ดันกฎหมายสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ ชูฟิลิปปินส์ทำจริงลดตาย

แสดงความคิดเห็น

รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า จากการประชุมเครือข่ายภาคประชาสังคม โดยกลุ่มผู้หญิง กลุ่มเด็กและเยาวชน กลุ่มผู้พิการ กลุ่มหลากหลายทางเพศ นักกฎหมาย และ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชน สิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์และสุขภาพทางเพศ ร่วมกับมูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง (สคส.) จัดวิพากษ์ "ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์และสุขภาพ ทางเพศ" ฉบับภาคประชาชน เพื่อรวบรวมข้อคิดเห็นจากประชาชนมาปรับปรุงร่างกฎหมายดังกล่าวให้ครอบคลุม ทุกประเด็นปัญหาในสังคมและเสนอรัฐสภาให้เข้าสู่กระบวนพิจารณาเป็นกฎหมายนั้น ได้ผลักดันการบรรจุเรื่องสุขภาพผู้หญิงลงในมาตรา 6 ของพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติด้วย ซึ่งสคส.ได้จัดเวทีวิพากษ์ ร่างกฎหมายดังกล่าวไปแล้ว 3 ภาค และที่กทม.

ด้าน นายรามอน ซาน ปาสเกา ผอ.สภาความร่วมมือด้านประชากรและการพัฒนาของสมาชิกรัฐสภาในกลุ่มภูมิภาคอา เซียน กล่าวว่า การขับเคลื่อนกฎหมายอนามัยเจริญพันธุ์ของฟิลิปปินส์ ซึ่งการทำแท้งถือเป็นเรื่องผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ ผิดบาปในสังคม แต่ฟิลิปปินส์กลับมีปัญหาการเสียชีวิตจากการคลอดและจำนวนทำแท้งไม่ได้สูงมาก เมื่อเทียบกับประเทศอื่นในเอเชีย ดังนั้น ประเด็นการรณรงค์ผลักดันกฎหมายอนามัยการเจริญพันธุ์จึงเน้นไปที่การรักษา ชีวิตและสุขภาพของผู้หญิงไม่ให้เสียชีวิตจากการคลอด หรือต้องไปทำแท้งที่ไม่ได้คุณภาพ

กฎหมาย จึงเน้นบริการวางแผนครอบครัวที่มีประสิทธิ ภาพ เช่น ให้ประชาชน โดยเฉพาะผู้หญิงที่ด้อยโอกาสได้รับบริการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพ เป็นต้น

"ฟิลิปปินส์ ใช้เวลาขับเคลื่อนกฎหมาย 10 ปี และเพิ่งผ่านเป็นกฎหมายเมื่อปี 2555 สิ่งสำคัญที่ทำให้กฎหมายนี้ประสบความสำเร็จ คือ การมีจุดยืนเรื่องความพยายาม ลดอัตราการเสียชีวิตจากการคลอด โดยเน้นรณรงค์ในสังคม หน่วยงานและผู้มีอำนาจในการตัดสินใจระดับสูงซึ่งมีส่วนสำคัญในการออกกฎหมาย" นายรามอนกล่าว

ขอบคุณ http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNNE1UTXdNak0yTWc9PQ==&subcatid= (ขนาดไฟล์: 167)

(ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 9 ต.ค.56)

ที่มา: ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 9 ต.ค.56
วันที่โพสต์: 10/10/2556 เวลา 03:10:27

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า จากการประชุมเครือข่ายภาคประชาสังคม โดยกลุ่มผู้หญิง กลุ่มเด็กและเยาวชน กลุ่มผู้พิการ กลุ่มหลากหลายทางเพศ นักกฎหมาย และ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชน สิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์และสุขภาพทางเพศ ร่วมกับมูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง (สคส.) จัดวิพากษ์ "ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์และสุขภาพ ทางเพศ" ฉบับภาคประชาชน เพื่อรวบรวมข้อคิดเห็นจากประชาชนมาปรับปรุงร่างกฎหมายดังกล่าวให้ครอบคลุม ทุกประเด็นปัญหาในสังคมและเสนอรัฐสภาให้เข้าสู่กระบวนพิจารณาเป็นกฎหมายนั้น ได้ผลักดันการบรรจุเรื่องสุขภาพผู้หญิงลงในมาตรา 6 ของพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติด้วย ซึ่งสคส.ได้จัดเวทีวิพากษ์ ร่างกฎหมายดังกล่าวไปแล้ว 3 ภาค และที่กทม. ด้าน นายรามอน ซาน ปาสเกา ผอ.สภาความร่วมมือด้านประชากรและการพัฒนาของสมาชิกรัฐสภาในกลุ่มภูมิภาคอา เซียน กล่าวว่า การขับเคลื่อนกฎหมายอนามัยเจริญพันธุ์ของฟิลิปปินส์ ซึ่งการทำแท้งถือเป็นเรื่องผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ ผิดบาปในสังคม แต่ฟิลิปปินส์กลับมีปัญหาการเสียชีวิตจากการคลอดและจำนวนทำแท้งไม่ได้สูงมาก เมื่อเทียบกับประเทศอื่นในเอเชีย ดังนั้น ประเด็นการรณรงค์ผลักดันกฎหมายอนามัยการเจริญพันธุ์จึงเน้นไปที่การรักษา ชีวิตและสุขภาพของผู้หญิงไม่ให้เสียชีวิตจากการคลอด หรือต้องไปทำแท้งที่ไม่ได้คุณภาพ กฎหมาย จึงเน้นบริการวางแผนครอบครัวที่มีประสิทธิ ภาพ เช่น ให้ประชาชน โดยเฉพาะผู้หญิงที่ด้อยโอกาสได้รับบริการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพ เป็นต้น "ฟิลิปปินส์ ใช้เวลาขับเคลื่อนกฎหมาย 10 ปี และเพิ่งผ่านเป็นกฎหมายเมื่อปี 2555 สิ่งสำคัญที่ทำให้กฎหมายนี้ประสบความสำเร็จ คือ การมีจุดยืนเรื่องความพยายาม ลดอัตราการเสียชีวิตจากการคลอด โดยเน้นรณรงค์ในสังคม หน่วยงานและผู้มีอำนาจในการตัดสินใจระดับสูงซึ่งมีส่วนสำคัญในการออกกฎหมาย" นายรามอนกล่าว ขอบคุณ… http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNNE1UTXdNak0yTWc9PQ==&subcatid= (ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 9 ต.ค.56)

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...