห็นว่าระบอบประชาธิปไตยที่ผู้คนเท่าเทียม กันนั้นเป็นสิ่งน่าหวงแหน โดยมีจังหวะก้าวที่ระมัดรวังไม่ทำให้ผู้คนจำนวนมากในสังคมรู้สึกสูญเสียที่ ยืนในความคิดความเชื่อ เพราะความขัดแย้งประเด็นทางวัฒนธรรมบางอย่างละเอียดอ่อนและมีแนวโน้มนำสู่ ความรุนแรงได้ง่าย

ขอบคุณ... http://prachatai.com/journal/2013/10/49233 (ขนาดไฟล์: 167)

ประชาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 ต.ค.56

ที่มา: ประชาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 ต.ค.56
วันที่โพสต์: 14/10/2556 เวลา 04:06:29 ดูภาพสไลด์โชว์ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล: การประกาศจุดยืน-ข้อเสนอแนะต่อขบวนประชาธิปไตย

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เสกสรรค์ ประเสริฐกุล อดีตผู้นำนักศึกษาในเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ และนักคิดนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ 13 ต.ค.56 ที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ในงานรำลึก 40 ปี 14 ตุลาฯ องค์ปาฐกคนสำคัญอีกคนหนึ่งคือ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล อดีตผู้นำนักศึกษาในเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ และนักคิดนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ เขากล่าวปาฐกถาเกี่ยวกับความหมายทางการเมืองและเจตนารมณ์ของเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ พร้อมวิเคราะห์สาเหตุที่ประชาธิปไตยยังไม่สามารถปักหลักมั่นคงได้ในสังคม โดยแบ่งเป็น 3 ปัจจัย ได้แก่ อิทธิพลของชนชั้นนำภาครัฐที่เคยผูกขาดอำนาจการปกครองมาก่อน, ฐานะครอบงำของวัฒนธรรมอำนาจนิยมซึ่งไม่สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย และสภาพกำลังของฝ่ายประชาธิปไตยยังไม่มีลักษณะคงเส้นคงวา นอกจากนี้เขายังกล่าวถึงพลังการเคลื่อนไหวในปัจจุบันว่าเป็นการสืบต่อ เจตนารมณ์ของ 14 ตุลาฯ ในการแสวงหาเสรีภาพ ความเสมอภาคและความเป็นธรรม โดยระบบทุนนิยมโลกาภิวัตน์ได้ทำให้เกิด “กลุ่มชนชั้นกลางใหม่” คือคนในชนบทและคนชั้นกลางหัวเมืองซึ่งกลายมาเป็นผู้มีบทบาทหลักในการผลักดัน ประชาธิปไตย แสวงหาพื้นที่ทางการเมือง ประกอบกับการเกิดขึ้นของทุนใหม่โลกาภิวัตน์ที่ต้องการมาแทนที่อำนาจเก่าด้วย การสร้างนโยบายที่ตอบสนองต่อประชาชนกว้างขวางอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เป็นการชุบชีวิตระบบรัฐสภา และเป็น “หุ้นส่วนที่เหลือเชื่อ” ในทางการเมือง “พลังใหม่นี้จะนำพาสังคมไทยไปได้ไกลแค่ไหน หรือจะต้านทานพลังปฏิปักษ์ประชาธิปไตยได้เพียงใดและอย่างไร ที่สำคัญกว่านั้นอีกคือ สังคมไทยจะสามารถปรับความสันพันธ์ทางอำนาจระลอกนี้ได้ลงตัวหรือไม่ โดยไม่ต้องจ่ายราคาแพงเท่าในอดีต” เสกสรรค์กล่าว เขายังนำเสนอข้อเสนอแนะต่อขบวนเคลื่อนไหวหรือพลังประชาธิปไตยใน 3 เรื่องด้วยกัน ได้แก่ 1.พลังประชาธิปไตยต้องรักษากลไกของระบอบอื่นๆ นอกเหนือจากรัฐบาลให้ทำงานได้อย่างเต็มรูปแบบด้วย ไม่ใช่มุ่งปกป้องแต่พรรคใดหรือรัฐบาลใด 2. เพื่อเสถียรภาพของระบอบ จำเป็นต้องขยายแนวร่วมไปยังชนชั้นหรือบุคคลกลุ่มต่างๆ ให้มากที่สุด เพราะในยุคโลกภิวัตน์ประชาชนมิได้เป็นก้อนเดียว พร้อมทั้งต้องยึดถือหลัก “เสรีนิยมทางการเมือง” ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องมีคู่ประชาธิปไตย ทั้งนี้ การเมืองภาคประชาชนแบบดั้งเดิมก็เป็นพลังประชาธิปไตยแบบหนึ่งที่จำเป็นต้อง ให้พื้นที่ในการเรียกร้อง วิจารณ์รัฐบาล สิ่งนี้เป็นกลไกทำให้ระบบดีขึ้น ไม่ได้ขัดแย้งกับพลังมวลชนที่ชื่นชอบพรรค 3. ขบวนประชาธิปไตยควรเรียนรู้การใช้อำนาจอ่อนในการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมที่ซึม ลึกในสังคมไทย นำเสนอสิ่งที่ดีกว่าเพื่อให้สังคมเห็นว่าระบอบประชาธิปไตยที่ผู้คนเท่าเทียม กันนั้นเป็นสิ่งน่าหวงแหน โดยมีจังหวะก้าวที่ระมัดรวังไม่ทำให้ผู้คนจำนวนมากในสังคมรู้สึกสูญเสียที่ ยืนในความคิดความเชื่อ เพราะความขัดแย้งประเด็นทางวัฒนธรรมบางอย่างละเอียดอ่อนและมีแนวโน้มนำสู่ ความรุนแรงได้ง่าย ขอบคุณ... http://prachatai.com/journal/2013/10/49233 ประชาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 ต.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...