ถอดบทเรียน 16 ปี ใช้สิทธิประชาธิปไตยทางตรง เสนอ กม. 44 ฉบับอเตรียมล่าล้านชื่อดันร่าง กม.ช่วยคนจน

แสดงความคิดเห็น

5 ต.ค. 56 – คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านสวัสดิการสังคมในคณะกรรมการ ปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ร่วมกับมูลนิธิเอเชีย สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ สำนักประสานการพัฒนาเพื่อสังคมสุขภาวะ และคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดเวทีสาธารณะ “บทเรียน 16 ปี สิทธิประชาธิปไตยทางตรงในการเข้าชื่อเสนอกฎหมายของประชาชน” ณ ห้องประชุมจิ๊ดเศรษฐบุตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

นาย ไพโรจน์ พลเพชร กรรมการปฏิรูปกฎหมาย กล่าวถึงสถานการณ์กฎหมายเข้าชื่อโดยภาคประชาชนว่า สรุปสถานการณ์ร่างกฎหมายเข้าชื่อโดยภาคประชาชนนับตั้งแต่ปี 2540 จนถึงปัจจุบันประชาชนเสนอกฎหมายรวมทั้งสิ้น 44 ฉบับ คปก.ได้จำแนกกฎหมายออกเป็น 8 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มวิชาชีพ 2.กลุ่มกระจายอำนาจ 3.กลุ่มทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4.ความเสมอภาคระหว่างเพศ 5.กลุ่มคุ้มครองผู้บริโภค 6.กลุ่มการมีส่วนร่วม 7.กลุ่มกระบวนการยุติธรรม 8.กลุ่มสวัสดิการสังคม โดยกฎหมายทุกกลุ่มทั้ง 44 ฉบับ มีประชาชนเข้าชื่อจำนวนมาก ตนจึงเห็นว่า ภาคประชาชนควรผนึกกำลังร่วมกันในการเสนอกฎหมาย เชื่อว่าจะมีพลังในการขับเคลื่อนกฎหมายทั้ง 44 ฉบับได้สำเร็จ

นาย ประยงค์ ดอกลำไย ผู้ผลักดันร่างกฎหมายสิทธิชุมชนกับการจัดการทรัพยากร กล่าวอภิปรายในหัวข้อ“บทเรียน 16 ปี สิทธิประชาธิปไตยทางตรงในการเข้าชื่อเสนอกฎหมายของประชาชน”ว่า ปัจจุบันยังมีปัญหาการถือครองที่ดิน การกระจุกตัวของที่ดินส่วนใหญ่อยู่กับกลุ่มนายทุน ฉะนั้นหลักการใหญ่ของเรา เราต้องการผลักดันร่างกฎหมาย 4 ฉบับเพื่อคนจน ได้แก่ พ.ร.บ.สิทธิชุมชนในการจัดการที่ดินและทรัพยากร พรบ.ธนาคารที่ดิน พรบ.ภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้า พรบ.กองทุนยุติธรรม เราอยากให้ทุกคนเป็นเจ้าของกฎหมายเหล่านี้ โดยเตรียมล่ารายชื่อให้ได้ครบ 1 ล้านรายชื่อผลักดันร่างกฎหมายดังกล่าว เพื่อให้สะท้อนปัญหาและความต้องการของคนส่วนใหญ่ และเป็นการท้าทายส.ส.,ส.ว.ที่ได้คะแนนเสียงจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่ถึง 1 ล้านคะแนน

นายภูมิ มูลศิลป์ ผู้ผลักดันกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย กล่าวว่า ปัญหาการเข้าชื่อเสนอกฎหมายของประชาชนที่สำคัญคือ ทัศนคติของนักการเมือง โดยผู้ออกกฎหมายมักจะออกกฎหมายจะมีอยู่สองลักษณะคือมองในเชิงที่ไว้ใจกับไม่ ใจไว้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากการพิจารณากฎหมาย ถ้ารัฐไว้ใจประชาชนร่างกฎหมาย การเข้าชื่อเสนอกฎหมายจะต้องส่งเสริมการใช้สิทธิของประชาชนมิใช่การจำกัด สิทธิ

นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย ผู้ผลักดันร่างกฎหมายประกันสังคม กล่าวว่า รัฐธรรมนูญให้สิทธิภาคประชาชนสามารถเป็นกรรมาธิการหนึ่งในสาม ซึ่งเป็นความหวังของการเสนอกฎหมาย แต่ตั้งข้อสังเกตว่า ไม่มีรายชื่อกรรมาธิการจากภาคประชาชนในสัดส่วนที่กฎหมายรับรอง ทำให้เราวิตกกังวลอย่างมากในสถานการณ์เช่นนี้ อย่างไรก็ตามยังไม่สิ้นหวังเนื่องจากที่ผ่านมาเรายังไม่ได้ใช้พลังมวลชนกด ดัน ตนจึงมองว่า สิ่งที่สำคัญขณะนี้คือ พลังมวลชนเท่านั้น และประชาธิปไตยที่กินได้ได้ต้องคำนึงถึงคนจนอย่างแท้จริง

นางสาวบุญ ยืน ศิริธรรม ผู้ผลักดันร่างกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวว่า ปัญหาในการเข้าชื่อเสนอกฎหมายคือ ขั้นตอนการเข้าชื่อเสนอกฎหมายที่ยุ่งยากซับซ้อน เพราะต้องใช้เอกสารสำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชน อีกทั้งในขั้นตอนการพิจารณากฎหมายต้องสู้กับอำนาจการเมือง กฎหมายขึ้นอยู่กับนักการเมืองเพียงอย่างเดียว

“ในส่วนของผู้บริโภคมี กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคหลายฉบับแต่ไม่เคยใช้ได้จริง อีกทั้งพบว่าผู้บริโภคไม่มีองค์กรที่เป็นเจ้าภาพ และไม่มีองค์กรที่สามารถถ่วงดุล สร้างความเป็นธรรมได้ ที่ผ่านมาเราใช้เวลาผลักดันกฎหมายดังกล่าวถึง 16 ปี ซึ่งส่วนหนึ่งใช้เวลากับการถกเถียงประเด็นต่างๆนานกว่า10 กว่าปีในหลายประเด็นโดยเฉพาะเรื่อง รูปแบบการเป็นองค์กรอิสระ” นางสาวบุญยืน กล่าว

ขอบคุณ... http://prachatai.com/journal/2013/10/49095 (ขนาดไฟล์: 167)

(ประชาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 ต.ค.56)

ที่มา: ประชาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 ต.ค.56
วันที่โพสต์: 7/10/2556 เวลา 03:19:21

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

5 ต.ค. 56 – คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านสวัสดิการสังคมในคณะกรรมการ ปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ร่วมกับมูลนิธิเอเชีย สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ สำนักประสานการพัฒนาเพื่อสังคมสุขภาวะ และคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดเวทีสาธารณะ “บทเรียน 16 ปี สิทธิประชาธิปไตยทางตรงในการเข้าชื่อเสนอกฎหมายของประชาชน” ณ ห้องประชุมจิ๊ดเศรษฐบุตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นาย ไพโรจน์ พลเพชร กรรมการปฏิรูปกฎหมาย กล่าวถึงสถานการณ์กฎหมายเข้าชื่อโดยภาคประชาชนว่า สรุปสถานการณ์ร่างกฎหมายเข้าชื่อโดยภาคประชาชนนับตั้งแต่ปี 2540 จนถึงปัจจุบันประชาชนเสนอกฎหมายรวมทั้งสิ้น 44 ฉบับ คปก.ได้จำแนกกฎหมายออกเป็น 8 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มวิชาชีพ 2.กลุ่มกระจายอำนาจ 3.กลุ่มทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4.ความเสมอภาคระหว่างเพศ 5.กลุ่มคุ้มครองผู้บริโภค 6.กลุ่มการมีส่วนร่วม 7.กลุ่มกระบวนการยุติธรรม 8.กลุ่มสวัสดิการสังคม โดยกฎหมายทุกกลุ่มทั้ง 44 ฉบับ มีประชาชนเข้าชื่อจำนวนมาก ตนจึงเห็นว่า ภาคประชาชนควรผนึกกำลังร่วมกันในการเสนอกฎหมาย เชื่อว่าจะมีพลังในการขับเคลื่อนกฎหมายทั้ง 44 ฉบับได้สำเร็จ นาย ประยงค์ ดอกลำไย ผู้ผลักดันร่างกฎหมายสิทธิชุมชนกับการจัดการทรัพยากร กล่าวอภิปรายในหัวข้อ“บทเรียน 16 ปี สิทธิประชาธิปไตยทางตรงในการเข้าชื่อเสนอกฎหมายของประชาชน”ว่า ปัจจุบันยังมีปัญหาการถือครองที่ดิน การกระจุกตัวของที่ดินส่วนใหญ่อยู่กับกลุ่มนายทุน ฉะนั้นหลักการใหญ่ของเรา เราต้องการผลักดันร่างกฎหมาย 4 ฉบับเพื่อคนจน ได้แก่ พ.ร.บ.สิทธิชุมชนในการจัดการที่ดินและทรัพยากร พรบ.ธนาคารที่ดิน พรบ.ภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้า พรบ.กองทุนยุติธรรม เราอยากให้ทุกคนเป็นเจ้าของกฎหมายเหล่านี้ โดยเตรียมล่ารายชื่อให้ได้ครบ 1 ล้านรายชื่อผลักดันร่างกฎหมายดังกล่าว เพื่อให้สะท้อนปัญหาและความต้องการของคนส่วนใหญ่ และเป็นการท้าทายส.ส.,ส.ว.ที่ได้คะแนนเสียงจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่ถึง 1 ล้านคะแนน นายภูมิ มูลศิลป์ ผู้ผลักดันกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย กล่าวว่า ปัญหาการเข้าชื่อเสนอกฎหมายของประชาชนที่สำคัญคือ ทัศนคติของนักการเมือง โดยผู้ออกกฎหมายมักจะออกกฎหมายจะมีอยู่สองลักษณะคือมองในเชิงที่ไว้ใจกับไม่ ใจไว้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากการพิจารณากฎหมาย ถ้ารัฐไว้ใจประชาชนร่างกฎหมาย การเข้าชื่อเสนอกฎหมายจะต้องส่งเสริมการใช้สิทธิของประชาชนมิใช่การจำกัด สิทธิ นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย ผู้ผลักดันร่างกฎหมายประกันสังคม กล่าวว่า รัฐธรรมนูญให้สิทธิภาคประชาชนสามารถเป็นกรรมาธิการหนึ่งในสาม ซึ่งเป็นความหวังของการเสนอกฎหมาย แต่ตั้งข้อสังเกตว่า ไม่มีรายชื่อกรรมาธิการจากภาคประชาชนในสัดส่วนที่กฎหมายรับรอง ทำให้เราวิตกกังวลอย่างมากในสถานการณ์เช่นนี้ อย่างไรก็ตามยังไม่สิ้นหวังเนื่องจากที่ผ่านมาเรายังไม่ได้ใช้พลังมวลชนกด ดัน ตนจึงมองว่า สิ่งที่สำคัญขณะนี้คือ พลังมวลชนเท่านั้น และประชาธิปไตยที่กินได้ได้ต้องคำนึงถึงคนจนอย่างแท้จริง นางสาวบุญ ยืน ศิริธรรม ผู้ผลักดันร่างกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวว่า ปัญหาในการเข้าชื่อเสนอกฎหมายคือ ขั้นตอนการเข้าชื่อเสนอกฎหมายที่ยุ่งยากซับซ้อน เพราะต้องใช้เอกสารสำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชน อีกทั้งในขั้นตอนการพิจารณากฎหมายต้องสู้กับอำนาจการเมือง กฎหมายขึ้นอยู่กับนักการเมืองเพียงอย่างเดียว “ในส่วนของผู้บริโภคมี กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคหลายฉบับแต่ไม่เคยใช้ได้จริง อีกทั้งพบว่าผู้บริโภคไม่มีองค์กรที่เป็นเจ้าภาพ และไม่มีองค์กรที่สามารถถ่วงดุล สร้างความเป็นธรรมได้ ที่ผ่านมาเราใช้เวลาผลักดันกฎหมายดังกล่าวถึง 16 ปี ซึ่งส่วนหนึ่งใช้เวลากับการถกเถียงประเด็นต่างๆนานกว่า10 กว่าปีในหลายประเด็นโดยเฉพาะเรื่อง รูปแบบการเป็นองค์กรอิสระ” นางสาวบุญยืน กล่าว ขอบคุณ... http://prachatai.com/journal/2013/10/49095 (ประชาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 ต.ค.56)

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...